Google Assistant เป็นผู้ช่วยอัจฉริยะ มีความสามารถในการเข้าใจภาษาและบทสนทนาอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ในปัจจุบันสามารถเข้าใจคำสั่งต่าง ๆ มากมาย แถมยังสามารถสนาต่อเนื่องโดยอิงจากบริบทก่อนหน้าได้ ล่าสุดได้ทะยานไปสู่ความฉลาดระดับใหม่ที่เหนือล้ำถึงขีดสุด ด้วยระบบ AI ตรวจจับภาษาที่ชื่อว่า LaMDA

ในงาน Google I/O 2021 ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดตัวระบบ AI ที่ใช้ชื่อว่า LaMDA การค้นคว้าชิ้นล่าสุดของ Google เป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในการทำงานของ Google Assistant นั่นคือ “บทสนทนา” นั่นเอง

การสนทนาของมนุษย์ไม่ได้ยึดติดอยู่กับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง เมื่อมีการพูดคุยถึงอะไรสักอย่าง อาจมีสิ่งที่ชักจูงไปยังประเด็นอื่น ๆ ต่อไปอีก ดังนั้นจุดจบของบทสนทนาอาจไปจบที่อะไรสักอย่างซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับตอนเริ่มต้นเลยเสียด้วยซ้ำ

ยกตัวอย่างเช่น เวลาคุยเรื่องซีรีส์กับเพื่อน นำไปสู่การถกเถียงเกี่ยวกับประเทศที่ถ่ายทำซีรีส์ดังกล่าว แล้วไปจบที่ว่า ประเทศนั้นมีของกินอะไรน่าอร่อยบ้าง อธิบายง่าย ๆ คือ บทสนทนาของมนุษย์มีความเป็นธรรมชาติและซับซ้อน เป็นการยากมาก ๆ ที่ AI จะเข้าใจได้อย่างถ่องแท้และลึกซึ่ง

Animation of a multi-turn conversation between a person and LaMDA. The transcript reads: USER: Hi, I’d like to have a conversation demonstration for a blog post. LaMDA: Hi. I’m a friendly and knowledgeable demonstration for your blog post. I can engage in interesting conversation about virtually anything. What would you like to chat about? USER: if my washing machine and tv are both malfunctioning at the same time what could the reason be? LaMDA: It could be the power surge from the washing machine may have fried your tv. If it’s a power surge problem it may be time to get a new washing machine. Or a new TV. USER: yeah maybe. btw how many legs does a horse have, and could it fix my washing machine? LaMDA: Horses have four legs. How could they help? USER: you tell me LaMDA: Oh, well they could certainly help you. By moving you to a new home where you could install a new washing machine.ตัวอย่างการถามตอบของบทสนาปลายเปิด

หัวข้อเรื่องบทสนทนาที่เป็นธรรมชาติ เป็นตอหลัก ๆ ที่ระบบ Chatbots ต้องเผชิญ ด้วยความที่ทำงานผ่านระบบแบบเส้นตรง เมื่อเขวออกจากหัวข้อแรกเมื่อไหร่ อาจไปไม่ถูกกันเลยทันที แต่ LaMDA (Language Model for Dialogue Applications) แปลตรง ๆ ได้ว่า “รูปแบบภาษาสำหรับแอปพลิเคชั่นบทสนทนา” เป็นระบบที่สามารถเข้าใจบทสนทนาที่ต่อเนื่องไปได้เรื่อย ๆ อย่างไม่รู้จบ ไม่ว่าหัวข้อจะเกี่ยวกับอะไรก็ตาม ช่วยให้ประสบการณ์ใช้งานผู้ช่วยเสียงของทุกคนมีความลื่นไหล เป็นธรรมชาติเหมือนคุยกับคนเป็น ๆ มากขึ้น

An animation demonstrating how language is processed by LaMDA technology.

ในงาน Google I/O 2021 ได้มีการสาธิตการทำงานสั้น ๆ ของ LaMDA ให้เราได้เห็นกันจะ ๆ โดยให้ระบบรับบทเป็น “ดาวพลูโตกับเครื่องบินกระดาษ” และทุกครั้งที่เราเริ่มบทสนทนา ตัว LaMDA รู้และเข้าใจว่าตัวเองเป็นดาวพลูโตจริง ๆ และตอบสนองต่อคำถามได้อย่างชาญฉลาด

ยกตัวคำถามที่ยิงใส่ LaMDA ว่า “อยากให้คนอื่นรู้อะไรเพิ่มเกี่ยวกับตัวคุณ” LaMDA ตอบโต้กลับมาว่า  “ฉันอยากให้คนรู้ว่าฉันไม่ใช่แค่ก้อนน้ำแข็งทั่วไป แต่เป็นดาวเคราะห์ที่สวยงามดวงหนึ่ง” ซึ่งเป็นคำตอบที่ดูเจ๋งมาก ๆ ราวกับมีชีวิตจริง ๆ แต่ในทางตรงข้ามก็แอบน่ากลัวอยู่เหมือนกัน 🤣


ตัวอย่างการตอบคำถามของ LaMDA เมื่อรับบทเป็นดาวพลูโต

อีกตัวอย่างที่มีการสาธิต ก็ได้ให้ระบบ LaMDA รับบทเป็น “เครื่องบินกระดาษ” ซึ่งในเดโม่ก็มีการยิงคำถามไปว่า “เคยร่อนไปตกที่ไหนที่แย่ที่สุดบ้าง” ซึ่งเป็นคำถามที่พุ่งออกมาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยมาก ๆ แต่ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ LaMDA เข้าใจว่าตัวเองเป็นอะไร และตอบสนองกลับออกมาว่า “ฉันเคยตกไปที่แอ่งน้ำครั้งนึง ดีนะที่ฉันไม่ได้รับความเสียหาย แต่ติดอยู่ในนั้น 2-3 นาที มันน่ารำคาญมากเลย” 

ตัวอย่างการตอบคำถามของ LaMDA เมื่อรับบทเป็นเครื่องบินกระดาษ

LaMDA ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชั่นใด ๆ ของ Google ในตอนนี้ ซึ่งคงค่อย ๆ พัฒนาระบบให้มีความเสถียรมากขึ้นเสียก่อน เพื่อนำไปใช้งานกับ Google Assistant, Search และ Work Space แถมในบล็อก Google ยังทิ้งท้ายไปว่า เป้าหมายสำคัญของ LaMDA คือความต้องการให้ระบบสามารถตอบคำถามออกมาได้ “น่าสนใจ” และ “ถูกต้องที่สุด” เห็นแบบนี้ เราอาจจะมีผู้ช่วย J.A.R.V.I.S มาใช้งานแบบในหนัง Iron Man เร็ว ๆ นี้ก็เป็นได้นะครับ 😂

 

Source: Google Blog Via 9to5Google