โค้งสุดท้ายก่อนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเริ่มใช้มาตรการปรับธนาคารที่แอปล่มเกิน 8 ชั่วโมงต่อปีในวันที่ 1 มกราคม 2567 นี้ โดยค่าปรับคิดเป็นสูงสุด 5 แสนบาท แล้วถ้าหากยังไม่แก้ไข จะคิดค่าปรับเพิ่ม 5,000 บาทต่อวัน ซึ่งมาดูกันว่าในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ที่ผ่านมานี้จะมีธนาคารใดเข้าข่ายมาตรการบ้าง
สถิติเทคโนโลยีสารสนเทศของธนาคารพาณิชย์ขัดข้อง ปี 2566
สถิติเทคโนโลยีสารสนเทศของธนาคารพาณิชย์ขัดข้อง ไตรมาส 4 ปี 2566
ธนาคาร | Mobile Banking | Internet Banking | ATM / CDM | สาขา |
ธ.ทหารไทยธนชาติ | 1 ครั้ง/ 1 ชั่วโมง | |||
ธ.ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) | 1 ครั้ง/ 3 ชั่วโมง | |||
ธ.ไทยพาณิชย์ | 2 ครั้ง/ 2 ชั่วโมง | |||
ธ.ยูโอบี | 1 ครั้ง / 3 ชั่วโมง | 2 ครั้ง/ 5 ชั่วโมง | ||
ธ.แห่งประเทศจีน จำกัด | 1 ครั้ง / < 1 ชั่วโมง |
จากที่ดูตามสถิติในไตรมาส 4 ปี 2566 ยังไม่พบธนาคารที่มีระบบขัดข้องเกิน 8 ชั่วโมง ไม่ได้เข้าข่ายถูกปรับแต่อย่างใด แต่ก็ยังพบธนาคารบางแห่งที่เกิดระบบขัดข้อง ซึ่งถ้านับจากระบบ Mobile Banking จะมีทั้งหมด 3 ธนาคาร ได้แก่
- ธนาคารทหารไทยธนชาติ ระบบขัดข้อง 1 ครั้ง/ 1 ชั่วโมง
- ธนาคารไทยพาณิชย์ ระบบขัดข้อง 2 ครั้ง/ 2 ชั่วโมง
- ธนาคารยูโอบี UOB ระบบขัดข้อง 1 ครั้ง / 3 ชั่วโมง
ซึ่งในระบบ Mobile Banking ธนาคาร UOB ได้เกิดปัญหายาวนานที่สุดเป็น 3 ชั่วโมง รองลงมาคือ SCB และ ทหารไทยธนชาติ ส่วนระบบ Internet Banking จะมีเพียง UOB ที่เดียวที่ขัดข้องเป็นเวลาถึง 5 ชั่วโมง
ระบบ ATM / CDM จะพบธนาคารทิสโก้ ขัดข้องเป็นเวลา 3 ชั่วโมง และที่สาขา จะพบธนาคารแห่งประเทศจีน ขัดข้องเป็นเวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมงค่ะ
หลังจากที่มีมาตรการห้ามแอปธนาคารล่ม เกิน 8 ชั่วโมง / ปี ออกมาพบว่าสถิติของระบบโมบายแบงก์แต่ละแห่งมีอัตราการล่มน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับ 3 ไตรมาสก่อนหน้า โดยมาตรการดังกล่าวได้เริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2567
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
Comment