กรมประชาสัมพันธ์ ออกโรงย้ำชาวเน็ต ให้ระวังการโพสต์ทั้งข้อความหรือรูปภาพสถานการณ์ใด ๆ ที่ผิดต่อกฎหมาย ทั้ง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตามคำประกาศของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พร้อมระบุว่า มีเจ้าหน้าที่เฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของผู้เผยแพร่ แชร์ หรือรีทวีต ตลอด 24 ชั่วโมง
กระทรวงดิจิทัลฯ เตือนประชาชนผู้ใช้โซเชียลมีเดียโพสต์ข้อความหรือภาพสถานการณ์ใดๆ ต้องไม่ให้ผิดต่อกม. เพราะ จนท.ติดตามความเคลื่อนไหวผู้ที่เผยแพร่ แชร์ หรือ รีทวิตที่ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อดำเนินการเอาผิดทางคดีตามกม.
(ต่อ) #ม็อบ19ตุลา #ข่าวปลอม
— PRD กรมประชาสัมพันธ์ (@prd_official) October 19, 2020
ตามที่นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้นโยบายในการตั้งศูนย์เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การชุมนุม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่เฝ้าติดตามมอนิเตอร์การกระทำความผิดในการใช้โซเชียลมีเดีย ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในระหว่างวันที่ 13 ตุลาคม – 18 ตุลาคม 2563 พบมีเคสเข้าข่ายสุ่มเสี่ยงกระทำผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั้งหมด 324,990 เรื่อง (ทั้งคนโพสต์และคนแชร์) แบ่งตามแพลตฟอร์มได้ดังนี้
- Facebook : 245,678 เรื่อง
- Twitter : 75,076 เรื่อง
- เว็บบอร์ด : 4,236 เรื่อง
โดยมีการระบุว่า ในเบื้องได้ตรวจสอบและเตรียมเอาผิดผู้โพสต์ลำดับแรก ๆ ที่นำเข้าซึ่งข้อความหรือรูปภาพสู่ระบบคอมพิวเตอร์ก่อนจำนวนหนึ่ง และฝากเตือนไปยังชาวเน็ตให้ระมัดระวังการโพสต์ด้วยเช่นกัน เพราะมีเจ้าหน้าที่เฝ้าติดตามเพื่อเอาผิดทางกฎหมายอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง
ที่มา : PRD กรมประชาสัมพันธ์ (@prd_official)
เหมือนได้ไปเที่ยวเกาหลีเหนือโดยไม่ต้องออกนอกประเทศเลยครับ
Hi big brother
ไอ้ตู่บอกผมไม่ใช่เผด็จการ นี่ล่ะผลของการติดกระดุมเม็ดบนผิด อะไรมันก็ผิดไปหมด