ถ้า ChatGPT กลายเป็น หุ่นยนต์ ขึ้นมาล่ะ ? ล่าสุด OpenAI กำลังซุ่มพัฒนาหุ่นยนต์ Humanoid ChatGPT ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่มีความคล้ายมนุษย์หรือที่เรียกกันว่า Humanoid robot ภายใต้คอนเซ็ปที่สามารถเคลื่อน ไหวได้ดูเป็นธรรมชาติ และมีพฤติกรรมเหมือนมนุษย์ ทั้งการเดิน 2 ขา การขยับอวัยวะยกของต่าง ๆ ถ้าอยากรู้ว่าจะน่าสนใจตรงไหน ก็มาดูกันได้เลย
OpenAI เป็นบริษัทแม่ของแชทบอทที่เรารู้จักกันอย่างดีในวงกว้าง สำหรับ ChatGPT ตอนนี้ได้มีการลงทุนครั้งใหญ่เป็นจำนวน 23.5 ล้านดอลลาร์ใน 1X ร่วมกับบริษัทวิศวกรรมด้านวิทยาการหุ่นยนต์จากนอร์เวย์ เพื่อพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์ Humanoid robot ตัวใหม่ล่าสุดมีชื่อว่า EVE ขับเคลื่อนโดยระบบ AI ที่ล้ำสมัย ภายใต้คอนเซ็ป “หุ่นยนต์ที่มีการเคลื่อนไหวและพฤติกรรมใกล้เคียงมนุษย์ ” เหมือนกับที่ OpenAI สร้างระบบการจัดการข้อมูลแบบเดียวกับ ChatGPT โดยการบีบอัดข้อมูลอินเทอร์เน็ตเอาไว้ ทำให้ AI ตัวนี้สามารถตอบสนองการใช้งานทั่วไปสำหรับการจัดการข้อมูลทางกายภาพได้ดี และทางผู้พัฒนายังนำไปรวมกับงานวิจัยก่อนหน้า เพื่อปรับใช้เป็นหุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย
อีกทั้งยังโต้ตอบกับเราได้ผ่านจอแสดงอารมณ์พร้อมการควบคุมผ่าน VR เช่นการยิ้ม หรือการแสดงออกทางอารมณ์ ถ้าทุกคนสังเกตดูในคลิปเราจะเห็นว่าหุ่นยนต์มีการเคลื่อนไหวที่คล้ายมนุษย์ ทั้งการขยับแขน และขา ยกของ เดินไปมา หรือเปิดหน้าต่างเป็นต้น และมันยังสามารถบาลานซ์ร่างกายได้เอง เพื่อเคลื่อนที่ไปในทิศทางต่าง ๆ ด้วยการเคลื่อนไหวที่แม่นยำทำให้สามารถใช้งานได้หลายอุตสาหกรรมตั้งแต่ร้านอาหาร ค้าปลีก การแพทย์จนไปถึงในโกดังสินค้า แต่นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่นะ คงจะคล้ายหุ่นยนต์ Sparrow ของ Amazon ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ตัวแรกในระบบคลังสินค้าที่สามารถตรวจจับ เลือก หยิบและจัดการกับสินค้าแต่ละประเภทได้ผ่านระบบปัญญาประดิษฐ์นั่นเอง
แต่ก็ต้องมารอดูกันอีกทีสำหรับหุ่นยนต์ตัวนี้ เพราะการทำงานภายในใช้โมเดลภาษาชุดเดียวกับ GPT-4 โดย OpenAI ระบุว่าเอไอเจนใหม่นี้มีความสามารถเพิ่มขึ้นมาหลายอย่าง เช่น การเรียนรู้สำนวนการเขียนของผู้ใช้ เขียนบทละคร แต่งเพลงได้ และที่สำคัญสามารถรับ Input ข้อความได้สูงถึง 25,000 คำ ทำให้เราสั่งให้มันอ่านหน้าวิกิยาว ๆ แล้วถามคำถามมันได้ ยิ่งถ้ามาปรับใช้กับหุ่นยนต์คงจะฉลาดไม่น้อย และจะเป็นตัวช่วยในการปรับใช้การโต้ตอบไปมากับมนุษย์ได้เป็นธรรมชาติมากขึ้น
ที่มา : nypost
เริ่มน่ากลัวเข้าไปทีละนิด
A : ไม่เป็นอันตราย เพราะมนุษย์เป็นผู้เขียนโปรแกรมควบคุม
B : มนุษย์ผู้อยากรู้อยากเห็น ก็พัฒนาไปเรื่อยๆ อยากรู้ว่าขีดความสามารถของ AI จะขยายได้มากขนาดไหน
เสริม : ขนาด OpenAI ยังมีมนุษย์ ผู้ซึ่งไม่ใช่นักพัฒนาโดยตรง แต่ยังหาทางสั่งให้ OpenAI ทำโน้น ทำนี่ ได้มากกว่าที่นักพัฒนา OpenAI อนุญาติให้ทำตั้งเยอะ