Qualcomm ได้เปิดตัว Snapdragon 888 ชิปสำหรับสมาร์ทโฟนระดับไฮเอนด์ในเดือนธันวาคม ปี 2563 จากนั้นได้มี Snapdragon 870 กับ 860 โผล่มาในเดือนมกราคม และมีนาคม ปี 2564 ตามลำดับ ซึ่งการตั้งชื่อด้วยลำดับเลขที่ขยับขึ้น ๆ ลง ๆ นั้นสร้างความสับสนให้กับใครต่อใครอย่างไม่ต้องสงสัย แม้ว่า ความแรงจะใกล้เคียงกัน แต่จริง ๆ แล้วคุณสมบัติยิบย่อยนั้นแตกต่างกันอยู่พอสมควร
เปรียบเทียบ Snapdragon 888, 870 และ 860
Snapdragon 888 | Snapdragon 870 | Snapdragon 860 | |
![]() | ![]() | ![]() | |
ซีพียู | หน่วยประมวลผล 8 แกน Kryo 680 ความเร็ว 2.84 GHz | หน่วยประมวลผล 8 แกน Kryo 585 ความเร็ว 3.2 GHz | หน่วยประมวลผล 8 แกน Kryo 485 ความเร็ว 2.96 GHz |
จีพียู | Adreno 660 | Adreno 650 | Adreno 640 |
กระบวนการผลิต | 5 นาโนเมตร | 7 นาโนเมตร | 7 นาโนเมตร |
โมเดมเซลลูลาร์ | X60 (ภายใน) ความเร็วดาวน์ลิงก์ 7.5 Gbps ความเร็วอัปลิงก์ 3 Gbps | X55 (ภายนอก) ความเร็วดาวน์ลิงก์ 7.5 Gbps ความเร็วอัปลิงก์ 3 Gbps | X50 (ภายนอก) ความเร็วดาวน์ลิงก์ 2 Gbps ความเร็วอัปลิงก์ 316 Mbps |
หน่วยประมวลผลสัญญาณดิจิทัล | Hexagon 780 | Hexagon 698 | Hexagon 690 |
หน่วยประมวลผลสัญญาณภาพ | Spectra 580 × 3 ตัว | Spectra 480 × 2 ตัว | Spectra 380 × 2 ตัว |
การถ่ายภาพ | กล้อง 1 ตัว – 200 MP หรือ 84 MP พร้อม MFNR และ ZSL ที่ 30 เฟรมต่อวินาที กล้อง 2 ตัว – 64 MP พร้อม MFNR และ ZSL ที่ 30 เฟรมต่อวินาที กล้อง 3 ตัว – 28 MP พร้อม MFNR และ ZSL ที่ 30 เฟรมต่อวินาที | กล้อง 1 ตัว – 200 MP หรือ 64 MP พร้อม MFNR และ ZSL ที่ 30 เฟรมต่อวินาที กล้อง 2 ตัว – 25 MP พร้อม ZSL ที่ 30 เฟรมต่อวินาที | กล้อง 1 ตัว – 192 MP หรือ 48 MP พร้อม MFNR และ ZSL ที่ 30 เฟรมต่อวินาที กล้อง 2 ตัว – 22 MP พร้อม MFNR และ ZSL ที่ 30 เฟรมต่อวินาที |
การถ่ายวิดีโอ | 8K ที่ 30 เฟรมต่อวินาที 4K ที่ 120 เฟรมต่อวินาที | 8K ที่ 30 เฟรมต่อวินาที 4K ที่ 120 เฟรมต่อวินาที | 4K ที่ 60 เฟรมต่อวินาที |
การแสดงผล | 4K ที่ 60 Hz Quad HD+ ที่ 144 Hz ความลึกสี 10-bit | 4K ที่ 60 Hz Quad HD+ ที่ 144 Hz ความลึกสี 10-bit | 4K ที่ 60 Hz Quad HD+ ที่ 144 Hz ความลึกสี 10-bit |
การชาร์จ | Quick Charge 5 | Quick Charge 4+ | Quick Charge 4+ |
การเชื่อมต่อ | FastConnect 6900 Wi-Fi 6E Bluetooth 5.2 USB-C 3.1 | FastConnect 6800 Wi-Fi 6 Bluetooth 5.2 USB-C 3.1 | FastConnect 6200 Wi-Fi 6 Bluetooth 5 USB-C 3.1 |
หน่วยความจำ | RAM LPDDR5 ความเร็ว 3200 MHz สูงสุด 24 GB | RAM LPDDR5 ความเร็ว 2750 MHz สูงสุด 16 GB | RAM LPDDR4x ความเร็ว 2133 MHz สูงสุด 16 GB |
Snapdragon 888 ยังคงอยู่ในจุดที่สูงที่สุด
ซีพียูแกนหลักของ Snapdragon 888 อาจมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาต่ำกว่าคู่เปรียบเทียบเล็กน้อย แต่ฮาร์ดแวร์ส่วนอื่น ๆ ที่เหลือนั้นดูดีกว่าในระดับหนึ่งเลย ไล่ตั้งแต่กระบวนการผลิตที่ล้ำสมัยบนขนาด 5 นาโนเมตร ซีพียูที่ทรงพลังไปอีกระดับ คุณสมบัติด้านการเชื่อมต่อที่เหนือกว่า เป็นต้น
สิ่งที่เป็นหมัดเด็ดของ Snapdragon 888 หลัก ๆ มีด้วยกัน 2 ประการ อันดับแรก คือ โมเดม X60 ที่ฝังมาในตัว ในขณะที่ Snapdragon 870 และ 860 เป็นโมเดมแยกออกมาอีกก้อน ฝ่ายแรกจึงมีอัตราการบริโภคพลังงานที่ต่ำกว่า ยามเชื่อมต่อสัญญาณบนเครือข่าย 5G รวมถึงเป็นการประหยัดพื้นที่ไปได้อีกนิดหน่อย ซึ่งผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอาจนำเอาข้อได้เปรียบตรงนี้ไปใช้ในการออกแบบภายในได้
อันดับถัดมา คือ ชิปประมวลผลภาพ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า ISP (image signal processor) เป็นเจเนอเรชั่นที่ใหม่กว่า แถมยังยัดมาให้ถึง 3 ตัว เยอะกว่าบรรดาน้อง ๆ อีกต่างหาก การที่มีเจ้าชิปดังกล่าวนี้เยอะ ๆ ทำให้ปลดล็อกฟีเจอร์การถ่ายภาพและยกระดับการใช้งานบางอย่างเพิ่มเติม โดยขึ้นอยู่กับการนำไปต่อยอดของผู้ผลิตสมาร์ทโฟน
จากตารางด้านบนจะเห็นได้ว่า ทั้ง Snapdragon 888, 870 และ 860 ต่างก็รองรับการทำงานร่วมกับกล้องจำนวนหลาย ๆ ตัว พร้อมคุณสมบัติ MFNR (multi-frame noise reduction) และ ZSL (zero shutter lag) ได้แบบเรียลไทม์ แตกต่างตรงกันความละเอียด อันเป็นผลมาจากประสิทธิภาพและจำนวนของชิปประมวลผลภาพตามที่กล่าวไปแล้วนั่นเอง
นอกจากนี้การสลับจากเลนส์หนึ่งไปอีกเลนส์หนึ่งจะทำได้อย่างลื่นไหล เพราะกล้องตัวที่เหลือที่ยังไม่ถูกใช้งานในขณะนั้นสามารถสแตนด์บายรอเอาไว้ได้ตลอดเวลา ในทางกลับกัน หากชิปประมวลผลภาพมีจำนวนจำกัด อาจเกิดอาการตะกุกตะกักระหว่างสลับเลนส์ได้ เนื่องจากต้องอาศัยปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยคาดคะเนความน่าจะเป็น อาจมีการคำนวณพลาดเกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้
Snapdragon 870 และ 860 คงไว้ซึ่งความแรง ในราคาย่อมเยา
หากอธิบายแบบรวบรัด Snapdragon 870 กับ กับ 860 เป็นรุ่นปรับปรุงของ Snapdragon 865 และ 855 ที่ถูกโอเวอร์คล็อกขึ้นมาให้มีความเร็วสูงกว่าเดิม ภาพรวมของไส้ในเกือบทั้งหมดยังคงคล้าย ๆ กัน แม้ว่า เทคโนโลยีบางอย่างอาจไม่ได้ล้ำสมัยที่สุดเหมือนอย่าง Snapdragon 888 แต่เรื่องความแรงนั้นหายห่วง
ดูเหมือนว่า กลยุทธ์การนำชิปประมวลผลรุ่นเก่ามาปรับปรุงใหม่จะเป็นแนวคิดที่ดี ได้ประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย สมาร์ทโฟนระดับกลางมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ช่องว่างระหว่างเรือธงแคบลง ผู้บริโภคย่อมมีทางเลือกที่หลากหลาย ผลตอบรับจนถึงตอนนี้ก็เป็นไปในทิศทางที่ดีมาก ดังที่เห็นได้จาก POCO F3 และ X3 Pro ที่พึ่งเผยโฉมไปหมาด ๆ ซึ่งหลังจากนี้น่าจะมาตามมาอีกเพียบเลยครับ

5 Comments
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
FordRaptor Post on April 8, 2021 at 5:47 pm
#1027215
ิอันที่จริงความแรงมันเหลือเฟือมาก่อนหลายเจ็นแล้ว 855+ 865 865+
สำหรับคนที่เน้นเล่นแต่เกมส์ก็คงไม่มายด์เท่าไหร่
แต่ถ้าเอามาใช้เรนเดอร์วิดีโอด้วยก็จะเห็นความต่างอยู่พอสมควร
ความสามารถของกล้องก็แตกต่างลดหลั่นลงไป ถ้ารับได้มันก็เป็นชิปที่ยังใช้ได้คุ้มค่าอยู่
redondo16 Post on April 9, 2021 at 9:20 am
#1027222
860 นี่น่าสนใจนะครับ CPU ระดับเรือธงปีที่แล้ว ในราคาเปิดตัว 7-8 พัน ประสิทธิภาพทิ้งซีรี่ย์ 6xx-7xx ในราคาช่วงนี้ไปไกลมาก
nisit Post on April 9, 2021 at 2:13 pm
#1027228
แต่ SD780 ตัวใหม่ แรงมากเลยครับ เป็นซีรีย์ 7xx ที่ใช้สถาปัตยกรรม Kyro 670 เลย ตัว SD865 ยังเป็นแค่ Kryo 585 เท่านั้นเอง ปกติซีรีย์ 7xx จะใช้ตัวเก่ากว่า แม้จะเป็นรุ่นใหม่ก็ตาม
themeee Post on April 12, 2021 at 12:33 am
#1027242
ว่ากันตามตรงจริงๆๆ Snap 780 คือ เล่นเอา 870 ไป integrate Modern X55 แล้วยกไปฝึกที่ 5nm ก็โครตโหดแล้ว
themeee Post on April 9, 2021 at 2:09 pm
#1027227
รอดูพวก 870 ราคา ไม่เกิน 15000