ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา Smartwatch นับเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่มีหลายคนให้ความสนใจ และเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราไม่น้อยไปกว่าสมาร์ทโฟนเลยก็ว่าได้ ซึ่งจากผลตอบรับในช่วงแรกๆ ก็ดูเหมือนว่าน่าจะมีอนาคตสดใสรออยู่ แต่เมื่อเวลาเดินผ่านมาถึงปัจจุบัน ดูเหมือนสิ่งที่หลายๆ คนคาดคิดไว้เกี่ยวกับอนาคตของเทคโนโลยี Wearable จะแปรผันไปในทิศตรงข้ามอย่างสิ้นเชิง เพราะตอนนี้เทคโนโลยีรูปแบบอุปกรณ์สวมใส่ (Wearable) อาจกำลังจะกลายเป็นความทรงจำสีจาง
โดยตลอดในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ตลาดอุปกรณ์สวมใส่ดูจะซบเทราลงมากพอสมควร จนทำให้ยอดขายของบางบริษัทตกลงไปอย่างน่าใจหาย จนนำไปสู่การขาดทุนและปิดบริษัทไปในที่สุด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ Pebble บริษัทผู้ผลิตและพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่ ที่เคยเป็นผู้บุกเบิกและจุดประกายให้กับตลาดอุปกรณ์สวมใส่ให้ดูน่าตื่นเต้นในช่วงปี 2012 แต่ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Pebble ได้ขายกิจการของตนเองให้กับ Fitbit ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่เคยวางจำหน่ายและกำลังจะวางจำหน่ายในอนาคตทั้งหมดต้องถูกยุติการผลิตลงทันที
Pebble เคยประสบความสำเร็จด้วยการจำหน่ายอุปกรณ์สวมใส่ได้มากกว่า 1 ล้านชิ้นในช่วงสองปีแรกของการเปิดตัวจากเว็บไซต์ KickStarter ในขณะที่ตอนนั้น Apple ยังไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนา SmartWatch ของตนเองขึ้นมา รวมทั้ง Fitbit ยังอยู่ในช่วงล้มลุกคลุกคลานอยู่
มาที่ด้านของ Android Wear ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการบน Smartwatch ของ Google ที่ดูน่าจะเป็นแม่ทัพในการนำตลาดอุปกรณ์สวมใส่ให้ครึกครื้น ก็กลับต้องพักแผนการการอัพเดทเวอร์ชั่นใหม่ออกไปเป็นปี 2017 ส่งผลให้แบรนด์ผู้ผลิตหลายๆ แบรนด์ต่างพับโครงการผลิตและพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่ตัวใหม่ที่รัน Android Wear ออกไปด้วย แม้แต่ Moto ที่เป็นบริษัทผู้ผลิต Smartwatch ชั้นนำก็ต้องพับโครงการด้วยเช่นกัน
ซึ่งดูเหมือนจากรอยการต่อสู้แข่งขันกันอย่างดุเดือดในตลาด จะมีเพียง Fitbit และ Apple เท่านั้น ที่น่าจะเป็นไม่กี่บริษัทที่เอาตัวรอดจากสถานการณ์นี้ได้ และเราก็ต้องยอมรับว่า อุตสาหกรรมเทคโนโลยีอุปกรณ์สวมใส่นั้น ทำได้แค่วูบวาบในช่วงแรกจากความแปลกใหม่เท่านั้น แต่ตอนนี้มันอาจกำลังจะเป็นสิ่งที่ล้มเหลว หากไม่ได้รับการพัฒนาหรือปรับปรุงรูปแบบใหม่ เพราะเทคโนโลยีบนอุปกรณ์สวมใส่ในตอนนี้ มันตอบโจทย์ให้กับกลุ่มผู้ใช้งานเฉพาะ ที่ต้องออกกำลังกายหรือเป็น Geek ทางเทคโนโลยี ที่ชื่นชอบการดูอีเมล์บนข้อมือเท่านั้น แต่ยังไม่สามารถตอบโจทย์ให้กับกลุ่มผู้ใช้งานในระดับทั่วไป ที่เป็นกลุ่มใหญ่ของตลาดได้
มาถึงตรงนี้เราก็ต้องติดตามกันต่อไปละครับว่า ทิศทางของการพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่ในอนาคตอันใกล้นี้ จะเปลี่ยนไปในทิศทางไหนกันแน่ จะจริงตามที่บทความวิเคราะห์ฉบับนี้กล่าวไว้หรือไหม? และตอนนี้เทคโนโลยีอุปกรณ์สวมใส่กับการตอบรับจากผู้ใช้งานทั่วโลกก็ดูเหมือนลดลงด้วยเช่นกัน ดังนั้นถ้าหากทิศทางนับจากนี้เดินไปในทิศทางที่ผิด เราก็อาจจะได้เห็นบริษัทหลายแห่งประกาศปิดตัว หรือยกเลิกการพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่ก็เป็นได้
ที่มา : BusinessInsider
ผมไม่แน่ใจว่าคนเขียน BusinessInsider เขียนบทความโดยอ้างอิงจากไหนบ้างนะครับไม่เห็นต้นฉบับบอกไว้
เห็นรายงานจาก IDC ตลาด Wearable ก็โตขึ้น และเจ้าตลาดไม่ใช่ Fitbit และ Apple สองยี่ห้อนะครับ แต่เป็น Fitbit Xiaomi และ Garmin ส่วน Apple อันดับสี่และ Samsung อันดับห้า
ผมก็ไม่ได้ติดตามว่าอัตราการเติบโตขนาดนี้ 3.1% มันแย่ไหม แต่จะตายไปเลยผมว่ายังไม่ขนาดนั้นนะ ^^"
แหล่งอ้างอิง: http://www.idc.com/getdoc.jsp?containerId=prUS41996116
ผมก็ใช้ Zenwatch 2 มาหลายเดือนละนะ
ผมว่า มันซบเซาลงไปพอสมควรนะ คือมองว่า มันไม่ใช่อะไรที่จะเปลี่ยนได้บ่อยทุกปีเหมือนมือถืออะ
Smartwatch ต่างหากที่จะหายไป แต่ Wearables เฉพาะทางพวก Fitness tracker ยังแจ๋วอยู่
คหสต นะครับ
สำหรับผม สองประเด็น ที่เคยหาซื้อมาใส่ แล้ว ปัจจุบัน ขาย + ไม่บ้างครั้งคราว
1. แบตไม่อึด จะเอาสวยดูหล่อ จดบรรทึกกิจกรรมได้ อยู่ได้ วันนึง ออกตจว ที ต้องพกที่ชาร์ตไปด้วย พูดง่ายๆ ลำบาก น่าจะมี technology แกว่งแขน ชาร์ตไฟได้แล้วมั้ง
2. ซื้ออันเดียว อยู่ เป็นชาติ ทุกวันนี้ ถ้าไม่นับว่า เครื่องมันอืด Moto 360 ผมยังใช้ดีอยู่ เลย ไม่นับ samsung Gear fit ที่ เอามาปัดฝุ่นใส่เตะบอล ก็ยังได้
3. พอ ซื้อแยกฟังชั่น มันกลายเป็นไม่ได้ใส่ทุกวัน พอ เอา แค่ Activity tracker มาใช้ เจอ เรื่อง ชาร์ต บ่อยๆ เข้า ก็ ลืมใส่ แล้ว ก็ วางไว้ตรงนั้น รู็ตัวอีกที คือ เมีย ถาม ซื้อมาไม่ใช้ อีกแล้ว
ผมว่า
1. มันแพง เกินความสามารถของมัน สำหรับคนทั่วไป
2. มันกลายเป็นแค่อุปกรณ์เสริมที่ มีก็ดี ไม่มีก็ได้ เป็นหมื่น ซื้อเครื่องให่ได้อีกเครื่อง
ถ้ามองเรื่องประโยชน์ใช้สอย ผมคิดว่ามันยังไม่จำเป็นนะ
ทำไมจะต้องมาดูจอเล็กๆ ทั้งๆที่โทรศัพท์ก็ติดตัวตลอดอยู่แล้ว
ราคาแพงไป ถ้าจะใช้ยาวๆแล้วแบตเสื่อมจะเปลี่ยนที่ไหน บลาๆๆ … อย่างผมก็ไม่ค่อยเปลี่ยนอุปกรณ์พวกนี้บ่อยใช้จนมันพังกันไปข้าง
เท่าที่ใช้มาลำบากชาร์จอยู่พอสมควร จบหนึ่งวันต้องวางชาร์จแล้ว ถึงแม้จะใช้เวลาไม่นานก็เต็ม แล้วก็จะลืมตั้งไว้ทั้งคืน เทียบกับ casio อันเก่าลืมไว้ในตู้เป็นเดือนๆ หาเจอก็ยังใช้งานได้อยู่
สุดท้ายก็คืนสู่สามัญ นาฬิกาแบบเดิม
เหมือนกับปากกาที่เขียนในอวกาศได้
สุดท้ายก็สู่กับดินสอไม่ได้
คนยังไม่ค่อยนิยมการใช้งานยังสั้นมากต่อวันส่วนมาก ออกมาเป็นกระแสชั่วคราวเท่านั้น
เอา S7 Edge ไปซ่อมที่ร้าน Samsung เซ็นทรัลพัทยา
เห็นคนเดินเข้าออกซื้อ Gear S3 กันเป็นว่าเล่น
ผมอยู่แป๊ปเดียว แต่เห็นขายไปได้ 6-7 เรือน
คนวิเคระห์นี่ผมว่างานมโนนั่งเทียนชัดๆ
ส่วนตัวชอบ mi band2 ตรงที่แบตอยู่ได้นาน ทำให้ใส่ในชีวิตประจำวันสะดวก ไม่ใช่แค่ใส่ออกกำลังกาย เพื่อนเราซื้อ garmin มา ต้องมาชาร์จบ่อยๆบางทีมันก็เหนื่อยนะ
เห็นด้วยครับ ผมซื้อ xiaomi เพราะแบตอยู่ได้นาน แล้วก็วัดชีพจรได้ที่ใช้อยู่นี่ 3 สัปดาห์ชาร์ตที
ปลาย ปี 2018 บอกเลยว่าคนที่พูด ผิด เพราะตลาด wearable โตขึ้น ถึงแม้จะไม่ก้าวกระโดดแต่ก็มั่นคฝ