Qualcomm ได้เปิดตัว Snapdragon 888 ชิปสำหรับสมาร์ทโฟนระดับไฮเอนด์ในเดือนธันวาคม ปี 2563 จากนั้นได้มี Snapdragon 870 กับ 860 โผล่มาในเดือนมกราคม และมีนาคม ปี 2564 ตามลำดับ ซึ่งการตั้งชื่อด้วยลำดับเลขที่ขยับขึ้น ๆ ลง ๆ นั้นสร้างความสับสนให้กับใครต่อใครอย่างไม่ต้องสงสัย แม้ว่า ความแรงจะใกล้เคียงกัน แต่จริง ๆ แล้วคุณสมบัติยิบย่อยนั้นแตกต่างกันอยู่พอสมควร
เปรียบเทียบ Snapdragon 888, 870 และ 860
Snapdragon 888 | Snapdragon 870 | Snapdragon 860 | |
ซีพียู | หน่วยประมวลผล 8 แกน Kryo 680 ความเร็ว 2.84 GHz | หน่วยประมวลผล 8 แกน Kryo 585 ความเร็ว 3.2 GHz | หน่วยประมวลผล 8 แกน Kryo 485 ความเร็ว 2.96 GHz |
จีพียู | Adreno 660 | Adreno 650 | Adreno 640 |
กระบวนการผลิต | 5 นาโนเมตร | 7 นาโนเมตร | 7 นาโนเมตร |
โมเดมเซลลูลาร์ | X60 (ภายใน) ความเร็วดาวน์ลิงก์ 7.5 Gbps ความเร็วอัปลิงก์ 3 Gbps | X55 (ภายนอก) ความเร็วดาวน์ลิงก์ 7.5 Gbps ความเร็วอัปลิงก์ 3 Gbps | X50 (ภายนอก) ความเร็วดาวน์ลิงก์ 2 Gbps ความเร็วอัปลิงก์ 316 Mbps |
หน่วยประมวลผลสัญญาณดิจิทัล | Hexagon 780 | Hexagon 698 | Hexagon 690 |
หน่วยประมวลผลสัญญาณภาพ | Spectra 580 × 3 ตัว | Spectra 480 × 2 ตัว | Spectra 380 × 2 ตัว |
การถ่ายภาพ | กล้อง 1 ตัว – 200 MP หรือ 84 MP พร้อม MFNR และ ZSL ที่ 30 เฟรมต่อวินาที กล้อง 2 ตัว – 64 MP พร้อม MFNR และ ZSL ที่ 30 เฟรมต่อวินาที กล้อง 3 ตัว – 28 MP พร้อม MFNR และ ZSL ที่ 30 เฟรมต่อวินาที | กล้อง 1 ตัว – 200 MP หรือ 64 MP พร้อม MFNR และ ZSL ที่ 30 เฟรมต่อวินาที กล้อง 2 ตัว – 25 MP พร้อม ZSL ที่ 30 เฟรมต่อวินาที | กล้อง 1 ตัว – 192 MP หรือ 48 MP พร้อม MFNR และ ZSL ที่ 30 เฟรมต่อวินาที กล้อง 2 ตัว – 22 MP พร้อม MFNR และ ZSL ที่ 30 เฟรมต่อวินาที |
การถ่ายวิดีโอ | 8K ที่ 30 เฟรมต่อวินาที 4K ที่ 120 เฟรมต่อวินาที | 8K ที่ 30 เฟรมต่อวินาที 4K ที่ 120 เฟรมต่อวินาที | 4K ที่ 60 เฟรมต่อวินาที |
การแสดงผล | 4K ที่ 60 Hz Quad HD+ ที่ 144 Hz ความลึกสี 10-bit | 4K ที่ 60 Hz Quad HD+ ที่ 144 Hz ความลึกสี 10-bit | 4K ที่ 60 Hz Quad HD+ ที่ 144 Hz ความลึกสี 10-bit |
การชาร์จ | Quick Charge 5 | Quick Charge 4+ | Quick Charge 4+ |
การเชื่อมต่อ | FastConnect 6900 Wi-Fi 6E Bluetooth 5.2 USB-C 3.1 | FastConnect 6800 Wi-Fi 6 Bluetooth 5.2 USB-C 3.1 | FastConnect 6200 Wi-Fi 6 Bluetooth 5 USB-C 3.1 |
หน่วยความจำ | RAM LPDDR5 ความเร็ว 3200 MHz สูงสุด 24 GB | RAM LPDDR5 ความเร็ว 2750 MHz สูงสุด 16 GB | RAM LPDDR4x ความเร็ว 2133 MHz สูงสุด 16 GB |
Snapdragon 888 ยังคงอยู่ในจุดที่สูงที่สุด
ซีพียูแกนหลักของ Snapdragon 888 อาจมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาต่ำกว่าคู่เปรียบเทียบเล็กน้อย แต่ฮาร์ดแวร์ส่วนอื่น ๆ ที่เหลือนั้นดูดีกว่าในระดับหนึ่งเลย ไล่ตั้งแต่กระบวนการผลิตที่ล้ำสมัยบนขนาด 5 นาโนเมตร ซีพียูที่ทรงพลังไปอีกระดับ คุณสมบัติด้านการเชื่อมต่อที่เหนือกว่า เป็นต้น
สิ่งที่เป็นหมัดเด็ดของ Snapdragon 888 หลัก ๆ มีด้วยกัน 2 ประการ อันดับแรก คือ โมเดม X60 ที่ฝังมาในตัว ในขณะที่ Snapdragon 870 และ 860 เป็นโมเดมแยกออกมาอีกก้อน ฝ่ายแรกจึงมีอัตราการบริโภคพลังงานที่ต่ำกว่า ยามเชื่อมต่อสัญญาณบนเครือข่าย 5G รวมถึงเป็นการประหยัดพื้นที่ไปได้อีกนิดหน่อย ซึ่งผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอาจนำเอาข้อได้เปรียบตรงนี้ไปใช้ในการออกแบบภายในได้
อันดับถัดมา คือ ชิปประมวลผลภาพ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า ISP (image signal processor) เป็นเจเนอเรชั่นที่ใหม่กว่า แถมยังยัดมาให้ถึง 3 ตัว เยอะกว่าบรรดาน้อง ๆ อีกต่างหาก การที่มีเจ้าชิปดังกล่าวนี้เยอะ ๆ ทำให้ปลดล็อกฟีเจอร์การถ่ายภาพและยกระดับการใช้งานบางอย่างเพิ่มเติม โดยขึ้นอยู่กับการนำไปต่อยอดของผู้ผลิตสมาร์ทโฟน
จากตารางด้านบนจะเห็นได้ว่า ทั้ง Snapdragon 888, 870 และ 860 ต่างก็รองรับการทำงานร่วมกับกล้องจำนวนหลาย ๆ ตัว พร้อมคุณสมบัติ MFNR (multi-frame noise reduction) และ ZSL (zero shutter lag) ได้แบบเรียลไทม์ แตกต่างตรงกันความละเอียด อันเป็นผลมาจากประสิทธิภาพและจำนวนของชิปประมวลผลภาพตามที่กล่าวไปแล้วนั่นเอง
นอกจากนี้การสลับจากเลนส์หนึ่งไปอีกเลนส์หนึ่งจะทำได้อย่างลื่นไหล เพราะกล้องตัวที่เหลือที่ยังไม่ถูกใช้งานในขณะนั้นสามารถสแตนด์บายรอเอาไว้ได้ตลอดเวลา ในทางกลับกัน หากชิปประมวลผลภาพมีจำนวนจำกัด อาจเกิดอาการตะกุกตะกักระหว่างสลับเลนส์ได้ เนื่องจากต้องอาศัยปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยคาดคะเนความน่าจะเป็น อาจมีการคำนวณพลาดเกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้
Snapdragon 870 และ 860 คงไว้ซึ่งความแรง ในราคาย่อมเยา
หากอธิบายแบบรวบรัด Snapdragon 870 กับ กับ 860 เป็นรุ่นปรับปรุงของ Snapdragon 865 และ 855 ที่ถูกโอเวอร์คล็อกขึ้นมาให้มีความเร็วสูงกว่าเดิม ภาพรวมของไส้ในเกือบทั้งหมดยังคงคล้าย ๆ กัน แม้ว่า เทคโนโลยีบางอย่างอาจไม่ได้ล้ำสมัยที่สุดเหมือนอย่าง Snapdragon 888 แต่เรื่องความแรงนั้นหายห่วง
ดูเหมือนว่า กลยุทธ์การนำชิปประมวลผลรุ่นเก่ามาปรับปรุงใหม่จะเป็นแนวคิดที่ดี ได้ประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย สมาร์ทโฟนระดับกลางมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ช่องว่างระหว่างเรือธงแคบลง ผู้บริโภคย่อมมีทางเลือกที่หลากหลาย ผลตอบรับจนถึงตอนนี้ก็เป็นไปในทิศทางที่ดีมาก ดังที่เห็นได้จาก POCO F3 และ X3 Pro ที่พึ่งเผยโฉมไปหมาด ๆ ซึ่งหลังจากนี้น่าจะมาตามมาอีกเพียบเลยครับ
ิอันที่จริงความแรงมันเหลือเฟือมาก่อนหลายเจ็นแล้ว 855+ 865 865+
สำหรับคนที่เน้นเล่นแต่เกมส์ก็คงไม่มายด์เท่าไหร่
แต่ถ้าเอามาใช้เรนเดอร์วิดีโอด้วยก็จะเห็นความต่างอยู่พอสมควร
ความสามารถของกล้องก็แตกต่างลดหลั่นลงไป ถ้ารับได้มันก็เป็นชิปที่ยังใช้ได้คุ้มค่าอยู่
860 นี่น่าสนใจนะครับ CPU ระดับเรือธงปีที่แล้ว ในราคาเปิดตัว 7-8 พัน ประสิทธิภาพทิ้งซีรี่ย์ 6xx-7xx ในราคาช่วงนี้ไปไกลมาก
แต่ SD780 ตัวใหม่ แรงมากเลยครับ เป็นซีรีย์ 7xx ที่ใช้สถาปัตยกรรม Kyro 670 เลย ตัว SD865 ยังเป็นแค่ Kryo 585 เท่านั้นเอง ปกติซีรีย์ 7xx จะใช้ตัวเก่ากว่า แม้จะเป็นรุ่นใหม่ก็ตาม
ว่ากันตามตรงจริงๆๆ Snap 780 คือ เล่นเอา 870 ไป integrate Modern X55 แล้วยกไปฝึกที่ 5nm ก็โครตโหดแล้ว
รอดูพวก 870 ราคา ไม่เกิน 15000