บทความนี้จะยาวหน่อยนะครับ หวังว่าจะอ่านจนจบ โดยด้านต้นนี้จะเป็นบทความที่มีประโยชน์สำหรับคนที่ต้องการเข้าใจความหมายของคำว่า Kernel และ Rom ว่ามันมีความแตกต่างกันอย่างไร น่าจะมีประโยชน์มากๆสำหรับมือใหม่หัดกินรอมแปลกๆหรือต้องการเปลี่ยนแปลงตัวระบบ แตกหากเข้าใจอยู่แล้วก็สามารถอ่านข่าวได้จากด้านล่างสุดจำนวน 4 บรรทัดได้เลยครับ 😛

นาย Tiamat นักพัฒนา Android Kernel บน Chipset CPU ของ Qualcomm Snapdragon (QSD) 8×50 ซึ่ง x ในที่นี้หมายความว่า แทนตัวเลขอะไรก็ได้ ซึ่งจะตรงกับ Chipset CPU ของ QSD สองตัวคือ QSD8250 และ QSD8650

Android Kernel ในที่นี้หมายถึง Linux Kernel ที่ใช้บนบน Android โดย Android แต่ละ version ก็พัฒนามาจากฐานของ Linux การปรับแต่ง Android Kernal จะเป็นการปรับแต่งในระดับระบบปฎิบัติการ โดยส่วนมากจะไปเกี่ยวข้องกับการแก้ไขให้ Kernel นั้นสามารถทำงานได้ดีขึ้นกับ Hardware ยกตัวอย่างเช่น

  • การแก้ปัญหาเรื่อง Wifi รับสัญญาณได้น้อย อาจจะเป็นผลมาจากผู้ผลิตเขียน Kernel เพื่อติดต่อ Hardware ของ Wifi ไม่ดีนัก นักพัฒนา Kernel ก็จะเอา Source code ที่ทางผู้ผลิตเอาออกมาเผยแพร่มาทำการแก้ไขเพื่อทำให้ดีขึ้น
  • การปรับแต่งให้ Kernel สามารถ read/write หน่วยความจำได้เร็วขึ้น

หลายคนอาจจะถามว่าทำไมผู้ผลิตถึงต้องเปิดเผย Source Code เนื่องจากว่า Android พัฒนามาจาก Linux ซึ่งเป็น Opensource ตามกฎของ Opensource ถ้าเราเอาอะไรก็ตามในชุมชน Opensource มาพัฒนาต่อ ต้องเปิดเผย Sorce Code ด้วย

ในที่นี้ Android เอา Linux มาพัฒนาจนเป็น Android ดังนั้น Android จำเป็นต้องเปิดเผย Source Code ด้วย ซึ่งแน่นอนว่านักพัฒนา Kernal ที่เอา Soruce Code จากผู้ผลิตไปพัฒนาต่อ ก็ต้องเปิดเผย Source Code ในส่วนที่แก้ด้วย (เห็นประโยชน์ระบบเปิดยัง :))

ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นเชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนคงจะสับสน เพราะฟังๆ ดู Kernel กับ ROM มันคลับคล้ายคลับคลากัน แต่จริงๆแล้วไม่เหมือนกัน เพราะการพัฒนา ROM จะไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับ ระดับระบบปฏิบัติการ หรือ Hardware แต่จะไปเกี่ยวข้องกับ Software มากกว่า เช่น

  • การแก้ Launcher เอา Blur ออกแล้วลง Launcher Pro แทน
  • เกี่ยวกับ Application เอา Application ขยะที่ติดมาจาก ROM ออกเพื่อให้ลื่นขึ้น
  • การลง Font Thai ในตอนที่ Android 2.1 ยังไม่ support Font Thai
  • การแก้ไข GPS ให้สามารถทำงานให้ดีขึ้น ฟังแล้ว เหมือนจะต้องไปยุ่งกับ Hardware แน่ๆเลยเพราะไปยุ่งกับ GPS แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ เพราะบางที ROM ที่เราติดมานั้นเป็น ROM ยุโรป หรือ อเมริกา แน่นอนว่ามันต้องพยายาม Connect Server ตามภูมิภาคนั้นๆ แต่พอเราเอามาใช้ที่ไทยทำให้การ เชื่อมต่อเข้า Sever ช้าเพราะต้องไปเชื่อมต่อกับภูมิภาคตาม Rom นั้นๆ นักพัฒนา ROM เค้าก็จะแก้ให้ GPS มาเชื่อมต่อ Sever ฝั่ง Asia แทนเพื่อให้ทำงานให้เร็วขึ้น

Ok เกริ่นซะยาวมาเข้าเรื่องต่อ ซึ่ง QSD8250 และ QSD8650 จะถูกใช้บนมือถือมากมาย การจะ support ทั้งหมดคงจะยาก โดยนาย Tiamat เลยเลือกพัฒนา Kernel บน Android ของ HTC แทนได้แก่ Droid Incredible, Evo 4G, Nexus One, and Desire (GSM) ซึ่งสังเกตว่ารุ่นที่กล่าวมา Hardware ค่อนข้างจะคล้ายๆกัน

โดย Android Kernel ที่ Tiamat เอามาใช้ในการพัฒนานี้คือ AOSP (Android Open Source Project) ซึ่งเป็นการเอา Source Code ของ Nexus One ที่ได้รับอภิสิทธิในการ Update Version ทุกครั้งมาแก้ไข โดย Android Kernel ของ Tiamat ได้ถูกนำมาใช้เป็น Base ของ ROM ชื่อดังต่างๆ เช่น CyanogenMod, MIUI หรืออื่นๆ อีกมามาย

***ข่าว***

เอาละมาเข้าข่าวกันซะที จะเห็นได้ว่า Tiamat มีผลงานบนมือถือ Android มากมาย ตอนนี้ Android Tablet มาแล้วมีหรือที่ Tiamat จะพลาด โดย Tiamat ได้ทำการ Mod Kernel บน Motorola Xoom โดยผลงานเด่นๆบน Tablet นี้คือ การทำให้ Honeycomb รองรับ SD Card ซึ่งตอนนี้ถึงแม้ว่า Honeycomb จะออก 3.1 แต่ก็ยังไม่รองรับ SD Card หรือการทำให้ Honeycomb รองรับ IP V6 เต็มตัว และล่าสุดได้ทำการ OverClock สัญญาณนาฬิกาได้สูงถึง 1.6 Ghz จนคะแนน Quadrant ได้ถึง 4800!

อ้างอิง

ที่มาข่าว Phandroid