การล่ารายชื่อใน change.org นั้นไม่สามารถยับยั้งให้มีการตรวจสอบ พ.ร.บ. คอมฯ ได้ เพราะถึงแม้จะได้มาถึง 3 แสนรายชื่อ แต่ก็ไม่มีทีท่าว่าจะพิจารณามาตราบางข้อที่มีการร้องเรียนให้ทบทวนได้ และ พ.ร.บ. คอมฯ ก็ได้ผ่านการลงคะแนนเสียงผ่านไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย แต่เรื่องนี้ยังไม่จบ เพราะยังเหลือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่จะนำมาใช้คู่กัน และมีความน่ากลัวไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า พ.ร.บ. คอมฯ ที่เพิ่งผ่านพ้นไป
โดยหลักการและเหตุผลหลักของร่างฉบับนี้ นั้นมีไว้ “เพื่อให้ประเทศไทยสามารถปกป้อง ป้องกัน หรือรับมือกับสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่ส่งผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม หรือการให้บริการโดยปกติของดาวเทียม ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงของชาติในมิติต่างๆ อันครอบคลุมถึงความมั่นคงทางการทหาร ความสงบเรียบร้อยในประเทศ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ”
โดยจะมีการจัดตั้ง คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ กปช. (มาตรา 6) โดยจะมีรัฐมนตรีและปลัดจากกระทรวงต่างๆ ผู้บังคับการกองปราบปราม และผู้ทรงคุณวุฒิอีก 7 ท่าน ซึ่งนอกจาก กปช. แล้วยังจัดตั้ง “สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ” เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ไม่เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
อำนาจของ กปช. นั้นสามารถสั่งการได้ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน โดยสามารถสั่งการให้ป้องกัน แก้ปัญหา หรือบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ และหากหน่วยงานภาครัฐใดไม่ทำตามก็ถือว่ามีความผิดตามมาตรา 31-33 และถ้าภัยคุกคามไซเบอร์นั้นเกี่ยวข้องกับการเงิน ก็สามารถสั่งหน่วยงานเอกชนได้ ตามมาตรา 34
กปช. ยังสามารถเข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสารได้ทันที โดยไม่ต้องขอหมายศาล ในมาตรา 35 นั้นมีการระบุอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสารต่างๆ ได้ทันที
มาตรา 35 วรรค 3 ระบุว่า กปช. สามารถเข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสารทั้งไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการสื่อสารสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศใด เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยไม่มีการระบุเงื่อนไขในรายละเอียด เพียงแต่ทิ้งเอาไว้ว่าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
โดยผลจากการนำเสนอร่างนี้เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมานั้น คณะกรรมาธิการ สปท. เห็นว่าร่างนี้มีเนื้อหาเป็น “เชิงรับ” น่าจะมีการเพิ่มมาตรการ “เชิงรุก” เพื่อตอบโต้การโจมตีจากต่างประเทศ
แน่นอนว่าในร่าง พ.ร.บ ไซเบอร์ฉบับนี้ จุดที่น่าสนใจและเป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดคือมาตรา 35 วรรค 3 ที่คณะกรรมาธิการเสนอในการประชุมว่าควรมีการถ่วงดุลโดยให้เจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลก่อน แต่ก็มียกเว้นกรณีเร่งด่วนเอาไว้ว่าสามารถดำเนินการก่อนค่อยขอหมายศาลก็ได้ (หือ?)
ทุกท่านสามารถอ่านความเห็นจากการคณะกรรมาธิการได้จาก ระเบียบวาระการประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ครั้งที่ ๖๐/๒๕๕๙ วันจันทร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
และใครที่สนใจสามารถเข้าไปโหลดอ่านร่างฉบับเต็มได้ที่ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
source : thainetizen via blognone
เอาแล้วไง ………. บอกลาความเป็นส่วนตัวได้เลย
นึกถึงเกาหลีเหนือขึ้นมาทันที…..
ต่อไปจะได้กราบท่านผู้นำรึเปล่านี้
ไปล่ะซะแว๊ป………..
Droidsans จะเอาดีทางนี้แล้วหรือครับ
ทางไหนหรอครับ
ข่าวก็ไม่ได้เสียหายอะไรนี่ครับ ความจริงล้วนๆ
ถ้าไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดคงไม่มีใครอยากจะดักฟังโทรศัพท์ของท่านหรอกครับ
จั่วหัวแบบสรุปเสร็จสรรพเลย
สงสัยมีปม
ไว้อาลัยให้เสรีภาพ ข้อมูลข่าวสาร คนไทย สัก 1 นาที
มันไม่ได้เกี่ยวกับว่าทำผิดหรือไม่ทำผิดหรอกครับ มันอยู่ที่สิทธิเสรีภาพล้วนๆ มีประเทศไหนเค้าทำกันนอกจากเกาหลีเหนือ ?
ก็คงคล้ายๆกับมีคนเอากล้องวงจรปิดมาตั้งเอาไว้ในห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องน้ำของท่าน ซึ่งก็แน่นอนว่าคนที่มอนิเตอร์กล้องวงจรปิดอยู่ก็คงไม่ได้ดูกล้องวงจรปิดอยู่ตลอดเวลาหรอก~
แต่อย่างว่าแหละครับ ไม่ได้ทำอะไรผิดจะกลัวไปทำไม~
งั้นผมขอรหัสเฟส นะครับ (รัฐบาลไม่ขอนะครับ เขาเอาไปใช้ได้เลย)
ชอบให้คนมาติดตามพฤติกรรมในชีวิตประจำวันหรอครับ
ชอบให้คนมาติดตามพฤติกรรมในชีวิตประจำวันหรอครับ
รัฐบาลนี้ สามารถทำให้ผมเห็นอสมการในชีวิตจริง 167>300,000
อิอิ
บางเม้นก็ตลกดีนะ เสรีภาพส่วนตัวของเราเองจะมีคนมาละเมิดแอบดักฟังได้โดยไม่ต้องขอศาล กลับบอกว่าไม่ได้ทำผิดคงไม่มีใครมาแอบฟัง เสรีภาพความเป็นส่วนตัวของเรายังไม่อยากรักษากันเลยรึ
เอายังงั้นเลย
เห้อออๆๆๆๆ ถอนใจยาว เขาทำเพื่อประชาชนหรือใครกันแน่
ลบ
มาตรา 17 ข้อ 1 ดูมันกว้างมาก ๆๆๆๆๆ "ความมั่นคงปลอดภัย"
"ถ้ามีคนมา follow IG เยอะ ๆ" รู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน จะของส่องดูข้อมูลทุคคนที่กดติดตามได้ไหม ?
มาตรา 35 ให้เยอะไปปะ
การเข้าถึงข้อมูลการติตต่อสื่อสาร ควรจะมีการควบคุมหน่อย
ให้อนุญาตเป็นเรื่อง ๆ ไป
มาตรา ๒๐ ….
อย่างนี้นักลงทุนก็สนุกซิครับ ยัดใต้โต๊ะหน่อย หรือให้พวกพ้อง ช่วยดูข้อมูลบริษัทคู่แข่ง
หรือพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม
แล้วกำจัดให้สิ้นซาก
ยิ่งการจะฆ่าใครสักคน แค่ดักฟัง ว่าจะไปไหนที่ไหน เมื่อไหร่ ออย่างไร ไปนั่งจิบน้ำชา กาแฟรอเลย
เก็บงานสบายๆ
ใครมีข้อมูลมากกว่าคือผู้ชนะ
คือส่วนใหญ่คนที่เห็นด้วยกับรัฐบาล จะอยู่ในฝั่งที่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจ แล้วคิดว่า รัฐบาลจะใช้เครื่องมือพวกนี้กับอีกฝ่าย เท่านั้น เลยไม่รู้สึกถึงอันตราย เพราะไม่คิดว่าจะมีอันตรายกับตัวเองน่ะครับ
เขานิยาม "ความปลอดภัยมั่งคงไซเบอร์" ยังไงครับ ใช่แบบที่กำลังโจมตีเวป แฮกข้อมูลอะไรแบบนั้นหรือเปล่า ก่อนจะเถียงกัน อยากทราบขอบเขต
โดนครับ เห็นด้วยทุกประการ
คือมันเป็นเรื่องของสิทธิส่วนบุคคล
แต่คนบางกลุ่มดันเอาแนวคิดประเภท
"ไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร" มาสนับสนุน
ช๊อคไปเลย
คำว่า Human Rights ยังคงห่างไกลสำหรับคนไทยจริง ๆ …
ไม่เห็นด้วยกับ single gate way = แม้วจ้างมาโพสท์
เคยเห็นอาการชักดิ้นชักงอไหมครับ
ขอบเขตกว้างดังมหาสมุทร ไม่มีสิ่งใดจำกัดความหมาย ประมาณค่า
กุมอำนาจเบ็จเสร็จในหน่วยงานเดียว ขาดการถ่วงดุลอำนาจ
ดูถูกสติปัญญา ประชาชนผู้มีสิทธิ์มีเสียง ละเมิด เสรีภาพ
ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจ จะยกตัวอย่างง่ายๆเช่น ข้อหาจราจรบทหนึ่งที่ใช้หากินมาเป็น10ๆปี
คือ ดัดแปลงสภาพรถ ขนาดมีกรมขนส่งกำหนดมาให้ มันยังทำไม่ไม่ชี้ีรู้เลย ใช้หากินได้ตลอด
+10
อะไรก็ได้ที่คิดขึ้นมาได้ตอนนั้น หมั่นไส้ใครก็ล้วงลูกได้ตามใจนึก นั่งดูบอลออนไลน์ที่บ้าน ตำรวจอาจมาลากคอละเมิดลิขสิทธิ์ได้ดิ้อๆ ตีความได้ตลอด