เหลืออีกไม่กี่วันก็จะถึงวันประมูลคลื่น 5G กันแล้ว กระแสข่าวช่วงนี้ถาโถมเข้ามาเยอะเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็นข่าว CEO ดีแทคลาออก, รวม TOT – CAT กลายเป็น NT  และราคาประมูลคลื่นที่สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก(คลื่น 2600 MHz) ทำให้การประมูลคลื่น 5G รอบนี้ดูท่าทางน่าจะวุ่นวายกันสุดๆ ซึ่งทาง กสทช. ล่าสุดก็ได้ออกมาเผยผลสำรวจที่ระบุว่า “หากเอกชนค่ายใดไร้คลื่น 5G ลูกค้าเตรียมย้ายหนีกว่า 90% แน่นอน”

ในวันที่ 4 ก.พ. 2563 นี้ ทาง กสทช. จะได้ข้อสรุปทั้งหมดเกี่ยวกับผู้ประกอบการโทรคมนาคม (โอเปอเรเตอร์) ว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมูลกี่ราย และประมูลทั้งหมดกี่ย่านความถี่ ซึ่งทาง กสทช. ยืนยันว่าจะประมูลคลื่น 5G จำนวน 4 ย่านความถี่เหมือนเดิมคือ คือ 700, 1800, 2600 MHz และ 26 GHz (ไม่มีคลื่น 3500 Mhz) ในวันที่ 16 ก.พ. นี้

 700 MHz

1800 MHz

2600 MHz

 26 GHZ

คลื่นความถี่ต่อใบอนุญาต2×5 MHz2×5 MHz10 MHz100 MHz
จำนวนใบอนุญาต3 ใบ7 ใบ 19 ใบ27 ใบ
ราคาต่อใบอนุญาต8,792 ล้านบาท12,486 ล้านบาท1,862 ล้านบาท300 ล้านบาท

ทาง กสทช. เชื่อว่า คลื่น 2600 MHz ที่จะเปิดประมูลคลื่นละ 10MHz ทั้งหมด 19 ใบ ตกใบละ 1,862 ล้านบาทนั้น จะสามารถปิดประมูลได้หมดทุกใบ เพราะเป็นคลื่นที่เหมาะสมกับการทำคลื่น 5G ที่สุด และสามารถพัฒนาจาก 4G ได้ง่ายที่สุดด้วย ดังนั้นหากเกิดกรณีที่มีผู้ร่วมประมูลคลื่น 2600MHz แค่ 2 ราย คลื่นก็จะมีจำนวนแบ่งได้เพียงพอโดยไม่ต้องแข่งขันบิดราคากันมากนัก (คลื่น 2600 MHz สามารถประมูลได้สูงสุด 10 ใบอนุญาต/เจ้า)

ส่วนข่าวที่ CEO ดีแทคลาออกกะทันหันนั้น นายฐากร เลขาธิการคณะกรรมการ กสทช. ได้ให้ความเห็นไว้ว่า

ใครจะเปลี่ยนผู้บริหารกันยังไงก็ไม่กระทบการประมูล ดีแทคจะเข้าหรือไม่เข้า ผมไม่รู้ แต่รายอื่นเชื่อว่าเข้าประมูลแน่

พร้อมกับกล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผ่านแอปพลิเคชันพฤติมาตร ระบุว่า “ผู้ประกอบการรายใดไม่เปิดให้บริการ 5G ตามที่กำหนดไว้ ลูกค้ากว่า 90% พร้อมย้ายไปใช้บริการของโอเปอเรเตอร์รายอื่นที่มีแผนเปิดบริการ 5G ที่ชัดเจน ดังนั้นถ้าอยากให้ธุรกิจเดินหน้าต้องเข้าประมูล และหากไม่เข้าประมูล ก็จะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือกับลูกค้าได้”

แอปพฤติมาตร บน Android หายไปตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่รู้ ส่วน iOS ยังอยู่ให้โหลดได้

อย่างไรก็ตามในข่าวไม่ได้ระบุว่า ผลสำรวจบนแอปพลิเคชันพฤติมาตรนั้น ได้สำรวจมาจาก คนกี่คน อายุเท่าไร เพศไหน หรือใช้เครือข่ายอะไรอยู่ แต่การที่แต่ละค่ายไม่มีทิศทางในการพัฒนาที่ชัดเจน ก็น่าจะสร้างความกังวลให้กับกลุ่มลูกค้าเหมือนกัน

กสทช. พร้อมใช้อุปกรณ์โทรคมนาคมทั้งจากอเมริกาและจีน

นอกจากนี้ กสทช. ยังยืนว่า ตัวเองเป็นกลางกับผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม (Telecom Vendors) ทุกค่ายทุกฝ่าย ทั้งทาง Huawei ฝั่งของจีน และ Intel, Cisco, Qualcomm และ IBM ของสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมให้ดียิ่งขึ้น โดยมองที่ผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลักไม่ได้เข้าข้างใคร และจะเริ่มเปิดใช้ 5G ที่สนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองก่อนเป็นที่แรกๆ

 

ที่มา : bangkokbiznews, bangkokpost