เป็นวันที่สองติดต่อกันแล้วสำหรับปัญหาบีทีเอสขัดข้องจนทำให้บริการล่าช้าเป็นชั่วโมง ซึ่งมีการคาดการณ์จากหลายฝ่ายถึงสาเหตุของปัญหาเพราะการแถลงของบีทีเอสไม่มีความแน่ชัด ล่าสุดทางกสทช.ได้ออกมาให้ยืนยันหนึ่งในสาเหตุแล้ว นั่นคือตัวควบคุมการเดินรถเปลี่ยนมาใช้ระบบไร้สาย โดยใช้คลื่น 2.4 GHz คลื่นเดียวกับที่ให้บริการ WiFi จึงทำให้มีการกวนของสัญญาณ และเกิดปัญหาต่างๆตามมานั่นเอง
สำหรับข้อมูลนี้ได้ถูกเปิดเผยโดย นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. ซึ่งได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจไว้หลายเรื่องดังนี้ครับ
เตือนไม่ฟัง ยังทำต่อ
ก่อนหน้าที่ BTS จะเปลี่ยนมาใช้ระบบควบคุมใหม่นี้ มีการยื่นเรื่องเข้าไปขอใช้งานที่ กสทช. มาก่อน (อุปกรณ์ที่ใช้งานคลื่นความถี่ในประเทศทั้งหมดต้องผ่านการอนุมัติจากกสทช.) ซึ่ง ณ เวลานั้นทางกสทช. ก็ได้มีการแจ้งไปยังบริษัทแล้ว ว่าการใช้งานคลื่น 2.4 GHz นี้ มันเป็นคลื่นสาธารณะใครๆก็ใช้งานได้ เช่น Router ปล่อยสัญญาณ WiFi ต่างๆก็ใช้คลื่นนี้, Drone ก็ใช้คลื่นนี้ หลายครั้งที่เราใช้งาน WiFi ในที่คนหนาแน่นไม่ได้ก็เพราะมีคนใช้แย่งใช้งานคลื่นนี้กันเกินความสามารถของคลื่นนั่นเอง ดังนั้นมีความเสี่ยงที่จะถูกกวนถูกแทรกจนทำให้ใช้งานไม่ได้สูง ยิ่ง BTS ให้บริการในเมืองเป็นหลักด้วยแล้ว ไม่เหมาะสำหรับการนำมาทำรับบควบคุมการเดินรถมาก ทางบริษัทก็ทราบถึงความเสี่ยงแต่ก็ยังดำเนินการต่อไป
ป้องกันได้ แต่(ยัง)ไม่จ่าย
ทางคุณก่อกิจได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่าแม้การใช้งานคลื่น 2.4 GHz จะมีความเสี่ยง แต่ก็พอจะป้องกันได้หากทางบีทีเอสมีการลงทุนสร้างระบบป้องกันการกวน อย่างไรก็ดีการทำระบบป้องกันนี้เห็นว่ามีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง แต่ทางคุณก่อกิจก็แนะนำให้ทางบีทีเอสจัดการเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว หรือเปลี่ยนไปใช้คลื่นอื่นไปเลย ซึ่งทางกสทช. บอกว่ามีย่านอื่นให้เลือกใช้อยู่แล้ว
ดีแทคปิดสัญญาณ 2300MHz ตลอดเส้น BTS แต่แก้ปัญหาไม่ได้
เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาทาง dtac ได้เข้าร่วมทดสอบแก้ไขปัญหารถไฟฟ้า BTS ใช้งานไม่ได้โดยทำการปิดเสาสัญญาณไป 22 Cell Site ตลอดเส้น BTS แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ดังที่เห็นว่าในช่วงเช้าของวันนี้ก็ยังเกิดปัญหาอยู่
บีทีเอสเตรียมย้ายคลื่น แก้ไขปัญหาเสร็จ 29 มิ.ย.
อย่างไรก็ดีมีการเปิดเผยว่าทางบีทีเอสได้ใช้งานคลื่นช่วง 2370 MHz ในการให้บริการช่วงก่อนหน้านี้ พยายามเลี่ยงช่วงคลื่นที่หนาแน่นบริเวณ 2400 MHz แต่คลื่นนี้จะค่อนข้างใกล้กับคลื่นที่ดีแทคและทีโอทีเพิ่งนำมาเปิดให้บริการ โดยมีสัมปทานอย่างถูกต้อง ในช่วงคลื่น 2310-2370 MHz ดังนั้นการกวนสัญญาณจึงเกิดขึ้นง่ายกว่าเดิม และกำลังส่งของสถานีฐานก็มีความแรงมากอีกต่างหาก ด้วยความที่ตัวบีทีเอสเองก็ไม่น่าจะมีสิทธิ์ในการใช้งานช่วงคลื่นนี้ (ก่อนหน้านี้คือเนียน??) จึงเตรียมเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่และย้ายไปใช้คลื่น 2400 MHz ช่วงปลาย เพื่อให้ห่างไกลคลื่น 2300 MHz นั่นเอง และจะลงระบบได้แล้วเสร็จภายในวันที่ 29 มิ.ย.61
สรุปแล้วจริงๆ dtac-T 2300MHz ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของการที่ BTS ขัดข้องด้วยนั่นแหละ แต่เพียงว่า dtac เค้าไม่ได้ผิด อารมณ์ว่าเจ้าของตัวจริงเข้ามาใช้งาน คนที่ไม่ใช่ก็ต้องหลบไป แต่ที่ที่เค้าจะไปอยู่ได้ก็ดันเป็นที่สาธารณะ มีคนแย่งใช้กันเต็มไปหมดจนให้บริการไม่สะดวกนั่นเอง
สอบถามครับคลื่น 2600 MHz ในอนาคตนี่ชัวร์ใช่ไหมครับที่จะเอามาใช้ในไทย
จะได้ดูมือถือที่รองรับคลื่นนี้ไว้เลย
กว่าจะได้ใช้ก็อีก 9 ปีครับ
ตอนนี้เหมือน MCOT เจ้าของคลื่น พึ่งเอาไปใช้กับการดูทีวีกับให้บริการเน็ต
น่าจะได้ชัวร์ครับ เค้าไม่ปล่อยว่างแน่ๆ มีมูลค่าทั้งนั้น เมื่อไหร่นี่อีกเรื่อง ถ้ามันกว้างแบ่งมาใช้ได้ก็อาจจะไม่นาน
เป็นไปได้ครับ เพราะ กสทช เคลียร์กับ อสมท เรื่อง 2600 เรียบร้อยแล้วครับ คงต้องรอ ประมูล 1800 & 900 ให้จบก่อน ในเดือน สค นี้ แล้วคงเริ่มพูดถึง 2600 คับ
แน่นอนครับ กสทช deal กับ mcot จบแล้ว น่าจะหลังจากประมูล 900 & 1800 นะครับ คงจะมีการพูดถึง 2600
ก่อนหน้านี้เห็นว่าใช้ระบบ สายอยู่ อยากรู้ว่า ทำไมถึงย้ายมาเป็น Wireless หรอครับ เพราะอะไรที่ต้อง ติดตั้งอยู่กับที่ อย่างไง สายก็น่าจะ เสถียรกว่า
ค่าเมนเทรนเน้นครับยิ่งเก่ายิ่งแพง เทคโนโลยีบางอย่างเลิกผลิตหาอะไหล่ทดแทนไม่ได้ ลงทุนใหม่บางอย่างคุ้มค่ากว่าครับ
2600อสมท.เพิ่งเปิดตัวกับบริษัทหนึ่ง ทำทีวีบอกรับแล้ว….
ถ้ามีการฟ้องร้องค่าเสียหาย และค่าเนียนละเมิดกฏใช้คลื่นความถี่โดยไม่ได้รับอนุญาต สุดท้ายโดนปรับ กลับมาที่ค่าโดยสารแพงขึ้นเพราะมีค่าปรับ แบบนี้ถูกต้อง คนไทยรับได้ไหมครับ เพื่อให้ถูกต้อง แต่เสียผลประโยชน์ส่วนรวมบางส่วน
อยู่ ๆ จะขึ้นค่าโดยสารเอง ทำไม่ได้หรอก
ด้วยความที่ตัวบีทีเอสเองก็ไม่น่าจะมีสิทธิ์ในการใช้งานช่วงคลื่นนี้ (ก่อนหน้านี้คือเนียน??)
ขำสำนวนเขียนข่าวจัง มีความจิกกัด ที่แฝงไปด้วยความตลก แม้จะเป็น Fact ก็เถอะ
อ่านไป ก็อดขำไม่ได้จริงๆ ชอบๆๆ 5555555
เอาจริงๆ มันแทบไม่มีทางกวนกันได้เลยนะ Codec ของ Cellular มันคนละชนิดกับ CDMA ของ Wifi ฉะนั้นหากจะกวนได้ wifi ของ access point ตามค่ามือถือที่ BTS อนุญาติให้ติดตั้งมีผลมากกว่าคลื่น 2300 ของ DTAC ด้วยซ้ำ และ DTAC เองได้ Prove โดยการปิดเสาสัญญาณ 2300 ตาม แนว BTS ไปเมื่อเช้าแล้วด้วย
https://www.blognone.com/node/103388
Codec มันคนละตัว แต่มันก็ใช้งานบนคลื่นเดียวกันครับ หากคลื่นมันถูกใช้งานจนหนาแน่นยังไงก็นิ่งครับ
ผมคิดว่าความแรงของกำลังส่งนะครับ ถึงจะใช้งานคนละความถี่และมีการป้องกันการรบกวนดีแล้วก็ตามแต่เสาส่งใกล้กันย่อมจะมีความแรง (RF)ของอีกฝ่ายกดทับได้เสมอ ถูกรึผิดไม่แน่ใจ555
แก้แบบมักง่ายโดยการไปใช้ 2.4GHz อยู่ดี
คลื่น2400 (2.4ghz) เป็นคลื่นที่ไม่ได้รับการคุ้มครองครับ
ย้ายไป 2.4GHz ช่วงปลาย………เอาปลายแบบหนี WiFi 802.11b พ้น ก็แทบไม่เหลือช่องให้ใช้งานละ
อีกหน่อย คงห้ามเปิด WiFi hotspots ขณะใช้บริการ
BTS ใช้ระบบ CTBC ของบอมบาเดียร์ ซี่งเป็นสากลทั่วโลก ความถี่ 2.4 GHZ ครับ (ที่มา อ.วิศวะระบบราง) จะเขียนข่าวแบบนี้ก็ไม่เป็นธรรมนะครับ
ไหนว่า bomberdia เป็นคน maintain project นี้เค้าน่าจะเตือนแล้ว แต่ bts ไม่ฟังรึเปล่า เพราะไม่อยากลงทุนเพิ่ม แต่จริงๆ ก็ไม่น่าปล่อยหลุดมาจนงานช้างขนาดนี้นะ เพราะเค้าก็ทำมาเยอะทำมาทั่วโลก ถ้าจะมีปัญหาด้วยตัวอุปกรณ์ของระบบก็น่าจะมีทางแก้หรือมีประสบการอยู่แล้ว งานนี้ขอเดาว่า bts งก ล้วนๆ
#งานมโนล้วนๆ โปรดตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนวิจารณ์
หากรู้ทั้งรู้ว่าไม่ควรใช้ แต่ยังดื้อแพ่ง อันนี้เขาเรียกว่า "มักง่าย"
แล้ว กสทช ทำไมไม่บังคับใช้กฎหมายเรื่องการใช้คลื่นให้ถูกต้องหละ
ทำใจครับ ประชาชนชาว กทม การเดินทางของคุณ เราควบคุมไว้ในมือหมดแล้ว …. ไม่มีทางเลือกไง
ผมไม่มีความรู้แต่กำลังคิดว่า ทำไม BTS ไม่ใช้ IoT ของค้ายมือถือไปเลย AIS ก็มี TRUE MOVE ก็มี จบ ไม่ต้องมาหาคื่นเอง
งานควบคุมรถไฟฟ้าทั้งระบบต้องทำงานแบบ realtime ครับ ไม่สามารถใช้เครือข่ายสำหรับ IoT ซึ่งมีความเร็วต่ำมากๆ มี delay มาก ไม่ได้
IOT ของ AIS และ TRUE เป็น NB-IOT นะครับ ถูกออกแบบเพื่อรองรับ การใช้งานที่มีปริมาณการเชื่อมต่อจำนวนมหาศาล ( 1 ล้านการเชื่อมต่อ ต่อ พื้นที่ 1 ตร.กม) แต่ NB-IOT ไม่ได้ถูกออกแบบเพื่อรองรับความเร็วสูงนะครับ
จริง ๆ แล้ว กสทช เตรียมความถี่สำหรับให้บริการ High-Speed Train (885-890MHz and 930-935MHz) ไว้แล้ว แต่จะเริ่มว่างให้ใช้งานได้ หลังจาก กลาง กย 2561 (หลัง DTAC หมดสัญญาณสัมปทาน 850MHz)
ปล สำหรับ IOT มันสามารถ แบ่งย่อย เป็น 2 ประเภท หลัก ๆ
1) Unlicense IoT = เป็นการให้บริการ IoT บนความถี่ที่ไม่ต้องขออนุญาต ใช่ ความถี่ WiFi (2.4 & 5 GHz) หรือ ความถี่ BlueTooth
2) License IoT = เป็นการให้บริการ IoT บนความถี่ที่ต้องขออนุญาต ใช่ 800, 900, 1800 MHz ซึ่ง Operator ทั่วโลก นิยม แบบนี้ เพราะสามารถใช้ความถี่ที่มีอยู่ในการให้บริการได้เลย โดย License IoT ยังแบ่ง ได้อีก 3 Level ตามความเร็วคือ
2.1) NB-IoT = Narrow Band IoT ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น รองรับ Speed ไม่เกิน 100kbps
2.2) eMTC = รองรับ Speed 1Mbps
2.3) 4G/4.5G/5G IoT = รองรับ Speed 10Mbps ขึ้นไป
ปัจจุบัน Operator ทั่วโลก สนใจ NB-IoT เป็นหลัก และ สนใจ eMTC รอลงมาครับ ส่วน 4G/4.5G/5G IoT น่าจะถูกพูดถึงมากขึ้นหลักจากเริ่มมีการให้ 5G บริการแล้ว
อย่างไรก็ดีมีการเปิดเผยว่าทางบีทีเอสได้ใช้งานคลื่นช่วง 2370 MHz ในการให้บริการช่วงก่อนหน้านี้ พยายามเลี่ยงช่วงคลื่นที่หนาแน่นบริเวณ 2400 MHz แต่คลื่นนี้จะค่อนข้างใกล้กับคลื่นที่ดีแทคและทีโอทีเพิ่งนำมาเปิดให้บริการ โดยมีสัมปทานอย่างถูกต้อง ในช่วงคลื่น 2310-2370 MHz ดังนั้นการกวนสัญญาณจึงเกิดขึ้นง่ายกว่าเดิม และกำลังส่งของสถานีฐานก็มีความแรงมากอีกต่างหาก ด้วยความที่ตัวบีทีเอสเองก็ไม่น่าจะมีสิทธิ์ในการใช้งานช่วงคลื่นนี้ (ก่อนหน้านี้คือเนียน??) -> กสทช และ DTAC ควรจะฟ้องร้อง BTS ที่ขโมยความถี่ไปใช้ โดยไม่ได้รับอนุญาต
ถ้ามีคำว่า "รู้ว่าจะเกิดเหตุแบบนี้แต่ไม่ป้องกัน" คงต้องถามว่า กสทช ทำอะไรบ้าง นอกจากจะบอกว่า BTS ผิด ในเมื่อ กสทช เป็นหน่วยงานกำกับคลื่นความถี่ทั้งหมดของประเทศ
ใครงกและไม่รัดกุม ทำไมไม่เสนอออกข้อบังคับแยกคลื่นเพื่อการคมนาคมและการสื่อสารออกมาให้ชัดเจน