เป็นปีที่อะไร ๆ ผ่านไปเร็วเสียเหลือเกิน เหลือเวลาอีกไม่ถึงเดือนครึ่งก็จะหมดปี 2020 กันแล้ว โดยในปีนี้แม้จะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นมากมาย แต่เรื่องที่ใหญ่มากในด้านไอทีบ้านเราก็คือ การประมูลคลื่น 5G และเปิดให้ใช้ได้ในเชิงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อย จากตอนแรกที่คาดว่าต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะได้เริ่มใช้งานจริง แต่วันนี้เครือข่ายบ้านเราไปไกลกว่าที่คาด พร้อมใช้งานแล้วในหลายพื้นที่ แถมยังนำเทคโนโลยีใหม่มาให้บริการเป็นประเทศแรก ๆ ของโลกอีกด้วย

ด้วยความที่เครือข่ายบ้านเราพัฒนากันได้รวดเร็วแบบนี้ เลยจะมาขออัพเดตข้อมูลเกี่ยวกับ 5G ในประเทศไทย ของแต่ละเครือข่ายให้ได้ทราบกันสักหน่อย เผื่อให้เพื่อน ๆ ที่กำลังพิจารณาซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่เอาไว้ใช้เป็นส่วนอ้างอิงได้

อ่านก่อน บทความนี้ตัวเลขที่เราได้จากทาง AIS จะสมบูรณ์สุดนะครับ เพราะเค้ามีการเปิดเผยออกมาอยู่ตลอด ตามมาด้วย Truemove H ที่มีให้ได้เห็นกันบ้าง ส่วนของทางดีแทคจะยังต้องรอให้เริ่มวางเครือข่ายหลังได้คลื่น 700MHz มาอีกทีในช่วงต้นปี 2564 เลย

ซื้อมือถือ 5G ต้องรองรับคลื่นความถี่ไหนบ้าง เพื่อใช้งานในประเทศไทย

หากจะซื้อสมาร์ทโฟนใหม่สักเครื่องที่รองรับ 5G สิ่งที่ต้องดูเป็นหลักคือ คลื่นความถี่ที่รองรับ โดยในแต่ละประเทศจะมีการใช้คลื่นที่แตกต่างกันออกไป ส่วนในไทยปัจจุบันคลื่นความถี่ที่ใช้งานได้แล้วจะเป็นคลื่น 2600 MHz หรือถูกเรียกเป็นรหัสว่า n41 ซึ่งจะไม่ใช่คลื่นที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในอุปกรณ์ที่รองรับ 5G ทำให้ถ้าใครจะซื้ออุปกรณ์จากประเทศอื่นเข้ามาใช้งาน จะต้องตรวจสอบคลื่นให้เรียบร้อยก่อน ส่วนคลื่นอื่นๆ แม้จะมีการประมูลแล้วแต่จะยังไม่เปิดให้บริการแต่อย่างใด

คลื่นความถี่ 5G ในประเทศไทย

  • 700 MHz (n28) รอเปิดให้บริการต้นปี 2564
  • 2600 MHz (n41) เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์แล้ว ครบ 77 จังหวัด สำหรับลูกค้า AIS และ Truemove H
  • 26GHz (n258) รับใบอนุญาตมาแล้ว แต่ยังไม่มีการใช้งานจริง รวมถึงอุปกรณ์ก็หาใช้งานยากเช่นกัน

คลื่นความถี่ที่คาดว่าจะมีการประมูลในอนาคต

  • 3500 MHz (n48) รอหมดอายุสัมปทานจากดาวเทียม เปิดประมูลเร็วสุดปลายปี 2564

กดอ่านเพิ่มเติม “คลื่นความถี่ 5G ไหนมีรหัส n อะไร

ข้อควรรู้ แม้ว่าสมาร์ทโฟนจากต่างประเทศ จะมีสเปคที่รองรับคลื่น n41 ของบ้านเราแล้วก็ตาม แต่ทางเครือข่ายจะยังไม่ได้เปิดให้ทุกเครื่องสามารถเชื่อมต่อสัญญาณ 5G และใช้บริการได้ทันที อาจต้องโทรเข้าไปสอบถามหรือขอให้เปิดสัญญาณให้เพิ่มเติม

สรุปการถือครองคลื่นความถี่ เครือข่ายไหนมีคลื่นอะไร จำนวนเท่าไหร่

คลื่นความถี่ที่แต่ละเครือข่ายนำมาให้บริการในปัจจุบันจะเป็นระบบใบอนุญาตกันแล้วเกือบ 100% โดยใบอนุญาตแต่ละใบจะต้องทำการประมูลเพื่อให้ได้มา ซึ่งใครที่มีใบอนุญาตและคลื่นที่เยอะกว่า ก็จะรองรับผู้ใช้จำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาเน็ตไม่วิ่ง ความเร็วต่ำ โหลดอะไรก็ช้า ไปได้มาก หากจำนวนผู้ใช้มากเท่าไหร่ คลื่นที่นำมาให้บริการก็ควรจะเยอะตามขึ้นไปด้วยเท่านั้น ซึ่งจำนวนคลื่นที่แต่ละผู้ให้บริการมีครอบครองอยู่ ก็จะมีดังนี้ครับ

คลื่นความถี่/ความกว้างAISTrueDtacTOTCAT
700 MHz30 MHz20 MHz20 MHz20 MHz
850 MHz30 MHz*30 MHz*
900 MHz20 MHz20 MHz10 MHz
1800 MHz40 MHz30 MHz10 MHz
2100 MHz30+30 MHz**30 MHz30 MHz30 MHz**
2300 MHz60 MHz***60 MHz***
2600 MHz100 MHz90 MHz
26000 MHz1200 MHz800 MHz200 MHz400 MHz
รวมคลื่น

A: < 6 GHz

B: > 24 GHz

A: 250 MHz

B: 1200 MHz

A: 220 MHz

B: 800 MHz

A: 130 MHz

B: 200 MHz

A: 90 MHz

B: 400 MHz

A: 50 MHz

B: – MHz

หมายเหตุ

  • คลื่นความถี่ 700/850/900/2100/ MHz เป็นความถี่แบบ FDD เราขอคิดคำนวนแบบ x2 (รวมทั้ง Down และ Up มาให้เลย)
  • *เป็นคลื่นที่ True ได้สัมปทานจาก CAT มาตั้งแต่เมื่อคราวซื้อ HUTCH ปัจจุบันที่เห็น mybyCAT ให้บริการอยู่ก็เป็นการแบ่งความถี่จากชุดนี้มานั่นเอง
  • **เป็นคลื่นที่ AIS ได้สัมปทานจากทาง TOT มาอีกที และ TOT ก็สามารถใช้สัญญาณ และสถานีฐานของ AIS ได้ตามสัดส่วนที่ตกลงกัน
  • ***เป็นคลื่นที่ Dtac ได้สัมปทานจากทาง TOT มาอีกที และ TOT ก็สามารถใช้สัญญาณ และสถานีฐานของ Dtac ได้ตามสัดส่วนที่ตกลงกัน

เมื่อเรียงตามจำนวนคลื่นความถี่ที่ครอบครองแล้ว ค่ายที่มีคลื่นเยอะที่สุดตามลำดับของคลื่น Sub-6* ที่ถือครอง และไม่รวมคลื่นที่เป็นของพาร์ทเนอร์ จะเป็นดังนี้

  1. AIS @ 1420MHz (220 MHz)
  2. Truemove H @ 990 MHz (190 MHz)
  3. TOT @ 490 MHz (90 MHz)
  4. Dtac @ 270 MHz (70 MHz)
  5. CAT @ 50 MHz (50MHz)

*เรียงตามจำนวนคลื่น Sub-6 หรือความถี่ต่ำกว่า 6000MHz ที่ถือครองเพราะเป็นคลื่นที่ให้บริการจริงในปัจจุบัน และครอบคลุมพื้นที่จริงได้มากกว่า mmWave

โดยเมื่อเทียบจำนวนผู้ใช้บริการต่อจำนวนคลื่นความถี่ที่แต่ละเครือข่ายครอบครอง Truemove H จะเป็นเครือข่ายที่มีคลื่นต่อจำนวนผู้ใช้จำนวนมากที่สุด โดยผู้ใช้ 1 ล้านรายจะมีคลื่นให้ใช้ราว 7.28 MHz ตามมาด้วยดีแทคที่จะมี 6.91 MHz และ AIS จะมี 6.10 MHz

AISTruemove HDtac
จำนวนผู้ใช้*4130.218.8
จำนวนคลื่น**250 MHz220 MHz130 MHz
สัดส่วนต่อจำนวนผู้ใช้
(ยิ่งเยอะยิ่งดี)
6.107.286.91

* ข้อมูลจากผลประกอบการไตรมาส 2/2563
**คิดรวมคลื่นที่เป็นของพาร์ทเนอร์ด้วย

ความครอบคลุมของคลื่น 5G และเทคโนโลยีที่แต่ละเครือข่ายรองรับ

นอกเหนือจากจำนวนความถี่ที่มีครอบครองจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพของสัญญาณแล้ว จะยังมีเรื่องของเทคโนโลยีที่ถูกนำมาให้บริการด้วยเช่นกัน แน่นอนว่า 5G ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่นี้จะถูกออกแบบมาให้รองรับความต้องการใช้งานที่สูงขึ้นทั้งในด้านจำนวนและความเร็ว โดยจะมีเทคโนโลยีย่อยอีกมากมาย โดยพอจะสรุปออกมาได้ตามตารางด้านล่างนี้

AIS
(ภายในสิ้นปี 2563)
Truemove Hdtac
5G Sub-65,000 สถานีฐานTBCN/A
5G mmWaveN/AN/AN/A
ความครอบคลุมของสัญญาณ77 จังหวัด, 16% ของประชากรของประเทศ, 60% ของพื้นที่ในกรุงเทพฯ77 จังหวัดN/A
NSA100% ของสถานีฐาน100% ของสถานีฐานN/A
SA100% ของสถานีฐาน100% เร็วๆนี้N/A
EN-DCYesYesN/A
Network SlicingYesYesN/A
32T32RYesYesYes
64T64RYesYesYes
  • AIS ประกาศเป็นเครือข่ายที่มีการลงทุนในเรื่องสัญญาณ และพัฒนาโครงข่าย 5G มากที่สุด
  • 30 ปี ที่ผ่านมาเอไอเอส ลงทุนมากกว่า 1.1 ล้านล้านบาท โดยในปี 2563 ได้เตรียมงบลงทุนเครือข่ายไว้ที่ 35,000 ล้านบาท ใช้งบลงทุนด้านคลื่นความถี่ทั้งหมด 203,000 ล้านบาท
  • ทรูมูฟ แม้จะเงียบๆ แต่รวมๆ สัญญาณ ถือว่าโอเคอยู่ ส่วนเทคโนโลยีที่ใช้รอการยืนยันอีกที
  • ดีแทค ระหว่างที่คลื่น 700 MHz กำลังรอการ refarm มาเพื่อให้เปิดใช้งานในช่วงต้นปีหน้า 5G ก็ยังเป็นเรื่องที่ผู้ใช้เครือข่ายนี้รอกันต่อไป แต่ว่าจะมีการลงเทคโนโลยีบางส่วนของ 5G ไปแล้ว อย่าง Massive-MIMO ที่เป็นเทคโนโลยีคาบเกี่ยวระหว่าง 4G LTE และ 5G NR นั่นเอง

ทาง AIS คาดการณ์ว่าภายในสิ้นปีนี้ ทางเครือข่ายจะมีลูกค้าที่ใช้งาน 5G ประมาณ 100,000 ราย ซึ่งก็น่าจะเป็นตัวเลขที่นำคู่แข่งรายอื่นไปพอสมควร ต้องรอทางทรูเปิดเผยจำนวนผู้ใช้ที่แน่นอนกันต่อไป โดยเป้าหมายที่ทางเอไอเอสตั้งไว้ว่าจะมีพื้นที่สัญญาณ 5G ครอบคลุมมากกว่า 75% ของจำนวนประชากรในประเทศไทย จะเป็นภายใน 4 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2567-2568) โดยจำนวนนี้แม้ว่าจะยังไม่เทียบเท่า 4G ที่ปัจจุบันครอบคลุมไปมากกว่า 95% แล้ว แต่ก็มากพอที่จะทำให้การใช้งาน 5G เป็นไปได้อย่างแพร่หลาย และใช้ประโยชน์กันได้อย่างเต็มที่แน่นอน

ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ถ้ามีคนมาถามผมว่าซื้อมือถือเครื่องใหม่ควรต้องรองรับ 5G หรือยัง ผมมักจะตอบว่า “5G อาจจะยังไม่มา หรือครอบคลุมให้ใช้งานได้จริงเร็วๆนี้ จะมีหรือไม่มีก็ได้” แต่จากอัตราความเร็วในการพัฒนาเครือข่าย และความมุ่งมั่นที่จะเป็นประเทศผู้นำด้าน 5G ของบ้านเรา ก็ต้องบอกว่า ถ้าคุณเป็นคนที่ใช้มือถือเครื่องนึงกว่าจะเปลี่ยนก็นาน และอยากสัมผัสประสบการณ์ความเร็วที่ดีกว่าก่อนใคร ซื้อมือถือเครื่องต่อไปก็ควรจะให้รองรับ 5G เถอะครับ