เรื่องราวการโกงคะแนน Benchmark หรือคะแนนการวัดประสิทธิภาพมือถือจากแอปชื่อดัง เช่น Antutu, Geekbench และอื่นๆ นั้นมีมานานพอสมควร เริ่มต้นด้วย Samsung ตามมาด้วย HTC และ ผู้ผลิตอีกรายหลาย ที่แอบปรับซอฟต์แวร์มือถือให้เพิ่มประสิทธิภาพระบบเกินจริงเวลาใช้งานแอป Benchmark ทั้งหลาย เรื่องผ่านไปหลายปีปัญหานี้ก็ยังมีอยู่ ล่าสุดทาง XDA และ Geekbench ได้จับมือกันตรวจสอบพบว่ามือถือจาก OnePlus และ Meizu มีการโกงคะแนน Benchmark อีกแล้ว
ทางทีมงานเว็บ XDA เว็บไซต์ชื่อดังสำหรับนักพัฒนา ROM บนมือถือ ได้ออกมาเปิดเผยเรื่องนี้หลังจากที่ค้นพบโดยบังเอิญ โดยระหว่างที่พวกเขากำลังทดสอบหาเหตุผลว่า ทำไมมือถือที่ใช้ชิป Snapdragon 821 สามารถเปิด app ได้รวดเร็วมากกว่าชิปรุ่นอื่น แต่กลับได้พบการทำงานแปลกๆของ OnePlus 3T ซึ่งไม่เหมือนกับมือถือรุ่นอื่นที่ใช้ชิปรุ่นเดียวกัน
บก.ของเราคุณ Mario Serrafero ใช้แอป Qualcomm Trepn และ Snapdragon Performance Visualizer เพื่อทำการตรวจสอบว่า Qualcomm เร่งความเร็วของ CPU ยังไงตอนที่เปิดแอปต่างๆ และพบว่าความเร็วของ CPU บน OnePlus 3T ไม่ลดลงสู่ระดับปกติหลังจากที่เปิดแอปเสร็จไปแล้ว
ทางทีม XDA เชื่อว่า OnePlus ตั้งใจเลือกเพิ่มความเร็ว CPU กับบางแอป โดยเฉพาะแอป Benchmark อย่างเช่น AnTuTu, Geekbench, Androbench, Quadrant และอื่นๆ เพื่อให้ได้คะแนนที่สูงกว่าปกติ แต่เพื่อความแน่ใจจึงได้ร่วมทำงานกับทีมผู้พัฒนาแอป Geekbench เพื่อให้แน่ใจว่า OnePlus โกงคะแนนจริงหรือไม่ และคำตอบก็คือ “ใช่”
ทางทีม Geekbench ได้ทำงานสร้างตัวทดสอบอันใหม่แบบเฉพาะกิจ ขึ้นมาเพื่อหลอกมือถือว่าไม่ใช่แอป Geekbench และทำการทดสอบเทียบกับระหว่างแอปจริง (Regular Build) และแอปหลอก (Secret Build) ผลปรากฎว่าคะแนนออกมาต่างกันอย่างชัดเจน ทำให้สรุปได้ว่า OnePlus มีการล็อคชื่อแอปที่ต้องการทำคะแนนเยอะๆแน่นอน ซึ่งทางทีม XDA กับ Geekbench ก็ทดสอบกับมือถือของ Meizu ด้วยและพบว่า Meizu Pro 6 Plus ก็ใช้วิธีแบบเดียวกัน
ทางทีม XDA ได้ส่งผลการทดสอบไปให้ OnePlus และขอให้จัดการเรื่องนี้ให้ถูกต้อง ซึ่งทาง OnePlus เองก็ยอมรับแต่โดยดี โดยบอกว่ามันเป็นฟีเจอร์หนึ่งของ OxygenOS ที่จะช่วยให้เกมและแอปที่ต้องการประสิทธิภาพเยอะๆทำงานได้ดีขึ้นบนมือถือของ OnePlus และพวกเขาจะเอาพวกแอป Benchmark ออกจากเงื่อนไขที่เตรียมไว้
ในการที่จะทำให้ผู้ใช้ของเราได้รับประสบการณ์ใช้งานที่ดีเยี่ยมระหว่างเล่นเกมหรือใช้งานแอปที่กินทรัพยากรเยอะๆ โดยเฉพาะพวกแอปที่เน้นกราฟฟิก เราจึงได้ใส่กลไกพิเศษเข้าไปใน Community build และ Nougat build เพื่อเพิ่มความเร็วของหน่วยประมวลผลให้มากขึ้น กระบวนการแบบนี้สำหรับแอป Benchmark จะไม่อยู่ในเวอร์ชันถัดไปของ OxygenOS สำหรับ OnePlus 3 และ OnePlus 3T
ก็คงต้องคอยตรวจสอบไปเรื่อยๆสำหรับเรื่องราวการโกงคะแนนของผู้ผลิตมือถือเจ้าต่างๆ แต่ทางทีม XDA ก็คอนเฟิร์มมาส่วนหนึ่งแล้วว่ามือถือของ HTC, Xiaomi, Huawei, Honor, Google และ Sony ไม่มีการโกงคะแนนแต่อย่างใด ใครใช้อยู่ก็สบายใจได้ หรือจะให้สบายใจยิ่งกว่าก็ไม่ต้องคิดมากกับคะแนน Benchmark เอาแค่ประสิทธิภาพการใช้งานจริงของมือถือเป็นที่น่าพอใจก็คงจะโอเคแล้วครับ สำหรับคนที่อยากดูรายงานการทดสอบแบบละเอียดเข้าไปดูที่ link ต้นทางได้เลย
ที่มา: XDA
ส่วนตัวผมมองว่ามันไม่เห็นจะน่ารังเกียจตรงไหน ถ้ามองในเรื่องของการที่จะดึงความสามารถของตัวชิปให้ออกมาสูงสุด ในการทดสอบกับแอบวัดประสิทธิภาพต่างๆพวกนี้ อย่างวงการเดสทอป เค้าก็มีการโอเว่อคล๊อค cpu เอย ram เอย ลากขึ้นไปขีดสุดเท่าที่มันจะทำได้ ถึงขั้นใช้ของเหลวหล่อเย็นจำพวกต่างๆ ทำการล๊อคตัวคูณ cpu ลาก ram แล้วรัน benchmark จุดประสงค์ก็คะแนนที่สูงกว่าคนอื่นๆ แน่นอนว่าการใช้งานจริงๆเอามาใช้ยาวๆมันไม่เสถียรอยุ่แล้ว เขาจึงเขียนโค๊ดเฉพาะแอพทดสอบไง ถ้าเป็นทุกแอพก็เปลืองพลังงาน แต่มันก้สะใจดี ที่ของที่อยู่ในมือตัวเองดันคะแนนออกมาสูงกว่าชาวบ้าน ส่วนตัวผมว่ามันน่าเสียดายน่ะถ้าเอาโค๊ดล๊อค cpu ออกไป
เอาที่สบายใจ ถ้าใช้แล้วพอใจก็ดีแล้ว
บางคนก็ซื้อมือถือมาเพื่อนั่งภูมิใจกับผลคะแนนการแอพทดสอบจริงๆ หุหุ
ไม่เหมือนกันหรอกครับ overclock นั้นผู้ใช้รับรู้และยอมรับ และมีผลกับทุกแอพ อันนี้มาเร่งแอพ benchmark เพื่ออะไร ส่วนเกมถ้าจะเร่งจริงผมว่าเปิดตัวเลือก game mode เพื่อเปิด mode นี้ดีกว่า ไม่งั้นเกมไหนจะได้ใช้บ้างก็ไม่รู้ เกมไหนอยู่ในเงื่อนไขบ้าง
ไม่เคยสนใจคะแนน
ผลต่างของ Oneplus แค่ 10% ยังพอแถได้นะครับ
แต่ Meizu นี่ต่างกันเกือบ 2 เท่านี่ จะดริฟท์ท่าไหน
ไม่เหมือนกันนะครับ กรณีของ desktop ผู้ใช้เป็นคนทำเอง หรือต่อให้เป็นฟังก์ชั่นของตัว CPU/GPU เอง ก็มีการแจ้งให้รับทราบกันอยู่แล้วและอยู่ในวิสัยที่ขีดความสามารถจากโรงงานจะทำได้นี่ครับ
หลังปี 2015 มือถือตัวบน นี่ผมเลิกดูคะแนนแล้วนะ
มัน OverKill กันหมดแล้ว ดูฟีเจอร์ติดเครื่องมากกว่า
Antutu ที่คะแนน 40,000 ขึ้นไป สำหรับผมถือว่าลื่นมากกก แล้ว
มือถือยุคนี้ไปกันแสนกว่าๆ
แต่ก็อย่างว่านะ ของแบบนี้มันมีคุณค่าทางใจ ไม่มีถูกผิด
งั้นถ้าตั้งค่าให้ทุกแอพ CPU ทำงานเต็มที่ตลอด เพื่อความรวดเร็วในการใช้งาน จะโดนว่าโกงมั้ย
เยอะแยะ เอาแค่ความรู้สึกผู้ใช้ก็พอแล้วมั้งครับ ไม่หน่วงก็จบแระ อีกอย่างมันก็อยู่ที่ os ของแต่ละเจ้าด้วย
ผลิตเครื่องดีๆ มีคุณภาพและคุ้มค่ากับเงินที่ผู้บริโภคเสียไปจะดีกว่า
ตอน SS ทำ -> แย่ เลว ขี้โกง ห่วย
ค่ายอื่นๆ ทำ -> ใครเค้าดูคะแนนกัน ไม่เห็นจะผิดตรงไหน
555 เอาที่สบายใจ จริงๆอยากให้ทำโหมดเอาไว้ให้เลือกใช้เองดีกว่านะ
มันมีผลต่อการตัดสินใจของผู้ซื้อ จะบอกว่าไม่โกงคงไม่ได้
เหมือนแข่งรถที่มีกติกาต้องออกรถในรอบเดินเบาปรกติ แต่บางค่ายเบิ้ลรอบรอไว้เลย แน่นอนมันต้องเร็วกว่าคู่แข่ง รถใครเร็วกว่าคนก็สนใจมากกว่าแค่นั้น
ผลคะแนนบน Desktop มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ น้อยกว่า Smartphone อยู่มาก
การทดสอบประสิทธิภาพด้านการใช้งานจริง มันแตกต่างกับการทดสอบเพื่อโชว์ออฟอยู่นะ
ถ้าจะโกงคะแนน ก็ทำเป็น mode มาให้เลือกน่าจะดีกว่า
– Power Save mode
– Normal mode
– Game mode
– High Performance mode
– Over clock mode
โกงถูกต้องครับ รับผิดซะ แล้วก็อย่าทำอีก ผมเชื่อว่าตัวมือถือเองก็ไม่ได้แย่นัก แต่การโกหกแบบนี้มันแสดงถึงความไม่จริงใจ ฉะนั้นแก้ไขซะครับ ผมเองก็ใช้ OP3T นะครับ แต่ไม่อวยครับ ผิดคือผิด ส่วนเรื่องการใช้งานจริงก็ว่ากันตามประสบการณ์จริงครับ ส่วนตัวยังมองว่าเป็นมือถือน่าใช้มากอยู่ แต่ถ้า OP ยังทำแบบนี้อีก ผมไม่สนับสนุนคนโกงครับ จบ.
แอนดรอย สมัยแรกๆ 5 ปีที่แล้วลงไป มันช้า ดังนั้น benchmark เป็นสิ่งจำเป็น
เพราะถ้าเครื่องเราเร็ว เราก็รันได้ทุกแอพ ทุกเกม ส่งผลต่อยอดขายเครื่องซัมซุง
แต่ถ้าเครื่องเราช้าเกิน เวลารันแอพเราก็ต้องรอ ไม่ทันใจ เปิดกล้องก็ช้า ถ่ายรูปก็ช้า เปิดเน็ตก็อืดจน…
หรือรันเกม แล้วอืด กระตุก แตะแล้วไม่ตามนิ้ว
มาปัจจุบัน การผลิตชิพที่เร็วพอมันดีขึ้น
ดังนั้น ซื้อเครื่องระดับกลางมาก็รัน แอพได้เร็วแล้ว รันเกมก็ลื่น เล่นเน็ตคล่อง
ดังนั้น คะแนน benchmark จึงไม่สำคัญอีกต่อไป