หลังจากได้นั่งดูถ่ายทอดสดงาน “Apple เด้งดึ๋งไปข้างหน้า” (Spring Forward) ..เอ หรือผมจะแปลชื่องานผิด แต่ช่างมันเถอะ เพราะเนื้อหาใน blog นี้ไม่ได้เกี่ยวกับชื่องานของ Apple ซะหน่อย แตมันเกี่ยวกับสิ่งที่ Apple ได้เปิดตัวในงาน นั้นก็คือ ResearchKit ที่หลายคนร่ำลือว่ามันคือ API ทางการแพทย์เพื่อช่วยมวลมนุษยชาติในอนาคตอย่างแท้จริง ผมเองก็เป็นคนนึงที่ตื่นตะลึงไปด้วย ณ วินาทีนั้น เพราะถ้อยคำที่พรั่งพรูออกมาจากปากอย่าง Amazing~ Breakthrough~ Phenomena~ Extraordinary~ เรียกว่าเคลิ้มเหมือนโดนสะกดจิต
แต่พอหลังงานได้มานั่งอ่านรายละเอียดและเปิดหน้าเวปของ ReseacrhKit ดูแล้ว ประกอบกับอ่านบทความของ @pawinpawin เรื่อง 5 เหตุผลที่ ResearchKit ยังคงเป็นเพียงของเล่นไว้เพิ่มมูลค่าไอโฟน แถมยังมีคนรอบตัวเริ่มพูดถึง ReseacrhKit ในทางที่ผิดๆ กันเพียบ ว่ามันช่วยตรวจหาโรคได้บ้างหละ เป็นอะไรก็รู้แค่ใช้ iPhone บ้างหละ เลยทำให้ตัดสินใจเขียน blog นี้ขึ้นมา เพื่ออธิบายและทำความเข้าใจให้คนที่ยังงงๆ และสงสัยเรื่อง ResearchKit ของ Apple ว่าจริงๆ แล้วมันคือ “อุปกรณ์ช่วยเก็บข้อมูลสำหรับทำการวิจัย” ที่ออกแบบมาเพื่อนำผลไปใช้ทางการแพทย์เท่านั้น
“อุปกรณ์ช่วยเก็บข้อมูลสำหรับทำการวิจัย” ทำไมชื่อยาวจัง มีคำอธิบายสั้นๆ เข้าใจง่ายไหม ถ้าจะเอาให้เข้าใจง่ายสุดๆ เลยก็มีภาพประกอบนะครับ
มันคือแบบสอบถามครับ “ขอโทษนะคะ มีเวลาสัก 5 นาทีมั้ยคะ ทำแบบสอบถามให้หน่อยค่ะ” ทุกท่านน่าจะเคยได้ยินคำถามแบบนี้ บางทีถ้ามีเวลาว่างจริงๆ ก็นั่งกรอกกันไป
“กำลังทำวิทยานิพนธ์ กำลังทำวิจัยอยู่ ช่วยตอบแบบสอบถามเรื่อง xxx ให้ด้วยนะคะ กด link ได้เลย” นี่ก็คือแบบสอบถามแบบออนไลน์ที่หลายๆ คนน่าจะเคยเห็นเคยทำกันมาบ้างแล้ว
นั่นแหละครับสิ่งที่ Apple ReserachKit ทำ มันคือการเก็บข้อมูล การให้เราเข้าไปกรอกแบบสอบถาม เป็นแค่เครื่องเก็บข้อมูล ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ป่วยโดยตรง มันตรวจอาการหรือแจ้งสภาพที่เกิดขึ้นของผู้ป่วยไม่ได้ ไม่ได้บอกว่าตอนนี้ผู้ป่วยเบาหวานน้ำตาลขึ้นสูงแล้ว หรือเป็นหอบหืดขึ้นมาแล้วมันจะโทรแจ้งคนอื่นหรือส่งสัญญาณเตือนไปหาคนในครอบครัว
ในส่วนของการกรอกข้อมูลเพื่อเก็บไปทำวิจัยนั้น เรื่องของความแม่นยำของข้อมูล ความน่าเชื่อถือไม่น่าเชื่อถือ มีประโยชน์เท่าปรอทวัดไข้ หรือเครื่องวัดความดันหรือไม่ สุดท้ายแล้วจะใช้งานได้จริงหรือไม่ได้นั้นผมคงไม่ลงไปเจาะในประเด็นนั้น อาจจะลองไปอ่าน blog ของคุณ @pawinpawin เพิ่มเติมได้ เพราะผมเองก็ไม่ได้เชี่ยวชาญครับ
สรุปสั้นๆ คือ iPhone ที่ติดตั้งแอปทั้งหลายของ ResearchKit เพื่อใช้งานนั้น เป็นการให้ผู้ใช้ iPhone กรอกข้อมูลเผื่อเอาไว้ใช้ในภายภาคหน้า เอาไปประกอบการวิจัยอีกที เหมือนเวลาคุณกรอกแบบสอบถามออนไลน์ หรือที่คนเดินมาแจก แนวๆ นั้นครับ แต่มาในรูปแบบของแอป เริ่ดปะ
ถ้า ResearchKit ยังไม่ใช่ แล้วอะไรคืออุปกรณ์ทางการแพทย์?
การที่อุปกรณ์สักชิ้นนึงจะถูกนับเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้นั้น ต้องผ่านการตรวจสอบหลายอย่าง และหลายรอบมาก จนกว่าจะมั่นใจได้ว่ามันสามารถใช้งานได้จริง และมีความน่าเชื่อถือ เอาง่ายๆ ก็พวกปรอทวัดไข้ เครื่องวัดความดัน อุปกรณ์ต่างๆ ที่เราเคยไปใช้ในโรงพยาบาลนั่นแหละครับ อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าผมไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ซะทีเดียว เพราะไม่ใช่หมอ เลยขอเอาคลิปของคุณหมอธิดากานต์ที่ไปพูดในงาน Tech Trend Thailand เกี่ยวกับเรื่องของ Wearable Device ที่ได้มีการเปรียบเทียบอุปกรณ์เหล่านั้นกับอุปกรณ์ทางการแพทย์เอาไว้นิดหน่อย
อย่างแรกที่คุณหมอได้พูดไว้คือเรื่องของเครื่องวัดการเต้นหัวใจที่เป็นหลอดไฟแสงๆ บนนาฬิกา Smartwatch ต่างๆ ทั้ง Apple Watch, Samsung หรือ Motorola เหล่านั้นมีค่าความผิดเพี้ยนสูงระดับ 50% (สาวกอาจจะแซะว่า Apple Watch ยังไม่ออกรู้ได้ไงว่าเพี้ยน) ต่างกับอุปกรณ์ที่เป็นสายรัดหน้าอก ที่แม่นยำกว่า
ตรงนี้ถ้าใครจำได้ Samsung เคยพยายามผลักดันให้ Galaxy S5 เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์มาแล้ว แต่ก็ทำไม่สำเร็จ โดนสมาคมทางการแพทย์ที่เกาหลีปฏิเสธมาแล้วเหมือนกัน (mobihealthnews : South Korea will not regulate Galaxy S5 as medical device)
อีกเรื่องที่คุณหมอได้พูดถึงคือ Google contact lens for diabate หรือคอนแทคเลนส์สำหรับคนเป็นเบาหวาน เอาไว้วัดระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งคนเป็นเบาหวานนั้นมีความทรมานอยู่ที่ต้องมาเจาะเลือดวัดน้ำตาลบ่อยๆ การที่มีอุปกรณ์มาช่วยวัดระดับน้ำตาลแบบไม่ทรมารนั้นถือเป็นสวรรค์ ซึ่ง Google เองก็ได้พัฒนามาตั้งแต่ปี 2014 ทีเราได้เห็นตามข่าวแล้ว แต่ตอนนี้ก็ยังต้องทำการทดสอบหลายอย่างทั้งเรื่องความแม่นยำ รวมถึงระยะเวลาของน้ำตาลในเลือดที่เปลี่ยนแปลงนั้นสอดคล้องกับในน้ำตาหรือไม่ และใช้เวลาเท่าไหร่ถึงจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในน้ำตา คือต้องทดสอบกันละเอียดสุดๆ เหมือนกับยาที่ต้องทดลองในแล็บเป็นปีๆ กว่าจะออกมาจำหน่ายได้
ผมเองมั่นใจว่า Apple เองคงรู้และข้าใจว่าการจะผลักดัน iPhone เข้าไปเป็น Medical Equipment นั้นไม่ง่ายเพราะตัวอย่างเองก็มีมาแล้วทั้ง Samsung และ Google จนป่านนี้ก็ยังไม่ได้รับการยอมให้ใช้อุปกรณ์เหล่านั้นในทางการแพทย์ด้วยซ้ำ แถมน่าจะใช้เวลานานกว่านั้นมากมาย ในเมื่อเข้าหาแพทย์และหมอไม่ได้ ก็เลยย้อนกลับมาทำในเรื่องที่ง่ายกว่า back to basic หมอใช้ไม่ได้ ไปทำให้คนทั่วไปใช้ละกัน เลยทำ iPhone ให้กลายเป็นเครื่องเก็บข้อมูล ให้นักศึกษาให้คนในวงการเอาไปวิจัยต่อยอดแทน และนั่นก็น่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งในการเปิด ResearchKit เป็น Opensource (บอกตรงๆ ได้ยินคำนี้จาก Apple แล้วมันดูทะแม่งๆ หูยังไงไม่รู้)
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่ออธิบายให้คนเข้าใจตัว ReseachKit และการทำงานของมันให้มากขึ้น จะได้ไม่เอาไปโม้กันผิดๆ ว่ามันตรวจโรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน หรือโรคนั่นโรคนี่ได้ ไม่ได้เขียนมาแซะหรืออวยอะไรใครทั้งนั้นนะครับ ผมเองก็ชอบไอเดียนี้ของ Apple เหมือนกัน คือช่วยได้มากหรือน้อยตอนนี้เรายังไม่รู้ แต่ถ้าช่วยได้ก็ช่วยๆ กันไปครับ
ปกติข้อมูลคนไข้เขาต้องบอกกับหมอ แล้วหมอต้องปกปิดเป็นความลับด้วย นี่เล่นไปบอกคนอื่นเขาก็เก็บข้อมูลไปขายให้พวกบริษัทกันหมด
เออจริง ผมลืมคิดเรื่องนี้ไปเลยนะเนี่ย
ทำ Survey แบบนี้ไม่ได้ตังค์ใช่มั้ยครับ?
กลัวว่า apple จะเอาข้อมูลไปขายนะสิ
Apple ระบุชัดเจนครับว่าไม่ได้เห็นข้อมูลตรงส่วนนี้
มีโปรเจกมากมายที่เปิดตัวว้าว แต่ใช้แล้วไม่เวิก ก็จัดการไม่ยาก แค่ยุติโปรเจก ปล่อยให้เงียบหายไป
แต่ผมสนับสนุนให้บริษัทใหญ่ๆทำแบบนี้นะ เขาได้กำไรมามากๆก็เอามาวิจัยทำของใหม่ๆบ้าง เพราะถ้าไม่ลองทำอะไรใหม่เลยก็เท่ากับล้าหลังครับ
แต่คิดว่าอันนี้คงเป็นอีกหนึ่งโปรเจกที่ไม่เวิกในวงกว้างในเร็วๆนี้ คงต้องรออีกสักห้าปี
ข้อมูลเป็นข้อมูลระหว่าง คนที่ต้องการวิจัย กับคนให้ข้อมูล ไม่ผ่าน Apple
ในงานก้อบอกยุนะคับ ถ้าละเมิดก้อฟ้องเลย น่าจะรวย
หลักๆเค้าทำมาเพื่อ ดึงพวกแพทย์และเพื่อพัฒนาให้อุปกรณ์มีประโยชน์ในอนาคตเหมือนทุกค่าย
เหมือน Google maps พอมี database เยอะๆคนก้ออยากใช้
แต่เรื่องการแพทย์มันทำยาก
หลายค่ายเลยผลักดัน
ก้อรอดูครับว่าจะเวิร์คไหม ถ้าได้ คนเราก้อคงตายช้าลง
แต่ผมว่ายากนะ แค่ออกมา หาคนเข้าใจยังยากเลยโดยเฉพาะคนไทย
แต่ผมว่าในไทย (ไม่ระบุนะว่าต้องทำกับ Apple) ควรจะมีนะครับ
เรามีทีมแพทย์ทีเก่งมากใน asia
โรคบางโรคประเทศเราชั้นนำเลย
หากมีการทำวิจัย เช่น ทำไมคนไทยเป็นมะเร็ง ?
คนที่เข้าไปช่วยวิจัยระบุอาหาร หรือ กิจกรรม และงานทีทำแต่ละวัน
เพื่อหาว่า ทำไมคนเราถึงป่วย
การวิจัยมีผลดีแต่อุปกรณ์และเครื่องมือน้อย
ว่าไปแล้ว ใครเป็น dev ผมว่างานนี้น่าจะเป็นช่องทางมากเลย
เพราะงบรัฐบาลเกี่ยวกับการแพทย์ไม่น่าจะน้อย ยิ่ง open source ยิ่งต่อยอดได้
(อย่างที่ว่าแหละครับ Apple Open Source คันหูจิง)
ก็ตามที่ว่ามานั่นแหละครับ คือเค้าทำขึ้นมาเพื่อเก็บข้อมูลการวิจัยโรคต่างๆ แทนที่จะเก็บข้อมูลคนป่วยจากอาสาสมัครเพียงไม่กี่ราย
แต่เปลี่ยนวิธีมาเก็บข้อมูลแบบนี้แทนชึ่งข้อมูลมันก็คงจะรวดเร็ว เอาไปทำเป็นสถิติง่ายละมั้ง
แล้วไอ้ตัวนี้มันก็ไม่ได้บังคับใคร ขึ้นกับความสมัครใจของผู้ป่วยเองว่าจะทำหรือไม่ทำ และ ข้อมูลของผู้ป่วยจะถูกเก็บเป็นความลับ (ถ้า apple ไม่โกหก 555)
ผมดูวีดีโอในวันนั้นมันก็บอกไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วนะนั่น
ผมว่าเรื่องข้อมูลมันโกหกยากนะครับ เพราะเป็น open source ถ้าส่งข้อมูลหา Apple น่าจะ track ได้
Health ของผมนี่ลิงค์กับอุปกรณ์ทุกอย่างที่ใช้เลย
Garmin , Mio และก็ Strava
ข้อมูลในนั้นก็เกี่ยวกับพวก Heart Rate การออกกำลังกายต่าง ๆ
นาน ๆ ครั้งก็กดเข้าไปดูบ้าง ก็มีกราฟให้เราดู แต่ก็ไม่ได้ดูละเอียดอะไร คงไม่มีอะไรสำคัญ ( มั้งครับ ) เอาข้อมูลไปเถอะ 555+
จริงๆทุกการวิจัยไม่ใช่เฉพาะแพทย์ ต้องการแอพเทพๆไว้เก็บข้อมูลหมดแหละ จะทำของแพทย์ก่อนทำไมในเมือมันทำยากกว่าและต้องใช้ความละเอียดสูง เกษตรกรไม่ต้องทำวิจัยรึไงครับ หรือเพราะว่ามันไม่ทำเงิน ถ้าทำออกมาแล้วเป็นแค่สมุดบันทึกก็อย่าไปตีข่าวให้เหมือนกับว่ากำลังสร้างยานไปแกแล็คซี่อื่นเลย
ลงทุนสมัครใหม่มาตอบเลย
คือผมเข้าใจว่าเพราะไอโฟนเป็นอุปกรณ์ส่วนตัวที่เราพกติดตัวตลอดเวลาครับเลยเอื้อต่อการทำวิจัยทางการแพทย์
เพราะเราสามารถติดตามผลของ "ยาหรือการรักษา" ต่อ "คนไข้ได้" โดยการวัดผลบางอย่างอย่างเช่นการตรวจร่างกาย
เป็นการประเมินแบบ subjective ซึ่งหมายความส่ามันขึ้นกับผุ้ประเมิน ดังนั้นหากใช้หมอคนละคนมาประเมิน นอกจากจะเสียเวลา ยังทำให้เรามีตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้เพิ่มขึ้นอีก
การมี research kit นั้นช่วยประหยัดเวลาและทำให้สามารถวัดค่าตัวแปรเหล่านั้นเป็นตัวเลขได้ครับ
ซึ่งผมว่าเป็นเจ๋งมากๆเลย (ตื่นเต้นกว่า apple watch หรือ new MB)
เพราะถึงแม้เราอาจจะไม่ได้ใช้ยาถูกลง (ในกรณีที่บริษัทมันงก เพราะจริงๆงบทำวิจัยมันน่าจะลดลง)
แต่เราก็จะมียาใหม่ออกมาใช้เร็วขึ้น หรือไม่ก็ได้ยาเดิมแต่ในข้อกำหนดที่ต่างไป เช่นถี่ขึ้น ปริมาณน้อยลง หรือ เริ่มใช้ตั้งแต่อาการเป็นขนาดไหน ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากการคำนวณทางสถิติครับ
ส่วนเรื่องการเกษตรทำไม apple ถึบไม่ได้ทำออกมา ผมคิดว่าคงจะเพราะผุ้บริโภค(คนใช้ไอโฟน)ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิจัยครับ
เช่น โจทย์คือ รดน้ำวันละกี่รอบพืชชนิดนี้จะโตเร็วที่สุด เราจะไปรู้คำตอบหรอครับ
กลับกัน ถ้าโจทย์คือ คุณใช้ยาขยายหลอดลมตัวนี้แล้วอาการดีขึ้นแค่ไหน คำตอบก็คือ ความยาวของเวลาที่เราสามารถร้อง "อา" ที่เปลี่ยนไปตามยาแต่ละสูตร
แค่นี้ก็รุ้แล้วว่าสูตรไหนดีที่สุด ในผุ้ป่วยแต่ละประเภทครับ
ยังตื้นไปนะ เพราะว่าการจะเก็บข้อมูลพวกนี้ให้มันeffective มันมีปัจจัยอื่นประกอบอีกล้านแปดเลยอ่ะ
ไม่ต้องอธิบายหลักกาไรมาก สรุปจะเก็บข้อมูล ยิ่งใครกุมข้อมูลมวลมนุษได้มากคนนั้นคือมหาอำนวจ
ดูเฟสบุคสิ ไม่มีมือถือเป็นของตัวเองแต่มีข้อมูลมากมายของคนทั่วโลก
appleคิดไร…
ใครใครก็พยายามเก็บข้อมูล