กำลังเป็นประเด็นกันมากเลยในช่วงนี้ กับ Uber บริการเรียกรถโดยสารรับจ้างโดยใช้แอปพลิเคชั่นในมือถือ ซึ่งเป็นบริการที่สะดวกสบาย ใช้งานได้จริง ไม่ต้องคอยลุ้นเหมือนการเรียกแท็กซี่ว่าจะโดนปฏิเสธเพื่อไปเติมแก๊ส ไปส่งรถไม่ทัน หรือจะโดนทิ้งเอาไว้กลางทางรึเปล่า แถมบางทีก็มีโปรโมชั่นลดราคาออกมาเรื่อยๆอีกต่างหาก…ทำให้ Uber ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
และถ้าใครได้ติดตามข่าวอยู่บ้าง ก็จะเห็นว่าช่วงนี้มีการล่อซื้อจากกรมการขนส่งทางบกเพื่อจับกุมผู้ขับขี่ Uber ทั่วกรุงเทพ และจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกแจ้งว่าการให้บริการ Uber นั้นเป็นเรื่องผิดกฎหมายนั่นเอง…ถ้าให้เจาะจงก็คือผิดกฎหมายเพราะการใช้รถผิดประเภท(รถส่วนบุคคลป้ายดำ)ในการรับจ้างขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ฐานใช้รถยนต์ผิดประเภทจากที่จดทะเบียนไว้ ไม่ใช้มาตรค่าโดยสารตามที่ทางราชการกำหนด
แคมเปญแก้ไขกฎหมาย Uber และ GrabCar
และในตอนนี้ในโลกออนไลน์ก็กำลังมีการขอเสียงสนับสนุนให้มาร่วมลงชื่อบนเว็บไซท์ change.org เพื่อเรียกร้องให้ Uber และ GrabCar ได้เป็นบริการที่ถูกกฎหมายซะที…เพราะหลายๆเสียงที่เรียกร้องก็ไปในทางเดียวกันว่า ถึง Uber จะผิดกฎหมาย แต่ก็เป็นบริการรถโดยสารที่ดีกว่า Taxi ปกติในทุกๆด้าน หลักๆ เลยคือ ไม่ปฏิเสธผู้โดยสาร ผู้ให้บริการส่วนใหญ่สุภาพ บริการดี สะอาด ระบุสถานที่รับ-ส่งได้จากแอป เรียกที่ไหนก็ได้ ตอนไหนก็ได้ ล่าสุดตอนนี้มีคนร่วมลงชื่อราว 7,000 คน เข้าไปแล้ว และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากแคมเปญใน change.org แล้ว ตอนนี้ทาง Uber เองก็ได้ออกมาขอเสียงสนับสนุนบริการของตนเองด้วยเช่นกันผ่านทางเวบไซต์ https://action.uber.org/th/ โดยเน้นการรณรงค์ให้สามารถประกอบกิจการประเภทร่วมเดินทางหรือ ridesharing ได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่ง พรบ. รถยนตร์ ปี 2522 นั้นไม่รองรับบริการประเภทนี้ จึงอยากให้มีการร่างกฏหมายบริการร่วมเดินทางนี้ใหม่ โดยมีการชี้ให้เห็นว่าบริการร่วมเดินทางนั้นแตกต่างจากรูปแบบของรถแท็กซี่ โดยชูจุดเด่นเรื่องการบริการที่ดีกว่า ไม่ปฎิเสธผู้โดยสาร เรียกใช้งานได้สะดวก ทราบราคาค่าโดยสารก่อนคร่าวๆ ซึ่งบนหน้าเวบไซต์ของ Uber เองก็ได้รายชื่อไปราวๆ 6,000 รายชื่อแล้ว
จากจุดนี้ถ้ามองกันแบบตรงไปตรงมาคือ Uber ทำผิดกฎหมายแน่ๆ เพราะบ้านเรายังไม่ยอมรับบริการแบบนี้ และทางหน่วยงานของรัฐเองก็มีการเรียกไปเจรจาหลายครั้งแล้วแต่ก็ดูเหมือนจะยังตกลงกันไม่ได้ ซึ่งรายละเอียดในส่วนนี้เราเองก็ไม่ได้ทราบว่ามีปัญหาอะไรในการเจรจา ทำไมถึงปิดดีลกันไม่ลง และตกลงกันไม่ได้ ซึ่งทาง Uber เองก็ผิดที่ยังแอบเปิดให้บริการมาโดยตลอด ด้านรัฐเองก็น่าจะหามาตรการหรือวิธึอื่นๆ มาช่วยรองรับการบริการในรูปแบบนี้ไม่ใช่จะมาสั่งปิดกันไปเลย เพราะถ้ามองไปยังประเทศเพื่อนบ้านหลายๆ ประเทศเองก็ยังไม่มีกฎหมายออกมา แต่ก็มีการสร้างกฏระเบียบอื่นๆ ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับบริการหลักอย่าง Taxi และจำกัดสิทธิ์ของบริการประเภท ridesharing เพื่อจะได้ไม่มาแย่งลูกค้ากันไปแทน ซึ่งงานนี้ก็ไม่รู้ว่าเรื่องในบ้านเราจะจบลงแบบไหน คงต้องคอยตามดูกันต่ออีกทีว่าการล่ารายชื่อจะส่งผลอะไรได้หรือไม่
สู้กันต่อไป
อันดับแรกคนขับ Uber ต้องมีใบขับขี่สาธารณะ รถต้องเปลี่ยนเป็นป้ายเหลืองด้วย ต้องรับข้อนี้นะ
+1
เห็นด้วยครับ ไม่งั้นก็เป็นการเอาเปรียบเกินไป รถควรจะต้องมีสัญลักษณ์ชัดเจนว่าเป็น uber
ไหนจะเรื่องค่าประกัน(ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น) การเสียภาษีอีก(มีรายได้จากรถ)
มีเรื่องภาษีและประกันภัยอีกด้วยครับ
ถ้า Taxi ธรรมดายังนิสัยแย่ ปฎิเสธผู้โดยสาร รถเหม็น ไล่ผู้โดยสารลลง ส่งไม่ถึงที่หมาย พูดจาไม่ดี รถสกปรก ถ้าแก้ไขเรื่องพวกนี้ไม่ได้ก็ควรให้ประชาชนมีทางเลือก
ออกแคมเปญรวมชื่อรวมคนเยอะๆช่วยพวกเลี่ยงกฏหมาย (ผมว่ามันคุ้นๆนะ)
คิดแก้กฏหมาย แก้ตัวเองให้ถูกก่อนดีไหม ใบขับขี่ เสียภาษี ทำป้ายเหลือง
(มันไม่ง่ายใช่ไหมหล่ะ พวกแท๊กซี่มันก็ทำมาหมด มันถึงไม่ยอมไง)
เมื่ออยู่ในระบบ กรมขนส่ง แล้วระบบ มันห่วย ควบคุมไม่ได้ Taxi ธรรมดานิสัยแย่ ปฎิเสธผู้โดยสาร รถเหม็น ไล่ผู้โดยสารลง คนขับรถแต่งตัวไม่ดี ส่งไม่ถึงที่หมาย พูดจาไม่ดี รถสกปรก โกงมิเตอร์ ในขณะที่ Uber หากมีผู้ร้องเรียน เขาพร้อมจะตัดคันนั้นออกจากระบบ สะดวก จ่ายด้วย บัตรเครดิตได้ Uber รู้สึกปลอดภัยกว่า ทำไมต้องบังคับให้ใช้ ของห่วย และ ให้เหตุผลแค่ว่าของห่วยถูกกฏหมาย
การที่เรียกร้องให้ uber ทำป้ายเหลือง + ใบขับขี่สาธารณะ แสดงว่ายังไม่เข้าใจถึงต้นตอของสาเหตุที่คนเรียกร้อง
ในเมื่อป้ายเหลืองและใบขับขี่สาธารณะมันไม่ได้ตอบโจทย์ของมัน เช่น คนขับต้องนิสัยดี ขับมีมารยาทเคารพกฎจราจร
เมื่อมันไม่ตอบโจทย์ตรงนี้ก็ต้องหาทางเลือกอื่น
ไม่ใช่ว่าให้ปล่อยขับกันมั่วเหมือน uber ทุกวันนี้ก็ได้ เช่น ให้มีการสอบใบขับขี่พิเศษ ทำทะเบียนรถสาธารณะแบบชั่วคราว
คือออกกฏหมายใหม่ขึ้นมาเพื่อรองรับ อะไรที่คิดว่าจำเป็นต้องควบคุมก็ใส่เข้าไป อยากให้ทำประกันเพิ่ม หรือให้จ่ายภาษีก็คุมไป
ให้คนทั่วไปสามารถขับ uber ได้ไม่ยาก. แต่ก็อยู่ในการควบคุม
หรือถ้าจนแต้มจริงๆ ไม่อยากเสียระบบ taxi เดิมไป ก็ทำเข้าสิ uber แห่งชาติไทย ทำได้รึเปล่าหละ
ซึ่งผมว่าก็ทำไม่ได้ ระบบราชการไทยไม่ถนัดที่จะทำอะไรที่มันต่อเนื่อง นานๆ เสมอต้นเสมอปลาย และโดนตรวจสอบ
อ่านเจอบางคอมเมนต์ในโซเชี่ยล
เค้าว่าต้องเอาข้อแย้งที่ว่า UBER ไม่ใช่รถสาธารณะรับจ้าง
แต่เป็นการแชร์รถระหว่างสมาชิกในกลุ่ม
เหมือนการใช้รถร่วมกันโดยมีค่าใช้จ่ายตามที่ตกลง
เพราะคนที่จะใช้ UBER ต้องสมัครสมาชิก และเวลาเรียกก็เรียกได้เฉพาะสมาชิก
ไม่เหมือนรถสาธารณะที่จะต้องคอยยืนๆรอ หรือคอยโบกเรียก
และ UBER ก็ไม่รับคนที่โบกเรียกตามข้างทางนะ จึงไม่ใช่รถสาธารณะแบบแท็กซี่
หากเรามองประเด็นนี้ก็น่าคิดนะครับ ว่าเป็นแบบนั้นจริงๆ
แล้วถ้าเอาข้อนี้ไปแย้ง จะเป็นยังไงต่อ…