เมื่อคืนนี้ถ้าใครได้อดหลับอดนอนดู Keynote ของ Google I/O 2014 ซึ่งสรุปไฮไลท์ของงานทั้งหมดมาให้ทราบ จะเห็นได้ว่ามีการเปิดตัวอะไรต่างๆมากมาย ต่อยอดความสำเร็จของแอนดรอยด์ที่ ณ วันนี้มีคนเปิดใช้เพิ่มต่อเดือนที่หลักพันล้านเครื่องแล้ว จึงของมาสรุปรวมเรื่องทั้งหมดแบบคร่าวๆให้ได้ทราบกันว่ามีอะไรบ้าง ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมในแต่ละหัวข้อ จะค่อยๆทยอยเขียนให้อ่านกันอีกทีนะครับ (อย่างงว่าทำไม [อ่านต่อ] ยังกดไม่ได้ เพราะเขียนไม่เสร็จ มันเยอะ!!)
Google I/O 2014 เปิดตัวอะไรบ้าง?
สถิติที่น่าสนใจของ Android – Google ได้มีการทำสถิติที่น่าสนใจของ Android หลายๆอย่างขึ้นมา ทั้งจำนวนเครื่องที่ Activate ต่อเดือน, การกระจายตัวของแอนดรอยด์ มีผู้ใช้ที่ใดบนโลกบ้าง, นวัตกรรมที่ Android มีมานานก่อนที่ iOS จะนำไปต่อยอด, Malware มีเยอะจริงเหรอ, รวมถึง Fragmentation ที่จะเลิกดูจากความหลากหลายของเวอร์ชั่น
[อ่านต่อ : รวมสถิติต่างๆ ที่น่าสนใจจากงาน Google I/O 2014 ]
Android One – Google เดินหน้าทำตามมปณิธานที่เคยพูดเอาไว้ว่า ทุกวันนี้ราคามือถือยังคงสูงไป มีคนไม่ได้ใช้ Smartphone อยู่อีกหลายส่วนบนโลกมาก ทำให้เกิดช่องว่างและความไม่เท่าเทียมของโอกาสในการเข้าถึงข้อมูล เตรียมออก Android สเปคโอเค แต่ปรับแต่งประสบการณ์ใช้งานให้ดี และราคาต่ำกว่า $100 ออกวางจำหน่าย
[อ่านต่อ]
Android L – เรื่องที่เด่นที่สุดคงไม่พ้นการปรับเปลี่ยนดีไซน์ สร้างคอนเซปท์และหัวใจในการออกแบบแอพขึ้นมาใหม่ที่เรียกว่า “Material Design” ซึ่งเราจะเห็นได้ถึงความเปลี่ยนแปลงไม่ใช่แค่ UI/UX ของเหล่า Nexus หรือ Google Apps แต่เหล่าแอพทั้งหมดจะค่อยๆพัฒนาตามหลักการนี้ขึ้นมา เปลี่ยนภาพรวมของ Android ให้สวยและคูลได้ไม่เหมือนใคร และที่สำคัญคือหลักการนี้จะเป็นแกนที่นำไปใช้ทั้งออกแบบบน มือถือ แท็บเล็ต และเว็บ ส่งผลให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์เดียวกัน ไม่ต้องปวดหัวเวลาเปลี่ยนข้ามแพลตฟอร์มการใช้งาน และแสดงผลออกมาได้สวยงามได้เหมือนๆกัน
[อ่านต่อ : Material Design แนวทางดีไซน์ใหม่ ทำทีเดียวครอบคลุมทุกแพลตฟอร์ม]
นอกจากนี้บน Android L ก็มีการพัฒนาหัวใจด้านประสิทธิภาพขึ้นมาเพิ่มเติมด้วย จากการเปิดตัว ART Runtime อย่างเป็นทางการ รองรับ 64bit CPU ประมวลผลได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม เพิ่มขีดความสามารถด้านกราฟฟิก และประสบการณ์การเล่นเกมให้เนียนได้ไม่ต่างจากเกมคอนโซล รวมถึงพัฒนาระบบจัดการพลังงานให้ Android ใช้งานได้ยาวนานขึ้นกว่าเดิมจากทีม Project Volta ที่เคยสร้างปรากฎการณ์ตอนเปลี่ยนให้ Android ลื่นเมื่อคราว Android 4.0 มาแล้ว
[อ่านต่อ : ทำความรู้จัก ART ผู้มาแทน Dalvik บน Android “L” ]
ที่เหลือจากนี้จะเป็นการต่อยอดจาก Android L ออกไปเพื่อนำพามันไปสู่อุตสาหกรรมอื่น ให้แอนดรอยด์กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเรามากขึ้น
Android Wear – แพลตฟอร์มสำหรับการพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่ ซึ่งได้เปิดตัวไปก่อนงาน แต่มาโชว์ความสามารถเพิ่มเติมให้เห็นถึงการใช้งานร่วมกับมือถือได้อย่างลงตัว และเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งเตือน การควบคุม และการสั่งงานด้วยเสียง โดยมี Smart Watch จาก LG และ Samsung มาเปิดตัวในงานนี้ด้วย
[อ่านต่อ]
Android Auto – แอนดรอยด์เคยมีช่องว่างของหน้าจอบนรถยนต์ที่เข้าไม่ถึง ปล่อยให้คู่แข่งเจาะตลาดเข้าไปจนแทบฝังลึกอยู่ในระบบไปแล้ว แต่วันนี้ทาง Android ได้แสดงให้เห็นถึงความจริงจังที่จะลดช่องว่างของหน้าจอนี้ ทำให้เมื่อเราขึ้นรถก็จะสามารถเสียบสาย USB นำเอาภาพหรือข้อมูลทั้งหมดไปใช้งานบนรถได้อย่างไร้รอยต่อ
[อ่านต่อ]
Android TV – ความพยายามครั้งใหม่ของ Android ที่ต้องการจะเข้าไปอยู่ในห้องนั่งเล่นของทุกบ้าน ซึ่งเมื่อปีที่แล้วประสบความสำเร็จจากการส่ง ChromeCast เข้าไปฝังตัวตามบ้านเรียบร้อย วันนี้จึงได้เปิดแพลตฟอร์มเพิ่มเติม ใส่สมองให้เหล่า TV ต่างๆ โดยที่เหล่าผู้ผลิตไม่ต้องเสียเวลามาพัฒนา OS ขึ้นมาใหม่เอง เชื่อมต่อกับมือถือเราได้อย่างลงตัว สามารถควบคุมสั่งงานได้อย่างง่ายดาย รวมถึงมีฟีเจอร์ GoogleCast ที่สามารถส่งเนื้อหาบนมือถือของเราไปแสดงและใช้บนทีวีได้ทันที มีพาร์ทเนอร์เจ้าใหญ่ๆตบเท้าเข้าร่วมกับ AndroidTV แล้ว เช่น Sony และ LG
[อ่านต่อ]
Chromecast – หลังจากได้เปิดตัวในปีที่ผ่านมาและสร้างปรากฎการณ์ขายดีในหลายๆประเทศ แทรกซึมเข้าไปในหลายๆบ้านไปเรียบร้อย วันนี้ก็มาเพิ่มฟีเจอร์เข้าไปเพื่อให้ทำงานร่วมกับมือถือได้ดีมากขึ้น เช่น เปิดให้สามารถ stream ภาพ เพลง หนังจากบนมือถือขึ้นไปเล่นบนทีวีผ่าน Chromecast ได้แล้วหลังจากปิดมาโดยตลอด ซึ่งดูจากเดโม มันทำงานได้ลื่นปรื้ดเลยทีเดียว
[อ่านต่อ]
Chromebook – เรื่องหลักของการพัฒนายังคงเป็นสร้างการทำงานเชื่อมต่อกับ android ให้เป็นไปอย่างลื่นไหลและเต็มไปด้วยประโยชน์ เช่น ล็อคอินเข้าเครื่องได้เพียงถือเครื่องเข้ามาใกล้ หรือการแจ้งเตือนข้อความเข้ามาบนจอ Chromebook และจำลองหน้าจอของ android มาใช้ดูได้บน chromebook (??!? คุ้นๆมะ?)
Corporate – เจาะตลาดของฝั่งธุรกิจมากขึ้นด้วยการเสริมความปลอดภัย และส่งเสริม BYOD (Bring Your Own Device) ด้วยการเปิดให้สลับโหมดเครื่องแบ่งไฟล์และแอพของการทำงาน และชีวิตส่วนตัวออกจากกัน ไม่ต้องพกพาโทรศัพท์สองเครื่อง ซึ่งตรงนี้เป็นคอนเซปท์เดียวกับ Samsung Knox เพราะได้ Samsung มาเป็นหัวเรือใหญ่ในการพัฒนาส่วนนี้
Google Drive – หลังจากที่ได้แยกแอพ Docs และ Sheets ไปก่อนหน้า วันนี้ก็เปิดตัว Slide เพิ่มเติมขึ้นมาครบสามความสามารถหลักของแอพที่ใช้ใน Office (words, excel, powerpoint) สร้างความปลอดภัยมากขึ้นด้วยการเข้ารหัสไฟล์ มีระบบตรวจสอบการทำงานของผู้ใช้ รวมถึงการทุบราคาให้ใช้พื้นที่บน Google Drive ได้แบบไม่จำกัด เพียง $10 ต่อเดือน / user เท่านั้น
Google Cloud Platform – แพลตฟอร์มที่เปิดให้เหล่านักพัฒนาเข้าใช้ Cloud ให้เป็นส่วนนึงของ Apps ซึ่งจะทำให้การทำงานระหว่างเครื่องต่างๆเป็นไปได้อย่างไร้รอยต่อมากขึ้น
Google Fit – แพลตฟอร์มเพื่อสุขภาพ ต่อไปนี้เราจะได้เห็นแอพต่างๆที่เกี่ยวกับสุขภาพมีการพัฒนาให้เป็นไปทางเดียวกันสักที ไม่ใช่ต่างแอพต่างข้อมูลในการเก็บ ใช้งานร่วมกันระหว่างแอพและอุปกรณ์ได้ ซึ่งแบรนด์ด้านอุปกรณ์ชั้นนำก็ได้ตอบรับกับการพัฒนาในครั้งนี้แล้ว
[อ่านต่อ : Google เปิดตัว Fit Platform จุดศูนย์รวมข้อมูลเพื่อสุขภาพ ]
Google Play Games – เปิดความสามารถเพิ่มเติมให้เราเล่นเกมได้สนุกมากขึ้น พร้อมเชื่อมต่อไปยังสังคมต่างๆด้วยระบบที่สร้างมาเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นระบบภารกิจและตารางอันดับ ที่จะอัพเดทบอกเพื่อนๆใน Google+ ได้ทันทีว่าเราเล่นไปถึงไหนแล้ว และต่อไปเราจะสามารถเซฟเกมขึ้น Cloud หมดกังวลเรื่องการย้ายเซฟไปยังเครื่องอื่น รองรับระบบการเล่นเกมพร้อมกันหลายคน และส่งของรางวัลให้กันแล้ว
[อ่านต่อ : Google Play Game Services รองรับการเซฟเกมขึ้นไปบนกลุ่มเมฆได้แล้ว ]
และนี่ก็เป็นภาพรวมทั้งหมดที่ได้เปิดตัวไปเมื่อคืน รวมสิริเวลายาวนานถึง 2 ชั่วโมง 30 นาที!! รอติดตามอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเร็วๆนี้ ถ้าใครสนใจเขียนเรื่องไหนหรือเสริมจุดใด อยากอ่านเรื่องอะไรเป็นพิเศษ มาคอมเม้นท์บอกด้านล่างได้เลยครับ 🙂
ไปดู Keynote แบบเต็มๆได้ที่
ภาพรวมอะนะ
ขอบคุณข่าวครับ
เยอะแยะมากมายหลายสิ่่งอย่าง
ขอบคุณครับ
ผมอยากให้เครื่องที่ใช้ Pure google มีขายในประเทศได้เร็วกว่าที่เป็นอยู่ อีกอย่าง อยากให้ตัวดาต้าเกมสามารถย้ายไปที่ Ext. SDcard ได้แบบง่ายๆ เพราะลำพังตัวระบบ + UI ของค่ายต่างๆ ก็กินพื้นที่ไปพอควรแล้ว ถ้าลงเกมใหญ่ๆ ไม่กี่เกมพื้นที่ก็เต็ม
ผมหาที่อยุ่จะส่งความเห็นการข้ายดาต้าเกมไปที่ google ไม่เจอ ไม่งั้นจัดไปนานแล้ว
ผมมองกลับกันนะ ผมว่า SD Card คือตัวทำให้ระบบหน่วง ควรกำจัดออกไปเพื่อประสบการณ์ที่ดี 😀
เหมือนผมเลยครับ เอาเกมกับแอพไว้ internal memory เพื่อให้โหลดเร็วๆ ส่วนเพลงกับหนังเอาไว้ที่ sd card
ย้ายข้อมูลลง SD Card เยอะๆนี่ตัวทำให้เครื่องหน่วงเลย (เพราะ R/W ไม่เร็วเท่า Internal)
ขอบคุณสำหรับสรุปข่าวครับ
ขอบคุณครับ
แม้ข้าน้อยจะยังใช้ Gnex แต่ใช้วิชาชีพแปลงร่างและ Android L อิอิ
http://goo.gl/zlmmZD
http://goo.gl/CK9BYG
http://goo.gl/myX10l
เผื่อไปทำเล่นๆรออัพกันครับ
Googledrive ที่บอกว่าไม่จำกัดคือ $10/month จะเท่าไหร่ก็ได้หรอครับ
นั่นดิ ผมก็ว่ามันคลุมเคลือมากเลย เกินกว่าจะเป็นความจริง(ส่วนใหญ่จ่ายเป็นหลักหมื่นต่อ 2 เทร่า) แต่ค้นๆดูเค้าก็บอกันประมาณว่าแบบนี้นะ
"Now Google docs can up convert word on the fly . now you can have unlimited storage for 10$ per month"
"Google Drive for Work now offers unlimited storage for $10 per month, per user."
"Google also announced a 10$ per month unlimited storage plan on the Google Drive, probably the best cloud storage deal till date."
On the fly เลยทีเดียว
ผมงงว่า Google Drive = Google Doc, Slide, Sheets ไม่ใช่หรอครับ แล้วทำไมต้องแยก Google Doc อีก
Android wear. ของmoto 360. ไม่มาด้วยเหรอครับ