หลังจากที่ดีแทคประกาศไม่เข้าร่วมการประมูลคลื่น 1800MHz สิ่งนึงที่คนให้ความสนใจกันที่สุดคือดีแทคจะทำอย่างไรกับสัมปทานที่กำลังจะหมดลง เพราะคลื่น 1800MHz ที่นำมาประมูลนี้เป็นคลื่นที่ดีแทคใช้งานอยู่นั่นเอง โดยดีแทคได้บอกว่าแม้ไม่เข้าร่วมประมูลก็จะขอยื่นเยียวยาต่อ กสทช. ดังที่ AIS และ TrueMove H เคยทำมาก่อน แต่ทางกสทช. ดูจะไม่ยอมอนุมัติกับแผนเยียวยานี้ ให้เหตุผลว่าเมื่อคราว AIS และ TrueMove H ต้องเยียวยาเพราะจัดประมูลไม่ทัน แต่กรณี dtac คือเลือกไม่เอาเอง
ไม่เยียวยา เพราะความผิดไม่ได้เกิดจากฝั่งกสทช.
ในอดีตเมื่อคราวที่การประมูลคลื่นยังคลุมเครือ สัมปทานคลื่นที่ทาง AIS และ TrueMove ใช้งานอยู่ได้หมดลง ตอนนั้นทางหน่วยงานรับผิดชอบก็ได้เปิดให้มีการเยียวยายินยอมให้ทั้งสองค่ายสามารถใช้งานคลื่นต่อไปได้โดยมีเงื่อนไขว่ารายได้ที่เป็นกำไรจากการใช้งานคลื่นดังกล่าวทั้งหมดต้องส่งให้กับรัฐ (แต่แว่วๆว่าทั้งสองค่ายแทบไม่มีส่งเลย) เหตุที่ยินยอมให้เยียวยาก็เพราะ ณ ขณะนั้นไม่สามารถการจัดการประมูลขึ้นมาได้ทัน สิริรวมเวลาได้รับการเยียวยายาวนานกว่า 2 ปีสำหรับคลื่น 1800MHz และ 9 เดือนสำหรับคลื่น 900MHz แต่สำหรับในกรณีดีแทคทางกสทช. แจ้งว่าจะไม่ยอมให้เยียวยา เนื่องจากครั้งนี้การประมูลมีขึ้นก่อนจะหมดสัมปทาน แต่ทางดีแทคเลือกที่จะไม่เข้าประมูล ด้วยเหตุผลว่าราคาตั้งต้นของการประมูลสูงเกินไป ซึ่งทาง กสทช. ก็ได้ชี้แจงว่าราคานี้ทั้ง AIS และ TrueMove H ต่างก็ได้จ่ายมากว่า 75% แล้ว ถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสม สามารถจ่ายได้ แต่ทางดีแทคอ้างแบบนี้ก็เพื่อหวังใช้งานผ่านแผนการเยียวยาแทน
อย่างไรก็ดี ที่ดีแทคใช้งานคลื่นผ่านแผนการเยียวยานี้ ทางดีแทคก็ไม่ได้ใช้คลื่นฟรีๆนะครับ โดยเงื่อนไขที่ทางดีแทคได้ชี้แจงเอาไว้คือ การใช้งานคลื่นช่วงนี้ทางเครือข่ายจะไม่ได้กำไรใดๆจากคลื่นเลย ต้องหักกำไรทั้งหมดส่งเข้ากสทช. พร้อมกับรายได้ 30% ก่อนหักค่าใช้จ่ายอีกด้วย
ดีแทคแจงไม่เยียวยาก็จะใช้ 2300MHz แทนและจะขอโรมมิ่ง 2G กับ AIS
ปัจจุบันดีแทคมีลูกค้า 2G ที่ยังต้องใช้งานคลื่น 1800MHz อยู่ ราว 4.7 แสนเลขหมาย ซึ่งหากแผนการเยียวยาไม่ถูกอนุมัติก็มีสิทธิ์ว่าลูกค้าในกลุ่มนี้อาจเดือดร้อนได้ ซึ่งส่วนนี้ทางผู้บริหารดีแทคชี้แจงว่าก่อนหน้านี้ได้เคยทำสัญญาร่วมกับทางเอไอเอส ในช่วงที่เอไอเอสพลาดการประมูลคลื่นความถี่ 900MHz ให้ลูกค้าเอไอเอสสามารถโรมมิ่งมาใช้ 2G 1800MHz ของ dtac ได้ ซึ่งหากเหตุการณ์แบบเดียวกันเกิดขึ้นในกรณี 1800MHz นี้ ดีแทคก็จะขอโรมมิ่งไปใช้ 900MHz ของเอไอเอสเช่นกัน ดังนั้นสรุปว่าลูกค้าส่วนนี้น่าจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
ส่วนเรื่องคลื่น 4G 1800MHz ที่เป็นคลื่นหลักในการให้บริการ 4G ของ dtac ในปัจจุบัน แม้ว่าทางบริษัทจะบอกว่าจะไม่ได้รับผลกระทบมากเพราะมีคลื่น 2300MHz มาให้บริการแล้ว แต่ก็ยังมีความน่าเป็นห่วงเพราะคลื่น 2300MHz ยังไม่สามารถให้บริการได้อย่างครอบคลุม ปัจจุบันยังมีคนเจอแค่ไม่กี่พื้นที่ แถมเป็นคลื่น TDD แบบใหม่ ที่ปัจจุบันยังปรับจูนให้ใช้งานได้ไม่ดีนัก และมีเพียง 70% ของผู้ใช้บริการดีแทครองรับอีกต่างหาก ดังนั้นคาดว่าหากทางกสทช.ไม่เยียวยาจริง ทางดีแทคก็ต้องยื่นการคุ้มครองต่อศาลปกครองต่อไป
สถานีฐานของดีแทคจะหายไปจากที่คลื่น 1800MHz หมดสัมปทานกว่า 4000 แห่ง
Quote ที่น่าสนใจของทางกสทช.
“ใครที่ฝันไม่ไกล ระวังจะไปไม่ถึง บอกว่าคลื่นพอ เราจะทำให้ไม่พอเอง จะอ้างว่าราคาแพง เราก็บอกแล้วว่าลดราคาไม่ได้ เพราะมันเป็นราคาที่ เอไอเอส และ ทรูจ่ายเงินมา 75% แล้ว กสทช.ต้องจัดการเรื่องนี้ให้ได้ แต่หากให้แก้หลักเกณฑ์เป็น 9 ใบ ตรงนี้ ทำได้ ” นายฐากร กล่าว
ประมูล 4G 1800MHz จะเกิดขึ้นในปีนี้
กสทช. เตรียมเอาเรื่องที่ไม่มีผู้ให้บริการเข้าร่วมประมูลเข้าที่ประชุมในวันที่ 27 มิ.ย.นี้ และเสนอให้รัฐบาลหาทางออก เพื่อให้เกิดการประมูลขึ้นในปีนี้ เท่าที่ดูจากสถานการณ์ดีแทคเป็นค่ายที่พร้อมกับการประมูลมากที่สุด แต่ยังเล่นแง่ไม่เข้าประมูลด้วยเหตุผลของเงื่อนไขและราคาตั้งต้น ส่วนเอไอเอสและทรู ยังติดปัญหาเงินลงทุนยังไม่พอ ถ้าไม่สามารถขยายเวลาการชำระเงินค่าประมูลได้ โดยหลังจากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก็น่าจะสนใจว่าไพ่ที่จะหงายต่อไปของ กสทช. จะเป็นอย่างไร เท่าที่คิดเอาไว้ก็น่าจะเป็นดังนี้ คือ
- ยอมลดราคาประมูล (แต่เป็นไปได้ยาก)
- แตกใบอนุญาตให้กลายเป็น 9 ใบ (จาก 15 MHz x 3 ใบ >> 5 MHz x 9 ใบ) เพื่อลดมูลค่า
- ยอมขยายเวลาการชำระเงินค่าประมูล เพื่อให้ AIS และ TrueMove H เข้าร่วมประมูลได้
สรุป
หากทางกสทช. ยืนกรานจะไม่ให้มีการเยียวยา และไม่ได้รับการคุ้มครองจากศาล ที่ดีแทคบอกว่าคลื่นเพียงพอต่อการให้บริการก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงไม่น้อย ดีแทคจะเหลือแค่คลื่น 2100 MHz และ 2300 MHz ซึ่งน่าจะไม่เพียงพอ เพราะคลื่น 1800 MHz เป็นคลื่นหลักในการรับส่งสัญญาณ และตัวคลื่น 2300 MHz เองดีแทคก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานด้านเสียงได้อีกด้วย ผู้ใช้ดีแทคก็เตรียมรับกรรมกันต่อไป และถ้าการประมูลจะถูกทำให้เกิดขึ้นในปีนี้จริง โดยทางรัฐยอมขยายเวลาการชำระเงินค่าประมูลให้ AIS และ TrueMove H ก็ไม่แน่ว่าจากที่ดีแทคหวังว่าจะได้ราคาประมูลที่ถูกลง จะกลายเป็นเสียมากขึ้นไปซะอีกนะครับ
ที่มาข่าว MGR Online
ส่วนตัวผมมองว่า จริงๆกรณี ใบอนุญาติ คลื่น 900 ก็น่าจะให้ True – AIS ผ่อนชำระไป ก็แค่นั้น
แต่ควรโดนดอกเบี้ย 5 – 6 % เท่ากับ พวก SME ไปกู้เงินแบงค์ ไม่ใช่ 1.5 %
ส่วน Dtac …. ตอนนี้ AIS / True ทำ Fiber กันหมดแล้วเหลือแค่ Dtac ที่ยั่งไม่ทำ
อยากเห็น Dtac จับมือกะ Jas เพราะเครือข่าย Fiber น่าจะช่วยให้ ตั้งเสาได้ง่ายขึ้น
คลื่นพอ เราจะทำให้ไม่พอเอง หมายถึง? งงในงง
ผมกลัวคำพูดนี้แหละ กลัวว่าการที่ 3 ค่ายใหญ่ไม่เข้าประมูลแล้ว กสทช. หน้าแหก จะทำให้พี่แกพาลแล้วออกอะไรประหลาดๆ มาเพื่อโจมตีค่าย(Dtac เป็นหลัก)
Kraizis เหมือนเด็กน้อย เพื่อนไม่เล่นด้วย แล้วพลานไปฟ้องครูบอก ทั้งที่ตัวเอง โกงเพื่อน
ประเทศโลกที่ สาม ที่กำลังต้องการ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อพัฒนาประเทศ แต่ กสชท.กลับภาคภูมิที่ทำฝห้ราราประมูลสูงระห่ำระดับสถิติโลก อย่างภาคภูมิ
คนประมูลทำราคาไม่ได้ทุนสูง ขยายตัวยาก เน็ตแพงต่อไป รายได้ วันละ300 เน็ตแรงทั้งวัน 49บาท นี่คืออัลไร
จิงคับ ราคาสูงไป เมื่อเทียบกับรายได้ขั้นต่ำของคนไทย ทีนี้พอค่ายมาทำโปรก็ต้องแพงตาม ลำบากผู้บริโภค
เตรียมต่อแพ ย้ายไปค่ายอื่น ก่อนจะจมไปพร้อมกัน
ไม่ต้องประมูลอะ ดีแล้ว อยากรู้จะเอาไงต่อ ประมูลได้มาตอนนี้ ผมก็ตกที่ลูกค้าอย่างเราๆ
หมากเกมนี้ ใครจะฉลาดที่สุด น่าติดตาม
งง ทำไมต้องไปว่า กสทช. เขาประมูลมาเงินก็เข้ารัฐ หน้าที่เขาคือใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดหาเงินเข้ารัฐ ถ้าเป็นคนดีแทคแล้วมาบ่น ก็คงหยวนๆ เพราะมีเอี่ยว แต่ถ้าไม่ใช่นี่ บางทีผมก็ไม่ค่อยเข้าใจคนอย่างพวกคุณนะ ผมตอนนี้ใช้ดีแทคอยู่ จะย้ายดันได้โปรลับก็เลยอยู่ต่อ แต่ถ้าขาดคลื่นแล้วใช้งานห่วย จะย้ายก็ไม่ได้แคร์อะไร ผมว่าผู้บริโภคมีแต่ได้
กสทช ไม่ได้มีหน้าที่หารายได้เข้ารัฐเป็นหลักนะ หลายๆข้อหน้าที่ของ กสทช โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ
อำนาจหน้าที่ของ กสทช. มีดังต่อไปนี้
1. จัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม แผนความถี่วิทยุและแผนเลขหมายโทรคมนาคม
2. กำหนดการจัดสรรคลื่นความถี่ระหว่างคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ กิจการวิทยุคมนาคม และกิจการโทรคมนาคม
3. กำหนดลักษณะและประเภทของกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
4. พิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคมในการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม หรือในกิจการวิทยุคมนาคมและกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมการอนุญาตดังกล่าว
5. กำหนดหลักเกณฑ์การใช้คลื่นความถี่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปราศจากการรบกวนซึ่งกันและกัน ทั้งในกิจการประเภทเดียวกันและระหว่างกิจการแต่ละประเภท
6. พิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรมและกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมการอนุญาตดังกล่าว
7. พิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้เลขหมายโทรคมนาคม และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมการอนุญาตดังกล่าว
8. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้หรือเชื่อมต่อ และหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดอัตราค่าใช้หรือค่าเชื่อมต่อโครงข่ายในการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งในกิจการประเภทเดียวกันและระหว่างกิจการแต่ละประเภท ให้เป็นธรรมต่อผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการและผู้ลงทุน หรือระหว่างผู้ให้บริการโทรคมนาคโดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ
9. กำหนดโครงสร้างอัตราค่าธรรมเนียมและโครงสร้างอัตราค่าบริการในกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ให้เป็นธรรมต่อผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการโดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ
10. กำหนดมาตรฐานและลักษณะพึงประสงค์ทางด้านเทคนิคในการประกอบกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม และในกิจการวิทยุคมนาคม
11. กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
12. กำหนดมาตรการให้มีการกระจายบริการด้านโทรคมนาคมให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันตามมาตรา ๕๐
13. คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบกิจการและคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพของบุคคลในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคมและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
14. ประสานงานเกี่ยวกับการบริหารคลื่นความถี่ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
15. วินิจฉัยและแก้ไขปัญหาการใช้คลื่นความถี่ที่มีการรบกวนซึ่งกันและกัน
16. ติดตามตรวจสอบและให้คำปรึกษาแนะนำการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม
17. กำหนดลักษณะการควบรวม การครองสิทธิข้ามสื่อ หรือการครอบงำกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่ ระหว่างสื่อมวลชนด้วยกันเองหรือโดยบุคคลอื่นใด ซึ่งจะมีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือปิดกั้นการได้รับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายของประชาชน
18. ส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้รับใบอนุญาต ผู้ผลิตรายการ และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนที่เกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เป็นองค์กรในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อทำหน้าที่จัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมของการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพและการควบคุมการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพกันเองภายใต้มาตรฐานทางจริยธรรม
19. ออกระเบียบหรือประกาศตามมาตรา ๕๘
20. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายของสำนักงาน กสทช. รวมทั้งเงินที่จะจัดสรรเข้ากองทุนตามมาตรา ๕๒
21. พิจารณาและให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการจัดสรรเงินกองทุนตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนเสนอตามมาตรา ๕๕
22. ให้ข้อมูลและร่วมดำ เนินการในการเจรจาหรือทำ ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารคลื่นความถี่ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม หรือกิจการอื่นที่เกี่ยวข้อง
23. เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีกฎหมายหรือแก้ไขปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรคลื่นความถี่และการดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่ กิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
24. ออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอันเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กสทช.
25. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นการกำหนดลักษณะการควบรวม การครองสิทธิข้ามสื่อหรือการครอบงำตาม (๑๗) ให้ กสทช.รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย
เครดิต: http://www.nbtc.go.th/About/Committee/PowerNBTC.aspx
ขอบคุณที่แชร์ครับ แต่ในนโยบายก็เขียนชัดนะ ว่าทำเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนและประชาชาติ แถมยังมีอีกข้อเรื่องสนับสนุน กลไกตลาด นโยบายเป็นตัวขับเคลื่อนการทำงาน ไม่ว่าจะองค์กรณ์ไหน ผมมองว่าการเอาเงินเข้ารัฐได้มากที่สุดก็คือประโยชน์สูงสุดของประชาชาติ การทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม(จัดการประมูล)คือประโยชน์ของประชาชน
http://www.nbtc.go.th/About/Commissioners/policyNBTC.aspx
มันมองได้สองด้านครับ
ที่คุณ GolfOly บอกว่ากสทช. ช่วยดึงเงินเข้ารัฐนี่ผมเห็นด้วยว่าทำดีแล้ว ควรจะหาทางทำรายได้จากทรัพยากรชาติให้มากที่สุด
แต่ในอีกด้านนึงที่ควรตำหนิคือ ไม่สามารถทำให้การประมูลเกิดขึ้นได้ด้วยความหัวรั้นตั้งป้อมว่าจะต้องเอาราคานั้นนี้ กฎเกณฑ์ที่กำหนดมาไม่ตอบสนองกับความต้องการของผู้ประกอบการและสุดท้ายทำให้ทรัพยากรไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่มากกว่าครับ
ถ้าเราโฟกัสไปที่ดีแทค ก็จะมองว่าดีแทคไม่ดี ไม่ยอมเข้าประมูล ไม่ยอมลงทุน แต่ในทางกลับกัน ถ้าสัญญาณห่วย คุณภาพการให้บริการไม่ดี เราก็สามารถหนีจากดีแทคกันได้ครับ ไม่ต้องทนกัน
แต่ถ้ามองภาพรวมคือ ราคามันสูงไปจริงรึเปล่า ทำไม AIS กับ TrueMove H ต่างก็ไม่เอา โดยให้เหตุผลแบบอ้อมๆว่าคลื่นเพียงพอแล้ว ทั้งๆที่ในความเป็นจริงเรารู้กันดีว่ามีคลื่นในมือยิ่งมากยิ่งดี ไม่ต้องมานั่งลงเสาเพิ่มเรื่อยๆเพื่อรองรับการใช้บริการที่นับวันมีแต่จะมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งถ้าเข้ายุค 5G จริงๆ คลื่นความถี่ในปัจจุบันที่แต่ละค่ายมีมันไม่พอนะครับ โดยจำนวนคลื่นที่แนะนำว่าแต่ละค่ายควรต้องมีรองรับคือ 100MHz กันเลยนะครับ
ส่วนเรื่องค่าบริการ ราคาประมูลถามว่าส่งผลมั้ย ก็มีบ้างครับ แต่ราคาตั้งต้นก็จะอยู่ตามเกณฑ์เดิมๆนั่นแหละ ปรับแค่เรื่องปริมาณที่ให้กันซะมากกว่า ซึ่งปัจจุบันก็ทยอยเพิ่มกันขึ้นทุกคนแล้ว แต่จะให้มากให้น้อยก็ตามคุณภาพสัญญาณตัวเองครับ
และอีกนิดที่น่าตำหนิ ก็อยู่ที่ Quote ของ กสทช. เนี่ยแหละ มันแสดงให้เห็นถึงอคติบางอย่างต่อบางเครือข่ายนะครับ
ชาติพัฒนาได้มากน้อย ไม่เกี่ยวกับว่าคนในชาติ stream ดูละครดูหนังผ่าน youtube ได้มากนะ จะว่าไปไอ้ที่ว่ามาเก็บแพง ผมใช้อยู่ปัจจุบัน ใช้ทำงานด้วยนะ โอนเงิน จ่ายเงิน ผ่าน app ผ่านSamsungpay อ่านเวป สั่งเปิดแอร์ก่อนเข้าบ้าน สตรีมเพลงให้ลูกฟังก่อนนอน สตรีมเพลงฟังตอนขับรถ คุยกัยเพื่อน คุยกับลูกน้อง VDO call กับภรรยา ผมว่าผมใช้เนทโคตรเยอะ เดือนนึงยังไม่ถึง 10 Gig เลย เหลือทุกเดือน ค่าโทรเมื่อก่อน 300 นาที มีเกินมา 20- 50 บาท บ้างบางเดือน บางครั้ง ตอนนี้ได้โปรใหม่จ่ายถูกกว่าเดิมอีก ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ที่ว่าแพงๆใช้ไม่พอนี่ ใช้ทำอะไรกัน การstream ดูละครดูบอล มันไม่ได้ช่วยทำให้ชาติเจริญนะ ถ้าค่าแรง 300 ซื้อเนทแบบ full speed วันละ 49 บาทมาใช้ ทำงานอะไรครับ ได้เงิน วันละ 300 แต่ต้องใช้เนทขนาดนั้น… ส่วนตัวผมมองว่าคุณพูดไปเรื่อย
โดนใจครับ
+1 คือตอน 2100 ประมูลกันไปไม่แพง แพคเกจก็ไม่ได้ลดราคาลง กลุ่มทุนไหนทำเพื่อลูกค้าบ้าง ไม่มีหรอก ทำเพื่อกำไรทั้งนั้นล่ะ ต้นทุน 900 มาแพง ราคาแพคเกจก็ยังเท่าเดิม
บางคนก็สักแต่พิมพ์เอาสนุกมือ ไม่ได้ใช้หัวคิด ค่าประมูล ได้มากก็ดีกับนักการเมืองและคนในชาติ
คนทำงาน 300 อยากใช้อินเตอร์เน็ตราคาถูกไม่ได้หรอครับ คนทำงาน 300 อยากจะใช้อินเตอร์เน็ตดูหนัง HD ไม่ได้หรอครับ hi speed internet จำเป็นต้องใช้ stream ดูหนังอย่างเดี๋ยวหรอครับ จะดีกว่ามั้ยครับถ้าทุกคนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ในราคาที่เหมาะสม???
อย่าดูถูกคนจนครับ รายได้วันละ 300 ก็มีปัญญาทำอะไรได้มากกว่าที่มึงคิดนัก
คนที่ดูถูก น่าจะเป็นคุณมากกว่ามั้งครับ จขพ. ไม่ได้เขียนอะไรในเชิงดูถูกเลยนะ 300 ซื้อเนท 49 ถามว่าเอาไปใช้ทำงานอะไร มันดูถูกตรงไหน
มาขึ้นภาษาพ่อขุน ส่อสกุลมากครับ
ไม่ต้องมาว่าผมดูถูกนะ เพราะผมพูดจากสิ่งที่คุณทำ ต่ำออกมาก่อนอย่างอื่นเลย
อย่าเอาตัวเอง ความคิดตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล ไม่มีใครหมุนรอบตัวคุณ ทุกคนมีสิทธิคิดในแบบของตัวเอง ใครคิดอะไรก็เรื่องของเค้า คุณก็คิดเองของคุณ ใครคิดไม่เหมือนคุณ ก็ไม่เห็นจำเป็นต้องไปแสดงออกให้เค้าคิดแบบเดียวกะคุณ ……… ต่างคนต่างแสดงออกของตนเอง มันก็จบ คุณจะว่าอะไรดี ก็ว่าไป ไม่ต้องไปพาดพิงว่าคนอื่นที่คุณไม่เห็นด้วย ….. สังคมจะได้สงบ
คุณ W6N1G28 ขอบคุณที่เข้ามาแชร์กันนะ เราอย่าเพิ่งหลงประเด็น ที่พูดเรื่อง 300 คือ เห็นมีคนมาพูดบอกประเทศโลกที่ 3 ต้องการ internet ความเร็วสูงเพื่อพัฒนาประเทศ รายได้ 300 ค่าเนท 49 ซึ่งจริงๆผมก็เข้าใจแหละว่าเขาแค่อุปมา ประมาณว่า แค่แรงขั้นต่ำแค่นี้ ค่าเนทดันเท่านี้ ผมก็เลยบอกว่า ถ้าคนที่เขาทำรายได้วันละ 300 การใช้เนท unlimit 49 บาท จะเอาไปทำอะไร ถ้าจะเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อให้ชาติเจริญ ไม่ต้องใช้ขนาดนั้น แต่ถ้าเพื่อบันเทิง อันนั้นมันก็คงไม่ได้ทำให้ชาติเจริญ แล้วจะมาพูดทำไม พูดไปเรื่อย … ผมพูดผิด? ถ้าคนเอาเงินไปซื้อเนท 49 บาทต่อวัน แล้วใช้ประโยชน์ เขาไม่ได้ค่าแรงวันละ 300 หรอกครับ ผมรับประกันเลย ค่าเนท 49 ถือเป็นการลงทุนของเขา ซึ่งต้องคุ้มค่าแน่ เห็นด้วย 100% กับคุณเลย ว่าถ้าทุกคนเข้าถึงจะดีมากๆ คำว่าราคาเหมาะสมก็ยิ่งเห็นด้วยใหญ่ แต่ไอ้ที่จะไปซื้อเนท 49 แล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ แล้วมาบอกไม่เหมาะสมนี่คงไม่ใช่หล่ะ ซึ่งผมว่าคุณก็คงเห็นด้วยกันนะ จริงๆแล้วราคาแบบที่ไม่ใช่ unlimit ก็มีนะ เป็น hi speed ด้วย และถูกกว่า 49 บาทแน่นอน ซึ่งทุกคนก็เข้าถึงได้อยู่นี่ครับ สำหรับ คุณ mitoona ครับผม ขอบคุณที่เตือนมาตอนนี้คงลบไม่ทันแระ คราวหน้าจะไม่ไปเชี่ยวคนอื่นละกันนะ โทษทีครับ แค่เห็นแล้วมันรู้สึกแหม่งๆ เข้าใจสิ่งที่คุณพยายามบอกครับ
ถ้าได้ค่าแรง 300 ใช้เน็ตวันละ 49 เขาเรียกไม่ดูฐานะตัวเอง สมัยก่อนตอนมือถือเครื่องละแสน พวกจนๆก็ไปหาโทรตู้สาธารณะ ไม่เห็นจะมีใครกระสันอยากใช้มือถือ คนสมัยนี้ไม่รู้จักฐานะตัวเอง
อ่อ ผมไม่ได้อยู่ กสทช. หรือเป็นคนของรัฐนะครับ ทำงานบริษัทเอกชน ใช้ดีแทคด้วย ไม่ต้องมโน แค่รู้สึกว่าคนเขาทำงานดีแล้ว จะไปว่าเขาทำไม
ขออีกนิด ไอ้ที่ว่าดีน่ะ เรื่องประมูลนะ เรื่องอื่นไม่เกี่ยว อันอื่นก็ดูบางอันไม่ค่อยเข้าท่า
ประมูลถูก ค่ายมือถือมีกำไรเยอะขึ้น ประชาชนได้ใช้ค่าบริการถูก(จริงเหรอ) กสทชได้เงินไปแดกน้อย = รัฐได้เงินน้อย = ประเทศพัฒนาช้า
ประมูลแพง ค่ายมือถือผลักภาระให้ประชาชนใช้บริการแพง(โปรลับ?) กสทชกำไรเยอะ = รัฐได้กำไรเยอะ = มีเงินไปแบ่งกันแดกเยอะ = ประเทศพัฒนาช้า
เป็นแค่ตัวประกันยังจะมาเลือกข้างทะเลาะกัน โว๊ะ!!
มันไม่เข้าท่าตั้งแต่ราคาประมูลครั้งก่อนๆแล้วครับ แพงอันดับต้นๆของโลก
ถามว่าทำไมต้องอ้างประเทศอื่นด้วยครับ คุณมองโอกาสไป คุ้มก็จ่าย ไม่คุ้มก็ไม่ต้องจ่าย ทุกอย่างมันมีราคาของมันครับ
ข้าวในไทย ตกจานละ 50 ที่อื่นเป็น 100 ทำไมไม่ว่าแพง เพราะมันเป็นเรื่องของประเทศนั้นๆ น้ำมันก็อีกเรื่อง จ่ายกันแพงก็ไม่เห็นจะบ่น
ประมาณว่า ออกแนวทางนี้มาแล้ว เรือออกจากท่าแล้ว จะกลับฝั่งไปเริ่มใหม่ก็ลำบาก….ลดราคาก็ไม่ได้ ไม่ลดก็ไม่มีใครจะเล่นด้วย….สุดท้าย ภาระก็กลับมาที่ผู้บริโภค…
กสทช.ผูกเงื่อนนี้เอง ก็คงต้องหาทางแก้เงื่อนนี้ให้ได้ไม่งั้นมันก็จะกลายเป็นเงื่อนที่กลับไปผูกตัวเอง
รอดูว่า ผู้ใช้ 1800 แบบ 2G
แผนรองรับของดีแทคคือ ไปเช่า 2G ais แล้วโรมมิ่งเอาแทน
"คิดว่าพอ เราจะทำให้ไม่พอเอง" จะคับแค้นในใจอะไรยังไง เก็บไว้ในใจเถอะ
นั่นสิ เป็นองค์กรที่ทำอะไรไม่เป็นมืออาชีพแถมใช้คำพูดออกสื่อแบบไม่คิดหน้าคิดหลัง
เหมือนข้าราชการหิวเงินอะ
จ้องแต่จะเอาเงินคนอื่น เหี้ย
ทำอะไรไม่คิดถึงผู้บริโภคกันบ้างเลย หวังอยากได้แต่เงินเยอะๆ เล่นเอาราคาประมูลตั้งต้นเทียบคราวที่แล้วซึ่งมันสูงผิดปรกติ มันถึงได้เละมาตั้งแต่คราาวดิจิตอลทีวี
เอกชน ท้าชนแบบนี้น่าคิดนะ กสทช มีหมกเม็ดอะไรหรือเปล่า ตั้งราคาสูงท้ายสุดก็ลดราคาแล้วเอาส่วนต่างมาแบ่งกันเจริญกันละพวกแดกคำโตๆระวังบั้นปลายชีวิตกันบ้าง
คุณ Gimme พูดถูกต้องแล้ว คำพูดของ กสทช. มันไม่เหมาะสม ไม่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่
ดีแทคจะเป็นยังไงต่อไปก็เกิดจากที่เขาตัดสินใจ
จะเยียวยาได้ไม่ได้ก็ว่ากันไปตามกฏ
คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรของชาติจะไม่ประมูลหรือไม่มีผู้เข้าประมูลก็บอกราคาสูงแต่เวลานี้ทุกค่ายเน้นพัฒนาระบบDataมากกว่าVoice กสทช. มีหน้าที่ดูผลประโยชน์รัฐกับประชาชนด้านการใช้ประโยชน์ กสทช.ต้องการรายได้เข้ารัฐ ทุกวันนี้Dtac 2300ยังไม่เกิดเร็วนักเพราะคลื่นที่เช่ามีอายุแค่2568 อีก7ปีdtac จะลงทุน2300MHzระบบTDD ไหวมั้ยระยะส่งสั้นเทียบกับ1800กับ900MHz เสาต้องถีขึ้น4-6ต้นถึงได้เท่าระบบFDD คือประเด็นทางธุรกิจของดีแทค 2300MHz(36MHz)+2100MHz(15MHz) ระยะ7ปีอาจมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาแทนตอนที่ครบสัญญาเช่า แต่ลูกค้าของดีแทคไม่ต้องกังวล เพราะหากกฏหมายเขามีข้อกำหนดเรื่องคุณภาพสัญญาณ ที่กังวลคือการลุงทุนของดีแทคจะไวทันก่อนหมดสัมปทานรึไม่เพราะ2300 MHzต้องเช่าที่เพิ่มในระยะแทน2100MHzมากกว่าเดิม4-6ต้นกสทช.พิทักษ์ผลประโยชน์ประเทศสูงสุด บริษัทเอกชนดูกำไรขาด ต้องมองดูประมูลเร็วช้าเทคโนโลยี3Gเป็น4G แค่ไม่ถึง5ปี แต่4G TO NEXT 5G 5G to x G แล้วตอนนี้ใครอยากลงทุนกับระบบ4G อยู่บ้างมั้ยขนาด ตปท.ที่ว่าเน็ทแรงๆเวลาไปใช้ของเขาก็ยังคุณภาพDATAแค่10-30Mbps เอง แต่ตอนนี้ที่ลำบากตกอยู่กับdtacมากกว่า กสทช.ครับ ลงทุนเสาเพิ่ม100,000ต้นไหวมั้ยต้องรอดูแถมเช่าแค่7ปี พอถึงเวลาทดสอบระบบอีกกว่าจะสเถียรอีก4ปี