ปัญหาของหน้าจอมืิอถือในตอนนี้คือไม่ว่าจะเป็นกระจกชนิดไหน 2.5D, Gorilla Glass ก็ยังหนีไม่พ้นกับการโดนขูดขีดจนเป็นรอยทั้งๆ ที่เราไม่ได้ตั้งใจ รวมถึงเผลอทำหล่นนิิดเดียว ก็น้อยใจแตกละเอียดทำลายตัวเองไปซะยังงั้น แต่งานวิจัยชิ้นใหม่นี้อาจจะหมายถึงกาลอวสานของการเปลี่ยนจอ หรือการขายฟิล์มต่างๆ ไปในทันที เพราะมีการค้นพบโพลีเมอร์ชนิดใหม่ที่สามารถประสานรอยแตกหรือลบรอยขีดข่วนด้วยตัวเอง
การค้นพบนี้ถูกตีเผยแพร่บนเวบ science โดยทีมวิจัยของศาสตราจารย์ Takuzo Aida จากมหาวิทยาลัยโตเกียว โดยเป็นการค้นพบวัสดุโพลีเมอร์ชนิดใหม่ ที่สามารถสมานรอยต่อหรือรักษาตัวเองได้ด้วยการใช้แรงกดจากมือเท่านั้น วัสดุนี้มีชื่อเรียกว่า polyether-thioureas ซึ่งแตกต่างจากโพลีเมอร์ทั่วไป ที่ต้องใช้ความร้อนสูงมากๆ ถึง 120 องศาเซลเซียสในการคืนสภาพ
The Guardian รายงานว่ากระจกโพลีเมอร์ชนิดใหม่นี้ถูกค้นพบโดยบังเอิญโดยนักศีกษาปริญญาโท Yu Yanagisawa ที่ตอนแรกคิดว่ามันกลายสภาพคล้ายกาว และหลังจากนำโพลีเมอร์ทั้ง 2 ชิ้นที่ตัดออกจากกันมาประกบใหม่ แล้วใช้แรงกดที่อุณภูมิเพียง 21 องศาเซลเซียส มันก็ต่อติดกันเหมือนเดิม
นี่อาจไม่ใช่ครั้งแรกในการค้นพบวัสดุที่รักษารอยได้ด้วยตนเอง เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยมีฝาหลังของ LG G Flex ที่รักษารอยขีดข่วนหรือขนแมวได้ และก็ยังมี Motorola ที่เคยจดสิทธิบัตรหน้าจอรักษาริ้วรอยไปแล้ว ก็หวังว่าการค้นพบใหม่ๆ เหล่านี้จะถูกพัฒนาต่อและนำมาใช้จริงอนาคต เพื่อเราจะได้ไม่ต้องมาคอยกังวลปัญหาหน้าจอแตกร้าวหรือเป็นรอยอีกต่อไป
source : engadget
ค่าซ่อมจอนี่แต่ละรุ่นแทบจะซื้อเครื่องใหม่กันเลย 555