ทุกวันนี้เรียกได้ว่าใครๆ ก็สามารถเข้าถึงโลกออนไลน์ได้กันหมดเพียงแค่มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนในมือ ทำให้กลุ่มเด็กและเยาวชนไทยมีโอกาสได้ระดับความเสี่ยงจากการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตอย่างไม่เหมาะสม โดยทาง dtac เองก็เล็งเห็นถึงปัญหานี้จึงได้จัดโครงการ YSLC หรือ Young Safe Internet Leader Camp 1.0 เพื่อช่วยพัฒนาสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรับมือกับความเสี่ยงออนไลน์ ซึ่งดำเนินการขึ้นมาเป็นปีที่ 2 แล้ว

โดยตัวโครงการ YSLC นี้เองจะคอยนำเด็กหรือเยาวชนที่สนใจมาเข้าค่ายร่วมกัน เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ช่วยเหลือให้เข้าใจต่อปัญหาหนึ่งๆ อย่าวถ่องแท้และเป็นระบบ และเพื่อเปลี่ยนบทบาทตนเองจาก “เป็นเหยื่อ” บนโลกออนไลน์ สู่ “การเป็นผู้นำ” ในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ซึ่งทางเด็กๆ เองก็ได้มีเสนอมาถึง 20 โครงการ โดยมี 10 โครงการที่ได้ไปต่อและได้รับเงินทุนสนับสนุนต่อไป

ตัวอย่าง 3 โครงการเยาวชนจากแคมป์ YSLC 1.0 ที่ได้รับทุนไปต่อคือ

1. เข้าใจคนแกล้งและคนถูกแกล้งผ่าน “การ์ดเกม”

จากโจทย์ที่ว่า ‘จงออกแบบกิจกรรมเพื่อต่อต้านภัยร้ายในโลกออนไลน์’ ทีม Good Net Good Life จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กทม. จึงเลือกหยิบประเด็น ‘Cyberbullying’ มาเป็นโจทย์สำคัญ เนื่องจากแนวโน้มพฤติกรรมการล้อเลียนและดูถูกของเด็กด้วยกันเอง

ดังนั้น สิ่งสำคัญคือการสร้างการรับรู้ ข้อเสีย ผลกระทบจาก Cyberbullying ที่ทางทีมนี้นำเสนอมาก็คือ การสมบทบาทเป็นทั้งผู้แกล้ง และผู้ถูกแกล้ง ผ่าน “การ์ดเกม” โดยการ์ดเกมนี้จะประกอบไปด้วย การ์ดคำถาม การ์ดความรู้สึก และการ์ดรูปภาพ เปิดโอกาสให้ผู้เล่นเปิดอกอธิบายความในใจเมื่อโดนกลั่นแกล้ง ซึ่งมีหลากหลายความรู้สึก ทั้งอายมาก เสียใจ เมื่อเพื่อนๆ ที่ร่วมเล่นในวงได้ฟังจึงเข้าใจมากขึ้นว่าการกลั่นแกล้งนั้นไม่ดีอย่างไร  ไอดีถือว่าเจ๋งใช้ได้เลยครับ

2. ยั้งคิดยั้งทำ ฮาวทูตั้งสติก่อนแชร์ข่าวมั่ว

จากการสำรวจสื่อออนไลน์ในช่วงปี 2561-2562 ในเครือข่ายโรงเรียนรัตนศึกษา จ.สุพรรณบุรี พบว่าปัญหาออนไลน์หนึ่งที่ทวีความรุนแรงมากที่สุดอย่างหนึ่ง คือ ปัญหาการแชร์ข่าวมั่ว ทั้งที่มีเนื้อหาเกินจริงหรือข้อมูลที่เป็นเท็จในสื่อสังคมออนไลน์ มากไปกว่านั้นคือมีการกระจายข้อมูลเหล่านี้สู่กรุ๊ปแชทของพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือเพื่อนต่างโรงเรียน ทำให้ข้อมูลผิดๆ ขยายวงกว้างออกไป

ทีม Young kids…ยั้งคิด จากโรงเรียนรัตนศึกษา จ.สุพรรณบุรี จึงได้นำกิจกรรมส่งเสริมความรู้ในรูปแบบ “ฐานเกม” มาใช้ในการกระตุ้นความสนใจและการเรียนรู้เรื่อง ‘ข่าวปลอม’ ของเด็กนักเรียนจากฐานเกมในงานกีฬาสี ซึ่งในแต่ละฐานจะแทรกความรู้เรื่อง การใช้งานโซเชียลมีเดียอย่างถูกต้องและปลอดภัยเข้าไปด้วย

นอกเหนือจากกิจกรรมที่เป็นฐานเกมแล้ว น้องๆ ยังจัดกิจกรรมอีก 2 กิจกรรม คือ เปิดห้องเวิร์กช็อปในหัวข้อ “การใช้อินเทอร์เน็ตแบบยั้งคิด” โดยได้เชิญทีมพี่ๆ วิทยากรจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เข้ามาช่วยเหลือ และ “กิจกรรมจริงหรือมั่ว” โดยทางน้องๆ จะทำทำบอร์ดจำลองการแชร์ข่าวปลอมขึ้นมาในโรงเรียน แล้วเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นลงไปบนบอร์ดว่าข้อมูลนี้จริงหรือมั่ว ผ่านการเขียนคอมเมนต์ลงบนกระดาษ รูปอีโมจิต่างๆ

3. Chatbot นวัตกรรมส่งต่อเหยื่อจาก Cyberbullying สู่ผู้เชี่ยวชาญ

โปรเจกต์นี้ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยทีม The Project Breaker จากโรงเรียนสวนศรีวิทยา จ.ชุมพร โดยน้องๆ ในทีมได้รับแรงบันดาลใจมาจากปัญหาในโรงเรียน โดยนักเรียนกลุ่มหนึ่งได้มีปากเสียงกันในชีวิตจริง และได้เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือ เหน็บแนมคู่กรณีผ่านสื่อโซเซียลจนเรื่องบานปลาย และเมื่อกลุ่มคนนั้นมาเจอกันในโลกแห่งความเป็นจริง จนทำให้เกิดปัญหาทะเลาะวิวาทขึ้นในโรงเรียน

ด้วยปัญหาการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ที่มีจำนวนมากขึ้นประกอบกับความรู้ความเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ จึงได้ริเริ่มพัฒนา Chatbot ที่น้องๆ มีความรู้ในระดับพื้นฐาน โดยฟังก์ชั่นหลักมีหน้าที่ในการรับฟังปัญหาและส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้เข้ามาแก้ปัญหาได้โดยตรงนั่นเอง

เรียกได้ว่าค่าย YSLC นั้นเป็นค่ายที่ทลายกำแพงของห้องเรียน ทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้โลกกว้างได้อย่างเต็มที่ ได้พบเจอสังคมภายนอก ไม่จำกัดว่าถูกหรือผิด พร้อมกับการพัฒนาผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสามารถนำไปการแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเองและคนอื่นได้อีกด้วย และ YSLC Version 2.0 ปีนี้นั้นจะเปลี่ยนรูปแบบใหม่เป็น Cyber camp เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 โดยมีเยาวชนตอบรับเข้าร่วมแคมป์อย่างคึกคักกว่า 500 คน สำหรับเยาวชนที่พลาดการสมัครรอบที่ผ่านมาก็ไม่ต้องเสียใจไป เพราะในวันที่ 1 มิ .ย. 63 ที่จะถึงนี้ ดีแทค จะเปิดห้องเรียนออนไลน์อย่างเป็นทางการ เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจภัยร้ายบนโลกออนไลน์ รวมไปถึงร่วมติดสกิลดิจิทัล อย่าง Storytelling & Content Creator, Data Visualization, A.I Screen Fake Content, Board Game Development และ Chatbot ให้เยาวชนได้ร่วมพัฒนาความสามารถ และนำไปสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.SafeInternet.camp

 

ที่มา : เมลประชาสัมพันธ์,  safeinternet