เน็ตบ้านไฟเบอร์กลายเป็นบริการที่หลายบ้านติดเพิ่มเพื่อให้สามารถใช้เน็ตได้เร็วแรง สตรีมหนังเล่นเกมได้แบบไหลลื่นไม่ต้องกลัวเน็ตหมด แต่บางคนก็ต้องเจอปัญหาสัญญาณ WiFi ไม่ครอบคลุมทั่วบ้าน พาลทำให้ใช้งานได้ไม่เต็มแพ็กเกจที่สมัครเอาไว้ จะหาซื้ออุปกรณ์เพิ่มก็ยังสงสัยว่าจะเลือกตัวไหนดี เราเลยจะขอแนะนำเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึง Mesh WiFi ที่กำลังเป็นที่นิยมให้รู้จักกัน
ใครที่กำลังมองหาซื้อ Router ตัวใหม่อยู่ น่าจะต้องได้ยินคำว่า Mesh WiFi เพราะมันเป็นโซลูชั่นที่กำลังมาเอาซะมากๆ ช่วยแก้ปัญหาเรื่อง WiFi กระจายไม่ทั่วถึง ต้องเดินหาสัญญาณไปทั่วบ้าน จะติดอุปกรณ์อื่นมาติดเพิ่ม ก็ต้องตั้งค่าอะไรวุ่นวาย เสียเวลาล็อคอินใหม่ ใช้แล้วอาจต้องปวดหัวกับสัญญาณแกว่ง แต่ด้วย Mesh WiFi นี่ตัวเดียวจบทุกปัญหาที่ว่ามา
Mesh WiFi คืออะไร
อธิบายง่ายๆ ก็คือการเชื่อมต่อไร้สายแบบตาข่ายใยแมงมุมที่ทุกเครื่องเชื่อมต่อถึงกันทั้งหมด โดยไม่มีข้อจำกัดเหมือนอุปกรณ์เน็ตเวิร์คแต่ก่อนที่โดยมากจะเชื่อมต่อแบบกิ่งก้าน หรือเป็นดาว แต่ Mesh จะเชื่อมต่อได้ทั้งแบบต่อตรง ไดนามิค และไม่มีลำดับขั้น ไปยังจุด (node) ต่างๆ สามารถเพิ่มจุดกระจายสัญญาณได้อย่างง่ายดายและได้มากเท่าที่ระบบจะทำได้ สัญญาณปล่อยออกมามีเสถียรภาพและมีรักษาความเร็วอินเทอร์เน็ตได้ดีกว่าอุปกรณ์ทวนสัญญาณ (Repeater) ทั่วไป ใช้ชื่อ WiFi (SSID) เดียวกันได้ ไม่ต้องวุ่นวายเชื่อมต่อใหม่เมื่อเดินจากน้องนั่งเล่นขึ้นไปห้องนอน โดยระบบจะเลือกการเชื่อมต่อแต่ละจุดให้อัตโนมัติตามความเหมาะสม ซึ่งถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งหลุดออกจากระบบ เครื่องจะเชื่อมต่อเส้นทางใหม่ให้โดยอัตโนมัติ ทำให้ใช้ระบบไม่ล่มและใช้งานต่อเนื่องได้อย่างไม่มีสะดุดนั่นเอง
Nest WiFi จาก Google มีการชูจุดเด่นเรื่อง Mesh WiFi โดยเฉพาะเลย แต่น่าเสียดายว่าไม่เข้าไทยและราคาสูง
สรุป Mesh WiFi แบบเข้าใจง่ายๆ
- ขยาย WiFi ไปทั่วบ้านได้ทั้งแบบเดินสาย(สปีดเน็ตเต็ม) และไม่เดินสาย(สปีดเน็ตตกลงตามระยะทาง)
- ตั้งค่าให้ชื่อ WiFi (SSID) เป็นชื่อเดียวกันได้
- ความเร็วที่ได้ต่อจุด (node) มีคุณภาพดีกว่า Repeater ทั่วไป
- ถ้าจุดใดจุดหนึ่งล่ม จะไม่ทำให้ระบบทั้งหมดล่มตามไปด้วย
สัญญาณ WiFi จะแรงเต็มที่ทุกจุด แต่ความเร็วของแต่ละจุดขึ้นกับการเชื่อมต่อว่าเดินสายหรือไร้สาย
💡 รู้หรือไม่?
WiFi ≠ Internet
หลายคนมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องสัญญาณ WiFi ว่าถ้าใช้ WiFi จะต้องมีการใช้เน็ต แต่ความจริงแล้วสองอย่างนี้แยกกัน ถ้าเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายขึ้น ให้มองว่าสัญญาณ WiFi เป็นเหมือนท่อน้ำ และส่วนการรับส่งข้อมูลต่างๆ รวมถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือน้ำ ซึ่งน้ำในที่นี้แบ่งได้สองแบบคือ
- น้ำที่มาจากผู้ให้บริการต่างๆ เช่น AIS Fibre ก็จะเป็นน้ำจากการประปาที่เราต้องเสียเงินเพื่อใช้บริการ
- น้ำที่เราสร้างขึ้นมาเอง เช่น การรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมือถือต่อกับมือถือ หรือมือถือต่อกับคอมพิวเตอร์ ก็เป็นการเทน้ำให้กันระหว่างอุปกรณ์โดยไม่ได้ใช้น้ำภายนอก
โดยน้ำทั้งสองแบบอุปกรณ์ต่างๆของเรา จะสามารถใช้งานได้ด้วยท่อน้ำ หรือสัญญาณ WiFi ที่เราติดตั้งมาใช้เองกันในบ้านนั่นเอง
WiFi Signal Strength ≠ Internet Speed
สัญญาณไวไฟแรง แต่เน็ตไม่เห็นวิ่งเลย … อันนี้ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ เพราะสัญญาณไวไฟอย่างที่บอกไปข้างต้นว่ามันเหมือนท่อน้ำ ยิ่งแรงท่อน้ำก็จะยิ่งใหญ่ ยิ่งเบาท่อก็จะเล็กตามไปด้วย ส่วน Internet Speed นี้จะเป็นน้ำที่ต่อเข้ามาที่บ้านเรา ซึ่งถ้าท่อเราใหญ่พอก็จะสามารถส่งน้ำที่เรารับมาแรงกระจายไปทั่วบ้านเราได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้า WiFi สัญญาณเต็ม แล้วน้ำที่เรารับมาเบาแค่ 10-20Mbps ความเร็วในการรับส่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตก็จะได้สูงสุดตามน้ำที่เรารับมาเท่านั้น
แต่ในทางกลับกัน ถ้าเป็นการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ มือถือต่อเข้าหามือถือ หรือคอมพิวเตอร์ต่อเข้ากับ Media Server ในบ้าน อันนี้น้ำจะถูกสร้างจากอุปกรณ์นั้นๆ ซึ่งก็จะเร็วแรงได้ตามสเปคของมันกันเลยตั้งแต่หลักร้อย Mbps จนถึง 1Gbps นั่นเอง
Access Point – Repeater – Mesh WiFi แตกต่างกันอย่างไร ?
ความแตกต่างของ 3 รูปแบบการเชื่อมต่อกระจายสัญญาณนี้ น่าจะเป็นเรื่องที่หลายคนสงสัยกันไม่น้อย ตอนที่กำลังพิจารณาซื้ออุปกรณ์เน็ตเวิร์คเข้ามาติดในบ้าน ซึ่งจะสรุปออกมาให้ง่ายๆดังนี้นะครับ
Access Point
วิธีง่ายที่สุดในการขยายการเชื่อมต่อ คือซื้อตัวกระจายสัญญาณ (Access Point) มาเพิ่ม จับมันมาเสียบสายแลน ก็ทำหน้าที่เหมือนเป็นเราเตอร์อีกตัวในสถานที่ใหม่เลย
ข้อดี : สปีดเน็ตมาเต็ม ประหยัด
ข้อเสีย : ติดตั้งยาก ต้องเดินสาย ต้องกดเชื่อมต่อสัญญาณใหม่เมื่อเดินไปอีกตำแหน่ง
ขยายสัญญาณ WiFi ครอบคลุมทั่วบ้านทุกชั้นด้วยการลากสาย ต้องเลือกเชื่อมต่อตามตำแหน่งที่อยู่
Repeater หรือ Range Extender
คืออุปกรณ์ทวน WiFi สัญญาณ เพื่อให้มีระยะทางไกลขึ้น รับสัญญาณจากฟากหนึ่งและขยายส่งต่อออกไปยังอีกฟากหนึ่ง เพื่อเพิ่มความครอบคลุมของสัญญาณ
ข้อดี : ติดตั้งสะดวก ไม่ต้องเดินสาย ประหยัด
ข้อเสีย : สปีดเน็ตดรอปตามระยะ ใช้ชื่อ SSID เดิมกับตัวหลักได้ หากการเชื่อมต่อด้านหนึ่งล่มก็ใช้งานไม่ได้เลย
ขยายสัญญาณ WiFi ครอบคลุมทั่วบ้านทุกชั้นโดยไม่ต้องลากสาย ไม่ต้องเลือกเชื่อมต่อตามตำแหน่งที่อยู่ และความเร็วลดลงตามระยะความห่าง หากมีปัญหาที่จุดใดก็จะทำให้บริเวณนั้นใช้งานไม่ได้
ทำไมเราไม่ควรตั้งชื่อ WiFi ให้เหมือนกัน ถ้าไม่ใช่ Mesh WiFi
เพราะเราจะไม่สามารถควบคุมหรือแยกได้ว่าเราต่อกับอุปกรณ์ชิ้นไหนอยู่ อยู่ห้องนั่งเล่นดันไปต่อกับตัวห้องครัว สัญญาณก็ไม่ดี บางทีก็เหวี่ยงไปมาระหว่างสองเครื่อง จะบังคับเปลี่ยนหรือล็อคว่าจะเกาะกับอุปกรณ์ชิ้นไหนก็ไม่ได้หรือลำบากอีก ตัวอุปกรณ์เองก็ไม่ฉลาดพอที่จะเปลี่ยนหรือเลือกต่ออันที่ดีที่สุดให้เรา ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้แก้ได้ด้วย Mesh WiFi
Mesh WiFi
ไม่ใช่แค่ทวนสัญญาณ แต่ยังสร้างเป็นเครือข่าย ให้สามารถใช้งานได้แบบไม่มีสะดุดทั้งบริเวณที่ต้องการ
ข้อดี : ติดตั้งสะดวก ทั้งเดินสายหรือไร้สาย ทำงานร่วมกันได้สมบูรณ์ในแต่ละจุด ตำแหน่งนึงล่ม อีกจุดก็ยังทำงานแทนกันได้ ใช้ชื่อ WiFi อันเดียวกันได้ทั้งบริเวณ
ถ้าเราไปอาคารสถานที่ใหญ่ๆ แล้วพบว่ามีการให้บริการอินเทอร์เน็ตในชื่อเดียว ทำงานแบบเข้ากันได้ดี เดินไปไหนมาไหนแล้วยังเชื่อมต่อได้ไม่มีสะดุด อันนั้นก็เดาได้เลยว่าน่าจะใช้ Mesh แน่นอน
ข้อควรรู้
แม้ว่าความเร็วการรับส่งของ Mesh WiFi จะดีกว่า Repeater แต่ก็ไม่ได้ทำให้สามารถวิ่งได้เร็วเต็มสปีดนะ ถ้าต้องการวิ่งให้เต็มแพ็กเกจที่สมัครมา 500 – 1000 Mbps ที่สมัครเอาไว้ ยังไงก็แนะนำต้องเดินสาย LAN เชื่อมต่อในแต่ละจุดด้วย
ข้อเสีย : แพงงงงง โดยอุปกรณ์ที่ทำ Mesh WiFi ได้แต่ละชิ้น มักจะมีราคาไม่น้อยกว่า 3-5 พัน ถ้าเกิดว่าจะติดให้ทั่วๆก็อาจจะต้องใช้ไม่น้อยกว่า 3-5 ชิ้น ราคาก็ทวีคูณไป
แต่เดี๋ยวก่อน ถ้าไม่อยากจ่ายแพงเรามีสิ่งดีๆมานำเสนอ #ขายของ😎😎😎
สมัคร AIS แพ็คเกจความเร็ว 1Gbps/100Mbps วันนี้ รับฟรี NOKIA WiFi Beacon 1 ซึ่งเป็น Mesh WiFi เอาไปเลยทันที 2 เครื่อง (เชื่อมต่อได้สูงสุด 3 ชิ้น แต่ต้องซื้อเพิ่มเอง) เอาไว้ติดตั้งสร้าง Mesh WiFi ของตัวเองที่บ้านได้ โดย Nokia WiFi Beacon เป็นอุปกรณ์กระจายสัญญาณ WiFi คุณภาพสูง เอาไว้ใช้งานร่วมกับแพ็คเกจ SUPER MESH WiFi ที่มีความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุดถึง 1 Gbps ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวรองรับการส่งสัญญาณผ่านสาย LAN ได้สูงสุด 1000 Mbps และผ่าน WiFi ได้ถึง 866 Mbps สามารถส่งสัญญาณได้ทั้งแบบ 2.4GHz และ 5GHz จะมีให้เลือกสมัครแบบรายเดือนทั้งหมด 2 แบบ
ค่าบริการ | 999 บาท / เดือน | 1099 บาท / เดือน |
ความเร็ว | 1,000/100 Mbps | 1,000/100 Mbps |
บริการอื่นๆ | – |
|
สัญญาใช้งาน | 24 เดือน | 24 เดือน |
นอกจากจะมีเน็ตความเร็วสูงถึง 1Gbps แล้ว ลูกค้า AIS Fibre ยังมีความยืดหยุ่นในการใช้งานแบบไม่เหมือนใคร เพราะปรับความเร็วในการใช้งานได้เองแบบ Real-time ด้วย Speed Toggle ซึ่งสามารถจัดการความเร็วในการดาวน์โหลดและอัพโหลดได้ 3 แบบ ดังนี้
Full Speed Download : ดาวน์โหลด 1000 Mbps / อัพโหลด 100 Mbps
Full Speed Upload : ดาวน์โหลด 100 Mbps / อัพโหลด 1000 Mbps
SYMMETRY : ดาวน์โหลด 550 Mbps / อัพโหลด 550 Mbps
การจัดการความเร็วดังกล่าว ลูกค้า AIS ที่ใช้งานแพ็คเกจ SUPER MESH WiFi สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเองผ่านเว็บไซท์ myaisfibre.com โดยไม่ต้องโทรเข้าคอลเซ็นเตอร์หรือติดต่อกับพนักงานให้วุ่นวายอีกด้วย
— จบช่วงการขาย — 😂😂😂
เลือกซื้อ Mesh WiFi อย่างไรดี?
ปัจจุบันเราได้เห็นหลายค่ายก็เริ่มมีการประชาสัมพันธ์ ทำการตลาดในเรื่องนี้กันมากขึ้น ไม่ว่าจะ ASUS, Netgear, TP-Link ซึ่งก็จะมีการใส่ฟีเจอร์เสริมอะไรกันเข้าไปมากมายเพื่อให้ใช้งานได้ดีขึ้น ปลอดภัยขึ้น ขยายวงให้กว้างขึ้น มีแอปหรือส่วนควบคุมกลาง เป็นแอปหรือหน้าเว็บก็ว่ากันไป
แต่ปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานกลาง ที่ทำให้เราสามารถใช้งาน Mesh ข้ามแบรนด์ได้ ดังนั้นหากเราลงทุนซื้อแบรนด์ไหนมาแล้ว ในอนาคตต้องการจะขยับขยายก็อาจจะต้องซื้อของแบรนด์เดียวกันมาใช้เท่านั้นนะ ดังนั้น ถ้าคิดจะซื้อ Router Mesh WiFi มาสักตัวสิ่งที่ควรดูคือ
- ความเร็วสูงสุดในการเชื่อมต่อ ทั้งแบบ WiFi และ LAN
- LAN ไม่น้อยกว่า 1Gbps
- WiFi ไม่น้อยกว่า 350Mbps รองรับทั้ง 2.4 และ 5GHz
- จำนวน Node ที่รองรับ เพียงพอกับพื้นที่ใช้งาน
- ความเร็วเมื่อต่อ Node เพิ่มเติม
- ไว้ใจได้ มีการอัพเดทต่อเนื่อง (ป้องกันการแฮกผ่านอุปกรณ์)
- ยิ่งเปิดเผยรายละเอียดของอุปกรณ์มากเท่าไหร่ยิ่งดี
- อัตรากินไฟที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป
- ราคาและการรับประกัน (ราว 3-5,000 บาทต่อชิ้น และ 2 ปีเป็นอย่างน้อย)
ก็หวังว่าเพื่อนๆจะเข้าใจเจ้า Mesh WiFi เทคโนโลยีใหม่ของ Router ที่อนาคตข้างหน้าทุกตัวจะต้องมีใส่เอาไว้กันมากขึ้นนะครับ ถ้ามีคำถามเพิ่มเติมสามารถมาคอมเมนต์สอบถามกันได้นะ และในโอกาสหน้าไว้จะมีเรื่องไหนมาเล่าเพิ่มเติม รอติดตามกันได้ครับ
แหล่มดีครับ 🙂 🙂
ช็อคกับค่าแรกเข้ามากกว่าครับ (สำหรับลูกค้าใหม่) TT
ขณะนี้ใช้ AIS Fiber อยู่ แต่กำลังจะเปลี่ยนมาใช้เร้าเตอร์ของตนเอง ที่เดิมใช้มาก่อนหน้า ด้วยเร้าเตอร์ที่ให้มาถึงแม้ จะ 4 เสา wifi 6 แต่สัญญาณไม่แรงบางจุดใช้งานมีปัญหา
ทีนีสนใจที่จะใช้ระบบ”เมส” จาก AIS ไม่ทราบว่าจะเอามาพ่วงต่อกับเร้าเตอร์ของตัวเองที่เอามาใช้แทนตัวที่จัดให้มาได้รึเปล่า