MediaTek เปิดตัวหน่วยประมวลผลรุ่นใหม่ในซีรีส์ Filogic เพื่อการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอย่างครบวงจรทั้งสองรุ่น ได้แก่ ชิป SoC หรือ System-on-Chip อย่าง Filogic 830 รองรับ WiFi 6 / 6E และโซลูชั่นแผงวงจร NIC (Network Interface Card) รุ่น Filogic 630 รองรับ WiFi 6 / 6E ด้วยเช่นกัน ว่าแต่สเปคและฟีเจอร์ของแต่ละรุ่นจะเป็นยังไงบ้าง มาดูได้ในบทความนี้เลยครับ
MediaTek Filogic 830
Filogic 830 ของ MediaTek มาพร้อมกับคุณสมบัติที่รวมทุกอย่างเอาไว้ในชิปเดียวกัน หรือเรียกอีกอย่างว่า System-On-Chip (SoC) ผลิตบนสถาปัตยกรรมขนาด 12 นาโนเมตร กินพลังงานน้อยเป็นพิเศษ ช่วยให้ลูกค้าสามารถออกแบบโซลูชั่นสำหรับเราเตอร์กระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ต และระบบ Mesh ที่ค่อนข้างซับซ้อนได้
โดย Filogic 830 ขับเคลื่อนด้วยหน่วยประมวลผลจาก ARM อย่าง Cortex-A53 จำนวนทั้งหมด 4 แกน ค่าสัญญาณนาฬิกาเร็วสูงสุด 2GHz เพื่อพลังงานในการประมวลผลสูงสุดที่ 18,000 DMIPs ขึ้นไป ตลอดจนรองรับระบบ WiFi 6 / 6E แบบ 4×4 ให้ความเร็วในการเชื่อมต่อสูงสุด 6Gbps อีกทั้งอินเทอร์เฟซอีเทอร์เน็ต 2.5 กิกะบิตสองตัว และ Host ของอินเตอร์เฟซอุปกรณ์พ่วง
มากกว่านั้น Filogic ยังมี Engine ที่จะเข้ามาทำให้ WiFi HotSpot ที่การเชื่อมต่อที่ฉับไวและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น รองรับเทคโนโลยี FastPath ที่พัฒนาขึ้นโดยตัว MediaTek แทน สำหรับใช้งานที่ต้องการความหน่วงต่ำ หรือค่า Latency ต่ำมาก ๆ เช่น การเล่นเกมออนไลน์ หรือ AR/VR นั่นเอง
MediaTek Filogic 630
ส่วน Filogic 639 เป็นโซลูชั่นแผงวงกร NIC WiFi 6 / 6E ที่รองรับการเชื่อมต่อแบบ Dual-Band และ Dual-Concurrent 2×2 ความเร็ว 2.4GHz และ 3×3 ความเร็ว 5GHz หรือ 6GHz ได้เร็วสูงสุดที่ 3Gbps นอกจากนี้ชิปตัวนี้ยังรองรับระบบ 3T3R 5/6GHz ที่มาพร้อมกับโมดูล Front EnD แบบภายใน ที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือดีกว่าโซลูชั่น 2T2R ของคู่แข่ง
โดยการออกแบบมีการผสานรวมคุณสมบัติเอาไว้อย่างลงตัว ที่จะช่วยลดต้นทุนค่าวัสดุ มากกว่านั้นผู้ผลิตจะสามารถออกแบบได้ประหยัดพื้นที่กว่าเดิม เนื่องจากขนาด RF Front End ในชิปรุ่นนี้มีขนาดเล็กลง
เสาอากาศที่สามของ Filogic 630 จะสามารถส่งสัญญาณได้แบบ Beamforming รวมถึงแบบ Diversity Gain ได้อีกด้วย ทั้งนี้ชิปตัวนี้ยังรองรับอินเตอร์เฟ: เช่น PCIe ที่สามารถใช้งานร่วมกับ Filogic 830 ได้ กระจายสัญญาณระดับองค์กร และรีเทลเราเตอร์ที่มีความเร็วและความจุ Bandwitdth ได้สูงกว่า
ที่มา: MediaTek
ใครตั้งชื่อชิปmediatekเนี่ยโครตสร้างสรรค์