ด้วยปัจจุบันที่ระบบการซื้อขายผ่านช่องทางออนไลย์ในบ้านเรากำลังเป็นที่นิยมกันอย่างมากนั้นส่งผลทำให้มีจำนวนผู้ขายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัจจุบันยังมีผู้ขายหลายรายที่ไม่ทำตามข้อกำหนดหรือข้อกฏหมายที่ออกมา หรือเนื่องจากมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับหลักการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์นั้นอาจจะไม่ต้องเสียภาษี โดยตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมากรมสรรพากรเข้ามาดำเนินการตามแผนอย่างเข้มงวด พร้อมทั้งได้พัฒนาโปรแกรมขึ้นมาสแกนร้านค้าออนไลน์ เพื่อจะได้ทำการตรวจสอบการชำระภาษีของร้านค้าต่างๆ ว่าถูกต้องหรือไม่

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีการซื้อขายสินค้าออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงผู้ที่ขายสินค้าผ่าน Social Media ต่างๆ เช่น Facebook, LINE, และ Instagram รวมไปถึงเว็บแคตตาล็อกชื่อดังอย่าง Lazada ก็ด้วย ซึ่งหากมีการลงประกาศขายสินค้าต่างๆ ทางกรมสรรพากรถือว่าเป็นการจำหน่ายและถือเป็นรายได้ของผู้ขายอย่างชัดเจน เมื่อถึงเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดผู้ขายทุกคนก็ต้องชำระภาษีตามกฏหมาย

แนวทางของกรมสรรพากรตอนนี้ได้มีการสุ่มตรวจ ด้วยโปรแกรมตรวจจับว่ามีการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากน้อยแค่ไหน มีการชำระภาษีถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่ และในการสั่งซื้อสินค้าในแต่ละครั้งมีการออกใบกำกับภาษีถูกต้องหรือเปล่า นอกจากนั้นในกลุ่มธุรกิจ SME เองกว่า 2.7 ล้านรายก็ยังมีถึง 60% ที่เสียภาษีไม่ถูกต้อง

หลักเกณฑ์ที่ทางกรมสรรพากรได้ออกมากำหนดว่าผู้ที่กำลังทำธุรกิจขายของผ่านช่องทางออนไลน์นั้นต้องปฏิบัติมีดังนี้ หากเป็นประเภทบุคคลธรรมดาต้องยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และถ้าหากรายได้ถึงเกณฑ์ตามที่กำหนดคือ ไม่ถึง 1,800,000 บาทต่อปี ถ้ากรณีเกิน 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

ที่มา กรมมสรรพากร manager.co.th m.prachachat.net