วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการยื่นเอกสารเพื่อเข้าร่วมการประมูลคลื่น 1800 MHz โดยเช้านี้ทางดีแทคออกมาแจ้งไม่เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ไปเรียบร้อย บ่ายนี้ทางเอไอเอสก็ตามออกมาปฏิเสธไม่เข้าร่วมประมูลเช่นกัน โดยให้เหตุผลไม่ต่างจากที่ TrueMove H ให้มาก่อนหน้า คือคลื่นมีเพียงพอแล้ว และหลักเกณฑ์เงื่อนไขการประมูลไม่น่าจูงใจ
สำหรับรายละเอียดที่ทางเอไอเอสชี้แจงมาแบบเต็มๆก็ตามด้านล่างนี้เลยนะครับ
ทั้ง3ค่ายคงคุยกันเเล้วมั้งคับ ราคาตั้งต้นคงแพงไป
รอลดราคาลง ค่อยว่ากันใหม่
สมน้ำหน้าไอ กสทช สะใจว่ะ
เงินที่ได้ ก็มาพัฒนาประเทศ จัดสวัสดิการให้ประชาชน
ถามจริงว่าพิมพ์มา ใช้สมองคิดก่อนไหมครับ
เงินที่ได้จากการประมูลด้านไหนครับ ช่วยบอกผมหน่อย
เงินที่ได้มาพัฒนาประเทศ เอาเงินนั้นไปตรงไหน ถามจริง เงินเยอะพวกเคยเอาไปจริงมั้ย
ก่อนที่จะบอกว่าเงินที่ได้เอามาพัฒนาประเทศ ผมว่ากำจัดคนโกงออกไปก่อนเถอะครับ ไล่ไปทีละหน่วยงาน ไม่งั้นเงินประชาชนที่ลงไปมันจะไม่ได้ประโยชน์อะไรให้ประเทศเลย เหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
สะใจที่ประมูลไม่ออก แล้วก็ใช้สมองคิดเยอะแล้วด้วย
ดีแล้วที่ไม่ประมูล ได้มาราคาแพง ก็ต้องมาเก็บแพงกับ ลูกค้าอย่างเราๆอีก
เผื่อเกิดไม่ทัน ตอนประมูล 2100 ได้ไปถูกมาก แต่แพคเกจก็ไม่ได้ลดราคาลงจากตอนยังไม่มี 3G นะ อย่าลืมว่ากิจการพวกนี้ทำเพื่อกำไร ไม่ได้ทำเพื่อคุณหรือผม หรือใคร ท้ายสุดก็กสทช. นี่ล่ะที่ออกมาติงเรื่องราคาแพคเกจ
ทำความเข้าใจไหม่นะครับ
มันก็จริง แต่คนละยุคกันแล้ว ยุคใหม่ ราคาตั้งต้นแพง กสทช. ก็คงไม่กล้า ไปกดดัน ราคาแพคเกจ ให้ต่ำลงกว่าเดิม
แต่ถ้าราคา ตั้งต้นถูก ประมูลถูก แล้ว กสทช. ไปบีบราคาแพคเกจแทน แบบนี้ จะดีกว่า
แต่ก็คงจะหลีกหนีไม่ได้ที่ว่า กสทช. ต้องทำผลกำไรเข้า รัฐให้มากที่สุด
สุดท้ายแล้ว ประชาชน ก็ ซวยอยู่ดี สู้ๆ มนุษย์ร่วมชาติทั้งหลาย
เบื้องหลัง คสทช. คือรัฐบาลอยากได้เงินมาใช้จ่าย แต่ถ้ามันแพงไปคนรับเคราะห์คือ ปชป.
เผื่อเกิดไม่ทัน ตอนประมูล 2100 ได้ไปถูกมาก แต่แพคเกจก็ไม่ได้ลดราคาลงจากตอนยังไม่มี 3G นะ อย่าลืมว่ากิจการพวกนี้ทำเพื่อกำไร ไม่ได้ทำเพื่อคุณหรือผม หรือใคร ท้ายสุดก็กสทช. นี่ล่ะที่ออกมาติงเรื่องราคาแพคเกจ
ทำความเข้าใจไหม่นะครับ
แทนที่จะขายราคาเหมาะสมแล้วสร้างข้อบังคับกำหนดเพดานราคาว่าถ้าแพงเท่านี้ต้องมีอะไรให้ลูกค้ามั่ง ให้ไปแข่งกันแถมของเพิ่มเอา แต่นี้ไม่ เน้นขายแพงให้เค้าไปขูดรีดเงินจากประชาชนอีกต่อ วิธีรีดภาษีทางอ้อม
ข้อกำหนดมี ตั้งแต่ตอนประมูล 2100 แล้ว ไม่รู้ว่าเคยศึกษาบ้างไหมครับ แต่ท้ายสุดคนที่ไม่ทำอะไรคือกสทช.
แล้วเคยศึกษาบ้างหรือไม่ครับว่ามันมีข้อกำหนดอะไรบ้าง ใช้สมองทำงานบ้างนะครับ ไม่ใช่สักแต่พิมพ์ เหมือนคนไม่มีงานทำ
หมายถึงข้อกำหนดของการประมูลครั้งนี้นะครับ ในการประมูลแต่ละครั้งรายละเอียดมันไม่เหมือนกันสักครั้ง รู้หรือเปล่าครับ
รัฐที่แย่ที่สุด คือ รัฐประหาร…
โทดๆ แมวพิมพ์
รัฐที่แย่ที่สุดคือรัฐที่ประชาชนไม่สนใจการเมืองมากกว่าครับ ตามว่าตลอดเวลา 80 กว่าปีที่เปลียนแปลงการปกครองมา ทั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ทำอะไรให้มันดีขึ้นแบบจริงจังบ้าง
ยุคหลังๆ ภาคประชาชนช่วยกันตรวจสอบ จนรัฐไม่กล้าโกงแบบเดิมๆ อีก จะเลือกมาไม่เลือกมา ก็โกงหมดทั้งนั้น
ึครับ สู้ต่อไปครับ
ดูถ้าจะเกิดไม่ทันยุคประชาธิปไตยครึ่งใบสมัยสามสิบปีก่อน คนไปเลือกตั้งน้อยเพราะทุกอย่างถูกคุมด้วยทหาร เลือกไปก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แล้วตอนนี้ประชาธิปไตย99%ก็คืออันเก่าสมัยสามสิบสี่สิบปีก่อนกลับมารีรันใหม่ ลองหาหนังสืออ่านบ้างน่ะครับจะได้รู้ประวัติศาสตร์กับเขาบ้าง
ผมไม่ได้ชอบทุกอย่างที่ กสทช. ทำ แต่ผมว่าเรื่องประมูลนี่ ทำได้ดี แต่อ่านแล้วงง คนมาเม้น กสทช. เปิดประมูล เอาเงินเข้ารัฐ เหมือนเขาทำผิด นั่นมันหน้าที่เขานะ คุณเลี้ยงแมว มันไม่จับหนู แต่มันดันไปกินปลาคราฟ ที่เลี้ยงไว้ จะเลี้ยงมันไว้ทำซากอะไร (เว้นแต่มันน่ารักก็ว่าไป) สงสัยจะชอบแบบให้เขาไปคุยกัน 2-3 คน แล้วตกลงสัมปทานจ่ายกัน 500-600 ล้าน แบบนั้นเหรอ เขาบ่นประมูลราคาตั้งต้นสูง ถ้ากลไกการแข่งขันมันทำงานเดี๋ยวทุกอย่างมันจะเดินต่อไปเอง เขาไม่ยอมล้มบริษัทเขาหรอกครับ ถึงจะแพงจริง มาตั้งราคาสูงไม่มีคนใช้ เดี๋ยวก็ลดลงมาเอง เพราะมันแข่งกันอยู่
อย่างงี้ น่าจะจัดประมูลใหม่ แบบไม่มีขั้นต่ำ
แล้วให้สิทธิ์เฉพาะ รายใหม่ เท่านั้น
เพื่อสร้าง Operator รายใหม่ มาแข่งขันกับ 3 ยักษ์ใหญ่เดิม
นอมินี เข้ามาเพียบเลยหล่ะครับ
อืม ผมกลับมองว่าอีก 2 ค่ายอาจจะใช้เรื่ิองนี้งอแง ไม่จ่ายค่าสัมปทานเดิมที่ได้ไปก็เป็นได้ เริ่มให้แพงน่ะดีแล้ว ไม่มีคนประมูล ก็ค่อยจัดใหม่ลดราคาลงก็ไม่เสียหายนะ ปล่อยไว้ซักพัก ค่อยๆลดลงมา ตอนนั้นปัญหาเรื่องช่องสัญณาณำม่พอ ลูกค้าหนีดีแทคก็มาประมูลเอง หรือถ้าเขาอยากเลิกไป อีก 2 ค่ายก็อาจจะแย่งชิงตรงนี้กัน หรือไม่อาจมีคนใหม่มาแข่งก็เป็นได้ ตั้งราคาสูงไว้ก่อนแล้วค่อยลด รัฐได้ผลประโยชน์มากสุดครับ กลไกการตลาดมันจะเดินของมันเองครับ ตอนที่มันสูง กสทช. เขาไม่ได้ทำให้มันสูงนะ เขาปั่นราคาแข่วกันเอง พวกคุณคิดว่าเขาโง่เหรอ ผู้บริหารเขาเงินเดือนเป็นแสนๆ เผลอๆเป็นล้าน เขาไม่ประมูลราคาที่บริษัทเขาทำกำไรไม่ได้หรอกครับ ไม่ต้องบอกว่าสุดท้ายมาขึ้นราคากับผู้บริโภค ราคาสูงคุณก็ไปอีกค่ายซิ่ มันมีกลไกลการตลาดแล้วก็ใช้ ซะ ถ้า 2เจ้ามันแพงไปจริงๆ แบบรับไม่ได้ ก็ไป ใช้ CAT ใช้ TOT ใช้เพนกวิน มันไม่จริงหรอกครับที่คุณไม่มีทางเลือก ถ้ามันแพงและไม่คุ้มกับการใช้จริงๆ ทางเลือกอื่นหรือเทคโนโลยีอื่นมันจะมาเอง คุณดูได้จากตอนน้ำมันแพงๆ
ก็เงื่อนไขนี้ กสทช.คิดเองตัดสินใจเองทั้งนั้นตั้งแต่ต้น แน่นอนถ้ามองแง่เงินกินเปล่ารัฐได้ประโยชน์…..แต่ภาระต้องตกไปอยู่ที่ผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้….
มาคราวนี้ จะเดินหน้าก็ลำบาก ถอยหลัง(ลดราคา)ยิ่งไม่น่าได้เพราะถือว่าสร้างมาตรฐานไว้แล้ว ตรงนี้ต้องดูว่า กสทช. จะแก้เงื่อนที่ผูกไว้ยังไง เพราะที่ต้องเยียวยา 2 ค่ายนั้นก็เพราะความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมา อันนี้คงต้องดูว่า กสทช.จะมีไอเดียวอะไรมาแก้ปัญหาที่มันส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานให้น้อยที่สุด
เพราะสถานการณ์มันเปลี่ยนไปแล้ว 2 เจ้าใหญ่เขาตุนคลื่นไว้แล้ว แม้จะเป็นการเสนอราคาเพื่อไม่ให้ไปตายเอาดาบหน้า แต่คราวนี้ Dtac เลือกที่จะไม่เล่นตามเกมส์(ที่ กสทช.วางไว้) ก็ดูต่อไปว่าปลายปีจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง
อ่านดูแล้วผมคิดอยู่สองอย่างนะครับถ้าผิดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
1. เหมือนกับรัฐไม่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบการสื่อสาร ถ้าสนับสนุนให้ประชาชนได้โอกาสใช้งานก็ไม่ควรทำให้มูลค่าการประมูลสูงเกินไปทำให้โอกาสที่ประชาชนได้ใช้หรือไม่ก็อัตราค่าบริการแพงเพราะต้นทุนเขาสูง เหมือนภาษีนำเข้ารถยนต์หรืออุปกรณ์ไอทีถ้ารัฐลดภาษีลงเราก็ได้ใช้ของที่ถูกเหมือนประเทศอื่น
2. ในทางกลับกันก็คือการรักษาผลประโยชน์ให้กับประเทศ เงินที่ประมูลได้มาเอามาพัฒนาประเทศ แต่ถ้าทำให้มีผลต่ออัตราการแข่งขันของผู้ให้บริการผลมันก็มาตกที่ประชาชนเราเหมือนเดิม
แนวคิดพื้นฐานของการประมูลคือ
"คลื่นเป็นสมบัติสาธารณะ
การที่ บ.มือถือ ได้กำไรจากสมบัติสาธารณะ ก็ต้องจ่ายให้กับสาธารณะ"
มันสมเหตุสมผลในตัวมันเองอยู่แล้ว
ที่นี้ สันดานพ่อค้า ก็จะเอาต้นทุนถูก ขายแพง กำไรเยอะไว้ก่อน
เลยเกิดการไซโค ยัดข้อหาว่า
"ถ้าต้นทุนเค้าแพง ก็ไปเก็บจากประชาชนอยู่ดี"
ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย ในเมื่อตอนคลื่น 2100 แต่ละค่ายได้คลื่นถูกมาก
แต่ผู้บริโภคไม่ได้ราคาที่ลดลงเลย เงินที่ได้เข้า บ.เต็มๆ
แล้วมาอ้างว่าเอาไปลงทุนเสา แต่เสาที่ลงทุนก็คือได้เป็น สินทรัพย์ บ.
ที่ประมูล 900 แพงระยับ ก็ บ. มันกดราคากันเองนะ
พอแพงไป ดันมาโวยกับ กสทช
ถ้าประชาชนบ้าจี้ตาม กดดัน กสทช. ให้คลื่นไปถูกๆฟรีๆ จะกลายเป็น
กสทช ประเคนให้ บ.มือถือ ใช้สมบัติสาธารณะหากินได้ ถูกๆฟรีๆ
ซึ่งหวานคอแร้งชัดๆ
สิ่งที่ ฝรั่งทำและได้ผลในการที่ประชาชนจะได้ประโยชน์สูงสุดก็คือ
การให้มีผู้แข่งขันในจำนวนที่มากพอ ไม่เป็นการผูกขาดตลาด
แต่ละเจ้าจะบี้กันเองจนประชาชนผู้บริโภคได้ประโยชน์สูงสุดไปเอง
หลายคนคิดว่า ถ้าประมูลคลื่นความถี่ได้ในราคาถูก ทางบริษัทฯ ทั้ง 3 จะกำหนดราคาแพคเกจใหม่ให้ถูกลง มันคงเป็นแค่ความฝัน เพราะเขาเอาคลื่นมาเพื่อทำกำไร ไม่ใช่การกุศลนะครับ ลองคิดง่าย ๆ สิ ผู้บริโภคเคยเรียกร้องให้แต่ละค่ายคิด คชจ การโทรเป็นวินาที สุดท้ายเป็นไงหละครับ หงายเงิบกับเงื่อนไขเล็ก ๆ น้อย ๆ จนในที่สุด การคิด คชจ การโทรเป็นวินาที ก้อเงียบหายไปในที่สุด การปัดเศษ ทำให้บริษัทฯ ได้กำไร 100% เลยนะครับ คิดกันดี ๆ
บริษัทฯ พวกนี้ เขาตั้งขึ้นมาทำกำไรเท่านั้น ถ้าขาดทุน เขาจะทำไหมหละ
กสทช. ทำเพื่อเอาเงินเข้ารัฐ
รัฐเอาเงินไปพัฒนาประเทศ
ไอ้ตรงพัฒนาประเทศนี่แหละ ที่มันคลางแคลงใจประชาชน ไม่ใช่แค่ กสทช. แต่อันที่จริงคือทุกองค์กร ที่เอาเงินเข้ารัฐ เงินที่เข้า เขาเอาไปพัฒนาประเทศจริงรึเปล่า ทำไมประเทศยังมูนวอล์คอยู่แบบนี้ คือ เหมือนจะก้าวไปข้างหน้านะ แต่ถอยหลัง โกงกินกันให้ว่อน จับได้กันจะๆ เห็นกันซึ่งหน้า ก็ยังโกงกันต่อไป อย่าว่าแต่ตัวใหญ่ๆ แค่ตัวเล็กๆ ก็โกงแล้ว โกงกันเป็นทอดๆ เงินเข้ารัฐแค่ไหน ก็โกงกันมากตามสัดส่วน ท้ายที่สุด เหลือไปพัฒนาประเทศจริงๆ เท่าไหร่กัน
เพราะแบบนี้แหละ ประชาชนเลยรู้สึกไม่อยากจ่ายเงินเข้ารัฐ ไม่ว่าทางตรงและอ้อม ก็เพราะจ่ายแล้วเหมือนเงินที่จ่ายไปโดนโกงไง