Smartwatch ในปัจจุบันได้พัฒนาฟีเจอร์ทางด้านสุขภาพออกมาช่วยเหลือมนุษย์มากมาย ทั้ง การตรวจวัดค่าออกซิเจน, การวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ฯลฯ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเลยถ้าหากในอนาคตอันใกล้นี้จะสามารถวิเคราะห์และพยากรณ์โรคได้มากขึ้น อย่างโรคพาร์คินสัน หนึ่งในโรคที่หลายคนเป็นกันแต่ไม่ค่อยรู้ตัว
โรคพาร์คินสัน
โรคพาร์คินสัน คือ โรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมอง โดนเฉพาะส่วนที่สร้างโดพามีน ทำให้มีปริมาณที่น้อยลง จึงทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายเกิดความผิดปกติ โดยจะมีอาการ สั่น, เคลื่อนไหวช้า, ร่างกายแข็งเกร็ง หรือ น้ำลายไหล ส่วนสาเหตุของการเกิดโรคปัจจุบันยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด แต่มีการวิเคราะห์ว่าอาจเกิดจากพันธุกรรม หรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา
ทีมสถาบันวิจัยโรคสมองเสื่อมชาวอังกฤษ Cardiff University ได้ใช้ AI ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่ใส่สมาร์ทวอทช์ 10,000 คน ซึ่งพบว่า สามารถพยากรณ์โรคพาร์คินสันได้นาน 7 ปีก่อนที่จะเกิดอาการ โดยหัวใจหลักของการพยากรณ์นั้นคือการติดตามความเร็วของการเคลื่อนไหวของกลุ่มตัวอย่างในช่วงหนึ่งสัปดาห์ตั้งแต่ปี 2013 – 2016 นั่นเองค่ะ แต่อย่างไรก็ดี ยังจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอย่างละเอียดเพื่อยืนยันการค้นพบดังกล่าว
30% ของประชากรชาวอังกฤษใช้ Smartwatch กัน
Dr. Cynthia Sandor หนึ่งในผู้นำทางการศึกษาเชื่อว่า ความสามารถในการพยากรณ์โรคพาร์คินสันล่วงหน้า 7 ปีและพิจารณาจากข้อมูลในหนึ่งสัปดาห์ อาจจะนำไปสู่การพัฒนาเครื่องมือคัดกรองโรค ตรวจหาโรคและทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาในระยะเวลาตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีเลยที่กว่า 30% ของประชากรชาวอังกฤษใช้ Smartwatch กันอยู่
ในการศึกษาครั้งนี้ได้อ้างอิงข้่อมูลจาก UK Biobank ฐานข้อมูลด้ายสุขภาพที่ครอบคลุมเป็นวงกว้าง . Dr. Kathryn Peall นักวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แสดงความเชื่อมั่นในโมเดลจำลองนี้ว่าจะแยกโรคพาร์คินสันจากสภาวะอื่น ๆ ที่มีความคล้ายกัน เช่น กลุ่มคนชรา หรือ กลุ่มเปราะบางได้
อย่างไรก็ต้องรอการวิจัยที่สมบูรณ์และการคอนเฟิร์มอีกที แต่แค่ได้ยินว่าจะสามารถพัฒนามาสู่ด้านการแพทย์ก็ทำเอาใจชื้นเหมือนกัน เพราะโรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่คาดเดายาก และบางโรคหากรักษาช้าอาจนำไปสู้อันตรายต่อชีวิตได้ ยังไงถ้ามีเครื่องมือมาช่วยให้รู้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็เป็นสิ่งที่ดี
ที่มา : GIZMOCHINA , Bumrungrad
Comment