หากใครที่เป็นช่างภาพหรือคนเล่นกล้องก็คงจะรู้กันดีว่า การถ่ายภาพทางช้างเผือกให้สวยงามได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะอุปกรณ์ต่างๆ ต้องพร้อม ไม่ว่าจะเป็นกล้อง DSLR ตัวเบ้อเริ่ม และเลนส์ที่ใหญ่กว่าแขน ซึ่งไม่เหมาะกับคนทั่วไปอย่างแน่นอน แต่ตอนนี้เราไม่จำเป็นที่จะต้องพกกล้องตัวใหญ่เพื่อที่จะใช้ล่าทางช้างเผือกอีกต่อไปแล้ว เพราะทาง TinyMos ได้จัดแคมเปญใน Indiegogo เปิดตัว Tiny1 กล้องถ่ายภาพดวงดาวที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก
TinyMos เป็นบริษัท Startup จากประเทศสิงคโปร์ซึ่งได้ทำ Tiny1 มาร่วมหาทุนผ่านทาง Indiegogo โดยเจ้า Tiny1 นั้นเป็นกล้องขนาดพกพา ที่ดูแล้วแทบจะไม่ต่างจากกล้อง mirrorless ทั่วไปเท่าไหร่นัก แต่ที่ต่างก็คือ ความสามารถในการถ่ายภาพท้องฟ้ายามค่ำคืน เพื่อเก็บภาพดวงดาวที่ใกล้เคียงกับกล้อง DSLR ตัวใหญ่ๆ เลยทีเดียว
Tiny1 นั้นมาพร้อมกับความละเอียดเพียงแค่ 4 ล้านพิกเซล เท่านั้น ซึ่งทาง TinyMos ได้ให้เหตุผลว่า ยิ่งพิกเซลสูง ยิ่ง noise เยอะ ทำให้ได้ภาพคุณภาพที่ต่ำลงเมื่ออยู่ในที่แสงน้อย แต่ที่น่าสนใจกว่าคือ Tiny1 สามารถใช้งานกับเลนส์ไหนก็ได้ในตลาด ไม่ว่าจะเป็นเลนส์ของ DSLR, mirroless หรือ telescope ก็ยังได้
นอกจากนี้ทาง TinyMos ก็ยังทำให้สามารถแชร์รูปภาพจาก Tiny1 มายังสมาร์ทโฟนของเราได้อย่างง่ายดายผ่านทางแอพ TinyMos บนสมาร์ทโฟน โดยราคาที่ทาง TinyMos ได้ตั้งเอาไว้เริ่มต้นอยู่ที่ $349 หรือประมาณ 12,xxx บาท ซึ่งเรียกได้ว่าถูกกว่ากล้อง mirrorless และ DSLR ในตลาดตอนนี้ โดยจะมาพร้อมเลนส์คิท 4mm F1.2 ครับ
ใครที่สนใจก็สามารถ Tiny1 จากทาง TinyMos ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ Indiegogo เลยครับ
ชัดขนาด นั้นเลยหรอครับ เจ๋งจริงๆ
ค่า F1.2 อืมขอถามเอาความรู้หน่อยครับ กล้องdslr ที่ใช้กันว่าแจ่มๆนี่ ค่า F เขาเท่าไรกันหรอครับ
เรื่องค่า Aperture
ไม่ว่าจะเรื่องการรับแสง หรือค่าความชัดตื้น กล้องแต่ละแบบจะเอาเลขมาเทียบกันตรงๆไม่ได้ครับ เพราะขนาดเซ็นเซอร์ที่ต่างกันให้ผลของภาพออกมาต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นกล้องมือถือเซนเซอร์อันจิ๋วเดียว ที่บอกว่ามี F1.8 แล้วจะหมายความว่าภาพที่ได้จะมีความไวแสง มีความชัดตื้นเท่ากล้อง DSLR F1.8 ครับ
เวลาเทียบกันจะต้องดูที่ Aperture Equivalent (135) อย่างพวกกล้องมือถือที่ F1.8 จะให้ภาพประมาณ
กล้อง Full Frame ที่ F8 ครับ
F-Stop เป็นเรื่องของเลนส์ครับไม่เกี่ยวกับตัวกล้อง
ยิ่งค่า F กว้างเท่าไหร่ จะทำให้ได้ค่า Speed Shutter เร็วขึ้น อาจทดแทนได้ด้วยค่า iso
ถ่ายวิวส่วนใหญ่ผมใช้ที่ 8 บางคนขึ้นไป 11 หรือมากกว่า Shutter อาจช้าจนต้องใช้ขาตั้งกล้อง
ส่วนใหญ่ F กว้างๆ มักไว้ใช้ถ่ายภาพแนว portrait ชัดตื้นมากกว่า
F1.2 คือระดับเลนส์เกรดโปรของค่ายคือระดับเลนส์เกรดโปรของค่าย ที่สว่างกว่านั้นเช่น F0.95 ส่วนใหญ่จะเป็นคมือหมุน
F กว้าง (F ค่าน้อยๆ) แล้วดีอย่างไร? อย่างแรกคือช่วนให้แสงเข้าได้มากขึ้น ด,ผลพลอยได้คือสามารถเพิ่มสปีดและลด ISO ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งของโอกาสได้ภาพและคุณภาพของภาพ (เพราะงั้น โดยพื้นฐาน F กว้างจะดีกว่า แต่บางสถานการณ์ก็ไม่)
F กว้างส่งผลกับ Depth of Field ทำให้แคบลง พูดภาษาบ้านๆก็คือหน้าชัดหลังเบลอมากขึ้น ซึ่งก็ไม่ได้ดีเสมอไปขึ้นกับความต้องการของแต่ละคน
เลนส์กล้องสามารถปรับ F ได้อันเป็นจุดอ่อนของมือถือเกือบทุกรุ่น (ยกเว้น Panasonic CM1)
แปลว่าเลนส์นี้มันดีมาก? ไม่ เพราะเลนส์นี้ออกแบบมาสำหรับเซนเซอร์เล็กๆ (เอาไปใส่กล้องใหญ่จะเจอขอบดำ) ซึ่งการออกแบบเลนส์ F กว้างๆนั้น สามารถทำได้ง่ายกว่ามาก (เลนส์ C Mount สว่างๆในตลาดมีมากมาย)
งั้นมันแย่? อันนี้ไม่ทราบ ขึ้นอยู่กับการออกแบบและคุณภาพชิ้นแก้ว ซึ่งผมว่ามันต้องดีในระดับหนึ่งแหละ
และเหมาะกับการถ่ายดาวไหม? ถ่ายดาว แบ่งได้กว้างๆสองประเภทคือ..
1. ถ่ายที่ตัวดาวแบบกล้องโทรทรรศน์ ใช้เลนส์เทเล ซึ่งการถ่ายแบบนี้การใช้กล้องเซนเซอร์จะมีขนาดเล็กและถูกกว่ามากกกก (เราถึงเห็นกล้อง Compact Superzoom เซนเซอร์เล็กในตลาดและยังคงอยู่ได้ เพราะหากเปลี่ยนเป็นกล้องเซนเซอร์ใหญ่ ขนาดจะใฆญ่มากก แพงมากกก แถม F แคบกว่าด้วย) สรุปคือ เหมาะ
2. ถ่ายทะเลดาว ทางช้างเผือก การถ่ายแบบนี้จะเน้นมุมกว้างและเลนส์สว่าง ทว่า.. มันยากมากที่จะจบภาพนี้หลังกล้อง เปรียบให้เห็นภาพคือ ท้องฟ้ามันมืด และเราไม่สามารถแยกระหว่างมืดมากๆๆ กับมืดมากๆๆๆออกได้ เราจึงใช้คอมช่วยให้เห็นความแตกต่าง แต่กับกล้องนี้ซึ่งเซนเซแร์เล็ก (ไม่รู้ว่าแค่ไหน) อาจมีความเป็นไปได้ที่แม้แต่กล้องเองก็ไม่สามารถแยกระหว่างมืดมากๆๆ กับมืดมากๆๆๆ ออกได้ เพราะงั้นจึงมีความจำเป็นต้องจบหลังกล้อง
แล้วมันจบหลังกล้องได้ดีแค่ไหน? ผมฟังน้าคนนึงเขาบอกว่ากล้อง M43+F0.95 ยังรู้สึกว่าไม่พอเลย คือมันก็ทำได้แหละ แต่จะคาดหวังให้เหมือนกล้องใหญ่อาจจะยากครับ
ไม่เกี่ยวกันครับ ค่า F ค่ือการเปิดช่องรูรับแสงซึ่งมันจะสัมพันธ์กันกับค่า iso และสปีดชัตเตอร์ ในการถ่ายดาวนิยมใช้เลนส์ค่ารับแสงที่กว้างๆ เพราะจะไม่ต้องดัน iso มาก เป็นที่มาของ noise ที่มากขึ้นไปนั่นเอง
กล้อง dslr เขาก็ปรับค่า F ตามแต่ลักษณะภาพว่าต้องการถ่ายอะไร
Wechat
บอร์ดี้ไม่สวยเอาซะเลย
เป็นสิ่งที่ดี ที่เทคโนยีพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
ผมว่าโฆษณาเกินจริงไป และไม่ตรงด้วยนะ
ทีว่าพิกเซลสูงยิ่ง noise เยอะ ไม่ใช่ละนะ ไม่งั้นกล้อง dslr เก่าๆ 8 ล้าน 10 ล้านนี่สมัย 10 ปีก่อน noise ไม่น้อยกว่ากล้องสมัยนี้หรอที่ 24, 35 ล้าน
ที่มันมองเหมือน noise น้อยเพราะย่อแล้วมองไม่เห็นน่ะสิ ลองกล้องใหญ่ 20,30 ล้านย่อมาที่ 4 ล้านไฟล์ย่อมเนียนกว่าอยู่แล้ว เรื่องการจัดการ ISO ที่เนียนกว่า
การที่ได้เลนส์รูรับแสงได้กว้างก็ช่วยในเรื่องไม่ต้องดัน iso สูงๆในการถ่ายภาพกลางคืน อาจะช่วยเรื่อง noise ได้บ้าง แต่อยู่ที่ senser ของกล้องด้วยว่าจัดการดีแค่ไหนในเรื่อง noise และคุณภาพของเลนส์ดูแค่ค่า f ก็บอกไม่ได้เช่นกัน
ไฟล์ 4 ล้านถ้าถ่ายเพื่ออัพตามโซเชี่ยลต่างๆ คงพอได้ แต่ถ้าเอาไปขยายเพื่อใช้งานจริงไม่พอแน่
ถ้าใช้ "เทคโนโลยีเดียวกัน" พิกเซลน้อยกว่าทำให้จัดการ Noise ได้ดีกว่าจริงครับ เพราะขนาดพิกเซล์ที่ใช้รับแสงใหญ่กว่า
ทำไม? Noise คือสัญญาณรบกวน สำหรับเซนเซอร์ที่พิกเซลขนาดใหญ่กว่า ย่อมสามารถเก็บข้อมูลแสงได้มากกว่า จึงสามารถจำแนกและจัดการ Noise ได้ดีกว่า ในทางกลับกันพิกเซลเล็กๆก็มีข้อมูลแสงน้อย จึงไม่สามารถจำแนกและจัดการ Noise ได้
ทว่า.. เทคโนโลยีก็มีผลมากเช่นกัน เพราะงั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เทคโนโลยี 10 ปีที่แล้วจะสู้ไม่ได้
ตัวอย่างกล้องที่พิสูจน์แนวคิดนี้คือ Sony A7s ทั้ง I และ II ที่ใช้เซนเซอร์ FF และมีพิกเซลแค่ 12 ล้าน