จากที่ก่อนหน้านี้มีการประกาศว่าจะทำการเลื่อนประมูล 4G คลื่น 900MHz จากเดือนธันวาคมมาเป็น 12 พฤศจิกายน ตามหลังคลื่น 1800MHz เพียงแค่วันเดียวนั้น วันนี้มีอัพเดทล่าสุดออกมาว่าทาง กสทช. ได้ประกาศเลื่อนการประมูลกลับไปเป็น 15 ธ.ค.ตามเดิมเรียบร้อย โดยให้สาเหตุว่าเพื่อความโปร่งใสของการประมูลที่หากวันใกล้กันเกินไปจะทำให้เกิดการฮั้วประมูลกันได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ดีในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้ จะยังมีการประมูลคลื่น 1800MHz จำนวน 2 ใบอนุญาตตามเดิม
เลื่อนประมูลจะช่วยกันการฮั้วประมูลได้จริงรึเปล่า?
ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการประมูล 4G ในตอนนี้มีทั้งหมด 4 ใบอนุญาต ใน 2 คลื่นความถี่โดยแบ่งเป็น
- คลื่น 1800MHz จำนวน 2 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 15MHz อายุใบละ 18 ปี (2558-2575)
- คลื่น 900MHz จำนวน 2 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10MHz อายุใบละ 15 ปี (2558-2572)
โดยทั้งสองใบอนุญาตมีผู้ยื่นซองเข้าร่วมประมูลทั้งหมด 4 เจ้า ได้แก่ AIS, DTAC, Truemove, และ JAS (หรือที่หลายๆคนรู้จักกันในนาม 3BB) ทำให้หลายๆคนตั้งแง่ขึ้นมาว่ามีคนประมูลเท่ากับจำนวนใบอนุญาตแบบนี้แล้ว มันจะเรียกว่าการประมูลได้อย่างไร และต่อให้แต่ละเจ้าต้องการใบอนุญาตมากกว่า 1 ใบ ก็อาจจะเกิดการฮั้วกันได้อยู่ดีเพราะอาจจะมีการตกลงกันระหว่างค่ายใดๆเพื่อกีดกัดเจ้าอื่นได้เช่นกัน
จากการวิเคราะห์ของหลายๆที่ เราจะสามารถเรียงลำดับความต้องการได้คร่าวๆดังนี้
- AIS – ต้องการมากกว่าใครเนื่องจากแบนด์วิธของคลื่นความถี่ 2100MHz ที่ประมูลได้มาก่อนหน้า 15MHz กำลังจะเต็มแล้ว ต้องใช้วิธีวางเสาถี่ๆเพื่อรองรับผู้ใช้ที่มากกว่า Dtac และ Truemove ถึง 2 เท่านั่นเอง คาดว่า AIS น่าจะต้องการใบอนุญาตมากกว่า 1 ใบค่อนข้างแน่นอน
- Dtac – ด้วยอายุสัมปทานของคลื่น 1800MHz ที่กำลังจะหมดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จะทำให้ Dtac เหลือคลื่นความถี่สำหรับทำ 4G ในมือไม่มากนัก การประมูลครั้งนี้ก็เหมือนเป็นการทำแผนสำหรับรองรับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่อาจจะไม่ได้ต้องการทั้ง 2 ใบอนุญาตเท่า AIS เพราะจำนวนของผู้ใช้บริการไม่ได้มากเท่านั่นเอง
- Truemove – ถูกมองว่าเป็นเจ้าที่ต้องการใบอนุญาตน้อยที่สุดใน 3 เจ้า เพราะมีคลื่น 850MHz และ 2100MHz ที่มีแบนด์วิธเยอะมากในมืออยู่แล้ว หากประมูลได้ใบใดใบหนึ่งไปก็อาจจะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับตัวเองมากกว่า แต่ในอีกมุมมองนึง ก็มองว่าทางทรูก็ยังต้องการอีกใบอนุญาตเพื่อคงภาพลักษณ์ความเป็นเบอร์หนึ่งด้าน 4G เอาไว้อยู่
- JAS – น้องใหม่ม้ามืดที่หลายๆคนงงว่ามาได้ยังไง แต่ก็ตามข่าวคือทางบริษัทต้องการขยายธุรกิจจากแค่บรอดแบนด์ขึ้นมาร่วมวงกับเครือข่ายโทรศัพท์ จากเงินที่ระดมทุนขึ้นมารอบใหม่ได้มาหลักหมื่นล้านบาทอยู่ น่าจะเพียงพอที่ขึ้นมาโลดแล่นในวงการได้ แต่ก็น่าจะเหนื่อยหน่อยเพราะเจ้าตลาดทั้งสามก็นำหน้าไปไกลมากแล้วนั่นเอง
จากบทวิเคราะห์ข้างต้นนี้ ทำให้เรื่องความโปร่งใสและการฮั้วอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นง่ายขนาดนั้น เพราะนั่นหมายความว่าทางเครือข่ายที่ฮั้วกัน ต้องไว้ใจกันพอสมควรและต้องมั่นใจว่าคู่แข่งจะไม่สร้างปาฎิหารย์ทำลายดีลที่ตกลงกันเอาไว้ได้ด้วย
ส่วนบทสรุปจะออกมาเป็นอย่างไร วันพุธหน้า (11 พ.ย.) หลังจากผลการประมูลคลื่น 1800MHz ออก คงจะได้เห็นภาพกันชัดเจนขึ้นครับ
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
มาช้าดีกว่าไม่มา ทำได้แค่ลุ้นเอา รอๆนะ
ปล. ปรกติไม่ค่อยได้ดู TV แต่วันนี้เห็นโฆษณา TOT 3G อันใหม่ โอ๊วววว..แข่งขันกันน่าดู ชอบๆครับประชาชนอย่างเรารอใช้นะ
ปล.2 ช่วงนี้ 3G AIS กากจริง รีบประมูลให้ได้แล้วรีบทำนะ ความเร็วนึกว่าติด Fup ความเร็วค่าอัพโหลดแซง ค่าดาวน์โหลดไปหลายเท่าแล้วนะ
900 เลื่อนเพื่อความโปร่งใส ตลก ส่วน 1800 ก็ใช่ว่าจะน่าไว้วางใจ เห็นเงียบๆแบบนี้ ระวังโครมเดียวหงาย
การประมูล กติกาถูกคิดโดยคน ถ้ามันใส่ช่องโหว่ไว้ตั้งแต่แรก จะเลื่อนอะไรยังไง ก็มีเรื่องไม่ชอบมาพากลได้อยู่ดีครับ
ความเชื่อถือในตัวกสทช. น้อยมาก สำหรับผม อะไรที่เป็นประโยชน์กับกลุ่มทุนก็ขยับตัวช้ามาก และไม่กล้าฟันดาบลงตรงๆ อย่างเรื่อง 384k ทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง
ตกลง มีสองคลื่นอ่อ 900 & 1800
2300 เหมือนจะยังไม่สรุปนิ
2300>>>> TOT 60 MHZ มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวครับ…..
ปล.คงเหมือนตอน 3G แรงสุดๆ (เพราะคนใช้น้อยมากกกก)
แต่ TOT ขาดทุนย่อยยับอีกตามเคย…
CAT หายไปไหนเหรอครับ คนใช้เครือข่าย my จะได้ใช้ 4G กะเขาไหม
อยากให้CATไปหาค่ายอื่นโรมมิ่ง2Gมากกว่า ตรงไหนไม่มีสัญญาณ3Gนี่จบเลย เวลาใช้เครื่อง2ซิมก็ต้องบังคับให้3Gตลอด
จริงครับ
แต่ผมว่า 2G น่าจะจบนะครับ
ดูแล้วคงต้องเปลี่ยนถ่าย จะช้าหรือเร็วเท่านั้น
มือถือต่อไป 2ซิม ซิม2คงมะได้ใช้ ถ้าใช้คงเป็น Hybrid ไว้เสียบ SD Card
ช่วยสรุปคลื่นความถี่ 4G ที่จะมีในไทยให้ด้วยครับ
จะได้เลื้อกซื้อเครื่องได้เหมาะกับ 4G ในอนาคต
หากซื้อมาแล้วใช้ในไทยไม่ได้แย่เลย
ขอบคุณครับ
บ้านเราเน้น 4G LTE นะครับ วันนี้ที่รองรับเลย 2100/1800 วันหน้า 900/2600 ครับผม ถ้าจัด Zenfone 2(ทั้ง Intel,Snap)ครบครับ อิๆ
เดี๋ยวนะ DTAC มีคลื่น 850 นิ และ DTAC ด้วยซ้ำที่คืนแบรนด์วิทส่วนนึงให้ Cat แล้ว Cat นำแบรนด์วิทส่วนที่ว่ามาให้ True บริการ 3G(เค้าเรียก MVNO มั้ง) ทั้ง DTAC,True จึงมีคลื่น 850/1800/2100 เหมือนกัน แต่รู้สึก True จะแบ่งแบรนด์วิทคลื่น 2100 ให้บริการ 4G มากกว่า DTAC นะครับ
คลื่น 1800 ของ DTAC มีแบรนด์วิทเยอะพอสมควร จึงทำเหมือนเคสข้างต้น คือคืนแบรนด์วิทคลื่น 1800 ให้กสทช.ไป 5MHz เพื่อให้กสทช.ไปจัดประมูล 4G และจัดสรรให้แบนด์วิทให้ลงตัวคือ 15MHz/1 ใบอนุญาต และได้เป็น 2 ใบอนุญาต ด้วยเหตุนี้กสทช.จึงอนุมัติให้ DTAC สามารถอัพเกรดคลื่น 1800 ที่มีอยู่เดิมไปเป็น 4G ได้ทันที โดย DTAC เลือกที่จะใช้แบรนด์วิทคลื่น 1800 จำนวน 10MHz เพื่อให้บริการ 4G
ส่วนคลื่น 2300 ที่ TOT กำลังเดินเรื่องขออัพเกรดไปเป็น 4G รู้สึกว่าจะไม่ใช่เทคโนฯ LTE นะครับ
ส่วนคลื่นที่ไม่น่าจะติดอะไร แต่อุปกรณ์อาจจะยังไม่รองรับสักเท่าไหร่ คือคลื่น 2600 ที่กสทช.กำลังเจรจาขอคืนจากอสมท.เพื่อมาจัดประมูล 4G เช่นกัน และผมเดาว่าอสมท.กำลังรอดูผล/ราคาประมูล 4G คลื่น 1800/900 ซ่ะก่อน จึงจะได้ขอเรียกเงินชดเชยจากกสทช.ได้อย่างสมน้ำสมเนื้อครับผม แน่นอนคลื่น 2600 เป็น 4G LTE ครับผม
ส่วนตัวผมไม่ค่อยแปลกใจที่ JAS กระโดดเข้าประมูลนะ เพราะเขามีทั้งเทคโนโลยีโทรศัพท์ และ Internet Broadband
ถ้าได้ไปคงเอาไปทำ LTE + VoIP เพราะเขามีเทคโนโลยีอยู่แล้ว
(เสริมความเข้าใจถ้าเป็น 4G Pure จะไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ถ้าจะโทรต้องโทรผ่าน VoIP เท่านั้น แต่ปัจจุบันเราใช้แบบค่อมกลางระหว่าง 3G+4G มันเลยเหมือน 4G มีโทรศัพท์ด้วย)
ส่วนตัวมองว่าตอนนี้คนที่เดือนร้อนที่สุดน่าจะเป็น AIS
ส่วน 850 เป็นแมว ที่ให้ Reseller อย่าง True และ DTAC ทำหน้าที่ขายแทน ส่วนตัวผมมองว่าทั้ง 4 ค่ายคงเล็ง 1800 เป็นหลัก
เพราะ Bandwidth กว้างกว่า และเหมาะกับการนำเอามาทำ 4G มากกว่าด้วยลักษณะของคลื่นความถี่ 15MHz
ถ้าคำนวณคร่าวๆ อย่างต่ำน่าจะได้ความเร็วต่ำที่สุด 30MB/s (จริงๆ ควรจะมากกว่า) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับ Modulation ,ระยะทาง, Noise, Fading, และอื่นๆ อีกมากมาย
ส่วน 900 มีลักษณะคลื่นความถี่ต่ำความยาวคลื่นสูงคงใช้ในต่างจังหวัด เพราะพื้นที่กว้าง 900 ไปได้ไกลกว่าไม่ต้องลงทุนตั้งเสาถี่จนเกินไป
ถ้าเครื่องที่บอกว่า 4G LTE 800/1800/2100/2600 MHz งั้นต่อไป ก็จะใช้4G คลื่น 900 ไม่ได้ใช่ไหมครับ