หลังจากจบสงครามการประมูลคลื่น 1800 MHz ที่ร้อนระอุจนมูลค่าใบอนุญาตการถือครองคลื่นสัญญาณพุ่งไปถึง 80,778 ล้านบาท DTAC เครือข่ายที่ชวดใบอนุญาตการประมูลและถอดใจไม่เสนอราคาต่อเป็นเจ้าแรก ก็ได้ออกมาแถลงย้ำว่ามีการเปิดให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ 1800 MHz ก่อนใครเพื่อน และระดมเพิ่มเสาสัญญานให้ได้ 1800 เสา ครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนพ.ย. นี้
บางคนคงจะพอทราบกันอยู่แล้วว่า DTAC นั้นมีการให้บริการ 4G มาสักพักแล้ว ดังนั้นถึงจะพลาดการประมูลก็ยังสามารถให้บริการ 4G ได้ตามปกติค่ะ ซึ่งตรงนี้หลายคนก็อาจจะงงว่า เอ๊ะ แล้วที่พลาดการประมูลไปเนี่ย ทำไมคนถึงต้องแตกตื่นต๊กกระใจกัน ทั้งนี้ก็อาจจะเป็นเพราะว่า หลายๆ คนเข้าใจว่าการประมูลรอบที่ผ่านมาเป็นการประมูลคลื่น 4G ซึ่งไม่ใช่นะคะ รอบที่ผ่านมาเป็นเพียงการประมูลคลื่นสัญญาณความถี่ 1800 MHz ซึ่งที่ DTAC หมอบการ์ดไปเป็นเจ้าแรกเนี่ยก็เพราะว่าทาง DTAC ถือครองสัมปทานคลื่น 1800 MHz อยู่แล้ว 25(+20) MHz และราคาใบอนุญาตในครั้งนี้ก็สูงเป็นประวัติการณ์ติดอันดับโลกนั่นเอง แต่…ที่หลายๆคนเป็นห่วงกันก็คือสัมปทานที่ DTAC มีนี้กำลังจะหมดอายุในอีก 3 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2561) นั่นเองค่ะ
ทั้งนี้กลับเข้ามาในส่วนของบริการ 4G ของ DTAC ที่เปิดตัวกันดีกว่า โดยตอนนี้ DTAC กลายเป็นเจ้าแรกที่สามารถให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ 1800 MHz และตอนนี้ก็กำลังขยายโครงข่ายสัญญาณคลื่น 1800 MHz อีก 1800 สถานี ทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลในระยะเวลา 18 วัน หลังจากวันประมูล (30 พ.ย. 2558) เพื่อรองรับกับต้องการใช้บริการ 4G ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยทาง DTAC มีการแบ่งส่วนแบนด์วิธคลื่น 1800MHz ที่มีอยู่ 25MHz นี้มาเพียงแค่ 10 MHz เพื่อให้บริการ 4G ก็เพราะยังมีจำนวนผู้ใช้บริการ 2G บนคลื่นความถี่ 1800 MHz อยู่ถึง 3 ล้านคนจากผู้ใช้บริการ DTAC ทั้ง 25 ล้านคน ส่วนผู้ใช้บริการ 4G ยังมีอยู่เพียง 1.9 ล้านคนเท่านั้น อย่างไรก็ดีมีจำนวนผู้ใช้บริการสมาร์ทโฟนที่รองรับ 4G อีกมากกว่า 3.5 ล้านคน ซึ่งก็มีแนวโน้มที่ผู้ใช้บริการจะหันมาใช้ 4G กันมากขึ้น ซึ่งทาง DTAC ก็มีแผนที่จะขยายแบนด์วิธเพิมให้เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมค่ะ
แต่อย่างไรก็ตามสงครามการประมูลยังไม่จบแต่เพียงเท่านี้ ยังเหลือการประมูลใบมูลใบอนุญาตถือครองคลื่นความถี่ 900 MHz ที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกในวันที่ 15 ธันวาคม 2558 ซึ่งผู้เข้าร่วมก็ยังคงเป็นเซ็ตเดียวกับตอนประมูลคลื่น 1800 MHz ได้แก่ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด (JAS), บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTAC), บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AIS), และบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TRUEMOVE) งานนี้ก็ต้องจับตาดูท่าทีของแต่ละค่ายว่าจะเป็นยังไงกันต่อ ซึ่งก็คาดเดายากเพราะครั้งนี้คงไม่มีใครยอมใคร
AIS ตามข่าวก็ยังต้องการใบอนุญาตเพิ่ม, JAS พลาดจากครั้งที่แล้วไปก็อาจจะเอาเงินมาลงที่ครั้งนี้แทน, ส่วน truemove อาจจะเสกเงินมาประมูลเพิ่มได้อีก, แต่ DTAC ดูจะน่าห่วงสุดเพราะจากเพดานเงินในกระเป๋าครั้งที่ผ่านมาก็ดูห่างไกลจากเงินของค่ายอื่นๆเหลือเกิน แม้ว่าเหตุผลที่ทาง DTAC ให้มาว่าตัวเลขที่ทางบริษัทยื่นไปเป็นตัวเลขที่เหมาะสมในทางธุรกิจ แต่ระยะเวลาของใบอนุญาตที่เหลืออยู่ 3 ปี กับความไม่แน่นอนในอนาคตว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง จึงเป็นที่มาของความไม่มั่นใจของนักลงทุนในตลาดหุ้นที่พากันเทขาย ราคาร่วงกราวนั่นเอง…ก็หวังว่าทาง DTAC จะหันมามองและเข้าใจนักลงทุนด้วยเนอะ
แก้ไขนิดนึงนะครับ "ราคาใบอนุญาตในครั้งนี้ก็สูงเป็นประวัติการณ์ติดอันดับโลกนั่นเอง" ไม่อยากให้คนทั่วไปมีภาพการประมูลที่คิดว่าแพงเกินไป ตามข้างล่างเลยครับ
"ราคานี้มิได้ทำลายสถิติโลก เพราะหากนำข้อมูลการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ในประเทศต่างๆ มาเปรียบเทียบโดยปรับตัวเลขประชากรและปริมาณคลื่นความถี่ให้เข้ากับสถานการณ์การประมูลของเราแล้ว ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา มูลค่าคลื่นที่สูงสุดรวมสองใบอนุญาต จะอยู่ที่แสนล้านบาทเศษ และมูลค่าสูงสุดในกลุ่มประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกจะอยู่ที่แสนห้าหมื่นล้านบาทเศษ การประมูลในครั้งนี้จบลงที่แปดหมื่นล้านบาทเศษ จึงมิได้ทำลายสถิติใดๆ เลย"
ที่มา: ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา, กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
http://thaipublica.org/2015/11/prawit-1800mhz/
ขอบคุณที่นำมาแชร์นะครับ ^^
ข้อมูลวงในที่เปิดเผยแหล่งที่มาไม่ได้ ค่ายเขียวต้องจ่ายเงินให้กับเจ้าของสัมปทานคลื่นที่เพิ่งหมดอายุเมื่อเดือนกันยายน ตกปีนึงเกินสองหมื่นล้าน (หรือประมาณครึ่งนึงของใบอนุญาตที่ประมูลได้)
ในระยะยาว น่าจะมีกำไรมากขึ้น หากลงทุนใกล้เคียงเดิม เพราะไม่ต้องจ่ายในส่วนนี้ทุกปีแล้ว (แต่ถ้าลงทุนมากขึ้นนี่อีกเรื่องนึง)
เชื่อไม่เชื่อแล้วแต่นะครับ
ดีๆ รีบๆ ตั้ง ที่บ้านผมคลื่น 4G มีแค่ 1-2 ขีดเท่านั้น และสลับไป H+ บ่อยๆ ใช้ไม่ค่อยคุ้มเบย