ปัจจุบัน AIS เป็นเครือข่ายที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดในประเทศไทยด้วยจำนวนลูกค้าที่สูงถึง 40 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วนที่สูงถึงเกือบ 45% ของตลาดทั้งหมด โดยจำนวนคลื่นที่มีครอบครองเพื่อให้บริการในปัจจุบันแม้ว่าจะมีจำนวนมากที่สุด แต่ก็ไม่ได้มากเป็นสองเท่าจากผู้ให้บริการรายอื่น แต่คุณภาพเครือข่ายกลับสามารถทำได้ดีเหนือกว่าในหลายพื้นที่ และเบื้องหลังก็คือเทคโนโลยีที่เครือข่ายได้นำมาใช้นั่นเอง วันนี้เราเลยจะพาไปดูกันว่าทาง AIS เค้ามีอะไรอยู่หลังบ้านบ้าง

ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการ

การที่จะทำให้เครือข่ายนึงสามารถให้บริการได้ดี สัญญาณคลื่นเต็มและเน็ตวิ่งได้รวดเร็วนั้น โดยพื้นฐานก็มาจาก

  1. ของความแรงสัญญาณมีครอบคลุมแค่ไหน ถ้าเห็นขึ้นแค่ 1-2 ขีดก็ไม่ต้องหวังอะไร มั่นใจได้ว่าเน็ตวิ่งเร็วไม่เต็มสปีดแน่ๆ
  2. จำนวนคนในพื้นที่ต่อหนึ่งเสามากน้อยเพียงใด ปัจจุบันเอไอเอสมีลูกค้าอยู่ราว 40 ล้านราย หรือคิดเป็น 45% ของจำนวนลูกค้าทั้งหมดในประเทศ หากเข้าไปในพื้นที่คนพลุกพล่านก็มีโอกาสที่คุณภาพสัญญาณจะตกลงก็มากขึ้นตามไปด้วย
  3. การใช้ดาต้าหนักเบาเท่าไหร่ ปัจจุบันมีตัวเลขค่าเฉลี่ยการใช้ดาต้าต่อคนสูงเกือบ 10 GB/เดือน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนๆ เป็นเท่าตัว จากแนวโน้มการดูเนื้อหาภาพและวิดีโอที่มากขึ้น และใช้แพ็กเกจการเล่นเน็ตแบบไม่จำกัดดาต้า

ถ้าลองสมมติเหตุการณ์เวลาไปงานอีเวนต์ใหญ่ๆ สักงานนึง มีคนจำนวนมากร่วมหมื่นรายอยู่ในที่เดียวกัน หรือการขยายเครือข่ายเพื่อให้ครอบคลุมลูกค้าจำนวนมากในเกือบทุกที่แม้แต่พื้นที่ชายขอบ เอไอเอสจึงจำเป็นต้องมีการลงสถานีฐานที่มากกว่า รวมถึงใช้งานเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับเครือข่าย ส่วนว่าจะมีอะไรบ้างนั้นเดี๋ยวเราจะลองไปขุดคุ้ยกันครับ

จำนวนคลื่นที่ให้บริการ ปริมาณยิ่งเยอะยิ่งรองรับได้ดี

ปัจจุบัน เอไอเอสมีจำนวนคลื่นมากที่สุดในไทย 120 MHz

ทำความรู้จัก Super Block บนคลื่น 1800MHz @ 40 MHz (20 MHz x 2)

เราได้เห็น AIS เข้าร่วมประมูลคลื่น 1800MHz เพิ่มเติมอีก 10 MHz (5 MHz x 2) ไปเมื่อเดือนสิงหาคม และประกาศเริ่มใช้งานไปเมื่อกันยายนที่ผ่านมา ทำให้ AIS กลายเป็นเครือข่ายที่มีคลื่นต่อเต็มผืนใหญ่ที่สุดของประเทศไทย พร้อมใช้งานแล้วทันที 77 จังหวัดทั่วไทย ซึ่งหลายคนอาจจะยังงงว่า Super Block ที่มีความกว้าง 20 MHz นี่มันคืออะไรกันแน่

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเจอเครือข่ายไหนมีแบนด์วิธ 40 MHz (20 MHz x 2)

ตรงนี้ต้องเท้าความกันนิดนึงว่าการให้บริการ 4G FDD นั้นจะมีข้อจำกัดอยู่ที่ 1 Carrier จะสามารถมีความกว้างคลื่นความถี่ได้สูงสุด 20×2 MHz เท่านั้น และก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่เครือข่ายจะสามารถหาคลื่นที่ทำแบบนี้ได้ เนื่องจากแต่ละประเทศจะซอยให้สัมปทานคลื่นตั้งแต่ 5-15MHz ต่างกันไป ไม่ค่อยให้ขนาดใหญ่ 20MHz ออกมาประมูลได้นัก เนื่องด้วยอายุสัมปทานเดิมยังไม่หมด ไม่สามารถจัดสรรให้เอามาประมูลใหม่พร้อมๆกันได้ หรือมีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงจนยากที่จะทำให้เครือข่ายใดเครือข่ายหนึ่งได้รับคลื่นขนาดใหญ่ 20MHz นี้ไปใช้งาน

ดังนั้นการที่ AIS ได้คลื่น 1800MHz @ 20MHz ไปนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่พิเศษพอสมควร โดยเอไอเอสได้เริ่มเปิดคลื่น 1800MHz ใหม่ที่ได้มาอีก 5MHz ให้ใช้งานได้แบบเต็มๆ ไปทั่วประเทศตั้งแต่เมื่อ 26 ก.ย. ที่ผ่านมา

ผู้ใช้ระดับแมสได้รับประโยชน์กันถ้วนหน้า

คนที่ได้รับผลประโยชน์จากการเพิ่มคลื่น 1800 MHz เข้าไปอีก 10 MHz (5 MHz x 2)  ก็คือสมาร์ทโฟน 4G รุ่นแมสที่วางขายตามท้องตลาด ราคาไม่กี่พันบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนใหญ่ที่สุดของตลาด สามารถจับคลื่นได้เพียงทีละคลื่นเท่านั้น ไม่สามารถจับทีละหลายๆ คลื่นพร้อมกันได้ เวลาไปพื้นที่คนเยอะๆ ก็มีสิทธิ์เจอปัญหาเน็ตไม่วิ่ง ส่งไลน์ไม่ไปง่ายกว่าสมาร์ทโฟนที่ราคาสูงขึ้นมา ที่สามารถจับได้หลาย Carrier พอคลื่นไหนคนใช้งานเต็มก็ไปหยิบเอาอีกคลื่นนึงมาผูกใช้งานได้เลยนั่นเอง โดยความเร็วของการใช้งานคลื่น 1800 MHz เพียงคลื่นเดียว จะดีดเพิ่มขึ้นไปกลายเป็น 150Mbps ไปเลยทีเดียว ซึ่งถ้าเป็นเครื่องที่รองรับเทคโนโลยีสูงขึ้นไปอีกหน่อย ใช้งาน 4x4MIMO และ 256QAM จะได้เพิ่มจากเดิมที่สูงสุด 300 Mbps กลายเป็น 390 Mbps กันไปเลย

สมาร์ทโฟนราคาต่ำกว่า 5 พันก็เล่นเน็ตเร็วแรงถึง 150Mbps จากคลื่น 1800MHz @ 20MHz

จริงๆ Super Block ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับคนไทยแต่อย่างใด เนื่องจากก่อนหน้านี้ทาง dtac เคยมีคลื่นกว้าง 20 MHz นี้ในครองครอง หรือก็คือคนถือสัมปทานเดิมก่อนที่จะถูกปล่อยเอามาประมูลในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทำตลาดในชื่อ Super 4G ที่ได้ดาราตัวแม่อย่างอั้ม พัชราภา มาเป็นพรีเซนเตอร์ให้นั่นเอง แต่ท้ายที่สุดดีแทคกลับไม่ได้ประมูลคลื่นส่วนนี้คืนกลับเข้าพอร์ตตัวเองไปทั้งหมด แต่เอาไปเพียงแค่ 5 MHz เท่านั้น โดยจะไปเน้นที่คลื่น 2300 MHz แทนด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่าง ซึ่งต้องรอติดตามว่าจะสามารถทำให้ดีได้เหมือนการใช้งานคลื่น 1800 MHz หรือไม่

Tips หลังๆมานี้จะเห็นการบอกจำนวนคลื่นแบบมีตัวคูณด้านหลังกันมากขึ้น ซึ่งสาเหตุก็มาจากการนับจำนวนคลื่นของ 2 เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน โดยแต่ก่อนบ้านเราจะมีการใช้งานคลื่นแบบ FDD มาโดยตลอด โดยคลื่นแบบนี้เวลาบอกตัวเลขเช่น 15MHz จริงๆจะมีจำนวน 30MHz จาก Downlink 15MHz และ Uplink 15MHz เวลาเรียก็จะเรียกเพียงครึ่งนึงเท่านั้น แต่เมื่อดีแทคเริ่มมีการใช้คลื่น 2300MHz ซึ่งเป็นคลื่นแบบ TDD ที่จำนวน Downlink และ Uplink ไม่จำเป็นต้องเท่ากันเสมอ สามารถปรับได้ตามที่เครือข่ายตั้งค่า จึงเริ่มเกิดความงุนงงถึงวิธีเรียกจำนวน จนเป็นที่มาว่า FDD เวลานับให้มี x2 ส่วน TDD ไม่ต้องมี x2 นั่นแล สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก

เปรียบเทียบจำนวนคลื่นที่แต่เครือข่ายมีครอบครอง (10/2018)

เครือข่ายความถี่จำนวนคลื่น
AIS

รวม 120MHz

จำนวนลูกค้า 40M

900MHz20MHz
(10MHz × 2)
1800MHz40MHz
(20MHz × 2)
2100MHz60MHz
(30MHz × 2)
TrueMove H

รวม 110MHz

จำนวนลูกค้า 28M

850MHz30MHz
(15MHz × 2)
900MHz20MHz
(10MHz × 2)
1800MHz30MHz
(15MHz × 2)
2100MHz30MHz
(15MHz × 2)
dtac

รวม 100MHz

จำนวนลูกค้า 21M

1800MHz10MHz
(5MHz × 2)
2100MHz30MHz
(15MHz × 2)
2300MHz60MHz
(TDD)

จำนวนเสาที่มาก ก็ครอบคลุมพื้นที่กว้าง รองรับคนได้เยอะกว่า

จำนวนเสาที่มากที่สุดครอบคลุมทั่วประเทศกว่า 75,000 สถานี

จากตารางข้างต้น จำนวนคลื่นของแต่ละเครือข่าย อาจจะดูไม่ต่างกันมากเท่าไหร่ แต่สิ่งที่ทำให้เอไอเอสสามารถรองรับลูกค้าที่จำนวนมากกว่าเกือบเท่าตัวได้นั้น ก็มาจากการวางเสาสัญญาณจำนวนมาก และครอบคลุมทั่วประเทศกว่า 75,000 เสา ในขณะที่อีก 2 ราย คือ ทรู และดีแทค ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลจำนวนเสาสัญญาณที่ติดตั้งแต่อย่างใด ทำให้เอไอเอสสามารถให้บริการ 4G ในเกือบทุกพื้นที่ด้วยคลื่น 1800 MHz ได้ ทั้งที่ระยะการส่งสัญญาณของคลื่น 1800 MHz ใกล้กว่าคลื่นความถี่ต่ำอย่าง 900 MHz เป็นเท่าตัว

ส่วนตัวเวลาออกต่างจังหวัดจะพกเบอร์ของทั้ง 3 เครือข่าย เพื่อทดสอบสัญญาณ และพบว่าในหลายพื้นที่จะมีแต่เพียง AIS ที่ให้บริการอยู่ โดยเฉพาะเวลาไปบริเวณพื้นที่ห่างไกล ขึ้นเขา ลงห้วย หรือตามอุทยานแห่งชาติ ช่วงวันหยุดที่กำลังจะถึงนี้ ใครมีโอกาสออกต่างจังหวัดและใช้ Samsung อยู่ ลองกดทดสอบกันดูว่าจับคลื่นอะไรอยู่ได้ (กดโทร *#0011#) จะพบว่า AIS ใช้คลื่น Band 3 (หรือ 1800MHz) อยู่แทบจะทุกบริเวณจริงๆ และมีการทำ Carrier Aggregation กับคลื่น 2100 MHz อยู่ตามหัวเมืองต่างๆ เรียกสปีดได้ดีเลยล่ะครับ

Timeline ของการพัฒนาเครือข่าย AIS

DateDetails
10/2012ประมูลคลื่น 2100 MHz จำนวน 30 MHz (15 MHz x 2)
03/2014พัฒนาเทคโนโลยี 6 sectors บนเครือข่าย 3G 2100 เป็นครั้งแรกของโลก
05/2014ขยายเครือข่าย 3G บนคลื่น 2100 MHz ทั่วประเทศ
10/2015พัฒนาเทคโนโลยี 6 Sector บนเครือจ่าย 3G2100 ด้วย Wideband RRU 1800/2100 MHz
11/2015ประมูลคลื่น 1800 MHz จำนวน 30 (15 MHz x 2)
01/2016เปิดทดลอง Lampsite D-MIMO เชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกของโลก
01/2016เปิดให้บริการ AIS 4G เต็มรูปแบบ
03/2016เปิดบริการ 4.5G เชิงพาณิชย์รายแรกของโลก ด้วยเทคโนโลยี MIMO 4×4 with CA และ 256 QAM, LAA
05/2016ประมูลคลื่น 900 MHz จำนวน 20 (10 MHz x 2)
01/2017ลงนามสัญญากับ TOT เป็นพันธมิตรใช้คลื่นความถี่ 2100 MHz จำนวน 30 MHz (15 MHz x 2)
01/2017 ประกาศความสำเร็จ พัฒนาเครือข่าย 4G ด้วยเทคโนโลยี Massive MIMO 32T32R ใน FDD เป็นครั้งแรกของโลก
02/2017เปิดให้บริการเครือข่าย NB-IoT ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
03/2017เปิดให้บริการเครือข่ายความเร็วสูงสุด 700Mbps เป็นครั้งแรกในประเทศไทย บนเครือข่าย 4.5G (MIMO 4×4 with CA technology and 256QAM) บทสมาร์ทโฟน ซัมซุง
08/2017เปิดตัวเครือข่าย AIS NEXT G เครือข่ายระดับ กิกะบิต ที่เร็วแรงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
11/2017เปิดให้บริการ EVS (Enhanced Voice Service) ที่ให้คุณภาพเสียงคมชัดมากกว่าระดับ HD เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
02/2018ขยายบทบาทสู่การเป็น Digital Platform for Thais ผ่านโครงการความร่วมมือ AIS AIAP
06/2018ขยายการใช้งานเครือข่าย AIS NEXT G บนสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ด้วยแอป​ NEXT G
06/2018ประกาศความร่วมมือกับ Samsung และ Sony พัฒนาสมาร์ทโฟน ให้รองรับเทคโนโลยี LAA บนเครือข่าย 4.5G สำเร็จ
08/2018
GSMA ประกาศรับรองเอไอเอสเป็นผู้บริการรายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่มีทั้งโครงข่าย eMTC และ NB-IoT ครอบคลุมทั่วประเทศพร้อมให้บริการเชิงพาณิชย์แล้ว
08/2018เอไอเอส ประมูลคลื่นความถี่ 1800MHz เพิ่มอีก 10 MHz (5 MHz x 2) ทำให้มีคลื่นสำหรับให้บริการ 4G ยาวต่อเนื่องแบบ “Super Block” รายเดียวในประเทศ

 

ที่เห็นทำ สีแดง เอาไว้ว่าเป็นการใช้งานครั้งแรกของโลกนี่ทาง AIS เค้าไม่ได้โม้นะ เพราะ AIS เค้ากลายเป็นหนึ่งในองค์กร ที่สร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้กับวงการเทเลคอมทั่วโลกจริง มีการตั้งทีมวิจัยเพื่อพัฒนาตัวเสาขึ้นมาโดยเฉพาะ สั่งผลิตเสาตามที่คิดค้นขึ้นมาเอง บ่อยครั้งจนทาง Huawei ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายอันดับต้นๆของโลกถึงกับต้องส่งทีมมาประกบและร่วมทำงานกับวิศวกรของ AIS กันเลย

ปัจจุบันประเทศไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่เหล่านักวิจัยพัฒนาเครือข่ายจะต้องมาเยี่ยมเยียนเพื่อติดต่อขอดูงานการวางเครือข่ายกันเรื่อยๆ ด้วยสภาพภูมิประเทศ ลักษณะของตัวเมือง และปริมาณการใช้งานที่เยอะแบบบ้าคลั่ง จนมีตัวอย่างให้ศึกษาได้มากมาย รวมถึงศักยภาพในการคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ การปรับแต่งที่นอกเหนือจากไกด์ไลน์ปกติ และประสิทธิภาพในการให้บริการที่มีคุณภาพโดดเด่นกว่าหลายประเทศทั่วโลกนั่นเอง

Tips: หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าประเทศในแถบเอเชีย ปัจจุบันมีโครงข่ายสัญญาณมือถือที่ดีเป็นอันดับต้นๆของโลก ไม่ว่าจะเป็น เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ รวมถึงไทย ต่างอยู่ในแนวหน้าของการพัฒนาเทคโนโลยีทั้งสิ้น ถ้าใครเดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆน่าจะพอได้เห็นความแตกต่างของคุณภาพเครือข่ายในแถบเอเชีย ว่าดีกว่าประเทศในแถบตะวันตกพอสมควรเลยครับ

เทคโนโลยีใหม่ เพิ่มขีดจำกัดของของเครือข่าย

3CA + Super Block + 4×4 MIMO + 256QAM + LAA + 32T32R + NEXT G + Beam Forming

นอกเหนือจากจำนวนคลื่นความถี่ที่มากและเสาที่เยอะกว่าชาวบ้านแล้ว ก็ดูเหมือนว่าจะยังไม่เพียงพอต่อการให้บริการสำหรับในบางพื้นที่ที่มีจำนวนหนาแน่น โดยเฉพาะในแถบเมืองที่มีตึกสูง ผู้คนเดินกันขวักไขว่ ซึ่งปัญหานี้ไม่ได้เกิดแค่เพียงในเมืองไทย แต่เป็นกันในหลายประเทศทั่วโลก จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆมาเพื่อให้สามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นทุกวันได้ ซึ่ง AIS ได้เปิดเผยว่าในปัจจุบันมีการนำเอาเทคโนโลยีที่ดีที่สุดของอุตสาหกรรมมาทดสอบและใช้งานจริงอยู่ตลอดเวลา ดังที่หลายคนน่าจะเคยได้ยินศัพท์เทคนิคที่ฟังดูแล้วปวดหัวไม่น้อย โดยชื่อเทคโนโลยีที่ใช้เรียกกันแบบเต็มๆในปัจจุบันก็คือ 3CA + Super Block + 4×4 MIMO + 256QAM + LAA + 32T32R + NEXT G + Beam Forming … เป็นไงล่ะมึนมั้ย 555

ขออธิบายแบบกระชับๆสำหรับแต่ละหัวข้อตามนี้นะครับ

  • 3CA หรือ 3 Carrier Aggregation : ทำให้สมาร์ทโฟนหนึ่งเครื่องสามารถจับกับคลื่นความถี่พร้อมกันหลายคลื่นใช้งานได้พร้อมกัน
  • 4×4 MIMO : Multi Input Multi Output เพิ่มความสามารถในการรับส่งให้เป็น 4 input 4 output
  • 256QAM : เข้ารหัสข้อมูล บีบอัดให้การส่งในชั่ววินาทีทำได้มากกว่า จากปกติที่ใช้กัน 64 กลายเป็น 256
  • LAA : Licensed Assisted Access : การรวมคลื่นความถี่ปัจจุบัน (ที่ได้รับอนุญาต) เข้ากับคลื่นความถี่สาธารณะ
  • 32T32R : เพิ่มเสาส่งข้อมูลจากสถานีฐานจากปกติที่มี 2T2R อีก 16 เท่า
  • NEXT G : รวมความเร็วอินเทอร์เน็ตของทั้งเครือข่ายมือถือและเครือข่ายไวไฟเข้าด้วยกัน
  • Beam Forming : นอกจากเพิ่มเสาแล้ว แต่ละเสายังสามารถปรับคลื่นให้สามารถยิงไปยังเป้าหมายได้ตรงจุดมากขึ้นด้วย

สามารถอ่านแบบละเอียดๆที่เคยเขียนเอาไว้แล้วได้ที่

ความพร้อมต่อยุค 5G และการรองรับอุปกรณ์ IoT

5G – IoT สำหรับบางคนอาจจะฟังดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่ในความเป็นจริง มันกลับเป็นเรื่องที่เราจะต้องเจอต้องใช้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้แล้ว โดยหน่วยงานกลางที่กำกับดูแล 5G เตรียมประกาศมาตรฐานออกมาในปี 2563 แต่ภายในปีหน้าน่าจะมีหลายเครือข่ายทั่วโลกเริ่มประกาศใช้งานก่อนทันที หลังเห็นว่าหลายเงื่อนไขค่อนข้างนิ่ง ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรอีก โดย AIS ก็เป็นหนึ่งในเครือข่ายที่พร้อมสำหรับ 5G และ IoT ที่สุดของไทยในปัจจุบันก็ว่าได้

ส่วนว่า 5G คืออะไรนั้น ตรงนี้ผมได้เขียนรายละเอียดเอาไว้ในเนื้อหาก่อนหน้านี้แล้ว สามารถไปลองอ่านเพิ่มเติมได้ และต้องบอกว่า 5G นี้จะไม่ใช่แค่เรื่องของอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วมากขึ้นอีกเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานของอนาคตในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งเราจะได้เห็นอุปกรณ์ต่างๆสามารถคุยกันได้ผ่านเครือข่าย 5G นั่นเอง

โดยปัจจุบันเอไอเอสเริ่มให้บริการด้าน IoT แล้ว ทั้ง NB-IoT (Narrow Band Internet of Things) และ eMTC (enhanced Machine-Type Communications) ซึ่งมีลูกค้าในกลุ่มธุรกิจนำเอาไปใช้กันเรียบร้อย เช่น กลุ่มปตท. ที่เอาไปใช้ในระบบท่อส่งเชื้อเพลิง คอยติดตามหาบริเวณที่ผิดปกติ, หรือการเก็บข้อมูลจากมิเตอร์ไฟฟ้า โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาแรงงานคนออกไปเดินดูตามบ้าน, หรือในหมู่บ้านของโครงการ Property Perfect ที่เชื่อมต่อไฟส่องสว่างของหมู่บ้านเอาไว้ เมื่อไหร่หลอดไหนขาด นิติฯดูแลหมู่บ้านก็สามารถรู้ได้ทันทีผ่านระบบ IoT ทั้งหมดนี้สามารถทำได้โดยไม่ต้องเดินสายไฟเชื่อมต่อแต่ละจุด แต่ใช้เครือข่าย NBIoT ในการรับส่งข้อมูลแทน

เรื่อง NB-IoT และ eMTC นี้ไว้มีโอกาสจะเอามาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมกันต่อไปนะครับ ถ้าเขียนต่อน่าจะยาวเกินอ่านในบทความนี้แล้ว

 

ทั้งหมดนี้ก็เป็นรายละเอียดของเทคโนโลยีทั้งพอร์ตของ AIS ในปัจจุบัน ซึ่งต้องบอกว่าเราได้เห็นเอไอเอส นำนวัตกรรมใหม่ๆมาให้เราได้ใช้ก่อนชาวบ้าน รวดเร็วชนกับเครือข่ายอื่นๆ จากนานาประเทศกันเลยทีเดียว โดยจากที่ได้เข้าไปคุยกับทีมวิศวกรของเอไอเอส ทำให้ได้ทราบอย่างนึงว่าที่ทางเอไอเอสเค้าทำขนาดนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การลงทุนเพื่อสร้างเครือข่ายให้ลูกค้าได้ใช้งาน เร่งแต่ผลกำไรเพียงเท่านั้น แต่ตัวทีมงานเอง ต่างมี Passion ในเรื่องของ Network ต้องการที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ แก้ไขปัญหาที่ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอื่นบอกว่าทำไม่ได้อยู่ตลอดเวลา รวมถึงตัวผู้บริหารเองก็สนับสนุนให้ทีมงานเล่นใหญ่ มีเงินทุนในการทดสอบทดลองกันพอสมควร จนทำให้ปัจจุบันมีวิศวกรด้านเครือข่ายมากมายให้ความสนใจอยากเข้าร่วมงานกับทีมวิศวกรเครือข่ายเอไอเอสกัน เพราะเห็นถึง Passion และความบ้าพลังของทีมนี่แหละ ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตเราก็จะได้เห็นอะไรใหม่ๆ นวัตกรรมและการสร้างสรรค์เพิ่มเติมออกมาจากองค์กรนี้กันอีกแน่นอน ไว้ยังไงเดี๋ยวเราจะเอามาอัพเดทให้ทราบกันต่อไปครับ