เมื่อไม่กี่วันมานี้ทาง Adobe ได้ปล่อยแพทซ์ใหม่ของ Premiere Pro เวอร์ชัน 14.2 ซึ่งได้ทำการอัปเดตให้การ์ดจอแยกช่วยทำงานให้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ทีมงานจึงถือโอกาสนี้มาทดสอบสักหน่อยว่าดีขึ้นจริงหรือไม่ เร็วกว่าเดิมเท่าไร โดยมีทั้ง MacBook Pro และโน้ตบุ๊ค Windows รวมกันทั้งหมด 4 เครื่อง มาดูกันครับว่าเครื่องไหนจะเร็วที่สุด

Play video

เครื่องที่ใช้ทดสอบ

1. MacBook Pro 16 ปี 2019

  • Intel Core i9-9880H (8C/16T)
  • AMD Radeon Pro 5500M
  • Ram 16GB

2. ASUS ROG Zephyrus G14 ปี 2020

  • AMD Ryzen 7 4800HS (8C/16T)
  • NVIDIA GTX 1660Ti Max-Q
  • Ram 16G

3. MacBook Pro 13 ปี 2017

  • Intel Core i5-7267U (2C/4T)
  • Iris Plus Graphics 650 (onboard)
  • Ram 8GB

4. Acer Predator Helios 300 ปี 2017

  • Intel Core i7-7700HQ (4C/8T)
  • NVIDIA GTX 1060
  • Ram 16GB

การทดสอบ

สำหรับการทดสอบครั้งนี้ทีมงานจะใช้ฟุตเดียวกันทั้งหมด 4 เครื่อง คลิปความยาว 10.04 นาที โดยฟุตจะทำการก๊อบปี้ไฟล์ไว้บน SSD เครื่องตัวเอง Export ออกมาเป็น Fomat H.264 / High bitrate / ความละเอียด Full HD ซึ่งจะทดสอบทั้งหมด 2 เวอร์ชัน คือ Adobe Premiere Pro 14.0 (เก่า) และ 14.2 (ใหม่ล่าสุด) ผลออกมาเป็นดังนี้

โน้ตบุ๊คที่ใช้Premiere Pro 14.0
(นาที)
Premiere Pro 14.2
(นาที)
MacBook Pro 16 ปี 201905.3105.10
ASUS ROG Zephyrus G14 ปี 202008.0704.53
MacBook Pro 13 ปี 201714.1013.41
Acer Predator Helios 300 ปี 201707.4604.57

สรุป

จากตารางผลการทดลองจะเห็นได้ว่าโน้ตบุ๊คทางฝั่ง Windows สามารถ Export ไฟล์ได้เร็วกว่าเดิมเป็นเท่าตัวบน Adobe Premiere Pro เวอร์ชัน 14.2 แต่บน MacBook Pro กลับทำได้ดีขึ้นแค่ไม่กี่วินาทีเท่านั้น กล่าวคือก่อนหน้านี้ที่ MacBook Pro สามารถ Export ไฟล์ได้ไวกว่าเพราะตัวโปรแกรมซัพพอร์ตกับ macOS มากกว่านั่นเอง ซึ่งหลังจากอัปเดตทำให้รู้ว่าจริงๆ แล้วโน้ตบุ๊ค Windows ความเร็วก็ไม่ได้แพ้ macOS เลย

เมื่อเรียงลำดับความเร็วในทาง Export ไฟล์ ทั้ง 4 รุ่นบน Premiere Pro 14.2 เรียงตามลำดับได้ดังนี้

  • ASUS ROG Zephyrus G14 ปี 2020 ใช้เวลา 4 นาที 53 วินาที
  • Acer Predator Helios 300 ปี 2017 ใช้เวลา 4 นาที 57 วินาที
  • MacBook Pro 16 ปี 2019 ใช้เวลา 5 นาที 10 วินาที
  • MacBook Pro 13 ปี 2017 ใช้เวลา 13 นาที 41 วินาที

(ซ้าย คือ Acer Predator Helios 300 / ขวา คือ ASUS ROG Zephyrus G14)

ข้อสังเกตคือ Acer Predator Helios 300 แม้ว่าจะเป็นซีพียู Intel Core i7-7700HQ รุ่นเก่า แต่ประสิทธิภาพในการ Export ไฟล์ก็ยังสูงอยู่เนื่องจากตอนทำงาน Export จะใช้ทั้งซีพียู การ์ดจอออนบอร์ด และการ์ดจอแยกพร้อมๆ กัน แตกต่างจาก ASUS ROG Zephyrus G14 ที่ใช้ซีพียู AMD Ryzen 7 4800HS จะใช้เพียงซีพียูทำงานกับการ์ดจอแยกเท่านั้น ไม่ได้ใช้การ์ดจอออนบอร์ดด้วย

(ซ้าย คือ MacBook Pro 16 ปี 2019 / ขวา คือ MacBook Pro 13 ปี 2017)

ส่วน MacBook Pro 16 ปี 2019 เท่าที่ดูบนโปรแกรม Monit คือ จะใช้งานทั้งสามอย่างคือซีพียู การ์ดจอออนบอร์ด และการ์ดจอแยก แต่แปลกที่ซีพียูทำงานไม่เกิน 40% และสุดท้าย MacBook Pro 13 ปี 2017 รุ่นนี้ไม่มีการ์ดจอแยก ทำให้ซีพียูทำงานคู่กับการ์ดจอออนบอร์ดเท่านั้น ซึ่งซีพียูวิ่งขึ้นลงอยู่ระหว่าง 20-90% ครับ

อย่างไรก็ตามหากดูจากเวลาอันดับ 1-3 บน Premiere Pro 14.2 แล้วจะเห็นว่าเวลาต่างกันไม่กี่วินาทีเท่านั้น ซึ่งทั้ง 3 รุ่นใช้ซีพียูรหัส H ที่เป็นรุ่นประสิทธิภาพสูงและมีการ์ดจอแยกเหมือนกัน แตกต่างจาก MacBook Pro 13 ปี 2017 ที่ใช้เป็นโน้ตบุ๊ครหัส U และใช้เพียงการ์ดจอออนบอร์ดทำให้ Export ไฟล์ช้ากว่าเพื่อนหลายนาที

ดังนั้นหากเพื่อนๆ คนไหนที่จะซื้อโน้ตบุ๊คมาใช้งานตัดต่อยังไงก็แนะนำว่าให้ใช้ซีพียูรหัส H ขึ้นไปและมีการ์ดจอแยกด้วยจะดีที่สุดนั่นเองครับ

ตอนนี้ทาง Droidsans มีเพจ คอมคร้าบ เพิ่มออกมาเป็นเรื่องคอมโดยเฉพาะ ทั้ง FaceBook และ YouTube ฝากกด Like กด Subscribe กันด้วยนะครับผม

Facebook : https://www.facebook.com/comcraft.ds
YouTube : https://www.youtube.com/c/comcraftds