การสแกนลายนิ้วบนจอเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เริ่มมีการนำมาใช้ในสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ ซึ่งตัวมันเองก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ว่ามีจุดที่สแกนบนจอได้เพียงจุดเดียวเท่านั้น แต่ล่าสุดแบรนด์ยักษ์ใหญ่ของเกาหลีอย่าง Samsung ได้ทำการยื่นจดสิทธิบัตรเกี่ยวกับหน้าจอสมาร์ทโฟนที่สามารถสแกนลายนิ้วมือได้ทั้งจอ ไม่ว่าแปะลงไปตรงไหน ก็สามารถปลดล็อคได้
โดยในสิทธิบัตรที่ Samsung ขอยื่นจดนั้นอธิบายเกี่ยวกับ Optical Reader และยังมีการระบุอีกด้วยว่าสามารถใช้กับสมาร์ทโฟนพับได้ได้ เซนเซอร์ชนิดนี้จะทำให้แอพพลิเคชั่นมีอิสระมากขึ้นในการกำหนดตำแหน่ง UI บนหน้าจอ ซึ่งจะทำให้ใช้กับแท็ปเล็ตและอุปกรณ์อื่นๆได้ด้วย
จากภาพเราจะเห็นว่ามีภาพสมาร์ทโฟนที่มีติ่งหรือ Notch อยู่ด้วยแต่คาดว่าที่ Samsung ทำภาพสมาร์ทโฟนแบบมีติ่งบนจอออกมาให้เห็นด้วยเนื่องจาก Samsung เป็นซัพพลายเออร์ผลิตหน้าจอให้สมาร์ทโฟนหลายๆแบรนด์เช่น Google Pixel เป็นต้น เลยน่าจะทำให้เห็นภาพว่าหน้าจอตัวนี้ใช้กับสมาร์ทโฟนที่มีติ่งได้เช่นกันซะมากกว่า
สำหรับตัวอ่านของที่สแกนลายนิ้วมืออันนี้นั้นใช้โปรเซสเซอร์ที่ใช้พลังงานต่ำเพื่อรอให้ผู้ใช้สัมผัสหน้าจอในขณะที่ชิปเซ็ตหลักนั้นพักอยู่ ตัวอ่านจะสแกนนิ้วเรา 3 ครั้ง ในการสแกนแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 20 – 30 มิลลิวินาที ความสว่างของหน้าจอจะถูกปรับในระหว่างการสแกนแต่ละครั้ง(ซึ่งใช้เวลาประมาณ 200 มิลลิวินาที) หน้าจอจะอยู่ระหว่าง 200 nits, 600 nits และไปจนถึงความสว่างสูงสุดที่เกิน 1,000 nits
เวลาในการสแกนทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 700 มิลลิวินาที ซึ่งสอดคล้องกับตัวลายนิ้วมืออ่านแบบ Synaptics optical ก็เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่น่าสนใจ ต้องมารอลุ้นกันว่าเราจะได้เห็นในสมาร์ทโฟนจริงๆเมื่อไร
ที่มา: GSMArena
ของแบบนี้ ไม่ควรให้จด เพราะมันง่าย ใครก็คิดได้
จดไปคน ืื่ืื่คิดได้เอง ไม่ได้ก๊อปซัมซุง ก็ทำไม่ได้ แบบนี้ไม่ควร
ที่เขาจด เพราะเขาผลิตได้เอง ใช้ได้จริงหรือเปล่าครับ
มันมีพวกจดแล้วไม่ทำจริงรอฟ้องเอาตังอย่างเดียวอยู่ครับ ส่วนเรื่องง่ายบริษัทผู้นำด้านนวัตกรรมก็ทำยิ่งกว่านี้ครับ เช่นทุกอย่างเหมือนเดิมเติมแค่คำว่ามือถือ ปัญหามันคือมีการปล่อยให้จดมั่วซั่วมานานมากแล้ว จะมาเลือกปฏิบัติตอนนี้ก็จะโดนเค้าฟ้องเอาครับ
เนี่ยสิทธิบัตรแบบนี้ ไม่ควรจดจริงๆแหละ
นึกถึง slide to unlock เลย มันง่ายเกิ้น
เดี๋ยวนี้เห็นจดกันซ้ำซ้อนยกตัวอย่างเช่นมือถือจอพับได้เห็นจดกันหลายแบรนด์เลยแบบนี้จะอ้างสิทธิกันยังไง
จดแล้วทำออกมาใช้ได้ดีจริง ก็สมควรครับ แต่ถ้าจดไว้แล้วไม่ได้ทำอะไร แค่จดกันไว้เฉยๆแบบนี้ ไม่สมควรเป็นการปิดกันคนอื่นไม่สามารถพัฒนาอะไรได้เลย
อีกตัวอย่าง คือ samsung smartwatch ที่ขอบหมุนได้(rotation bezel) แล้วเลื่อนตัวเลือกซ้ายขวา
บอกตรงๆ อันนี้ คิดต่อยอดจากนาฬิกากลไก ที่มีขอบหมุนได้แท้ๆ แต่ samsung คิดแล้วรีบจดทะเบียน ปี 2014 เพื่อกีดกันคนอื่น
ซึ่งตัวเองก็ไม่ได้ทำขอบหมุนได้คนแรก ไซโกผมขอบหมุนได้มาแต่ปี 2000 แล้ว
แต่พอจดทะเบียน ไป เรื่องง่ายๆ แบบนี้ คนอื่นก็เลยทำไม่ได้
ฝรั่ง มันก็รีวิว ว่า ทำไมนาฬิกา wear os ไม่ใช้ประโยชน์จาก ขอบหมุนได้แบบ samsung
จริงๆ เต้าก็อยากทำนะ แต่ทำไม่ได้เพราะติด สิทธิบัตร
ผมว่าของบางอย่าง ถ้าตัวเองไม่ได้คิดแต่แรก แล้วมาต่อยอด เอา และไม่ใช่เรื่องยากด้วย ก็ไม่ควรอนุญาตให้จดสิมธิบัตร นะ เพราะ เท่ากับกีดกันคนอื่น
ถ้าเป็นสูตรนิวเคลียร์ ฟิวชั่น แบบเย็น ที่มันบากๆ ก็ควรให้จด แต่เรื่องง่ายๆ ขอเถอะ กีดกันความเจริฐของโลกมนุษย์
ดีนะ ที่ซัมซุง ไม่จด สิทธิบัตร นาฬิกา smartwatch จอกลม ไว้ ถ้าจด คงไม่มีใครทำ smartwatch จอกลมได้
และดีที่ ซัมซุงไม่จดสิทธิบัตร จอ สี่เหลี่ยมผืนผ้าไว้ ไม่งั้นวันนี้ คงไม่มี apple watch
ขณะที่ Apple จดนาฬิกาหน้าปัดกลมได้แล้วนะครับ
ข่าวของ CNet ตั้งแต่พ.ค.แล้วครับ