การล่ารายชื่อใน change.org นั้นไม่สามารถยับยั้งให้มีการตรวจสอบ พ.ร.บ. คอมฯ ได้ เพราะถึงแม้จะได้มาถึง 3 แสนรายชื่อ แต่ก็ไม่มีทีท่าว่าจะพิจารณามาตราบางข้อที่มีการร้องเรียนให้ทบทวนได้ และ พ.ร.บ. คอมฯ ก็ได้ผ่านการลงคะแนนเสียงผ่านไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย แต่เรื่องนี้ยังไม่จบ เพราะยังเหลือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่จะนำมาใช้คู่กัน และมีความน่ากลัวไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า พ.ร.บ. คอมฯ ที่เพิ่งผ่านพ้นไป
โดยหลักการและเหตุผลหลักของร่างฉบับนี้ นั้นมีไว้ “เพื่อให้ประเทศไทยสามารถปกป้อง ป้องกัน หรือรับมือกับสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่ส่งผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม หรือการให้บริการโดยปกติของดาวเทียม ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงของชาติในมิติต่างๆ อันครอบคลุมถึงความมั่นคงทางการทหาร ความสงบเรียบร้อยในประเทศ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ”
โดยจะมีการจัดตั้ง คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ กปช. (มาตรา 6) โดยจะมีรัฐมนตรีและปลัดจากกระทรวงต่างๆ ผู้บังคับการกองปราบปราม และผู้ทรงคุณวุฒิอีก 7 ท่าน ซึ่งนอกจาก กปช. แล้วยังจัดตั้ง “สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ” เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ไม่เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
อำนาจของ กปช. นั้นสามารถสั่งการได้ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน โดยสามารถสั่งการให้ป้องกัน แก้ปัญหา หรือบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ และหากหน่วยงานภาครัฐใดไม่ทำตามก็ถือว่ามีความผิดตามมาตรา 31-33 และถ้าภัยคุกคามไซเบอร์นั้นเกี่ยวข้องกับการเงิน ก็สามารถสั่งหน่วยงานเอกชนได้ ตามมาตรา 34
กปช. ยังสามารถเข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสารได้ทันที โดยไม่ต้องขอหมายศาล ในมาตรา 35 นั้นมีการระบุอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสารต่างๆ ได้ทันที
มาตรา 35 วรรค 3 ระบุว่า กปช. สามารถเข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสารทั้งไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการสื่อสารสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศใด เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยไม่มีการระบุเงื่อนไขในรายละเอียด เพียงแต่ทิ้งเอาไว้ว่าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
โดยผลจากการนำเสนอร่างนี้เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมานั้น คณะกรรมาธิการ สปท. เห็นว่าร่างนี้มีเนื้อหาเป็น “เชิงรับ” น่าจะมีการเพิ่มมาตรการ “เชิงรุก” เพื่อตอบโต้การโจมตีจากต่างประเทศ
แน่นอนว่าในร่าง พ.ร.บ ไซเบอร์ฉบับนี้ จุดที่น่าสนใจและเป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดคือมาตรา 35 วรรค 3 ที่คณะกรรมาธิการเสนอในการประชุมว่าควรมีการถ่วงดุลโดยให้เจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลก่อน แต่ก็มียกเว้นกรณีเร่งด่วนเอาไว้ว่าสามารถดำเนินการก่อนค่อยขอหมายศาลก็ได้ (หือ?)
ทุกท่านสามารถอ่านความเห็นจากการคณะกรรมาธิการได้จาก ระเบียบวาระการประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ครั้งที่ ๖๐/๒๕๕๙ วันจันทร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
และใครที่สนใจสามารถเข้าไปโหลดอ่านร่างฉบับเต็มได้ที่ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
source : thainetizen via blognone

28 Comments
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
bankkanb Post on December 19, 2016 at 4:14 pm
#969017
เอาแล้วไง ………. บอกลาความเป็นส่วนตัวได้เลย
ytti10 Post on December 19, 2016 at 6:18 pm
#969022
นึกถึงเกาหลีเหนือขึ้นมาทันที…..
ต่อไปจะได้กราบท่านผู้นำรึเปล่านี้
ไปล่ะซะแว๊ป………..
Undenied Post on December 19, 2016 at 7:41 pm
#969026
Droidsans จะเอาดีทางนี้แล้วหรือครับ
ananboyy Post on December 19, 2016 at 8:39 pm
#969031
ทางไหนหรอครับ
ข่าวก็ไม่ได้เสียหายอะไรนี่ครับ ความจริงล้วนๆ
chai2005 Post on December 19, 2016 at 8:51 pm
#969033
ถ้าไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดคงไม่มีใครอยากจะดักฟังโทรศัพท์ของท่านหรอกครับ
jeedz_droid Post on December 19, 2016 at 9:31 pm
#969037
จั่วหัวแบบสรุปเสร็จสรรพเลย
สงสัยมีปม
nokhook Post on December 19, 2016 at 9:52 pm
#969038
ไว้อาลัยให้เสรีภาพ ข้อมูลข่าวสาร คนไทย สัก 1 นาที
nookzswift Post on December 19, 2016 at 10:23 pm
#969039
มันไม่ได้เกี่ยวกับว่าทำผิดหรือไม่ทำผิดหรอกครับ มันอยู่ที่สิทธิเสรีภาพล้วนๆ มีประเทศไหนเค้าทำกันนอกจากเกาหลีเหนือ ?
MartinCKW Post on December 19, 2016 at 10:37 pm
#969041
ก็คงคล้ายๆกับมีคนเอากล้องวงจรปิดมาตั้งเอาไว้ในห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องน้ำของท่าน ซึ่งก็แน่นอนว่าคนที่มอนิเตอร์กล้องวงจรปิดอยู่ก็คงไม่ได้ดูกล้องวงจรปิดอยู่ตลอดเวลาหรอก~
แต่อย่างว่าแหละครับ ไม่ได้ทำอะไรผิดจะกลัวไปทำไม~
ananboyy Post on December 19, 2016 at 11:37 pm
#969042
งั้นผมขอรหัสเฟส นะครับ (รัฐบาลไม่ขอนะครับ เขาเอาไปใช้ได้เลย)
ananboyy Post on December 19, 2016 at 11:39 pm
#969043
ชอบให้คนมาติดตามพฤติกรรมในชีวิตประจำวันหรอครับ
ananboyy Post on December 19, 2016 at 11:40 pm
#969044
ชอบให้คนมาติดตามพฤติกรรมในชีวิตประจำวันหรอครับ
ananboyy Post on December 19, 2016 at 11:42 pm
#969045
รัฐบาลนี้ สามารถทำให้ผมเห็นอสมการในชีวิตจริง 167>300,000
อิอิ
neng15 Post on December 19, 2016 at 11:46 pm
#969049
บางเม้นก็ตลกดีนะ เสรีภาพส่วนตัวของเราเองจะมีคนมาละเมิดแอบดักฟังได้โดยไม่ต้องขอศาล กลับบอกว่าไม่ได้ทำผิดคงไม่มีใครมาแอบฟัง เสรีภาพความเป็นส่วนตัวของเรายังไม่อยากรักษากันเลยรึ
ps000000 Post on December 19, 2016 at 11:46 pm
#969050
เอายังงั้นเลย
theproject Post on December 20, 2016 at 12:05 am
#969056
เห้อออๆๆๆๆ ถอนใจยาว เขาทำเพื่อประชาชนหรือใครกันแน่
Lexins Post on December 20, 2016 at 12:22 am
#969057
ลบ
WhiteCat Post on December 20, 2016 at 12:23 am
#969059
มาตรา 17 ข้อ 1 ดูมันกว้างมาก ๆๆๆๆๆ "ความมั่นคงปลอดภัย"
"ถ้ามีคนมา follow IG เยอะ ๆ" รู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน จะของส่องดูข้อมูลทุคคนที่กดติดตามได้ไหม ?
มาตรา 35 ให้เยอะไปปะ
การเข้าถึงข้อมูลการติตต่อสื่อสาร ควรจะมีการควบคุมหน่อย
ให้อนุญาตเป็นเรื่อง ๆ ไป
มาตรา ๒๐ ….
dampreecha Post on December 20, 2016 at 2:04 am
#969062
อย่างนี้นักลงทุนก็สนุกซิครับ ยัดใต้โต๊ะหน่อย หรือให้พวกพ้อง ช่วยดูข้อมูลบริษัทคู่แข่ง
หรือพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม
แล้วกำจัดให้สิ้นซาก
ยิ่งการจะฆ่าใครสักคน แค่ดักฟัง ว่าจะไปไหนที่ไหน เมื่อไหร่ ออย่างไร ไปนั่งจิบน้ำชา กาแฟรอเลย
เก็บงานสบายๆ
ใครมีข้อมูลมากกว่าคือผู้ชนะ
dr.mai Post on December 20, 2016 at 2:16 am
#969063
คือส่วนใหญ่คนที่เห็นด้วยกับรัฐบาล จะอยู่ในฝั่งที่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจ แล้วคิดว่า รัฐบาลจะใช้เครื่องมือพวกนี้กับอีกฝ่าย เท่านั้น เลยไม่รู้สึกถึงอันตราย เพราะไม่คิดว่าจะมีอันตรายกับตัวเองน่ะครับ
popbkk Post on December 20, 2016 at 3:53 am
#969067
เขานิยาม "ความปลอดภัยมั่งคงไซเบอร์" ยังไงครับ ใช่แบบที่กำลังโจมตีเวป แฮกข้อมูลอะไรแบบนั้นหรือเปล่า ก่อนจะเถียงกัน อยากทราบขอบเขต
INNOV Post on December 20, 2016 at 4:42 am
#969071
โดนครับ เห็นด้วยทุกประการ
คือมันเป็นเรื่องของสิทธิส่วนบุคคล
แต่คนบางกลุ่มดันเอาแนวคิดประเภท
"ไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร" มาสนับสนุน
ช๊อคไปเลย
zkeeper43 Post on December 20, 2016 at 4:58 am
#969072
คำว่า Human Rights ยังคงห่างไกลสำหรับคนไทยจริง ๆ …
iristoh Post on December 20, 2016 at 6:53 am
#969073
ไม่เห็นด้วยกับ single gate way = แม้วจ้างมาโพสท์
koob Post on December 20, 2016 at 4:06 pm
#969081
เคยเห็นอาการชักดิ้นชักงอไหมครับ
Masamu Post on December 20, 2016 at 4:30 pm
#969083
ขอบเขตกว้างดังมหาสมุทร ไม่มีสิ่งใดจำกัดความหมาย ประมาณค่า
กุมอำนาจเบ็จเสร็จในหน่วยงานเดียว ขาดการถ่วงดุลอำนาจ
ดูถูกสติปัญญา ประชาชนผู้มีสิทธิ์มีเสียง ละเมิด เสรีภาพ
ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจ จะยกตัวอย่างง่ายๆเช่น ข้อหาจราจรบทหนึ่งที่ใช้หากินมาเป็น10ๆปี
คือ ดัดแปลงสภาพรถ ขนาดมีกรมขนส่งกำหนดมาให้ มันยังทำไม่ไม่ชี้ีรู้เลย ใช้หากินได้ตลอด
ananboyy Post on December 20, 2016 at 4:56 pm
#969084
+10
thara Post on December 21, 2016 at 4:06 pm
#969177
อะไรก็ได้ที่คิดขึ้นมาได้ตอนนั้น หมั่นไส้ใครก็ล้วงลูกได้ตามใจนึก นั่งดูบอลออนไลน์ที่บ้าน ตำรวจอาจมาลากคอละเมิดลิขสิทธิ์ได้ดิ้อๆ ตีความได้ตลอด