สถิติปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคเบาหวานมากถึงกว่า 5 ล้านราย แต่ว่าประเทศเรามีผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตาเพียงแค่ 1,400 รายเท่านั้น จึงทำให้การรักษาไม่เพียงพอต่อผู้ป่วย ซึ่งวันนี้ได้มีการจับมือร่วมตกลง เซนต์สัญญา MOU กันระหว่าง Google และ UN-ESCAP นำเทคโนโลยีระบบ AI ปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยทำประโยชน์ให้กับสังคมในเอเชียแปซิฟิก และสำหรับประเทศไทย ตอนนี้ก็กำลังร่วมพัฒนากับโรงพยาบาลราชวิถีเรื่องการวิเคราะห์ตคัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นตาให้ผู้ป่วยอยู่ค่ะ

ถ้าลองมองกันดีดีโครงการนี้เป็นที่น่าสนใจอย่างมาก ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย เพราะทุกประเทศในเอเชียแปซิฟิกก็มีการตื่นตัว และ เริ่มปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีที่กำลังค่อยๆ เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว บางคนอาจจะยังไม่ตื่นตัว หรือ ยังไม่เข้าใจ อยากให้ลองมองย้อนกลับไปเมื่อ 5 – 10 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีก็เข้ามาเปลี่ยนชีวิตพวกเราเช่นกัน ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือ เรียกว่าแทบจะทุกเรื่องเลยก็ว่าได้

ลองมองจากกรณีของโทรศัพท์มือถือก็ได้ เมื่อสิบปีที่แล้วมาจนถึงตอนนี้ เทคโนโลยีได้นำพาความเปลี่ยนแปลงเข้ามาเยอะมาก ค่อยๆเปลี่ยน ค่อยๆพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เกิดโซเชียลมีเดีย การขายของออนไลน์ การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วมากขึ้น และพวกเราก็ค่อยๆซึมซับ และ ปรับตัวให้เข้ากับมันได้ จนถึงตอนนี้เทคโนโลยี AI ก็กำลังเข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบนี้เช่นกันค่ะ

อย่างที่เกริ่นไว้ว่าสำหรับประเทศไทยทาง Google ได้สนใจการพัฒนาเรื่องการตรวจเบาหวานขึ้นตาของผู้ป่วย โดยเป็นการร่วมมือกับโรงพยาบราชวิถี ทั้งนี้เพราะบ้านเราเองมีฐานทรัพยากรทางข้อมูลอยู่เยอะมากเพียงพอให้ทางกูเกิ้ลนำไปต่อยอด ต้องบอกว่าจริงๆ แล้วทางรัฐบาล และ กระทรวงสาธารณะสุขเองก็มีเป้าหมายในการลดจำนวนผู้ป่วยที่เกิดอาการเบาหวานขึ้นตาจนถึงขั้นตาบอดจากโรคเบาหวานไว้ในแต่ละปีอยู่แล้วด้วย ประจวบเหมาะกับการที่กูเกิ้ลยื่นมือเข้ามาช่วยกันพัฒนาเรื่องนี้ให้กลายเป็นสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นได้ จากเทคโนโลยี และ ทรัพยากรที่มีอยู่

สำหรับระบบที่กำลังพัฒนาอยู่นี้จะทำงานโดยการถ่ายรูปจอตาเรตินาของผู้ป่วยโรคเบาหวาน แล้วจะใช้ระบบ AI มาวิเคราะห์ โดยเจ้า AI จะได้เรียนรู้ Deep Learning จากการที่กูเกิ้ลจ้างผู้เชี่ยวชาญทางดวงตามาวิเคราะห์ภาพเรตินาของผู้ป่วยกว่า 130,000 ภาพ และ วินิจฉัยอีก 880,000 ครั้ง เพื่อนำข้อมูลนั้นไปฝึกเพื่อเรียนรู้อัลกอริธึม มีการจัดเลเวลระดับความเสี่ยงในการเกิดอาการเบาหวานขึ้นตาทั้งหมด 5 ระดับ

ซึ่งจากการเรียนรู้ครั้งนี้ทำให้ AI สามารถทำงานได้รวดเร็ว และ แม่นยำมากถึง 90% มากกว่าผลจากการฝึกบุคคลากรที่มีความแม่นยำประมาณ 85% และ รวดเร็วกว่าประมาณ 70% แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อความแม่นยำ และ ประสิทธิภาพสูงสุง ต้องเกิดจากการทำงานร่วมกันของทั้งบุคคลากร และ  AI ไม่ใช่การมาแทนของสิ่งใดหรือสิ่งหนึ่ง ทั้งสองอย่างยังคงต้องมีการทำงานร่วมกัน

จากผลเปอร์เซนต์ที่อ้างอิงด้านบน ต้องบอกว่านี่คือการศึกษา และ พัฒนาจากข้อมูลที่มีอยู่แล้วจากรูปเรตินาของผู้ที่เข้าร่วมทดลองโครงการ มีรูปเก็บอยู่ในคลัง ไม่ได้เกิดจากการวินิจฉัยแบบเรียลไทม์ เพราะฉะนั้นตอนนี้ก็อาจจะยังตอบไม่ได้ ว่าความแม่นยำ และ ประสิทธิภาพของหน้างานเมื่อตรวจจริงๆ จะเป็นอย่างไร โดยกระบวนการจะเป็นการอัพโหลดภาพเรตินาขึ้นไปในคลาวให้ AI ประมวลผลจากฐานข้อมูลทั้งหมดอีกครั้ง (ลืมแบบเดิมๆ ไปได้เลย ที่ต้องตรวจ หรือ เอ็กซเรย์แล้วเอาข้อมูลใส่ซีดีไปให้หมอวินิฉัย) ต้องรอดูกันว่าหากหลังจากนี้การพัฒนาที่เดินหน้าอยู่จะออกมาเป็นอย่างไรบ้าง

 

เทคโนโลยีนอกจากจะล้ำสมัย รวดเร็ว เฉลียวฉลาดแล้ว เรื่องความปลอดภัย หรือ การถูกนำไปใช้อย่างผิดวิธีก็เป็นอีกเรื่องที่ทั้งกูเกิ้ล และ ประเทศต่างๆก็มีขอบเขตออกมารองรับตรงนี้เพื่อป้องกันไว้เช่นกัน อย่างเช่น พรบ. Sandbox หรือ กระบะทราย ที่เป็นการอนุญาติให้นำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ ในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อให้รู้ถึงผลกระทบที่เกิด หรือ กฏของทางกูเกิ้ลเองก็เช่นกัน ข้อมูลที่ได้มาจะไม่มีการระบุตัวตน จะไม่นำข้อมูลไปเผยแพร่ มีขอบเขต และ วัตถุประสงค์ เท่าไหน ทำอะไร ไม่ทำอะไร ไม่นำข้อมูลที่ได้ไปทำอย่างอื่น 

ทาง Google Health เองก็ยินดีอย่างยิ่งสำหรับโครงการนี้ที่ร่วมกันกับโรงพยาบาลราชวิถี นำร่องการใช้เทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ป้องกันอาการเบาหวานขึ้นตา ไม่ให้เกิดการสูญเสีย หรือพยายามลดให้น้อยลง เพื่อประโยชน์กับสังคม ทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่ได้รับความร่วมมือจากทั้งทางกูเกิ้ล ทุนจากกูเกิ้ล ทางรัฐบาลไทย ผู้สนับสนุนเครื่องมือ ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ และ ฮีโร่อย่างคุณหมอ และ พยาบาลผู้เสียสละ เข้าร่วมโครงการนี้

นอกจากทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว หลายๆ ประเทศในเอเชียแปซิฟิกก็มีโครงการที่นำ AI มาใช้ เป็นที่นิยม และ น่าสนใจเป็นของตัวเองกันทั้งนั้น หากใครสนใจ อยากจะเรียนรู้โครงการของประเทศอื่นๆ หรือ มีไอเดียที่อยากจะนำ AI มาต่อยอด ก็สามารถส่งไอเดียให้ทางกูเกิ้ลได้ที่นี่เลยค่ะ AI Google impact challenge