เป็นข่าวที่เก่าไปสักหน่อย แต่ก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย
Michael DeGusta ได้ทำแผนภาพที่เกี่ยวข้องกับปัญหา Android Fragmentation
โดยแสดงให้เห็นถึงประวัติการ update firmware ของ Android phone รุ่นต่างๆใน สหรัฐอเมริกา
โดยแผนภาพจะแสดงว่า หลังการวางจำหน่ายโทรศัพท์รุ่นนั้นๆแล้ว ภายในระยะเวลา 3 ปี ได้มีการ Update Firmware เป็นอย่างไรบ้าง
ถ้าไล่ดูจากแผนภาพและอธิบายตามสีก็ง่ายๆ เลย
สีเขียว > ได้รับ update เป็น firmware version ล่าสุด
สีเหลือง > ตามหลัง firmware ล่าสุด อยู่ 1 version
สีส้ม > ตามหลัง firmware ล่าสุด อยู่ 2 version
สีแดง > ตามหลัง firmware ล่าสุด อยู่ 3 version หรือมากกว่า
โดยมีผลสรุปดังต่อไปนี้
7 จาก 18 ไม่เคยได้รับการ update ให้เป็น version ปัจจุบัน
12 จาก 18 ได้มีโอกาสใช้ Android version ปัจจุบันเพียงไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น
11 จาก 18 ไม่ได้ได้รับการ update อีกเลยทั้งๆที่ยังวางจำหน่ายไม่ถึง 1 ปี
13 จาก 18 ไม่ได้รับการ update อีกเลยทั้งๆที่โทรศัพท์ยังวางจำหน่ายอยู่ หรือหยุดให้การ update ไปเมื่อโทรศัพท์เลิกวางจำหน่ายไปไม่นาน
15 จาก 18 ไม่ได้ใช้ Gingerbread ที่ออกมาตั้งแต่เมื่อเดือน ธันวาคม 2553
ในอีกไม่กี่สัปดาห์ เมื่อ Ice Cream Sandwich มีการใช้งานอย่างเป็นทางการ ทุกรุ่นที่อยู่ในแผนภาพนี้ก็จะมี version ที่ล่าช้าไปอีก 1 version
อย่างน้อย 16 จาก 18 แทบจะไม่มีโอกาสได้ใช้ Ice Cream Sandwich เลย
จากแผนภาพนี้ จะเห็นได้ว่า Nexus One นั้น เป็นโทรศัพท์ที่ได้รับการ Update ได้ต่อเนื่องที่สุด
แต่ล่าสุดมานี้ Google ก็ได้ออกมาบอกว่า Nexus One ก็จะไม่ได้รับการ Update เป็น Ice Cream Sandwich แล้ว
ปัญหาของ Fragmentation นี้มีผลโดยตรงทั้งกับผู้ใช้งานและผู้พัฒนา
ใครที่สนใจ แนะนำให้ตามไปอ่านได้ตาม link ด้านล่าง ซึ่ง Michael DeGusta ได้มีการวิเคราะห์ปัญหานี้ไว้โดยละเอียด
Source : theunderstatement
ไม่รู้เรื่อง ฮ่าๆๆๆ
เยอะจบไม่อยากจะเข้าใจในรายละเอียด – –
ผมมองว่า fragmentation อยู่คู่กับ customization
มันเพราะว่าแอพเปิ้ลมีเครื่องแค่รุ่นเดียวต่อดี แต่บริษัทอื่นๆ มีหลายรุ่นต่อปี จะให้ทำอั๊บเดทให้ทุกรุ่นของตัวเองไม่ได้หรอก เพราะฮาร์ดแวร์แต่ละรุ่นมันต่างกันถึงแม้จะบริษัทเดียวกันก็ตาม แต่ iphone ออกรุ่นเดียวเองต่อปีหรือสองปี
เห็นด้วยเลยยย
ดังนั้นคนซื้อ android ก็ต้องทำใจเพราะมันมีหลายรุ่น เค้าคงตาม update ให้แบบ iPhone ไม่ได้?
สำหรับคนซื้อ ปัญหามันเพราะอะไร หรือยากแค่ใน ไม่น่าจะสำคัญเท่ากับเราจ่ายเงินไปแล้วได้อะไร
เทียบกับของแอปเปิ้ลแล้วสะเทือนอารมณ์มาก = =
ขนาด iphone รุ่นแรกยังได้รับการอัพเดทอีกหรือนั่น*0*
แต่มี custom rom น่ะครับ
จะมีสักกี่เปอร์เซ็นต์ที่จะมานั่งลง custom rom ครับ
เพราะต้องคิดว่าเป็นบุคคลทั่วไปที่ไม่มีความรู้ ด้วยครับ
ตาฝาดป่าวเนี่ย เหนไอโฟนรุ่นเก่ายังใหม่ได้อีก ทิ้งให้น้องดรอยด์เก่าแล้วแก่เรย 🙁
คุณคงตีความผิด ครับ เค้านับจากเครื่องออกมาแล้วสามปียังได้รับการ update เป็นตัวล่าสุดครับ
iPhone classic ก็ได้รับ update ครั้งสุดท้ายที่ iOS 3.x ครับ พอดีจำไม่ได้ว่าไปสุดที่ตัวไหน
คุ้นๆ ว่าเป็น 3.1.3 ครับ เพราะผมใช้ตัวนี้อยู่ครับ ฮ่าๆ เพราะไอแพดFWแรกมัน 3.2 ครับ
สรุปคือที่เขียวๆ ไม่ใช่เป็นFW รุ่นใหม่ แต่เป็น FW ล่าสุดของตัวรุ่นนั้นที่ยังสามารถอัพได้ใช่ไหมครับ
มันเลยยังเขียวอยู่ เพราะ3Gจริงๆแล้วไปได้แค่ 4 ครับ ขึ้น 5 ไม่ไหว แค่ 4 ก็ช้าเกินกว่าจะใช้งานแล้ว
ทำให้ผมคิดว่า ของค่ายผลไม้ส่วนใหญ่จะอัพได้ถึง 3 version
อย่างรุ่นแรก เริ่มจาก 1 ไปได้แค่ 3
รุ่นสามจี รู้จึกจะ 2 ไปได้ถึง 4 (มั้งครับ)
ส่วนสามจีเอสก็น่าจะได้แค่ 5 นี่หละครับ
อย่าแปลกใจไอโฟนรุ่นแรกเลยครับถึงจะเขียวก็หงำแล้วครับ ลงแอปส์ไรไม่ได้มากแล้ว เครื่องจะรวน
ผมว่าสุดท้ายมันก็พอๆกันนะกับรุ่นท้อปๆของandroid อ่ะครับอัพได้ไม่ตลอด
ยังไงก็ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ มือใหม่หุ่นกระป๋องมากๆฮะ เล็งๆNote อยู่ครับ รอราคาอีกที :))
ผมว่าเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับโอเปอเรเตอร์มากกว่านะ
เพราะแอนดรอยด์ก็เปิดขึ้นมา เพื่อให้โอเปอเรเตอร์เอาไป custom และจำหน่ายในรูปแบบที่เป็นของตัวเอง
ส่วน iPhone นั้นก็แน่นอนอยู่แล้วว่าเป็นระบบปิด และควบคุมเบ็ดเสร็จทุกอย่าง ด้วยตัวบริษัทเพียงบริษัทเดียว
และ WP7 ที่กำลังจะเข้ามาเล่นในตลาดนี้ เห็นว่าจะใช้โมเดลเดียวกันกับธุรกิจ PC คือ Window ขาย OS และเจ้าอื่น ๆ ก็ขายเรื่อง Brand และ Spec ของ Hardware แข่งกัน เพราะงั้น จะทำให้ไม่เกิดปัญหา Fragmentation เลย
สรุปง่ายๆ ก็คือ ของ apple 3 ปีหลังจากเครื่องออกขายก็ยังได้ update อยู่
ส่วนของแอนดรอยด์ได้อัพเดทประมาณปีครึ่งหรือต่ำกว่า official นะไม่นับ custom rom แล้วแต่ความขยันของผู้ผลิตละนะ
ผมว่าประเด็น ที่ว่า apple ออกปีละรุ่นไม่น่าจะนำมาใช้ได้ เพราะพวกค่ายมือถือที่ออก android ตัวท๊อป ๆ ยังอัพเดตเฟิร์มแวร์ให้กับมือถือรุ่น เรือธงของค่ายตัวเองช้าเลย ดูอย่าง Galaxy S สิ ออกมาได้แค่ปีเดียว แต่โดนลอยแพแล้ว ไม่ยอมเอาไอศกรีมแซนวิชมาให้
ประเด็นหลักน่าจะเป็นเพราะ android มันออก OS ตัวใหม่ ๆ เร็วเกินไปตะหาก!! ปีนึงออกไม่รู้กี่เวอร์ชั่น ใครจะไปอัพเดตทันฟระ
เขายังไม่ได้ประกาศเลยว่าได้หรือไม่ได้
งงของ iOS มากกว่า ทำไมยังเขียว ในเมือ iPhone รุ่นแรกก็ได้อัพถึงแค่ 3
เขาก็เขียนไว้แล้วนะครับ 3 Year After 'Release'
สเกลตารางมัน 3 ปีนับจากวันออกขาย ไม่ได้หมายความว่ายาวจนถึงปัจจุบัน เค้าแค่เอาวันแรกมาชนกันเฉยๆครับ ดังนั้นของพวกแอนดรอยบาร์มันเลยสั้นๆ เพราะยังวางขายไม่ถึง 3 ปี สีต่างๆก็คือเทียบกับเฟิร์มแวร์ล่าสุด ณ เวลานั้นๆ
ส่วนที่ต้องสังเกตุอีกอย่างคือกรอบสีดำที่บอกว่ายังมีขายแบบเต็มรูปแบบอยู่รึเปล่า คือว่ามีการทำการตลาดโปรโมทขายอะไรแบบนี้
แผนภูมินี้แค่เป็นการเปรียบเทียบในมุมมองของ software update อย่างเดียว ทำให้คนดูรู้สึกถูกชักนำได้โดยง่าย เพราะโครงสร้างการตลาดของ Android กับ iPhone ต่างกันโดยสิ้นเชิง ถ้าสังเกตุจะเห็นว่า มือถือบางรุ่นของแอนดรอยตกรุ่นตั้งแต่ยังไม่ออก เพราะว่าช่วงเวลาที่เค้า release นั้นไปคาบเกี่ยวกับการ rollout ของ Android นั่นก็เพราะว่า Android พัฒนาตัวเองในฐานะของ Base platform ที่รู้จักกันในชื่อ Pure Android โดยมีการอณุญาติให้ใครก็ได้ตาสีตาสาที่ไหน Checkout ซอร์สโค้ดไปโมใช้งานเองได้ ซึ่ง Device ในลิสต์นั้นๆ ก็ทำแบบนั้นเกือบทั้งหมด ทำให้แต่ละเจ้าก็ใช้ Android ในเวอร์ชั่นของตน ดังนั้นสำหรับ Device อื่นๆตัว software update เวอร์ชั่นล่าสุดที่ควรจะเทียบก็คือ OS ของค่ายนั้นๆที่ทำการโมแล้ว ไม่ใช่ Android ให้ลองคิดว่า เมื่อเราซื้อ LCD เครื่องนึงวันนี้ ถ้าทางผู้ผลิตมีการพัฒนา display panel ตัวใหม่ขึ้นมา แต่ยังไม่ออกวางขาย ทีวีตัวนั้นถือว่าตกรุ่นหรือไม่? ประเด็นตรงนี้แค่ถูกทำให้ชัดเจนขึ้นเพราะว่า Google ลงมาทำตลาด Handset ด้วยตัวเองกับซีรี่ Nexus ซึ่งจะใช้ Pure Google ดังนั้นตลาดจะมองเห็นว่า เมื่อมีการ update version ปุ๊บเจ้า Nexus ก็จะสามารถอัพได้ทันที ทำให้เครื่องอื่นที่ใช้ Android เวอร์ชั่นของตัวเองดูตกรุ่นไป ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วควรจะเทียบกับ HTC-Android, Samsung-Android, Motorolla-Android แทนที่จะเทียบกับ Pure Android เพราะไม่ใช่ OS ที่เครื่องนั้นๆใช้งาน
แต่ในความเป็นจริงแล้วลูกค้าไม่มีใครมาสนใจหรอกว่ามันเป็น Android ของใคร เพราะทุกเจ้า Brand มันว่าเป็น Android หมดแล้ว ยกเว้น Power user ที่ศึกษาจริงๆนั่นละ
งงกันมั้ย?
ส่วนเรื่องที่ว่าทำไมเจ้าอื่นๆถึงออก FW ล่าสุดออกมาช้าก็เพราะว่าเค้าต้องรอปรับความเข้ากันได้กับ Android เวอร์ชั่นนั้นๆ ไม่เหมือน iOS ที่เป็นการพัฒนาต่อยอดเสริมขึ้นมาเรื่อยๆ Android ของแต่ละเจ้าจะเป็นการพัฒนาในลักษณะของ Mod/Patch ที่พอ Base software มีการอัพเดทเวอร์ชั่น แต่ละเจ้าก็ต้อง ทำการ Check compat กับ fix ต่างๆก่อนจะทำการ release ได้ ถ้าให้เทียบใน term ที่เห็นภาพง่ายๆคือ
Pure Android = iOS
3rd party Android (including Custom ROM) = iOS Jail break
ขอจบการร่ายยาวแต่เพียงเท่านี้
ข่าวนี้สอนให้รู้ว่า ซื้อตระกลู Nexus เถอะพี่น้อง
+1
แต่ไม่ชอบ Samsung Galaxy Nexus ตรงที่จอมันใหญ่เกินไป น่าจะทำมาขนาดเดียวกันกับ Nexus S นะ
ในความเหนของผมนะ
apple
-ที่มันเขียวเยอะเพราะว่า จำนวนรุ่นเครื่องมันน้อย เลยเวลาทำระบบให้รองรับจะไม่ยุ่งยาก แต่ก้นะราคาเครื่องก้สูงด้วย
android
-ที่มันหลากหลายสีสันเพราะว่า จำนวนรุ่นเครื่องมากเยอะ(มาก) เลยเวลาจะทำระบบมันก้ยุ่งยากที่จะให้รองรับได้หลายๆรุ่น ราคาเครื่องบางเครื่องก้ถูกกว่าappleมาก ก้นะซื้อ2เครื่องรวมกันบางครั้งราคายังไม่เท่ากับซื้อappleเครื่องเดียวเลย
ปล.หวังว่าผู้อ่านคงเข้าใจสิ่งที่ผมเขียนนะครับ^^
พูดง่ายๆ เครื่องที่ใช้ android มีโอกาศที่จะถูกบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ลอยแพสูง…ต้องไปมอบความหวังให้กับ Custom ROM…