จากงาน Apple Event เมื่อวันที่ 12 กันยายน ที่ผ่านมา นอกเหนือจาก iPhone ที่เปิดตัวใหม่แล้ว ตัวที่เรียกความสนใจได้ไม่แพ้กันก็คือ Apple Watch ที่ถูกหยิบเอามาพรีเซนต์ก่อนใคร นอกเหนือจากหน้าตาที่ดูดีขึ้นมากเพราะขอบบางลงเยอะแล้ว ฟีเจอร์ทั้งการแจ้งเตือนการหกล้ม และการวัดค่า ECG ก็ดูจะเป็นอะไรที่คนว้าวกับเจ้าสมาร์ทวอทช์เรือนนี้ไปไม่น้อย แต่ก็มีคนยังงงๆกับค่า ECG นี่อยู่ไม่น้อย รวมถึงสงสัยว่ามันใช้งานได้ขนาดไหน วันนี้เดี๋ยวเรามาดูเพิ่มเติมกันครับ
ECG / EKG คือค่าอะไร*
ถ้าใครได้อยู่ใกล้กับคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจน่าจะเคยได้ยินค่านี้กันมาบ้าง เพราะโดยมากจะต้องโดนจับตรวจ ECG/EKG ด้วยกันทั้งนั้น โดยการตรวจหัวใจหาค่า ECG นี้จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยถึงโรคที่เป็นหรือความเสี่ยงที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งค่า ECG จะได้จากการตรวจจับคลื่นไฟฟ้าที่ออกมาจากหัวใจ ดังที่เห็นว่าตอนตรวจจะมีอุปกรณ์ติดตามส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งอุปกรณ์นี้จะบันทึกค่าระหว่างขั้วบวก ขั้วลบเป็นคู่ๆ (lead) หลายๆตำแหน่ง หลายๆมุม เช่น หัวใจห้องนี้ไปขา หัวใจห้องนี้ไปแขน อะไรประมาณนี้ มาตรฐานคือ 12 มุม 12 คู่ขั้วบวกลบ โดยจะมีข้อมูลที่สำคัญสองส่วนคือ
- เวลาที่คลื่นไฟฟ้าผ่านหัวใจ ซึ่งช่วยให้แพทย์เห็นความผิดปกติ การเต้นช้า-เร็วของหัวใจ
- เวลาที่คลื่นไฟฟ้าผ่านกล้ามเนื้อของหัวใจ ช่วยทำให้แพทย์เห็นการขยายตัวหรือการทำงานหนักผิดปกติของหัวใจ
เวลาตรวจจะต้องติดอุปกรณ์ไว้ตามส่วนต่างๆของร่างกายประมาณนี้นะ
ECG หรือ EKG ? บางคนอาจจะงงว่าสองตัวนี้ต่างกันอย่างไร แต่จริงๆคือสามารถเรียกได้ทั้งสองแบบ โดยสาเหตุที่เรียกได้สองแบบก็เกิดจากที่ตอนคุณ Laureate Willem Einthoven ผู้คิดค้น Electrocardiography เค้าแปลผลงานของเค้าเป็นภาษาเยอรมัน เค้าได้เขียนว่า elektrokardiogramm จนทำให้เกิดเป็นตัวย่อ EKG นั่นมานั่นเอง โดย EKG จะเป็นค่าที่ใช้กันเป็นปกติในประเทศอย่างอเมริกา ส่วนประเทศอื่นๆมักจะใช้ ECG ส่วนประเทศไทยเราได้รับอิทธิพลจากฝั่งอเมริกามาเยอะจึงใช้เป็น EKG นั่นเอง
เพิ่มเติม ส่วนอีกค่านึงที่คล้ายๆกันก็คือ EEG หรือ Electroencephalogram อันนั้นไม่ได้เกี่ยวกับหัวใจแต่เป็นสมองนะ
Apple Watch วัดค่านี้ได้อย่างไร และมีประโยชน์อะไรบ้าง
Apple Watch จะใช้กลไกแบบ single-lead handheld device โดยด้านล่างของตัวเรือนนาฬิกาจะเป็นจะเป็นตัวรับคลื่นขั้นบวก ส่วนตัวเม็ดมะยมของนาฬิกาที่ใช้นิ้วแตะจะเป็นขั้วลบและ ground และทำการประมวลผลจบได้ภายใน 30 วินาทีจากชิปเซตของตัวนาฬิกา พร้อมแจ้งเตือนกรณีพบความผิดปกติ และสามารถพลอตกราฟคลื่นไฟฟ้าออกมาให้ดูได้ผ่านแอป Health เลยทันที
ซึ่งค่าความผิดปกติตรงนี้ทาง Apple บอกว่าเป็นค่าที่เหมือนกับไปทำที่โรงพยาบาลยังไงอย่างงั้นเลย และบอกได้ว่าหัวใจเรามีสัญญาณบ่งชี้ถึงการมีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (Atril Fibrillation) หรือที่เรามักจะได้ยินคนเรียกกันว่า หัวใจเต้นผิดจังหวะ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) ได้นั่นเอง การที่เราใส่ Apple Watch และมีการตรวจเช็คตลอดเวลาก็เป็นเหมือนการป้องกันไว้แต่เนิ่นๆ ลดความเสี่ยงที่อาจจะทำให้เสียชีวิต หรืออัมพฤกษ์ อัมพาตได้นั่นเอง
โดยตัว Apple Watch นี้ได้ผ่านการอนุมัติจากทาง FDA หรือองค์การอาหารและยาของอเมริกาเรียบร้อย รวมถึงมีการเชิญแพทย์โรคหัวใจมาขึ้นพูดบนเวทีเพื่อเพิ่มความมั่นใจว่ามันใช้ได้จริงอีกต่างหากด้วย
ปล. อย. บ้านเค้าเข้มงวดและเชื่อถือได้มากกว่าบ้านเราแบบร้อยเท่าพันทวีครับ เมื่อไหร่ที่บอกว่าผ่านและขายได้คือต้องดีจริง
แพทย์ห่วงผู้ใช้ยึดมั่นใน Apple Watch เกินจนเกิดปัญหา
หลังการเปิดตัว Apple Watch ก็มีเสียงตอบรับที่ดีมากทั้งจากฝั่งผู้ใช้ ผู้ที่อยากซื้อให้คนอื่นใช้ รวมถึงแพทย์หลายๆคนก็ให้ความสนใจ แต่หลังจากที่มีการหาข้อมูลเพิ่มเติมแล้วก็มีความเป็นห่วงจากแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลอยู่ทั้งในด้านความแม่นยำของอุปกรณ์และการที่ผู้ใช้เชื่อมั่นในตัวสินค้ามากจนอาจทำให้เกิดปัญหาระหว่างแพทย์และคนไข้ได้
อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าการวัดค่า EKG จะทำกันโดยตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าทั้งหมด 12 คู่ (leads) โดยจะต้องทำการแปะอุปกรณ์วัดค่าไว้หลายๆจุดเป็นคู่ๆ หนึ่งคู่คือหนึ่ง Lead แต่บน Apple Watch จะใช้กลไกแบบ single-lead handheld device ทำให้ค่าจะออกมาเพียง lead เดียวซึ่งก็หมายถึงข้อมูลยังไม่สมบูรณ์ จาก 12 leads เหลือแค่ 1 lead แค่นั้นยังไม่พอการจะวินิจฉัย Atrial Fibrallation (AF) นั้นไม่ได้จำกัดว่าต้องมาจาก 12-lead เท่านั้น แต่ต้องมีหลักฐานอื่นประกอบอีกมากมาย
ตัวอย่างข้อมูลที่ได้จากแอป ECG ซึ่งเราสามารถ Export เป็น PDF ส่งให้แพทย์ดูได้ง่ายๆ
หลายคนอาจจะบอกว่าก็ไม่เห็นเป็นไร อย่างน้อยเจอความผิดปกติ ไปพบหมอเพื่อให้คอนเฟิร์มก็ไม่มีอะไรเสียหาย ซึ่งก็ถูกครึ่งนึง แต่อีกครึ่งนึงคือมีความกังวลกันที่ตัว Apple โฆษณาสรรพคุณของ Watch ไปซะดูเทพมาก ใครที่เห็นการเปิดตัวแล้วก็คงเชื่อมั่นและยึดถือว่ามันคือสุดยอดอุปกรณ์ที่จะทำให้เราไม่เป็น Stoke หรือภาวะหัวใจล้มเหลวแน่นอน ทั่งที่ไม่ใช่ และปัญหาจะอยู่ที่ว่าหากวันนี้คุณไปพบแพทย์และแพทย์ดูหลักฐานอื่นประกอบก็ไม่เห็นว่ามันจะผิดปกติอะไร ไล่ให้กลับพร้อมทั้งไม่ให้ยาอะไรเลย เพราะยาที่ใช้รักษาก็มีความเสี่ยงทำให้เลือดออกต่าง ๆ นานา แต่อีกไม่นานหลังจากนั้นคุณดันป่วยจริง และไม่สามารถรักษาได้ทัน ก็อาจจะมาโทษโรงพยาบาล โทษแพทย์เอาง่ายๆว่าชุ่ย ไม่ตรวจรักษาให้ดี ไม่เชื่อนาฬิกานั่นเอง
อย่างไรก็ดีคุณหมอก็ไม่ได้ถึงกับแอนตี้ Apple Watch อะไรนะครับ แค่อยากให้เข้าใจตรงกันก่อนเท่านั้น ว่ามันก็ไม่ได้เป็นทุกสิ่งทุกอย่างได้ขนาดนั้น การพบแพทย์เรื่อยๆคอยติดตามอาการก็น่าจะเป็นการดีที่สุดครับ
สามารถไปอ่านที่แพทย์ท่านหนึ่งได้เขียนถึงเรื่องนี้กันต่อได้ครับ มีหมอๆมาคอมเม้นต่อกันให้เพียบเลยล่ะ
ECG App ยังไม่มีให้ใช้ตอนนี้ และจะยังไม่มีให้ใช้ในไทย
แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้หลายคนอาจจะใจสลายได้เมื่อได้รู้ว่าฟีเจอร์ตรวจค่า ECG นี้จะยังไม่มีให้ใช้ทันทีหลังวางจำหน่าย ต้องรออีกสักพักนึงให้ซอฟท์แวร์เรียบร้อยดีก่อน ช่วงปลายปีถึงจะปล่อยให้ได้ใช้กัน และเมื่อเปิดให้ใช้แล้วก็ไม่ได้หมายความว่าทาง Apple จะเปิดฟีเจอร์นี้ให้ทุกคนทั่วโลกทันทีนะครับ
โดยทาง Apple ได้ให้ข้อมูลเอาไว้ว่าฟีเจอร์ ECG ได้รับ De Novo classification จากทาง FDA หรือเรียกง่ายๆว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงในการใช้งานต่ำไม่ทำอันตรายใดๆต่อผู้ใช้งาน แต่ก็เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องขออนุญาตหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อนำเข้าไปขายในประเทศนั้นๆก่อน ซึ่งหมายความว่าฟีเจอร์ ECG นี้ก่อนที่จะเปิดให้ประเทศอื่นๆใช้ได้ ทาง Apple ต้องส่งทีมเข้ามาขออนุญาตให้เรียบร้อยก่อนนั่นเอง ซึ่งทาง Apple ก็ไม่สามารถรับปากได้อย่างชัดเจนว่าสามารถผ่านด่าน อย. ในแต่ละประเทศได้เร็วช้าเพียงใด ทำให้หน้าเว็บ Apple Watch 4 ในหลายประเทศ รวมถึงในประเทศไทย ยังไม่ขึ้นแม้แต่ข้อมูลของฟีเจอร์ ECG เลยด้วยซ้ำ
และน่าสนใจมากว่าในเอกสารของ FDA มีการให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับ Apple Watch ว่าฟีเจอร์ ECG นี้ควรใช้เพื่อดูข้อมูลเท่านั้น ผู้ใช้ไม่ควรจะแปลค่า หรือรับการรักษาในรูปแบบต่างๆจากผลของแอปนี้เท่านั้น ควรต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน มันช่วยในการวินิจฉัยโรคในระดับนึงแต่ไม่สามารถทดแทนการตรวจวัดโดยวิธีปกติได้ ควรใช้ในผู้ที่มีอายุเกิน 22 ปี และไม่แนะนำสำหรับคนที่รู้ตัวว่าอยู่แล้วว่ามีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติอีกด้วย ซึ่งก็เป็นไปตามที่คุณหมอได้เขียนเอาไว้ข้างต้นเลย แต่เพียง Apple บอกไม่หมด และอาจทำให้เกิดปัญหาระหว่างคนไข้และแพทย์ได้นะ
สรุป – Apple Watch Series 4 กับฟีเจอร์ ECG สามารถตรวจวัดคลื่น ECG ได้จริง แต่ว่าข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่สามารถยึดถือได้ 100% ควรต้องต้องปรึกษาแพทย์อีกครั้งแม้ว่าเครื่องจะแจ้งเตือนว่ามีความเสี่ยงก่อนรับการรักษาใดๆ และหลังวางจำหน่ายจะยังไม่มีแอป ECG ให้ใช้ จะซื้อเพราะฟีเจอร์นี้ ให้ตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าประเทศที่เราซื้อมานั้นมีการเปิดฟีเจอร์นี้ให้ใช้หรือยังครับ
อ้างอิง
- MacRumors : Electrocardiogram Functionality in New Apple Watch Series 4 Models Limited to US, Coming Later This Year
- The FDA Group : What Is a De Novo Classification?
- MDsave : Health Vocabulary: EKG, ECG, EEG…EEK!
- Apple : Apple Watch Series 4 – Health
- โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ – ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว
- โรงพยาบาลศิครินทร์ – โรคหลอดเลือดสมอง
Apple Watch เตือนผู้ใช้ถึงความผิดปกติและช่วยชีวิตผู้ใช้มาหลายคนแล้วครับ ผมว่าตัววัดEKGนี่ยิ่งดีขึ้นไปอีก เพราะจะได้ตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ
https://www.mensxp.com/technology/wearables/44691-5-times-the-apple-watch-saved-somebody-rsquo-s-life-proved-it-s-more-than-just-a-smartwatch.html
คือก็ไม่มีใครบอกว่ามันมันไม่ดีนะ แต่เพราะแบบนี้แหละ หมอถึงได้กลัว คนเชื่อมั่นเกินไป
ต้องลองนึกถึงตอนที่คนไม่ยอมไปตรวจสุขภาพเพราะเชื่อ Apple watch ด้วยนะ ตรวจได้มันดีกว่าอยู่แล้วแต่ถ้าเชื่อมากไปก็ไม่โอเค
ไปอ่านที่ต้นเรื่องมาละครับ ผมว่าที่Apple น่าจะmentioned ด้วยคือตรง
."…should only be used by those over 22 years of age, and is not recommended for people with known arrhythmias…"
โดยเฉพาะกับตรงที่บอกว่าไม่แนะนำสำหรับคนที่ทราบว่ามาภาวะ arrhythmias มาก่อนแล้ว แสดงว่าตัวอ่านคลื่นแม่เหล็กอาจจะมีผลกับหัวใจได้
ผมยังนึกภาพคนตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี ซื้อแอเปิ้ลวอชมาแล้วเลิกไปตรวจไม่ออกนะครับ แต่คนทั้วไปคงรู้แหละครับว่า ตรวจรพ>แอปเปิ้ลวอช>ไม่ใช้อะไรเลย
นั่งดู keynote ครั้งนี้ไม่เห็นพูดถึงระยะเวลาการใช้งานเลย Apple Watch เลย
บอกนะครับ แต่แค่ว่า 1 วันเต็มๆ
ถ้าฟังไม่ผิด ต้องชาร์จมันทุกวันอะครับ จะซื้อให้ท่านพ่อท่านแม่ใช้ก็ต้องมาชาร์จบ่อยๆอีก
ซึ่ง1วันเต็มก็ต้องปิดโน่นนี่เหมือนเคย
ตรวจได้มันก็ดี เป็นการเตือนภัยเบื้องต้น แต่อย่าโปรโมทให้คนเชื่อค่าที่วัดได้ให้มากเกินไปนัก ไม่งั้นจะมีแพทย์ไว้ทำไม
Apple Watch เรือนนึงจะมีความสามารถเทียบเท่า เครื่องมือแพทย์เฉพาะทาง และทดแทนกันได้หรือ ??
common sense ครับ คำถามง่ายๆ คำตอบยิ่งง่ายกว่า แบบ ดีที่สุดมันก็แค่ For your information คือถ้ามีก็ดีกว่าไม่มี และ มีแล้วไม่ได้แปลว่าไม่ต้องระมัดระวังสุขภาพเหมือนเดิม แต่ถ้าจำเป็นจะต้องฝากชีวิตกับใครหรืออะไร คุณจะเลือก Apple watch หรือเครื่องมือแพทย์เฉพาะทาง+คุณหมอ…… อันนี้แล้วแต่รสนิยมของใครของมันละครับ
EKG ขนาดเครื่องบางทียังเชื่อไม่ค่อยได้เลยครับ
ตามดูเฉยๆ ก็น่าสนใจอยู่ครับ
ดูวันเปิดตัว ตะหงิดๆ ตั้งแต่ให้หมอโรคหัวใจมาขึ้นเวทีแล้ว
จะตรวจการเต้นของหัวใจให้ละเอียดต้องไปที่ รพ. ไม่ใช่อ้างจาก apple watch อย่างเดียว
FDA ไม่ได้น่าเชื่อถือ เข้มงวด 100% นะครับ
อุปกรณ์ที่ FDA รับรองและวางขาย เช่น สะโพกเทียมที่ทำจาก cobalt มีปัญหา มีอาการประสานหลอน เพราะ cobalt แพร่ไประบบประสาท
https://scholar.google.com/citations?user=jTA1qbcAAAAJ&hl=en&oi=sra
https://www.theguardian.com/film/2018/jul/25/the-bleeding-edge-netflix-documentary-medical-devices
ใครจะไปหาหมอตรวจเช็คได้ทุกวัน แต่ Apple watch มันเช็คได้ทุกวัน หากมีอะไรผิดปกติวันนึง สองวัน สามวัน เราก็รู้ตัวเร็ว ปรึกษาแพทย์ได้เร็วมันก็ดีกว่า ภัยเงียบมันน่ากลัว
กลัวว่ารู้มากจะกังวลมากซะมากกว่านะ
ผมนี่รอ Huami Amazfit รุ่นใหม่เลยเปิดตัวตามมาติดๆ
ยิ่งรู้มากยิ่งกังวล
ยิ่งเตือนมากยิ่งเสียความเป็นตัวของตัวเอง
ถ้าเตือนจน panic เนี่ย อาการpanicมันอันตรายนะ
ใช้แต่พอควรลดเตือน ไม่ต้องให้มมันเตือนตลอด