fbpx
News

Nexus Player การกลับมาของกูเกิลกับสมรภูมิห้องนั่งเล่น

ศึกสมรภูมิห้องนั่งเล่น เป็นสมรภูมิที่กูเกิลให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะกูเกิลเคยพยายามหลายต่อหลายครั้งที่จะแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดนี้ แต่ดูเหมือนว่าจะยังไม่สามารถทำได้สำเร็จซักที ในปี 2010 ถ้าหากยังจำกันได้ ความพยายามครั้งแรกของกูเกิลในการเข้าสู่สมรภูมิรบนี้กับแพลตฟอร์ม Google TV ที่กูเกิลได้ผูกพันธมิตรกับยักษ์ใหญ่แห่งวงการทีวีอย่าง Sony แต่สุดท้ายแล้วกลับล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะเริ่มแรกของ Google TV นั้นยังไม่มีลูกเล่นอะไรนอกจากเป็นทีวีที่ออกอินเตอร์เน็ตได้ แถมยังไม่สามารถโหลดแอพจากภายนอกเพิ่มได้ เพราะยังไม่มี Android Market (ชื่อเก่าของ Google Play Store) อยู่ใน Google TV

ศึกสมรภูมิห้องนั่งเล่น เป็นสมรภูมิที่กูเกิลให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะกูเกิลเคยพยายามหลายต่อหลายครั้งที่จะแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดนี้ แต่ดูเหมือนว่าจะยังไม่สามารถทำได้สำเร็จซักที ในปี 2010 ถ้าหากยังจำกันได้ ความพยายามครั้งแรกของกูเกิลในการเข้าสู่สมรภูมิรบนี้กับแพลตฟอร์ม Google TV ที่กูเกิลได้ผูกพันธมิตรกับยักษ์ใหญ่แห่งวงการทีวีอย่าง Sony แต่สุดท้ายแล้วกลับล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะเริ่มแรกของ Google TV นั้นยังไม่มีลูกเล่นอะไรนอกจากเป็นทีวีที่ออกอินเตอร์เน็ตได้ แถมยังไม่สามารถโหลดแอพจากภายนอกเพิ่มได้ เพราะยังไม่มี Android Market (ชื่อเก่าของ Google Play Store) อยู่ใน Google TV

ในปี 2011 กูเกิลยังพยายามเข็น Google TV อีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นเจเนเรชั่นที่ 2 ของ Google TV ซึ่งมาพร้อมกับ Android 3.1 HoneyComb นอกจากนี้ยังได้ใส่ Android Market ทำให้ Google TV สามารถโหลดแอพเพิ่มเติมจากภายนอกได้แล้ว

ในปี 2012 กูเกิลได้อัพเดต Google TV อีกครั้ง โดยครั้งนี้ถือเป็นเจเนเรชั่นที่ 3 ของ Google TV ซึ่งมาพร้อมกับความสามารถในการค้นหาด้วยเสียง ซึ่งจุดนี้ทำให้ Google TV สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น (ตามวีดิโอด้านบน) และในปีเดียวกัน กูเกิลได้ลองแย็บหมัดเบาๆ กับ Nexus Q มัลติมีเดียสตรีมมิ่งที่สามารถส่งเพลงและวิดีโอจากบนมือให้ไปแสดงบนทีวีได้ เนื่องด้วยราคาที่ค่อนข้างแพง ($299) แต่มีความสามารถที่ดูยังไงก็ไม่สมกับราคาเสียเลย ทำให้เสียงตอบรับของ Nexus Q ค่อนข้างแย่จนกระทั่งกูเกิลทำแท้ง Nexus Q โดยที่มันยังไม่ทันได้ขาย (เปิดให้จองแต่กูเกิลก็ยกเลิกไป)

ในปี 2013 กูเกิลได้นำหลักการของ Nexus Q ไปพัฒนาต่อโดยย่อส่วนและย่อราคา จนกระทั่งออกมาเป็น ChromeCast ที่มีฟีเจอร์ที่คล้ายคลึงกับ Nexus Q แต่ราคาน่าคบหากว่าเยอะ ทำให้ ChromeCast ขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ส่วน Google TV ได้มีการอัพเดตเป็น Android 4.2.2

จนกระทั่งในปีนี้ (2014) กูเกิลได้ทำการรีแบรนเปลี่ยนชื่อจาก Google TV เป็น Android TV โดยสิ่งที่เพิ่มเข้ามาใน Android TV นี้ก็คือการรองรับมัลติมีเดียสตรีมมิ่ง (เหมือนกับ ChromeCast) รองรับการควบคุม Android TV จาก Android Wear รองรับการเล่นเกมมากขึ้น และมาพร้อมกับ Android Lollipop

Android TV จะรุ่งหรือจะริ่ง 

ความเห็นส่วนตัวเชื่อว่า Android TV จะไม่แป๊กเหมือน Google TV เพราะสาเหตุหลักๆ ที่ Google TV ล้มไม่เป็นท่าเพราะระบบนิเวศ (ecosystem) ของ Google TV นั้นไม่มีความพร้อมเอาเสียเลย โดยเฉพาะเนื้อหาทางดิจิทัล (digital content) อย่าง Google TV เจเนเรชั่นแรกนั้นยังไม่มี Android Market เพิ่งจะมามีในเจเนเรชั่นที่ 2 และในส่วนของการป้อนข้อมูลที่ทำได้ยากใน 2 เจเนเรชั่นแรก เพิ่งจะมีการปรับปรุงในเจเนเรชั่นที่ 3 ให้รองรับการกรอกข้อมูลผ่านเสียงได้

ส่วนการปรับปรุงด้านเนื้อหาดิจิทัล นับตั้งแต่ Google เปลี่ยนชื่อจาก Android Market เป็น Google Play Store ดูเหมือนว่า Google จะทำการเตรียมความพร้อมให้กับเนื้อหาทางดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นเพลง (Play Music) ภาพยนต์และรายการทีวี (Play Movie) และสุดท้ายคือเกม (Play Game) ที่กูเกิลพยายามสร้างพันธมิตรกับผู้ผลิตเนื้อหาให้มาสร้างเนื้อหาบน Play Store มากขึ้น แต่ในท้ายที่สุดแล้ว Android TV ยังไงก็ยังไม่เหมาะกับคนไทยอยู่ดี เพราะเนื้อหาทางดิจิทัลเหล่านี้ส่วนใหญ่จะไม่รองรับการให้บริการในประเทศไทย แต่ถ้าจะซื้อมาเล่นเกมนั่นก็เป็นอีกเรื่องนึง

Nexus Player ถือเป็นอุปกรณ์ Nexus ตัวแรกที่เป็น set top box โดยกูเกิลได้จับมือกับ ASUS ร่วมกันพัฒนาจนออกมาเป็น Nexus Player ซึ่งสเปกถือว่าแรงเอาเรื่อง เพราะใช้ชิปเซ็ต Intel Atom Quad-Core 1.8 Ghz หน่วยความจำภายใน 8 GB รองรับการเชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi เท่านั้น

โดยกูเกิลจะเปิดขาย Nexus Player ผ่านทาง Play Store แต่จะเริ่มเปิดให้จองก่อนในวันที่ 17 ตุลาคม และเริ่มขายจริงวันที่ 3 พฤศจิกายน สนนราคาอยู่ที่ $99 ซึ่งจะไม่แถมจอยเกมมาให้ ต้องซื้อแยกต่างหาก

ที่มา Google ผ่าน Android Central

11 Comments

  1. iristoh Post on October 16, 2014 at 11:19 am

    #873466

    ทุกวันนี้ ผมใช้ Minix NEO X7 อยู่ ทุกคนในบ้านชอบมากๆ
    โดยเฉพาะแม่ผมซึ่งสูงวัยมากแล้ว และไม่เคยสนใจเทคโนโลยีเลย
    ก็เล่นมันทั้งวันจนกลาย เป็นเชี่ยวชาญอินเตอร์เน็ตในระดับนึงไปโดยปริยาย

    ตัวนี้ก็คงต้องมาชนกับ NEO X8H ตรงๆ ก็ต้องดูราคากับเสปคหน่อย
    ว่าจะซัดกันได้เต็มที่หรือไม่ เพราะ google ออกตัว(ที่ติดตลาดจริงๆ)ช้า
    MINIX ตอนนี้มันติดลมบนไปแล้ว

    • nessuchan Post on October 16, 2014 at 3:27 pm

      #873477

      99 usd ครับ จอยขายแยก 39 usd

      ผมว่ายังไง nexus น่าจะขายดีกว่านะ

      ผมพึ่งเคยได้ยินชื่อ minix เนี่ยแหละ tv box มันมีหลายจ้าว – –

    • iristoh Post on October 16, 2014 at 9:10 pm

      #873545

      เสียบ TV มีหลายเจ้าจริง แต่ MINIX ดังสุด งัยครับ
      เหมือนสมัยหกเจ็ดปีก่อน บอกว่าเครื่องเล่น DVD ยี่ห้อ OPPO ดีสุด
      แต่คนไม่ได้เล่นโฮมเธียเตอร์จะเกาหัวว่ายี่ห้ออะไร

  2. boatheng Post on October 16, 2014 at 5:42 pm

    #873529

    คือแบรนด์ชื่อ Android TV แล้วตัว Device ชื่อ Nexus Player ใช่ไม๊ครับ

    ว่าแต่ Android TV แถวบ้านผมขายมาหลายปีแล้ว ดูหนังฟรี ดูบอลพรีเมียร์เติมเงินรายเดือน

    ต่อ Mouse Keyboard เล่นเวปได้ปกติ ^^

  3. indyend Post on October 16, 2014 at 7:40 pm

    #873566

    ผมเคยถาม Google TV G+ Community ไปว่า ทำไมคุณถึงต้องทำเป็นฮาร์ดแวร์มาขาย ทั้งๆที่คุณทำแค่แอปก็ได้ และมันจะเป็นประโยชน์ต่อมวลมหาแอนดรอยทั้งปวง ทางออฟฟิตเชียลตอบกลับมาว่า "ฮาร์ดแวร์ไม่ถึง" ผมก็กลับมาคิด ไม่ถึงนี่มันไม่ถึงยังไงน้าาาา หมายถึงฮาร์ดแวร์ในตอนที่ผมถาม มันไม่แรงพอจะไปรัน TV Streaming เหรอ หรือว่ามันไม่มีวันที่ฮาร์ดแวร์ของแอนดรอยจะสามารถรับมือกับ Streaming ได้ แต่ที่เราดู Youtube หรือแอปอย่าง Thai TV Online นี่มันก็ดูได้นี่นา ทำไมถึงบอกว่าไม่ถึง หรือว่าถ้าทำแล้วได้เงินไม่ถึงใจเค้าก็ไม่รู้

    ปล. แค่อยากเล่าเฉยๆ

    • plaumkamon Post on October 16, 2014 at 8:46 pm

      #873592

      <p>แอพในที่นี้หมายถึง apk ที่ไว้ดู TV Streaming รึเปล่าครับ ถ้าอย่างนั้นไม่ต้องรอ Google ทำก็ได้ เพราะในทั้ง Play Store และนอก Play Store ต่างก็มีแอพแบบนี้เพียบ</p><p>ผมว่าที่กูเกิลทำแพลตฟอร์ม Google TV หรือ Android TV ออกมาเป็นเพราะต้องการจัดระเบียบ Android บนทีวีดังเช่นแพลตฟอร์ม Android Wear ที่ออกมาเพื่อจัดระเบียบระบบ Android บน wearable device</p><p>ถ้ายังจำกันได้ smart watch ที่ใช้ระบบ Android ในช่วงแรกๆ อย่าง <a href="http://droidsans.com/motorola-actv-for-sport-man"><strong>Moto ACTV</strong></a>, <strong><a href="http://droidsans.com/droidsans-review-sony-smartwatch">SmartWatch</a></strong> ที่ทั้ง Motorola และ Sony ต่างเอา Android มาโมเองทำให้แอพของ smart watch ที่ออกมาแต่ละค่ายไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่อง user experience ของผู้ใช้ด้วย ที่แต่ละค่ายออกแบบ UI มาคนละทาง ถ้าย้ายค่ายก็ต้องมานั่งเรียนรู้ใหม่</p><p>เช่นเดียวกันกับระบบ Android บน TV ที่เราจะเห็นว่ามีผู้ผลิตมากมายพยายามเอา Android UI แบบแท็บแล็ต แล้วยัดลงใส่ set top box แล้วเวลาจะกรอกข้อมูลหรือควบคุม set top box เหล่านี้ต้องทำผ่านคีย์บอร์ดหรือเมาท์ ซึ่งตรงนี้ผมมองว่ายังไม่ใช่ ควรจะมี UI ที่เป็นเฉพาะทางสำหรับ TV ไปเลย ถึงแม้ว่าหลังๆ ผู้ผลิต set top box จะสร้าง UI ให้เหมาะสมกับ TV ก็ตาม แต่ควรที่จะควบคุมได้ง่ายกว่านี้ ไม่จำเป็นที่จะต้องหาคีย์บอร์ดหรือเมาท์มาเพิ่ม นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้กูเกิลต้องออกมาจัดการกับเรื่องนี้</p><p>ส่วนที่ G+ ของ Google TV ตอบกลับมาแบบนี้ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน</p>

    • indyend Post on October 16, 2014 at 9:07 pm

      #873603

      ขอบคุณมากๆครับ น่าจะจริงอย่างที่คุณ plaumkamon อธิบาย ส่วนใน G+ เค้าอาจจะตอบให้จบๆไปก็ได้ แหะๆๆๆ

    • Kraizis Post on October 16, 2014 at 9:56 pm

      #873610

      งั้นคงเหมือนกับที่ Google ทำ Nexus ออกมาทุกปีล่ะมั้งครับ
      ใช้เป็นมาตรฐานเฉยๆ

  4. pureblackheart Post on October 16, 2014 at 8:08 pm

    #873571

    กำลังสงสัยว่าจอยแยก เอาไปใช้กับแอนดรอยด์ปกติได้ไหม

  5. Direct Post on October 17, 2014 at 3:36 pm

    #873706

    สเปคเหมือน Fonepad7 ตัวใหม่ แสดงว่าเล่นเกมแรงๆได้สบาย แต่ไทยจะนำเข้ามั้ยน้อ

  6. fatdiary Post on October 21, 2014 at 9:30 am

    #874266

    ดูจากหน้าตาของ joystick แล้ว
    พอมีโอกาศที่จะจอย xbox360 หรือพวก xinputจอยทั่วไป มาเสียบกับเจ้าเครื่องนี้ไหมนี่

Leave a Reply

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save