เทคโนโลยีทุกวันนี้อะไรๆ ก็สะดวกไปซะหมดจนแทบจะไม่ต้องลุกไปทำอะไรเองกันแล้ว ยิ่งถ้าที่บ้านเรามีอุปกรณ์พวกลำโพงอัจฉริยะไม่ว่าจะเป็น Google Home หรือ Alexa ก็ยิ่งสามารถทำให้บ้านของเรากลายเป็นบ้านสุดล้ำไปได้เลย ทั้งสั่งเล่นเพลง, เปลี่ยนเพลง, หยุดเพลง หรือแม้แต่จะสั่งให้เปิด-ปิดไฟ, เปลี่ยนสีไฟ, ออกจากบ้านแล้วไฟปิดเอง ก็สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยชุดหลอดไฟอัจฉริยะ Philips Hue ที่แค่หมุนหลอดไฟใส่ขั้ว, เสียบปลั๊กตัวส่งสัญญาณ และโหลดแอปใส่มือถือก็ใช้ได้แล้ว
Philips Hue เป็นชุดหลอดไฟอัจฉริยะ ที่สามารถสั่งการต่างๆ ผ่านแอปจากมือถือทั้ง Android และ iOS แถมยังเชื่อมกับระบบลำโพงอัจฉริยะอย่าง Google Home หรือ Alexa เพื่อสั่งงานด้วยเสียงแบบล้ำๆ เหมือนในหนัง Sci-Fi ที่เราเคยดูกันก็ได้ แถมการใช้งานก็ไม่ได้มีอะไรยุ่งยากเลย ใครๆ ก็ทำได้ (ให้ป้าแม่บ้านทำยังได้เลย…คิดดู) และวันนี้เราก็มีชุดหลอดไฟอัจฉริยะ Philips Hue มาลองเล่นให้ดูด้วยกัน 3 แบบ คือหลอดไฟ LED 10W ที่สามารถหมุนใส่ขั้วแทนหลอดเก่าได้โดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม, ไฟ LED แบบเส้น ยาว 2 เมตร สำหรับตกแต่งห้อง และโคมไฟพกพาที่มีแบตเตอรี่ในตัวสามารถถือไปไหนต่อไหนได้ แน่นอนว่าทั้ง 3 แบบ เป็นไฟอัจฉริยะที่สามารถสั่งงานด้วยเสียงได้ทุกตัวเลยล่ะ (**หลอดไฟอัจฉริยะ Philips Hue ทุกแบบต้องใช้งานร่วมกับตัว Bridge เพื่อสั่งการ ไม่งั้นก็จะเป็นแค่หลอดไฟธรรมดาๆ ดวงนึง**)
การติดตั้งก็อย่างที่บอกไปแล้วว่าง่ายมากๆ เพราะเป็นหลอดแบบ ขั้ว E27 กินไฟเพียง 10W สามารถใส่เข้ากับขั้วไฟเดิมได้เลย
แต่แค่หลอดไฟอย่างเดียวจะยังไม่สามารถสั่งงานได้นะ เพราะเราต้องติดตั้งส่วนสมองสำหรับสั่งงานของมันซะก่อน นั่นก็คือตัว Bridge ที่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมสีขาวตัวนี้แหละ
ให้เราเสียบสายพลังงานเข้ากับปลั๊กไฟบ้านปกติ ส่วนอีกรูให้เสียบกับสาย LAN จากนั้นให้รอซักพักจนไฟสีฟ้าทั้ง 3 ดวง ติดขึ้นมา
จากนั้นให้ดาวน์โหลดแอป Hue จาก Google Play หรือ App Store มาติดตั้งในมือถือของเราซะ
เมื่อเปิดแอปขึ้นมา (มือถือต้องเชื่อมต่ออยู่ในวง LAN เดียวกันกับตัว Bridge ด้วยนะ) ถ้าตัว Bridge ของเราทำงานปกติดี มันก็จะขึ้นมาเจอ Bridge 1 ตัว ก็ให้กด Setup ซะ เมื่อหน้าจอเปลี่ยนมาอีกหน้านึงก็ให้กดปุ่มที่ตัว Bridge 1 ที ก็เป็นอันเสร็จพิธี
จากนั้นในหน้าแอป Hue ถ้าหลอดไฟทั้งหลายของเราเสียบกับขั้วเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีชื่อของอุปกรณ์นั้นขึ้นมา อย่างที่ผมลองนี้คือหลอดไฟ Hue color lamp 3 หลอด โดยเราสามารถแยกได้ว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้น อยู่ที่ห้องไหนด้วย (ในภาพที่ลองคือหลอดไฟ 3 หลอด อยู่ในห้อง Office ห้องเดียว) และก็สามารถตั้งชื่อแต่ละห้องได้ด้วย
เมื่อเรา Add หลอดไฟ และตั้งชื่อห้องเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถสั่งปิดไฟ เปิดไฟ หรือหรี่ไฟ ได้จากหน้านี้เลย อย่างในภาพ ถ้าเราเลือกปิดไฟที่ Office มันก็จะปิดไฟทุกดวงในห้องนั้น ส่วนแถบเลื่อนด้านล่างเอาไว้หรี่ไฟ แต่ถ้าเรากดตรงปุ่มวงกลมด้านซ้ายที่เป็นรูปโซฟา เราจะสามารถเลือกสีของไฟทั้งห้องได้ด้วย
เรายังสามารถเลือก Scene ของแสงไฟห้องได้ด้วยการเลือกที่ Scene ซึ่งจะมีทั้งฉากพระอาทิตย์ตกดิน, ซากุระ, แสงเหนือ ฯลฯ หรือจะเลือกแสงสีจากภาพถ่ายที่อยู่ในมือถือของเราเพื่อแสดงสีของภาพนั้นออกมาได้ด้วย
แต่ถ้าต้องการจะเลือกปรับสี, ปรับแสง หรือปิดเฉพาะดวง ก็ให้กดเข้าไปในเมนูห้องและเลือกเปิด-ปิด หรือเปลี่ยนสีไฟดวงที่ต้องการได้เลย
ย้อนกลับมาที่หน้าหลักของแอป ถ้าเราเข้าไปที่เมนูนาฬิกา เพื่อจัดการโหมดเปิดปิดอัตโนมัติได้ด้วย โดยมีเมนูตามนี้ Home & Away (ตั้งค่าเปิดปิดไฟเมื่อออก-เข้าบ้าน), Wake up (ตั้งเวลาเปิดไฟตื่นนอน), Go to sleep (ตั้งเวลาปิดก่อนนอน), Other routines อื่นๆ, Timers นับถอยหลังเพื่อปิด-เปิด หรือเปลี่ยนสี, From other apps (ตั้งค่าการใช้งานสำหรับแอปเสริมอื่นๆ)
ส่วนใครที่มี Google Home ใช้ และอยากล้ำกว่าเดิมด้วยการสั่งงานด้วยเสียง ก็ให้เข้าไปที่แอป Home จากนั้นเข้าที่เมนู > Home Control > เครื่องหมาย + มุมขวาล่าง > Hue ก็เรียบร้อย ส่วนการสั่งงานก็ประมาณ Hey Google, Turn on the lights / Turn off the lights / Change the lights to blue อะไรประมาณนี้แหละ
ส่วนการสั่งเปิดปิดไฟจากนอกบ้านก็สามารถสั่งการได้เลยเหมือนปกติ โดยจะมีข้อความขึ้นว่าเป็นโหมด Out of home connection แต่ถ้ามันมีปัญหาขึ้นเตือนว่า Offline ก็ให้เข้าไปที่เมนู Explore (เครื่องหมายเข็มทิศ) และ Log out จากนั้นให้ Log in อีกทีนึง
นอกจากนี้ Philips Hue ยังมีลูกเล่นเพิ่มเติมอื่นๆ อีกด้วยนะ อย่างเช่นทำให้ไฟกระพริบตามจังหวะเพลง หรือเปลี่ยนสีสลับตามเวลาที่ตั้งไว้ ทำได้โดยการเข้าไปโหลดแอปเพิ่มเติมใน Explore > Apps we like ก็จะเจอกับแอปหลากหลายที่สามารถใช้งานร่วมกับ Hue ได้ (บางแอปก็เสียเงินนะ…ดูดีๆ)
อันนี้น่าจะถูกใจสายปาร์ตี้เลยล่ะ เพราะแค่มีชุดหลอดไฟ Philips HUE + แอป ก็สามารถสร้างบรรยากาศปาร์ตี้สุดล้ำได้ในบ้านเราเองแล้ว เพราะไฟมันจะสลับสีไปตามจังหวะเพลงที่เรากำลังฟังอยู่ได้ด้วย
และนอกจากจะมีหลอดไฟ 10W แล้ว Philips ก็ยังมีไฟ LED อัจฉริยะแบบเส้นความยาว 2 เมตร ที่มีความสามารถเหมือนกับหลอด 10W ทุกอย่างเลย
แถมยังมีโคมไฟตั้งที่มีแบตเตอรี่ในตัวยกไปวางเอาไว้ตรงไหนก็ได้อีกด้วยนะ แน่นอนว่าอัจฉริยะพอกันเลยล่ะ
มาดูไอเดียการแต่งห้องเพิ่มเติมกันนะครับ ว่าถ้าเรานำเอา Philips HUE มาใช้เนี่ย จะสามารถแต่งห้องออกมาให้มีอารมณ์ประมาณไหนได้บ้างครับ
ใครที่สนใจอยากทำให้บ้านตัวเองกลายเป็นบ้านแห่งอนาคตก็ไปหาซื้อมาลองเล่นกันได้เลยตามร้านค้าที่เป็นตัวแทนจำหน่าย เช่น iStudio Store, Ai Store, และ .life หรือจะซื้อบน Online Store ของ Philips Hue ก็ได้นะ ไม่ต้องไปหิ้วจากเมืองนอกเมืองนาให้หนักกระเป๋า (แถมไม่มีประกัน) กันอีกต่อไป เพราะราคาของ Philips HUE ที่ขายในบ้านเราถูกกว่าเมืองนอกซะด้วยนะ โดยราคาของแต่ละชุด มีตามนี้
- Philips HUE Starter Kit (หลอดไฟ 10W 3 หลอด + Bridge) ราคา 6,990 บาท
- Philips HUE Single bulb (หลอดไฟ 10W แยก 1 ดวง) ราคา 1,790 บาท
- Philips HUE Bridge (Bridge 1 ตัว) ราคา 1,990 บาทPhilips HUE Lightstrip Plus (หลอดไฟ LED แบบเส้นยาว 2 ม.) ราคา 3,190 บาท
- Philips HUE Lightstrip Plus Extension (ไฟ LED สำหรับเพิ่มความยาว 1 ม.) ราคา 1,090 บาท
- Philips HUE Go (โคมไฟตั้ง) ราคา 3,490 บาท
อ้อ! นอกจากนี้ สินค้า Philips HUE ทุกชิ้นยังมีการรับประกันความเสียหายที่เกิดจากการใช้งานปกติกับทาง บ.ฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) ยาวนานถึง 2 ปี อีกด้วย
คลิกดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Philips HUE กันได้เลยครับ
หลอดไฟเรือธง!!
ราคา Phillip แรง ผมใช้ Yeelight ราคาตกหลอดล่ะประมาณ 500 บาท เอามาสั่งเปิดปิดผ่าน Google Home Mini
เจอราคานี้ ใช้ Yeelight เหมือนเดิมครับ
3 หลอด 7,000 บ้าไปแล้ว