มาแบบในหนังฮอลลีวูดกันเลยทีเดียวสำหรับกองทัพไทย เมื่อมีรายงานข่าวจากหลากสำนักเรื่องการจัดตั้ง “กองสงครามไซเบอร์” สำหรับดูแลและรับมือภัยคุกคามที่สมัยนี้ไม่ได้มีเพียงแค่การยิงปืนหรือวางระเบิดกันตูมตามเท่านั้น แต่ว่าการโจมตีกันทางโลกอินเทอร์เนตก็เริ่มเป็นที่แพร่หลายและยกระดับความรุนแรงขึ้นทุกที จนเป็นที่มาของการจัดตั้งหน่วยงานนี้ 

สงครามไซเบอร์คืออะไร2

คำๆนี้ไม่ใช่แค่คำเรียกในหนังหรือในการ์ตูน แต่ว่ามันเป็นคำที่ถูกนิยามขึ้นและใช้งานจริงกันทั่วไป โดยจะใช้เมื่อมีการกระทำจาก กลุ่มคนทั้งสเกลเล็กๆเช่น ผู้ก่อการร้าย หรือใหญ่ๆระดับประเทศ ที่มีความพยายามเจาะเข้าไปคอมพิวเตอร์หรือระบบเน็ตเวิร์คของอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อหวังผลในการสอดแนม ทำลายหรือยับยั้งการกระทำบางอย่าง หรือเอาสั้นๆก็คือการกระทำแบบในหนักแอคชั่นที่มีเรื่องของการแฮก การจารกรรมข้อมูลผ่านคอมหรือเน็ตเวิร์คอะไรนั่นแหละ ก็เรียกว่าสงครามไซเบอร์ได้

ในบางประเทศมีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ รวมถึงมีการลงทุน และวางแผนระยะยาว เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการทำสงความไซเบอร์นี้ เช่นที่อเมริกาก็จะมี United States Cyber Command (USCYBERCOM) ที่ถูกก่อตั้งมาตั้งแต่เมื่อ 23 มิถุนายน 20093

 

ประเทศไทยจำเป็นต้องมี “กองสงครามไซเบอร์” หรือไม่

โลกในทุกวันนี้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เนตกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตพวกเราไปแล้ว ถึงแม้ว่าในไทยเราจะเห็นว่าเหล่าข้าราชการ หรือระบบอาจจะยังดูไม่พร้อมเท่าไหร่นัก แต่ว่าจะช้าหรือเร็ว เราก็ต้องเดินไปตามกระแสโลกไปอยู่ดี และการเตรียมพร้อมสำหรับภัยคุกคามที่อาจจะมาถึงได้ในอนาคตก็เป็นเรื่องที่ควรทำ และตามข่าว “กองสงครามไซเบอร์” นี้ก็จะอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ที่จะทำในอีกหลายๆปีข้างหน้า อาจจะไม่ได้เริ่มทำเลยในวันนี้ตอนนี้

 

เกี่ยวข้องอะไรกับ Single Gateway หรือ การละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือไม่?

ตามข่าวไม่ได้มีการเจาะลึกประเด็นนี้ลงไป แต่เข้าใจว่าไม่น่าจะเกี่ยว เนื่องจากล่าสุดทุกฝ่ายออกมาย้ำเหมือนกันหมดแล้วว่าจะยังไม่มี-ไม่ทำ Single Gateway แน่นอน และตามจุดประสงค์ของการจัดตั้งหน่วยงานนี้ขึ้นมาก็ดูจะไม่ได้เกี่ยวสักเท่าไหร่จริงๆ แต่ที่น่าสนใจมากกว่าคืออะไรเป็นตัวกระตุ้นให้กองทัพเริ่มหันมาสนใจเรื่องนี้ได้ และกองทัพจะเปิดสงครามกับใคร…ภัยคุกคามจากต่างชาติ หรือว่าคนกันเอง

 

อ้างอิง Blognone, Wikipedia (Cyberwar2, USCYBERCOM3),