ตามที่หลายคนทราบแล้วว่าดีแทคกำลังจะหมดสัมปทานคลื่น 850/1800 MHz ในวันที่ 15 กันยายนที่จะถึงนี้ และเมื่อเช้า 6 .. ที่ผ่านมาก็ได้มีการร้องไปยังศาลปกครองเพื่อขอคุ้มครองไม่ให้ซิมดับเนื่องจากมีผู้ใช้งานหลายรายที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งคำตัดสินน่าจะออกมาก่อนวันหมดสัมปทาน อย่างไรก็ดีทางดีแทคได้มีการเตรียมมาตรการรองรับพร้อมชี้แจงว่าใครได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้บ้างเอาไว้ดังนี้

คนกรุงและหัวเมืองใหญ่ได้รับผลกระทบบางส่วน ต้องห่วงเฉพาะที่พื้นที่ห่างไกล

สำหรับลูกค้าดีแทคในกรุงเทพ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ หลังวันที่ 15 กันยายนนี้ อาจจะได้รับผลกระทบกันบ้างจากที่คลื่นภายใต้สัมปทานบางส่วนได้สิ้นสุดลง ซึ่งปัจจุบันทางดีแทคได้มีการวางคลื่นใหม่ dtac-T บนความถี่ 2300MHz กันไปพอสมควรแล้วแต่สำหรับลูกค้าที่น่าจะได้รับผลกระทบมากหน่อยจะเป็นกลุ่มลูกค้าที่ยังใช้สัญญาณ 2G อยู่ โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ชายขอบสัญญาณ ชายทะเล รวมถึงพื้นที่ห่างไกลต่างๆ ซึ่งในที่นี้จะไม่ได้มีเพียงชาวบ้าน และผู้สูงอายุที่ไม่ทราบเรื่องเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจที่มีการใช้สัญญาณ 2G เพื่อติดต่อสื่อสารกันระหว่างเครื่อง (M2M – Machine to Machine) อีกด้วย ซึ่งจะมีจำนวนอยู่ไม่น้อยเลย

เปรียบเทียบพื้นที่สีชมพูคือคลื่น 850MHz ในสัมปทานเดิม

เมื่อหายไป เหล่าบ้านที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล หรือรถที่ขับข้ามรอยต่อสัญญาณ จะได้มีสัญญาณตามภาพ

ดีแทคกำลังเติมสัญญาณเพิ่มในช่วงรอยต่อทำ Densification ให้สามารถใช้งานได้ดีกว่าเดิม แต่อย่างไรก็ดีคนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลมากๆ ก็ยังอาจะได้รับผลกระทบเพราะขาดคลื่นความถี่ต่ำ

จำนวนลูกค้าที่จะได้รับผลกระทบกรณีไม่ได้รับการคุ้มครองจากศาล

ลูกค้า

จำนวน

ลูกค้าดีแทคบนคลื่นสัมปทาน
(
มีความเสื่ยงซิมดับ)

รวม 340,000 ราย แบ่งเป็น

  • 250,000  (คลื่น 1800 MHz)
  • 90,000  (คลื่น 850 MHz)

ลูกค้าดีแทคบนคลื่นประมูล (ภายใต้บริษัท DTN) แต่มีการใช้งานโรมมิ่งคลื่น 850 MHz ประจำ

มากกว่า 1,000,000 ราย

 

ดีแทคชี้แจงถึงความพยายามที่จะช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ

ซึ่งในกลุ่มลูกค้าที่ได้รับผลกระทบนี้ ทางดีแทคได้มีการวางมาตรการคุ้มครองเอาไว้ดังนี้

ลูกค้า

ผลกระทบ

มาตรการคุ้มครอง

กรณีที่ 1 ลูกค้า 2G/3G มือถือฟีเจอร์โฟนต่างๆ ที่ยังไม่ได้เปลี่ยนซิม ทั้ง 340,000 ราย

ใช้งานไม่ได้

ต้องมาเป็นเปลี่ยนซิม DTN ลูกค้าสามารถเช็คสถานะซิมที่ใช้งานอยู่โดยกด *444# โทรออก ลูกค้าจะได้เปลี่ยนซิมใหม่ฟรี พร้อมข้อเสนอมือถือราคาพิเศษ

กรณีที่ 2 ลูกค้าที่ใช้มือถือปุ่มกดหรือฟีเจอร์โฟน ที่รองรับคลื่น 1800MHz ที่จดทะเบียนซิม DTN

สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องตามปกติ

ลูกค้าจะได้รับข้อเสนอมือถือราคาพิเศษที่รองรับการใช้งาน คลื่นดีแทคเทอร์โบ

กรณีที่ 3 ลูกค้าที่อยู่บางพื้นที่ จะไม่ได้รับความสะดวกในการใช้งาน

ได้รับผลกระทบจากการใช้งาน สามารถเช็คได้ที่ *777 โทรออก (เริ่มใช้งานตั้งแต่วันที่ 13 ..2561)

ลูกค้าจะได้รับข้อเสนอดาต้าและโทรฟรี ให้ลูกค้าได้รับประโยชน์จากการใช้งาน ทั้งลูกค้าพรีเพดและโพสต์เพด

ทำไมดีแทคถึงควรได้รับการเยียวยา?

หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมดีแทคถึงต้องได้รับการเยียวยาหลังหมดสัมปทาน ทั้งที่เป็นการตัดสินใจไม่เข้าร่วมการประมูลเอง ซึ่งตรงนี้ทางดีแทคได้ให้ข้อมูลเอาไว้ดังนี้ครับ

  1. เพื่อไม่ให้ลูกค้าดีแทคต้องได้รับผลกระทบช่วงรอยต่อหมดสัมปทาน และลูกค้าดีแทคควรจะต้องได้รับการปฏิบัติจาก กสทช ในการคุ้มครองใช้งานเช่นเดียวกับลูกค้าค่ายอื่นๆ ที่ผ่านมา
  2. ทางดีแทคได้พยายามป้องกันไม่ให้เกิดกรณีแบบนี้ขึ้นมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2559 ก่อนหมดสัมปทาน 3 ปี

  3. เหตุที่ไม่เข้าร่วมประมูลไม่ใช่เพราะราคาแพง แต่เป็นเพราะเงื่อนไขการประมูลที่ไม่มีใครยอมรับได้ ดังที่เห็นว่า AIS และ TrueMove ต่างก็ไม่เข้าร่วมเช่นกัน อ่านเพิ่มเติมที่ https://droidsans.com/will-dtac-join-4g-900mhz-auction/
  4. กสทช.ได้มีการปรับคลื่นจากเดิมที่เป็น 850MHz ให้กลายเป็น 900MHz ซึ่งต่อให้ดีแทคประมูลคลื่นได้มา ซิมก็ต้องดับอยู่ดี เพราะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ทั้งหมดเพื่อให้รองรับ

  5. AIS และ TrueMove ต่างเคยได้รับการเยียวยาในลักษณะเดียวกันนี้มาก่อน ซึ่งจนป่านนี้ก็ยังไม่ได้จ่ายเงินให้รัฐสักบาทต่างจากดีแทคที่พร้อมจะจ่ายให้เต็มที่
  6. คลื่นว่างไม่สร้างรายได้ แต่ถ้าให้ดีแทคใช้งาน จะสามารถสร้างรายได้ให้รัฐได้ถึง 100 ล้านบาท / เดือน
  7. ในทางกลับกันหากไม่มีการคุ้มครอง และลูกค้ากลุ่มนี้ซิมดับไป  จะทำให้คลื่น 900MHz ที่จะนำมาประมูลใหม่มีมูลค่าต่ำลง ไม่ว่าใครจะได้ไปก็ตาม เพราะลูกค้ากลุ่มนี้ได้หายไปหมดแล้ว

สรุป

ลูกค้าดีแทคในกรุงเทพและหัวเมืองใหญ่น่าจะได้รับผลกระทบกันบ้างหลังวันที่ 15 ..นี้ แต่จะค่อยๆดีขึ้นเพราะมีการปูพรมวางเสาคลื่น 2300MHz จำนวนมากไว้แล้ว ส่วนลูกค้าในต่างจังหวัดที่ใช้มือถือปุ่มกดหรือฟีเจอร์โฟนบนคลื่น 850/1800 MHz มีความเสี่ยงสัญญาณไม่ดีเท่าเดิม รวมถึงซิมดับ ตรวจสอบซิมดีแทคที่ใช้งานอยู่ว่าได้รับผลกระทบหรือไม่โดยกด *444# แต่ทั้งหมดนี้รอฟังคำตัดสินศาลภายในวันที่ 12 .. นี้ว่าจะให้ความคุ้มครองแก่ดีแทคหรือไม่

อ่านรายละเอียดเต็มๆเพิ่มเติมจากทางดีแทคถึงการคุ้มครองลูกค้า ตามด้านล่างนี้ได้เลยครับ

 

ดีแทคให้คำมั่น คุ้มครองลูกค้า บรรเทาผลกระทบหลังหมดสัมปทาน

  • ดีแทคยื่นฟ้องเพิกถอนมติ กสทช. และขอคุ้มครองลูกค้าชั่วคราวต่อศาลปกครอง ป้องกันผลกระทบหลังหมดสัมปทาน
  • พร้อมเร่งขยายโครงข่าย 2100 MHz และ 2300 MHz ของทีโอที ให้ลูกค้าได้รับบริการอย่างต่อเนื่อง

แนะลูกค้าเปลี่ยนซิมจากดีแทคเป็น DTN มอบข้อเสนอให้ลูกค้าที่ไม่ได้รับความสะดวกในการใช้งานบางพื้นที่

6 กันยายน 2561 – ดีแทคให้คำมั่นที่จะต่อสู้เพื่อลูกค้า ในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง หลังสิ้นสุดสัญญาในระบบสัมปทานกับ CAT ในวันที่ 15 .. 2561 ซึ่งในเช้าวันนี้ดีแทคได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนมติ กสทช. วันที่ 18 กรกฎาคม .. 2561 และพร้อมทั้งยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามมติและ/หรือกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครอง เพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการตามประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (“ประกาศมาตรการเยียวยาฯ”) ในระหว่างนี้ดีแทคได้ทุ่มเทอย่างเต็มความสามารถในการขยายโครงข่ายการให้บริการให้เข้าถึงลูกค้า เพื่อชดเชยปัญหาการใช้งานที่อาจเกิดขึ้นในสัปดาห์หน้า

นายราจีฟ บาวา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กรและพัฒนาธุรกิจ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่านับเป็นความรับผิดชอบของดีแทคในการต่อสู้เพื่อลูกค้า โดยในปี 2559ดีแทคได้เรียกร้องให้มีการจัดประมูลคลื่นล่วงหน้า (Early auction) ตลอดจนแผนจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum roadmap) ซึ่ง กสทช.ได้จัดการประมูลคลื่น 900 MHz เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานล่วงหน้าเพียง 2 เดือน นอกจากนี้ ด้วยเงื่อนไขและสถานการณ์ที่แตกต่าง โดยเฉพาะความแตกต่างทางเทคนิคระหว่างคลื่น 900 MHz และ 850 MHz ซึ่งในทางปฏิบัติต้องใช้เวลาประมาณ 24 เดือนเพื่อเปลี่ยนถ่ายอุปกรณ์ใหม่จำนวนมากกว่าหมื่นแห่ง

นอกจากนี้ เพื่อปฏิบัติตามประกาศมาตรการเยียวยาฯ ของ กสทช. เพื่อให้ลูกค้าดีแทคที่ยังอยู่ในระบบสัมปทานเดิม ซิมไม่ดับและมั่นใจในการใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ในวันที่ 7 มิถุนายน ที่ผ่านมา ดีแทค และ CAT ได้ร่วมยื่นแผนคุ้มครองลูกค้ากรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน ต่อ กสทช. ซึ่งก่อนหน้านี้ กสทช. ได้เคยอนุมัติการเยียวยาแก่ผู้ให้บริการรายอื่นที่เป็นคู่แข่งของดีแทคเป็นระยะเวลา 9 เดือน และ 26 เดือน อย่างไรก็ตาม กรณีของดีแทคที่กำลังจะหมดสัมปทานคลื่น 850 MHz ลงในวันที่ 15 กันยายนนี้  กสทช. ได้กำหนดเงื่อนไขในการได้รับสิทธิเข้าสู่มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการตามประกาศมาตรการเยียวยาฯ หากดีแทคเข้าร่วมประมูลคลื่น 900 MHz ตามมติ กสทช. วันที่18 กรกฎาคม ..2561 ซึ่งเป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์ของประกาศมาตรการเยียวยาของ กสทช.”

ในขณะที่ผู้ให้บริการรายอื่น ซึ่งยังไม่ได้นำส่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 1800 MHzในช่วงคุ้มครองผู้ใช้บริการตามประกาศมาตรการเยียวยาฯ ซึ่งดีแทคพูดเสมอว่าเรายินดีที่จะชำระค่าใช้คลื่นในช่วงที่เข้าสู่มาตรการเยียวยาฯ

ขณะที่เหลืออีกเพียง 9 วันก่อนสิ้นสุดสัมปทาน ดีแทคจึงจำเป็นต้องใช้สิทธิตามประกาศมาตรการเยียวยาฯ ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนมติ กสทช. ดังกล่าว เพื่อสิทธิประโยชน์ของลูกค้าดีแทคในการใช้งานคลื่น 850 MHz โดยปัจจุบัน ดีแทคมีลูกค้าในระบบสัมปทานกับ CAT จำนวน 90,000 ราย นอกจากนี้ ยังมีลูกค้าดีแทคไตรเน็ต หรือ DTN อีกเป็นจำนวนมากที่ใช้บริการข้ามโครงข่ายภายในประเทศ (Domestic Roaming) บนคลื่น850 MHz ทั่วประเทศ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบการใช้งานของลูกค้า กสทช. ดีแทค และ CAT จำต้องร่วมรับผิดชอบในการดูแลคุ้มครองผู้บริโภค ตามประกาศมาตรการเยียวยาฯ ของ กสทช.”

อย่างไรก็ตาม หากศาลมีคำสั่งคุ้มครองสิทธิการใช้งานของลูกค้าดีแทคบนคลื่น 850 MHz รายได้จากการให้บริการที่เกิดขึ้นในช่วงการคุ้มครองจะถูกนำส่งให้รัฐหลังหักค่าใช้จ่าย ซึ่งทำให้รัฐไม่เสียผลประโยชน์ใดๆ ในทางกลับกัน หากไม่มีการใช้ประโยชน์จากคลื่นความ 850 MHz จะนำความเสียหายมาสู่ทั้งรัฐและผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ การคุ้มครองการใช้งานชั่วคราวจึงเกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย

ในระหว่างที่รอการพิจารณาของศาล ดีแทคได้วางมาตรการในการคุ้มครองลูกค้าที่จะได้รับผลกระทบ โดยดีแทคจะดำเนินการแจ้งลูกค้าในรายที่ได้รับผลกระทบจากกรณีที่ไม่ได้รับการคุ้มครองคลื่นความถี่จาก กสทช.

นอกจากนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านโครงข่าย  ดีแทคได้เร่งขยายเสาสัญญาณ คลื่นดีแทคเทอร์โบ 2300 MHz ของทีโอทีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคลื่นดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการดาวน์โหลดสูงสุดในประเทศไทยด้วยความกว้างแบนด์วิดท์ถึง 60 MHz และปัจจุบันสามารถให้บริการครอบคลุม 40% ของประชากรทั้งประเทศแล้ว เพื่อทดแทนประสิทธิภาพของคลื่น 1800 MHz

ขณะเดียวกัน ดีแทคยังได้เร่งขยายโครงข่าย 2100 MHz อย่างเต็มความสามารถ เพื่อทดแทนประสิทธิภาพของคลื่น850 MHz และยังได้ย้ายลูกค้าจำนวน 340,000 ราย ที่ยังใช้ซิมดีแทคเดิมให้เปลี่ยนมาใช้ซิม DTN ภายใต้ระบบใบอนุญาต นอกจากนี้ดีแทคยังได้แบ่งประเภทของลูกค้าที่จะได้รับผลกระทบ โดยจัดตั้งทีมทำงานขึ้นมาดูแลลูกค้าเป็นพิเศษในช่องทางศูนย์บริการ และคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจะได้รับข้อเสนอ ฟรีดาต้าและโทรฟรีโดยขึ้นอยู่กับการได้รับผลกระทบในการใช้งานของแต่ละคน 

อย่างไรก็ตาม ดีแทค ขอแนะนำให้ลูกค้ามาใช้บริการบนคลื่น 2300 MHz ดีแทคเทอร์โบ ซึ่งสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ลื่นขึ้น โดยดีแทคกำลังเร่งขยายพื้นที่ให้บริการ 2300 MHzให้ครบทั่วประเทศ เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานบนคลื่น 2300 MHz ได้อย่างมีประสิทธิภาพในกลางปี 2562 ลูกค้าที่สนใจและอยู่ในพื้นที่ให้บริการสังเกต dtac-T เช็คความพร้อมที่โทร. *2300# และ www.dtac.co.th/network สามารถติดตามความคืบหน้าได้ที่www.dtac.co.th/network