ดูเหมือนว่าประเด็นเรื่องดีลของ ทรู – ดีแทค จะยังไม่จบง่าย ๆ นะคะ เพราะล่าสุดทางสภาองค์กรผู้บริโภคถึงกับส่งจดหมายเปิดผนึกถึง กสทช.เรียกร้องให้ออกมาทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนในการพิจารณาคดีข้อเสนอขอควบรวมกิจการของ ทรู – ดีแทค เรามาอ่านรายละเอียดกันค่ะว่าข้อกฎหมายจะไปถึงไหนกัน แล้วบทสรุปจะออกมายังไงบ้าง

การผูกขาดในธุรกิจโทรคมนาคมเป็นประเด็นใหญ่ที่มากระทบต่อโครงสร้างของเศรษฐกิจประเทศ และสิทธิพลเมืองในยุค 5G เนื่องจากปัจจุบันอินเทอร์เน็ตถือเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ไปแล้วนั่นเองค่ะ จึงเห็นว่าการผูกขาดจาก 2 ค่ายนี้ไม่ได้สร้างผลประโยชน์อะไร แถมยังจะกระทบโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความเสมอภาค รวมไปถึงการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และการแสดงออกอีกด้วย

ทางสภาองค์กรผู้บริโภคเห็นว่าการที่ กสทช.ไม่ทำหน้าที่พิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตควบรวมกิจการแบบนี้ เป็นการแสดงออกถึงความไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภคค่ะ ไม่ให้เกียรติสังคมที่เลือกเข้ามารับตำแหน่ง (ดันตลกคิดว่าตัวเองไม่มีอำนาจพอที่จะจัดการความรับผิดชอบของตัวเองได้เต็มที่)

และการที่ กสทช. ส่งหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความประเด็นข้อกฎหมายกรณีการควบรวมธุรกิจระหว่างทรู – ดีแทคทำให้สังคมไม่มีทางเลือกต้องมาแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูงเกินความจำเป็นทั้งบริการโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตที่สูงขึ้นหรือทำให้โอกาสการเข้าถึงการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของผู้บริโภคลดลงไปอีกจากการควบรวมกิจการ (ซึ่งไม่ดีเลยนะคะ สำหรับผู้บริโภคอย่างเราที่ต้องมารับผลกระทบไปด้วย)

สภาองค์กรของผู้บริโภคจึงเขียนบันทึกถึงผู้บริโภคและประชาชนให้ออกมาร่วมกันใช้สิทธิของตัวเองในการคัดค้าน และเรียกร้องให้ กสทช. ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างที่ควรจะเป็นโดยใจความสำคัญคือเรียกร้องให้ กสทช.ทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชน 66 ล้านคน เพื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะโดยเฉพาะทรัพยากรคลื่นความถี่ซึ่งแตกต่างจากทรัพยากรสาธารณะด้านอื่น ๆ พร้อมกันนี้ได้เรียกร้องประชาชนลุกขึ้นมาคัดค้าน กสทช.ที่ไม่ใช้อำนาจของตัวเองอย่างเด็ดขาด

นอกจากการรวบทรูดีแทคจะทำให้ค่าบริการแพงขึ้นถึง 12 เปอร์เซนต์เลยค่ะ จากงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ถึงค่าบริการที่สำคัญทาง กสทช.ยังไม่มีหลักประกันจะอนุญาตให้ควบรวมกิจการนี้เกิดขึ้นอีกทั้งเป็นเรื่องไม่สมควร และไม่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภค 

ข้อสังเกตอีกประเด็น

ในช่วงแรกของการประมูลกสทช.ได้ออกแบบให้มี 3 ใบอนุญาต 3 ราย เพื่อป้องกันการควบรวมคลื่นความถี่ และการจัดสรรคลื่นของผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวถือเป็นสัญญาต่อรัฐ ซึ่งผู้รับใบอนุญาตต้องรับผิดชอบต่อสัญญาดังกล่าว จึงฝากถึงคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ยึดหลักการสัญญาการประมูลคลื่น และข้อสังเกตว่าการควบรวมคลื่นความถี่จะขัดกับสัญญาต่อรัฐ และขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ?

ตอกกลับ กสทช.ที่ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตัวเอง

ปัจจุบันคลื่นความถี่มีความจำเป็นและสำคัญในชีวิตประจำวันของทุกคนตอนนี้เป็นหน้าที่ของ กสทช. ที่ต้องมากำกับดูแลนั่นเอง ส่วนนี้จึงเป็นประเด็นสำคัญที่สังคมต้องถามหาความรับผิดชอบจาก กสทช.ค่ะ  หากไม่ทำหน้าที่แล้วใครจะทำ ถ้าต่อไปในอนาคตประชาชนมีแรงขับเคลื่อนที่มากพอแล้วหน่วยงาน กสทช. ยังไม่รับผิดชอบในส่วนนี้  ก็เป็นหน้าที่ของพวกเราที่ต้องตัดสินใจว่า ควรทำอย่างไรกับกสทช.กันต่อไปดีค่ะ

 

ที่มา : สภาองค์กรของผู้บริโภค