NASA ได้คิดค้นเทคโนโลยีตรวจจับการเต้นของหัวใจเพื่อใช้ในดารช่วยชีวิตกรณีเกิดเหตุภัยพิบัติ สำหรับเทคโนโลยีนี้คือ FINDER หรือชื่อเต็ม Finding Individuals for Disaster and Emergency Response ที่ใช้การส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เป็นคลื่นไมโครเวฟออกไปเพื่อตรวจจับสัญญาณชีพของผู้รอดชีวิต และหากตรวจพบคลื่นเรดาร์ก็จะสะท้อนกลับยังเครื่องเรดาร์พร้อมทั้งคำนวนเวลาที่คลื่นเดินทางเพื่อใช้ระบุระยะห่างหรือตำแหน่งของผู้รอดชีวิตได้

ทั้งนี้ FINDER ได้ถูกนำไปใช้เป็นครั้งแรกในการช่วยค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุภัยพิบัติที่เนปาลเมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งเจ้าเครื่องนี้สามารถทำหน้าที่ช่วยระบุพิกัดของผู้รอดชีวิตเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทีมกู้ภัยสามารถเข้าให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันถ่วงที โดยได้ช่วยชีวิตชายสี่คนที่ติดอยู่ในซากปรักหักพังที่หมู่บ้านเฌาตะราซึ่งในตอนแรก FINDER ตรวจพบชาย 2คนที่ติดอยู่ในซากอาคารลึกลงไปจากพื้นดินราว 10ฟุต ก่อนที่จะตรวจพบผู้รอดชีวิตอีก 2คนในบริเวณใกล้ๆ กัน

นอกจากนี้ทาง NASA ยังบอกด้วยว่า FINDER นั้นสามารถตรวจจับสัญญาณชีพของผู้รอดชีวิตที่ติดอยู่ในซากตึกได้ลึกถึง 30ฟุต ส่วนหากเป็นพื้นคอนกรีตจะได้ลึกราว 20ฟุต และหาดเป็นพื้นที่โล่งจะสามารถค้นหาได้ใราว 100ฟุต แต่ทั้งนี้ตำแหน่งที่ได้อาจมีความคลาดเคลื่อนไปจากตำแหน่งของผู้ประสบภัยเล็กน้อยทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวัสดุชนิดของวัสดุที่ปิดทับด้วย

Play video

โดยตอนนี้ FINDER กำลังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาก่อนที่จะทำตลาดเปิดขายให้กับหน่วยงานกู้ภัยและองค์กรต่างๆ ทั่วโลกซึ่งนอกจาก FINDER แล้วก็ยังมีอีกหลายๆ บริษัทที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือเหตุภัยพิบัติในเนปาล อย่างเช่น Skycatch ที่นำเอาโดรนเข้ามาใช้ในการบินสำรวจและทำแผนที่เพื่อช่วยเหลือเหตุภัยพิบัติในเนปาลเป็นต้นค่ะ

 

Source: mashable