คนดังวงการไอที Linus Torvalds เจ้าพ่อผู้สร้าง Linux ได้ออกมาพิมพ์ข้อความบนเว็บบอร์ด realworldtech เกี่ยวกับซีพียู RAM ECC ที่ทุกวันนี้มีความสำคัญขึ้นกว่าเดิมมาก และในอนาคตอาจจะเป็นมาตรฐานใหม่ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งซีพียู AMD นั้นรองรับแรมประเภทนี้มานานแล้ว และรองรับตั้งแต่ตัว Ryzen ซึ่งแตกต่างจาก Intel ที่จะรองรับ RAM ECC เฉพาะซีพียูรุ่นท็อปอย่าง Xeon เท่านั้น

RAM ECC คืออะไร ?

(RAM ECC มักจะมีชิปมากกว่า RAM Non-ECC เมื่อมีความจุเท่ากัน)

ก่อนคือขออธิบายคำว่า ECC จริงๆ แล้วย่อมาจาก Error Checking and Correction คือ เป็น Ram ที่มีการตรวจสอบความผิดพลาดและสามารถแก้ไขเองให้มีความถูกต้องได้ กล่าวคือ RAM ECC ประเภทนี้จะใช้กับเครื่องคอมเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการความมีเสถียรภาพสูง ซึ่งจะช่วยลดการเกิดเครื่องค้างเครื่องแฮงค์นั่นเอง ส่วน RAM ปกติที่ผู้บริโภคใช้กันทั่ว ๆ ไปจะเป็น RAM Non-ECC ก็คือแบบไม่มีระบบตรวจสอบความผิดพลาด ซึ่งถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้นมาเครื่องก็จะแฮงค์ทันที โดยแรมประเภทนี้ก็คือ DRAM ที่วางขายและใช้งานกันตามปกติทั่วไป

กลับมาที่เรื่องของ Linus Torvalds ถ้าเพื่อน ๆ จำกันได้ก่อนหน้านี้เขาได้เปลี่ยนคอมใหม่มาใช้ซีพียูเป็น AMD Threadripper 3970X รุ่นรองท็อปในตระกูล HEDT ซึ่งมีทั้งหมด 32C/64T และถือเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปีที่เขาไม่ได้ใช้ซีพียู Intel ซึ่งตัวซีพียู AMD เองรองรับ RAM ECC ตั้งแต่ซีพียู Ryzen, Threadripper และ Epyc ในขณะที่ถ้าเป็น Intel ต้องใช้ตัว Xeon ที่เป็นซีรีส์รุ่นท็อปเท่านั้นถึงจะรองรับ (ประเภทซีพียูของ Intel เรียงตามลำดับคือ Core i -> Core-X -> Xeon)

นอกจากนี้นาย Linus Torvalds ยังกล่าวโทษ Intel ที่เป็นคนทำให้ RAM ECC หายากและมีราคาแพงเป็นเพราะนโยบายของบริษัท Intel ที่ไม่ยอมปล่อยให้ซีพียูรุ่นรองได้ใช้งาน อีกทั้งตัวซีพียู Xeon เองมีการตั้งราคาที่สูงเกินไปมาก เช่นรุ่นท็อปที่เพิ่มจำนวนคอร์เทรดสองเท่าแต่ราคากลับเพิ่มขึ้นถึงห้าเท่า ทำให้คนที่จะประกอบคอม Workstation สักเครื่องต้องหันกลับไปใช้ประเภทซีพียู Core i แทน ซึ่งแตกต่างจาก AMD ที่มีการตั้งราคาสมเหตุสมผลกว่า และซีพียูทุกรุ่นใช้ RAM ECC ได้ไม่กั๊กสเปค (แต่อาจจะมีปัญหากับบอร์ดบางรุ่น)

อย่างไรก็ตาม Linus Torvalds ยังแนะนำว่า เราควรหันมาใช้ RAM ECC มากกว่า DRAM ปกติ เพราะมีความเสถียรน่าเชื่อถือ และอุดช่องโหว่เรื่องความปลอดภัยได้มากกว่า แต่บอกเลยว่าถ้าใครที่คิดจะเปลี่ยนจริง ๆ ต้องเช็คเมนบอร์ดด้วยนะว่ารองรับแรมประเภทนี้หรือเปล่านะครับ

 

ที่มา : realworldtech (1,2) via blognone,  zdnet