ภาพจากคุณ Wisaruth Wisidh (PhuPhu)
สองสามวันที่ผ่านมาหลายคนน่าจะทราบข่าวเกี่ยวกับการเร่งผลักดันให้มีการจัดตั้ง Single Gateway หรือที่เคยเป็นข่าวก่อนหน้านี้ในชื่อว่า “เกตเวย์แห่งชาติ” โดยข้อมูลที่กล่าวถึง Single Gateway นั้นมาจากเอกสารข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีฉบับวันที่ 27 สิงหาคมโดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งระบุว่า “…ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมาตรการและโครงการสำคัญต่างๆ เร่งดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ซึ่งรวมเรื่องการจัดตั้ง single gateway ที่ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบ“
ผมจะขอพักเรื่องเกี่ยวโครงการไว้ก่อนและจะพูดถึงคำว่า ‘Gateway‘ ที่ปรากฏบ่อยมาก และเชื่อว่าน่าจะมีคนจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่ยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ถ้าหากแปลคำว่า Gateway เป็นภาษาไทยตรงๆ ก็จะแปลได้ว่ามันคือ “ทางผ่าน” ซึ่งคำแปลนี้ก็ไม่ผิดจากความหมายเต็มๆ เท่าไรนัก แต่คำว่า Gateway ในที่นี้หมายถึง “ทางผ่านของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต” ครับ กล่าวอีกอย่างก็คือเป็นเส้นทางที่ข้อมูลเราไหลไปในเวลาที่เราส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
ผมจะขออธิบายด้วยภาพต่อไปนี้ครับ โดยทรงกระบอกแบนๆ ในภาพนั้นหมายถึงเราเตอร์ครับ
สมมติว่าเราใช้อุปกรณ์ที่ต่อินเทอร์เน็ตกับเราเตอร์ X อยู่และต้องการส่งข้อมูลให้กับเพื่อนที่ต่ออินเทอร์เน็ตกับเราเตอร์ Z ที่อยู่คนละเขตให้บริการอินเทอร์เน็ตกัน เส้นทางที่ข้อมูลจะไหลไปก็จะผ่านเราเตอร์ 1 ผ่านเราเตอร์ Y เข้าสู่เราเตอร์ 2 และถึงไปยังเราเตอร์ Z ก่อนจะส่งต่อเข้าอุปกรณ์ของเพื่อน เราเรียกเราเตอร์ 1 กับ 2 ว่าเป็น Gateway ของเขต A และ B ตามลำดับครับ คือเป็นทางที่ผ่านเพื่อเข้าหรือออกจากเขตหนึ่งๆ และในกรณีที่เราเตอร์ Y อาจจะไปเชื่อมกับกลุ่มของเขตให้บริการอื่นๆ ก็จะเป็น Gateway ระหว่างกลุ่มอีกเช่นกัน
สมมติว่ามีข้อมูลที่ต้องส่งข้ามโซนมากขึ้นแต่ Gateway นั้นยังน้อยเท่าเดิมก็จะทำให้ Gateway (ที่ลูกศรชี้) ทำงานหนักขึ้นและอาจจะไม่สามารถรับภาระงานไหวจนล่มได้ครับ หากล่มก็จะส่งผลให้เครื่อข่ายฝั่งซ้ายไม่สามารถติดต่อกับฝั่งขวาได้เลย
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจึงมักจะกระจาย Gateway ของแต่ละพื้นที่ไว้เป็นแบบลำดับขั้นตามภาพบนครับ และมีการเชื่อมต่ออีกทอดหนึ่งที่เส้นสีแดงที่ Gateway บนสุด โครงสร้างลักษณะนี้ถูกนำไปใช้กับโครงสร้างของ Gateway ที่ส่งข้อมูลระหว่างประเทศ เวลาที่เรารับส่งข้อมูลกับเว็บไซต์ที่อยู่นอกประเทศก็ต้องมีการส่งผ่านข้อมูลผ่าน Gateway เหล่านี้เพื่อส่งต่อไปยัง Gateway ที่ประเทศอื่นๆ ก่อนจะถึงเป้าหมายครับ
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแต่ละเจ้าก็จะมี Gateway สำหรับส่งข้อมูลระหว่างประเทศเป็นของตนเอง และนอกจากของผู้ให้บริการแล้วก็ยังมีของ CAT ที่ให้บริการร่วมกันด้วย โดยข้อมูลล่าสุดจาก NECTEC ระบุว่าปัจจุบัน Gateway สำหรับส่งข้อมูลระหว่างประเทศของไทยนั้นมีรวมกัน 10 Gateway ซึ่ง Gateway เหล่านี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเราเตอร์ธรรมดาๆ มากและรองรับโหลดได้มหาศาล
ข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศของไทยเราเมื่อเดือนที่ผ่านมานั้นสูงถึง 1,954,083 Mbps หรือจะให้เห็นภาพมากขึ้นก็คือมีข้อมูลไหลออกจากไทยเป็นปริมาณ 238.5 GB ต่อวินาที และจากแนวโน้มที่ผ่านๆ มาปริมาณข้อมูลนั้นก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างรวดเร็วครับ ซึ่งก็ได้ Gateway ทั้ง 10 ตัวนี้มาช่วยกระจายโหลด และแม้ว่าจะมีบาง Gateway ล่มไปก็ยังสามารถสลับเส้นทางไปส่งข้อมูลทาง Gateway อื่นได้ ทำให้เราสามารถส่งข้อมูลไปยังเป้าหมายที่อยู่นอกประเทศได้รวดเร็วและครบถ้วน
ข้อมูลการเชื่อมต่อเครือข่ายในไทยไปยังเกตเวย์ที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศ
(คลิกดูภาพใหญ่เลยครับ)
ทีนี้แนวคิดของ Single Gateway ที่ว่าก็คือแทนที่จะใช้งาน Gateway ทั้ง 10 ตัวที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น ก็หันมาใช้งาน Gateway ตัวเดียวเท่านั้นและข้อมูลทุกอย่างที่จะส่งออกจากประเทศไทยไปก็จะผ่านเจ้า Gateway ตัวนี้ โดยทางภาครัฐได้ให้เหตุผลว่า “เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมและการไหลเข้าของข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศผ่านทางอินเตอร์เน็ต”
สำหรับประเด็นที่กำลังคุกรุ่นอยู่ในสังคมโซเซียลตอนนี้ก็คือนโยบาย Single Gateway ตัวนี้นั้นให้ผลเสียมากกว่าประโยชน์ โดยพิจารณาออกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ
- ปัญหาทางเทคนิคที่จะเกิดตามมา และ
- ประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและการควบคุมอินเทอร์เน็ตของภาครัฐ
สำหรับปัญหาทางเทคนิคที่จะเป็นผลพวงตามมาจาก Single Gateway นั้นก็คือเราจะเหลือ Gateway ที่รับข้อมูลที่คนทั้งประเทศส่งออกไปยังนอกประเทศเพียง Gateway เดียว นั่นก็คือข้อมูลที่ไหลมาจำนวนมหาศาลนั้นจะถูกบีบให้อยู่ในท่อเดียวกันก่อนที่จะออกไปยังนอกประเทศ และหากท่อนั้นไม่สามารถรับข้อมูลได้เพียงพอก็จะทำให้เกิดสภาพคอขวด การเชื่อมต่อระหว่างประเทศก็จะช้าลงหรืออาจจะไม่สามารถเชื่อมต่อได้สำเร็จเลย และหาก Single Gateway ไม่สามารถรับโหลดได้ไหวก็อาจจะสูญเสียความสามารถในการทำงานและล่มในที่สุด และในกรณีที่มี Gateway เดียวนั้นก็จะต่างจากเดิมที่เรามีเป็น 10 ที่หากมีตัวไหนล่มก็ยังสามารถส่งข้อมูลได้ แต่ถ้าหากมี Gateway เดียวแล้วล่มขึ้นมาก็เท่ากันว่าคนทั้งประเทศจะไม่สามารถส่งข้อมูลออกนอกประเทศได้เลย
(ภาพจาก: the guardian)
นอกจากประเด็นทางเทคนิคแล้วก็ยังมีความน่าเป็นห่วงในเรื่องข้อมูลที่ถูกส่งผ่าน Single Gateway ด้วยว่าการที่ภาครัฐสามารถเก็บบันทึกข้อมูลไปได้ และถ้าหาก พ.ร.บ. ความมั่นคงดิจิทัลที่เคยเป็นประเด็นมาเมื่อต้นปีนั้นถูกดันจนผ่านด้วย เจ้าหน้าที่รัฐจะได้สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลทุกๆ อย่างได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของได้เลย รวมถึงข้อมูลที่ต่างชาติส่งเข้ามาในไทยก็สามารถดักจับได้ง่ายขึ้นเช่นกัน แน่นอนว่าการดักข้อมูลนี้ก็จะทำให้ประเทศเราเสียความเชื่อมั่นจากต่างชาติ เพราะเค้าอาจจะถูกดักข้อมูลความลับทางองค์กรหรือธุรกิจได้ง่าย และพลอยจะทำให้ต่างชาติไม่อยากเข้าหาทำธุรกิจกับในไทย ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจที่ปัจจุบันนี้ก็ไม่สู้ดีอยู่แล้วไปด้วย
จากความกังวงนี้ก็ทำให้หลายๆ คนตั้งข้อสงสัยและกลัวว่าจะโดนเจ้าหน้าที่ที่ไม่หวังดีหรือกลัวภาครัฐจะแอบจับตามองเราทุกฝีก้าวในโลกออนไลน์ ทำให้สูญเสียความเป็นส่วนตัวไป และการที่มี Gateway ที่ให้ข้อมูลในประเทศออกนอกหรือข้อมูลจากนอกเข้าไทยเพียงช่องทางเดียวก็ทำให้ง่ายต่อรัฐที่จะควบคุมข้อมูลได้ เช่น ภาครัฐอาจจะบล็อกไม่ให้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเข้าถึงเว็บไซต์ที่ต้องการได้ คล้ายกับหลายๆ ประเทศ เช่น ลาว จีน เมียนมา เกาหลีเหนือที่สามารถบล็อกเว็บไซต์ที่รัฐไม่ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงได้เบ็ดเสร็จ
พิจารณาจากผลเสียต่างๆ แล้วก็จะพบว่าโครงการ Single Gateway นี้ดูจะสร้างผลเสียซะมากกว่าผลดีที่รัฐบาลได้อ้างและคาดหวังไว้ ทำให้โลกออนไลน์ในไทยตอนนี้เริ่มตื่นตัวและแสดงความคิดเห็นต่อต้านแนวคิดการจัดตั้ง Single Gateway กันเป็นจำนวนมากแล้ว
และในตอนนี้ก็ได้มีคนตั้งแคมเปญคัดค้านการจัดตั้ง Single Gateway แล้วในเว็บไซต์ Change.org และปัจจุบันมีผู้เห็นด้วยกับการคัดค้านร่วมลงชื่อแล้วกว่า 27,000 คน และยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย โดยหวังว่าทางรัฐบาลจะรับฟังความคิดเห็นของผู้คัดค้านและยอมยกเลิกโครงการนี้ไป
สำหรับผู้สนใจลงชื่อร่วมคัดค้านด้วยสามารถทำได้ที่เว็บไซต์ตามลิงค์นี้เลยครับ
อย่างไรก็ตาม นอกจากจะมีประเด็นที่คนให้ความเห็นว่าการจัดตั้ง Single Gateway นั้นเป็นเรื่องน่าวิตกแล้ว ก็มีผู้ที่แสดงความคิดเห็นว่าด้วยหลักการแล้ว Single Gateway เป็นโครงการที่ไม่มีทางทำได้สำเร็จ โดยได้ยกสาเหตุหลายๆ สาเหตุให้เราได้อ่านกันครับ ซึ่งก็น่าสนใจมากๆ และทำให้เห็นภาพในอีกมุมมองหนึ่งด้วย ลองอ่านกันดูได้ครับ
มีหลายคนกำลังตกใจกับ Great firewall of Thailand หรือตอนนี้เรียกกันว่า SINGLE GATEWAY ผมได้ยินครั้งแรกก็ตกใจ แต่ พอดูรายล…
Posted by Chanon Ngernthongdee on Wednesday, 23 September 2015
อ้างอิงข้อมูล
ข่าวคัดค้าน พ.ร.บ. ไซเบอร์ [Droidsans]
สปช. เห็นชอบให้นำร่างกฎหมายดิจิทัลไปแก้ไข [Blognone]
ปลัดไอซีทีเสนอเกตเวย์แห่งชาติ [Blognone]
ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี – ให้เร่งจัดตั้ง Single Gateway [Blognone]
ข่าวแคมเปญคัดค้านการจัดตั้ง Single Gateway [Blognone]
แคมเปญคัดค้านการจัดตั้ง Single Gateway [Change.org]
แหม่ อ่านข่าวนี้เสร็จ ก็ขึ้นแบบนี้เลย 555+ อะไรจะประจวบเหมาะขนาดนี้
facebook ล่มกันเลยทีเดียว
รูปหาย แปะใหม่ :v (งงๆ กะตรง file attachments นิดนึง 555+)
[color=red] === ข้อความเสียดสีทางการเมือง และอาจทำให้คนทะเลาะกัน ===[/color]
ขอเบรคเอาไว้แต่เนิ่นๆนะ
อย่ามาการเมืองในนี้เลยนะครับ ชอบใครเชียร์ใคร เรามาว่ากันว่าเรื่องนี้ดีไม่ดี ดีกว่าครับ
ผมว่ายังไม่โง่เท่าแจก tablet เด็ก ป.1 นะคับ
ใครล้ำเส้นเกินจากตรงนี้ ผมแบนทิ้งทันทีนะครับ ไม่เตือนละ
ขอให้เว็บนี้เป็นพื้นที่งดเว้นการเมืองนะ
มันทำให้คนทะเลาะกันจริงๆ แฮะ
ดูจากคนข้างบน…
กลับมาดูเรื่อง Gateway กันต่อเถอะครับ
คำถามครับ
แล้วการมี 10 Gateway มันทำให้รัฐไม่สามารถ เก็บข้อมูลได้หรอครับ
คิดเหมือนกันเลยครับ ก็ตาม Monitor มันทั้งหมดก็น่าจะได้เหมือนกันนินา
ทำได้แน่ๆ แต่ไม่คิดทำ ขนาดเวป ราชการยังโดนแล้ว Single gateway จะรอดมั้ย
+1 krub. Just like youtube 's got banned sometime ago.
มันไม่ใช่ของรัฐทั้งหมดรึเปล่าครับ เลยทำอะไรไม่ได้
ทำได้ครับ แต่รัฐยังคงต้องไปตามขอข้อมูลจากทางผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแต่ละเจ้าๆ ต้องไปทำข้อตกลงการให้ข้อมูลกัน ฝั่งผู้ให้บริการฯ ก็อาจจะยอมให้ข้อมูลเฉพาะบางอย่าง มีข้อตกลงเรื่องระยะเวลาที่ยอมให้ ฯลฯ และแม้ผู้ให้บริการอาจจะยอมให้ข้อมูล แต่ก็ยังมีสิทธิ์ในการควบคุมดูแล Gateway ของตนเองอยู่
หากมีแค่ Gateway เดียวตามทีว่า จะเป็น Gateway ที่มีรัฐเป็นเจ้าของเลยผู้ให้บริการที่อินเทอร์เน็ตไม่มีสิทธิ์ในการคุมการให้ข้อมูลได้ครับ
นอกเสียจากเป็นกรณีตามที่ผมได้ทิ้งท้ายไว้ก็คือ หากผู้บริการอินเทอร์เน็ตแอบซ่อน Gateway ลับๆ ไว้แล้วไม่ยอมเชื่อมไปยัง Gateway รัฐ (ไม่ยอมทำตามคำสั่งรัฐนั่นเอง) ก็สามารถรอดจากการคุมได้ครับ
จริงๆ ผมอยากให้มองในเชิงเทคนิคประกอบด้วยครับว่ามันจะมีข้อเสียที่เป็นปัญหาเทคนิคที่ตามแก้ไม่หวาดไม่ไหวตามมา
เผด็จการเหมือนจีนเข้าไปทุกทีประเทศนี้
ยาม… อยู่ที่ไหนก็ยังยังเป็นยามนั่นแหล่ะ…
โอ๊ย ลั่น
ถ้ามีให้กด Like จะกดให้เลยครับ
เหมือนให้คนจบบริหารมาวางระบบ Network……
ลองนึกดูว่าระบบนี้อยู่ในมือรัฐบาลฉ้อฉล ในอนาคตที่ไม่ใช่ คสช.
โฮ๊ะ ไม่อยากจะบรรยายเลยที่เดียว
ผมว่าประเทศเรายังไม่มีการจัดการที่ดีพอ ถ้าให้รัฐบาลทำ ทั้งในเรื่องการจัดการข้อมูล ความเร็ว และระบบรักษาความปลอดภัย
ยกตัวอย่างนะครับ เคยดูหนัง DIEHARD4 กันใหมครับ แฮคใด้เมื่อไร ล่มทั้งประเทศ
ประเด็นเทคนิค คงไม่มีปัญหา ทำได้ เพราะจีนก็ทำเป็นแบบให้ดูอยู่
(ไม่เห็นมันจะล่ม ถ้าเถียงในประเด็นนี้คงไม่ขึ้น)
ประเด็นน่าจะอยู่ที่ว่า อยากให้คุม หรือไม่อยากให้คุม ?
มันก็เหมือนพ่อแม่ คุมไม่ให้ลูกดูเวปโป้นั้นแหละ
ในมุมพ่อแม่ ก็อยากคุม แต่ลูกก็อยากดู
แต่อย่าลืมว่า รัฐบาล ไม่ใช่พ่อแม่ และเราก็ไม่ไช่เด็ก ขาดวิจารณญาณ
และสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เป็นสิทธิ์พื้นฐานของความเป็นมนุษย์
แต่ตามความเห็นผม ประท้วงไปก็เท่านั้น ถ้าเขาจะทำ ซะอย่างจะทำไม
ระบอบนี้ ประเทศไม่ใช่ของประชาชน แต่เป็นของคนกลุ่มหนึ่ง
ถ้ายอมรับระบอบนี้ ต้องหัดทำใจซะ จะดีกว่า
พี่จีนมันบล็อกเว็บต่างประเทศเยอะแยะ แค่บล็อก youtube ไป traffic ก็ลดไปเท่าไหร่แล้ว
ผมว่าที่จีนทำได้เพราะกำลังเงินและกำลังคนมหาศาลกว่าเราเป็นสิบเท่า แล้วเค้าก็เข้าถึง content ต่างชาติได้ไม่เยอะ ซึ่งถ้าไทยจะทำไม่รู้คุ้มเสียหรือเปล่า
แล้วแบบจีนดีเปล่าครับ ผมเข้าใจว่าเน็ตออกนอกจากจีนก็ไม่เร็วนะ เค้าใช้บริการในประเทศเยอะเลยอาจจะกระทบน้อย (ก็มีเว็บหรือบริการแบบเดียวกับของต่างประเทศก็อบขึ้นมาแทบทุกอย่าง) แต่จากข่าวเรื่อง xcode ก็เห็นแล้วว่าเค้าโหลดจากต่างประเทศช้าเลยใช้ mirror ในประเทศ ของไทย เกม 10-20 GB โหลดจากสตีมยังสบายๆ
ผมยังหาข้อมูลตัวเลขเป๊ะๆ ไม่เจอนะครับ แต่เท่าที่ค้นเจอมา ข้อมูลเก่าหน่อย เป็นข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ตออกนอกเมื่อปี 2008จีนมีปริมาณการใช้งานเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 483.3 bitsไทยมีปริมาณการใช้งานเฉลี่ยนต่อคนอยู่ที่ 817.6 bitsปริมาณต่อคนอาจจะดูน้อยแต่จีนมีคนเยอะก็คูณจำนวนคนเข้าไปก็น่าจะได้ปริมาณที่มากกว่าไทยจริงๆ ครับ และปัจจุบันตัวเลขนี้ก็คงมีการเติบโตขึ้นไปอีกมากแต่ผมขอเสนอมุมมองว่าจีนมีการบล็อกเว็บไซต์ฝั่งทางอเมริกาและเว็บไซต์นอกประเทศหลายเว็บไซต์ก็ส่งผลให้หลายๆ เว็บไซต์ ไม่ว่าจะพวกโซเชียลมีเดียนอก YouTube Google และอีกหลายๆ เว็บไซต์ความบันเทิงที่น่าจะเป็นสเว็บไซต์ที่ใช้ Bandwidth ปริมาณมากๆ ไป แล้วให้หันไปใช้บริการภายในประเทศแทนก็น่าจะลดการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ส่งออกนอกประเทศไปได้มหาศาลเลยทีเดียว และภาครัฐน่าจะลงทุนไปกับการจัดการ Great Firewall ไม่น้อยเลยครับไว้ถ้าผมสามารถหากตัวเลขชัดๆ ได้จะนำมาอ้างอิงอีกครั้งนะครับ แต่เท่าที่ลองหาดูหายากเหลือเกินเจอแต่ข้อมูลเก่าๆ T_T
+100 ประเทศดัดจริตชีวิตต้องPop
ถ้าแค่ต้องการบล็อกเว็บไซต์
ทำเป็นหนังสือขอความร่วมมือส่งให้ ISP ง่ายกว่าไหม
หลัง 4 โมงเย็นแล้วเขาก็ยังทำงานกัน ไม่หยุดเสาร์อาทิตย์ด้วย
ถ้ายืนยันจะกิน นี่โคตรสิ้นเปลืองงบเลย
——————-
ไม่ได้เห็นด้วยนะ เสียดายงบประมาณ แค่เขียนลงอีกมุมมอง…
– Single Gateway คนคิด อาจจะแปลงความหมายเป็นอย่างคือ ที่ไม่ใช้ผ่าน Network Gatewag ท่อเดียวก็ได้
อาจหมายถึง ทุกคนต้องผ่าน ต.น.(ตรวจคนเข้าเน็ท 555) แต่ใน Single Gateway เนี่ย
อาจจะมีหลายท่อที่ใช้ออกต่างประเทศ (อุปกรณ์ก็เพิ่มขึ้นตามจำนวนท่อ)
– ความปลอดภัย…ห่วงตรงที่คนในจะเอาเครื่องมือไปใช้เป็นการส่วนตัวมากกว่า
เอกชนก็ทำระบบขึ้นมาป้องกันสิ เข้ารหัสข้อมูลก่อนส่ง ซึ่งมันควรจะทำอยู่แล้ว
ถึงจะไม่โดนรัฐส่อง ก็อาจจะโดนคนอื่น hack อยู่ดี
ส่วนตัวคิดว่า ภาคเอกชนรายใหญ่ไม่ค่อยกระทบเท่าไร
พวกรายย่อย กับชาวบ้านธรรมดานี่แหละน่าห่วงมากกว่า
อยากเห็นหน้าคนต้นคิดโครงการ
เห็นด้วยกับคุณ แต่ผมไม่ได้มองว่า บล็อกเวปไซต์ปกติครับ
กำลังมองว่า รัฐบาลต้องการ บล็อก facebook หรือ youtube (แบบที่จีนทำ)
จากนั้นก็บีบให้บริษัทพวกนี้เข้ามาคุย และยอมในการที่จะบล๊อก คอนเทนต์บางอย่าง
เพื่อที่จะให้บริการได้ต่อไป
ประเด็นเรื่องที่คนจะด่า มันไม่ได้มีผลอะไรมานานแล้วครับ ถ้าจะทำจริง ๆ ใครจะทำไม
(เหมือนเป็นเรื่องตลก คุณจะหัวเราะก็หัวเราะไป ให้เต็มที่ ตอนนี้ครับ)
เฮ้อ เหนื่อยกับนโยบายถอยหลังเข้าคลองเต็มทน
มีเงินจะย้ายประเทศจริงๆ ไม่น่ามาอาศัยเค้าอยู่เล๊ยเรา
จะทำไปทำไม
…ถนนมีหลายเส้น ย่อมดีกว่าเส้นเดียว
คนมีทางเลือกหลากหลาย ย่อมดีกว่ามีทางเดียวให้เลือก…
"Mockingjay ไม่ได้กล่าวไว้"
เท่าที่อ่านคอมเมนต์มา มีสิ่งหนึ่งทีหลายคนยังไม่เข้าใจ
คือรู้มั้ย ว่าเขาจะทำเกตเวย์ จุดประสงค์เพื่ออะไร ? คุณต้องตอบให้ได้ก่อน
เพราะมันเป็นเหตุผลเดียวกับที่จีนมีเกตเวย์ และ เกาหลีเหนือ ไม่ใช้อินเตอร์เน็ต
นั่นคือการปกปิดข่าวสารจาก ต่างประเทศ เพื่อที่จะได้ง่ายต่อการปกครอง
(ถึงแม้มันดูเหมือนเรื่องตลก แต่เขาคิดอย่างนั้นจริง ๆ และถ้าเกิดขึ้นจริง มันก็คงตลกไม่ออก)
ด้วยวัตถุประสงค์ดังกล่าว เขาไม่สนหรอกว่า อินเตอร์เน็ตจะช้า หรือจะล่ม หรือจะใช้เงินเท่าไร
ขอให้ปิดกั้น ข่าวที่ไม่อยากให้ประชาชนรับรู้ได้ เสียอะไรก็ยอม
คำแนะนำผม ทำตัวให้ชิน ภาวนาอย่าให้มันมากกว่านี้ และสวดมนต์ขอให้มันผ่านไปเร็ว ๆ
ทำได้แค่นี้
ปกปิดข่าวสาร เพื่อเตรียมต้อนรับ AEC หรอครับ ดูเข้าท่าดี
ว่าแต่จะปิดกันยังไงครับ นึกภาพไม่ออก
ข่าวไม่ได้มาแค่ทาง internet มันยังมาได้อีกหลายทางครับ
Internet, TV, โทรศัพท์, วิทยุ, ดาวเดียม คงต้องตามปิดให้หมดอะ ถึงจะเอาอยู่
อย่างจีน block Google แต่ก็ยังใช้ผ่าน VPN ได้
ประเด็ดนี้ไม่น่าใช้ครับ ยุคนี้ถ้าจะเปิดหูปิดตา คงต้องปิดประเทศครับ
+1 with K. Whitecat krub
ผมไม่อยากจะตอบโต้ไปมานะ แต่จะชี้ให้เห็น
ว่าตอนนี้ ทีวี วิทยุ ดาวเทียม ที่คุณว่ามา ถูกควบคุมข่าวสารหมดแล้ว
มันเหลืออินเตอร์เน็ตที่เดียวที่ยังควบคุมไม่ได้
และนี่คือที่มาของเกตเวย์ไง
แล้วไอ้ปิดประเทศที่คุณว่า คุณไม่คิดหรือว่ามันเป็นอยู่
เออ… หมดคำพูด ขอเศร้าแปป
นั่นต้องอยู่ที่ว่า "ปิดประเทศ" ของคุณเป็นแบบไหนนะครับ เอาจริงๆ สมัยนี้มันทำไม่ได้แล้วล่ะ ปิดประเทศในความหมายทั่วๆ ไป มันคือไม่ยุ่งอะไรกับต่างชาติเลย (หรือน้อยที่สุด เท่าที่จำเป็น)
ปัจจุบันนี้ ทุนต่างชาติเต็มประเทศ คนไทยเราเหมือนเป็นแค่รับจ้าง พวกกำไรกลับไปประเทศเจ้าของโรงงานหมด ถ้าจะปิดประเทศ อยู่แค่กันเอง ปัจจุบันนี้ทำไม่ได้ และคงไม่มีใครยอมให้ทำแล้วครับ
ส่วนเรื่องการควบคุม มันเป็นไปได้หมดล่ะครับ ไม่ว่าจะเซ็นเซอร์สื่อ หรือสื่อเซ็นเซอร์ตัวเอง เชื่อว่าคุณก็คงเคยเห็นนะครับ เขียนข่าวเชียร์ ใน internet เอง ปล่อยข่าวลือออกมา คนก็เชื่อกัน
ขอคุยในประเด็นใหม่ ว่าด้วยเรื่องการปิดประเทศ
ขอยกตัวอย่าง เช่น พม่าสมัยก่อน กับเกาหลีเหนือ มันเป็นยังไง?
ผมจะให้ความเห็นว่า จริง ๆ 2 ประเทศนี้ ก็ไม่ได้ตั้งใจปิดประเทศหรอก ใครจะอยากปิดประเทศตัวเองให้เดือดร้อน
เพียงแต่ เขาทำให้ประเทศอืนไม่พอใจ และไม่คบค้าด้วย (ในที่นี้คือไม่เป็นประชาธิปไตย)
แล้วรัฐบาล มีท่าทีแข็ง ไม่อ่อน โดยมีความคิดชาตินิยมแบบว่า เห็นอเมริกาเป็นศัตรูอะไรประมาณนี้
ทำให้ถูกคว่ำบาตร (เช่นไม่นำเข้าสินค้า หรือตัดสิทธ์ทางภาษี อะไรประมาณนี้)
ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ กว่าประเทศข้างเคียง (ลองเทียบพม่า กับไทยดู)
ประเด็นคำถามจึงเกิดขึ้นว่า ประเทศไทย โดนแบบนี้หรือยัง คำตอบผมคือ โดนแล้ว (แต่อาจไม่แรง)
หลังจากนี้ก็ลองเทียบ GDP ไทยกับประเทศข้างเคียงดู ว่าต่างกันมากมั้ย
ถ้าหลังจากนี้ GDP ไทยน้อยกว่าประเทศข้างเคียงติดต่อกันสัก 10 ปี
ความเจริญของไทยก็จะน้อยกว่าประเทศข้างเคียงถูกมั้ย
มันขึ้นกับว่าคนไทยอึดมั้ย ดูอย่างพม่า ไม่รู้ทำแบบนี้มา 40 ปีได้มั้งจำไม่ได้ กว่าจะมีเลือกตั้ง
แล้วดูสภาพพม่าละกัน เป็นยังไง
ไม่รู้ว่าจะตอบคำถามหรือยัง ว่า เมืองไทยนี่ ปิดประเทศหรือยัง ?
ผมหวังแค่ว่า ประเทศไทย จะยอมอ่อน และจัดการเลือกตั้งเร็ว ๆ อย่าปล่อยไว้เป็น 10 ปี แค่นั้น
ไม่รู้หวังสูงไปมั้ย
เพิ่มเติมอีกนิด บางคนคิดว่า มันอยู่ไม่ถึง 10 ปี หรอก เดี๋ยวก็มีเลือกตั้งแล้ว
คำถามคือ ถ้าเดี๋ยวก็มีเลือกตั้ง ทำไมต้องทำเกตเวย์ ?
คำตอบคือ ที่ทำเกตเวย์ แปลว่าเตรียมอยู่ยาว มันชัดเจนอยู่ในท่าทีไงครับ
อันนี้ผมก้อคิดว่างั้นนะ.. จากกฏ ข้อบังคับ การกระทำต่างๆ ที่เค้าประกาศมา… มันเหมือนว่า เค้าต้องการ สืบทอดอำนาจแบบชัดเจน จริงๆ นะ
Internet, << ก็ Single Gateway ไงครับถ้าทำได้นะ
TV <<< ถ้าตามข่าวดีๆนะ มีหลายช่องก็โดนไปแล้ว ทีวีดาวเทียมนะ ไม่ต้องพูดถึงเรื่องดาวเทียมเลย ไทย คม ทหารคุมนะตอน รัฐประหารใหม่ๆ ถ้าทำจริงๆก็ทำได้ เห็นมาล่ะ
โทรศัพท์ <<< DTAC ไงครับ ตัวอย่าง ที่มีข่าว บล็อค เฟชบุ๊ค
วิทยุ <<< ตามข่าวจริงๆ นี่โดนกันไปเยอะ ในที่นี่หมายถึงสถานี วิทยุนะ ไม่ใช่ วอกกี้ ทอกกี้
ปล.ไม่เกี่ยวกับการเมืองนะแต่อยากให้คิด
ถ้าคนที่สนับสนุนเพราะว่าชอบทหารไม่ชอบแม้วนะครับบอกว่าไม่ได้ทำไรผิดไม่เห็นต้องกลัว ลองคิดในมุมกลับนะ ถ้าเกิดฝ่ายแม้วมีอำนาจแล้วทำแบบนี้ ฝ่ายเชียร์ทหารก็ต้องไม่ชอบอย่างแน่นนอน (ในฐานะที่ผมทำงานทางด้าน Network ผมยังมองไม่เห็นข้อดี ย้ำนะครับ ข้อดีของ Single Gateway เลยครับ ไม่ว่าใครจะขึ้นมามีอำนาจก็ตามประชาชนเสียผลประโยชน์เต็ม 100% )
+1000000000 leonoinoi เด็กไทยยังขาด ความรู้เท่าทันเหลี่ยมพวกขิงแก่ทั้งหลายที่ทำงานเป็นทีมกันอยู่ เวลา จะบอกพวกเค้าเอง เชื่อผม อยู่นิ่งๆเกบตังไว้เยอะๆ เก็บเงิน เซพตัวเอง ใช้จ่ายอย่างประหยัดที่สุด! เพราะ เรากำลังวิ่งเข้าสู่กลียุค ข้าวยากหมากแพง และ ปิดประเทศโดยแท้จริง (พูดเยอะสองไผ่เบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง)
+1 ผมก็ว่าจะเลิกให้ข้อมูลแล้ว แต่มันอดไม่ได้ ไว้จะพยายามเงียบ
แต่ผมเห็นแย้งอย่างนึง เด็กไทย.. ผมว่าเกิน 18 นี่ก็ไม่เด็กแล้วละ และเชื่อว่าในนี้ 90% เกิน
แต่ก็ยังไม่รู้เรื่องพวกนี้อยู่ดี
คือต้อง learning by doing ใช่มะ เดี๋ยวคงได้เรียนเต็ม ๆ
แต่ไม่รู้ จะรู้มากขึ้นหรือเปล่า คือ 10 ปีนี้ ถ้ายังไม่รู้อะไร ผมก็ว่ายากที่จะรู้แล้วละ
เป็นคนไทย ต้องยิ้มสู้………เศร้าแป๊บ!!!
นึกถึง Sumer Wars อนิเมชั่นที่ได้รับรางวัลเพียบ โดนแฮกระบบศูนย์กลางจากต่างประเทศได้เมื่อไร ก็จบเมื่อนั้น เน็ตพังและรวนทั้งประเทศ เงินทุนจากต่างชาติหายเกลี้ยง
ผมว่า Single gate way ดีกว่าในแง่การจัดการข้อมูลข่าวสารต่างๆซึ่งทำได้ง่ายกว่า เทียบง่ายๆเหมือน มีลูกคนเดียว กับ มีลูกสิบคน แต่ก็อย่างว่า เทคโนโลยี แต่ละชนิด แต่ละแบบ ย่อมมีทั้งข้อดี และข้อด้อยแตกต่างกันไป แต่ส่งที่สำคัญที่สุด คือคนที่จัดการและควบคุมมากกว่า คนดีมาทำมันก็ดี คนชั่วมาทำต่อให้ร้อย Gateway มันก็ไม่ดีหรอก
ครับ เห็นด้วยครับ ผมว่ามันจัดการง่ายนะครับ จัดการคนที่คิดต่างอะ
เห่อๆ หลอนเลย
ผม รบกวน ทุกๆคนในเว็บนี้
พี่พัท พี่ กิม พี่เนย และสมาชิคอื่นๆ
ช่วยบอก " ข้อดี " หรือ "วัตถุประสงค์" ของไอ้ single gateway หน่อยครับ
ที่พี่ๆ พูดกันว่า "ไม่ยุ่งเรื่องการเมือง " แต่ ขอโทษครับ
ผมเห็นข้อดีข้อเดียวของ ระบบนี้ คือการ "ปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร" เพื่อ
1. ควบคุม การแพ่กระจายของข่าวสาร
2. ใช้เล่นงาน ฝ่ายตรงข้าม ทางการเมือง การปกครอง
ผมไม่เห็ยประโยนช์ "อื่นใด" เลยนอกจากการ " ควบคุม" ทุกๆอย่างไว้ภายในอำนาจของฝ่ายบริหาร
ลองแชร์ ประโยชน์ อื่น ที่ คนโง่ๆ จบ กฎหมาย อย่างผม ไม่ได้เรียนจบ it ให้ผมฟังหน่อยครับ
ผมแค่อยากจะบอก พี่ๆ mod ว่า ในทางกฎหมาย
single gateway มันไม่พ้น เรื่องการปกครองครับ
แต่ในทาง it ผมไม่ทราบจริงๆ ว่ามันไม่เกี่ยวกับการปกครอง
ผมไม่ได้จบกฎหมาย และ it นะครับ
ที่พี่เขาพูดว่า ไม่ยุ่งเรื่องการเมือง คือ ไม่อยากให้เอาเรื่องการเมือง
แบ่งฝ่ายแบ่งสี มาทะเลาะกันในนี้ครับ
เห็นด้วยครับว่ามันเอามาใช้เพื่อ ควบคุม ปิดกั้น ข้อมูล