ทุกวันนี้มีมิจฉาชีพมีเยอะมากจริง ๆ จากสถิติล่าสุดเผยยอดแจ้งความออนไลน์สะสมตั้งแต่ 1 มี.ค. 65 – 31 พ.ค.66 พบว่ามีมูลค่าความเสียหายมากถึง 3 หมื่นล้านบาท คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการเกิดขึ้นเยอะที่สุด และเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมูลค่าความเสียหายรวมกว่าพันล้านบาทเลยทีเดียว
สำนักงานตำรวจแห่งชาติเผย ยอดสะสมของผู้แจ้งความออนไลน์ที่ได้รับ ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 65 – 31 พ.ค.66 มีจำนวนทั้งหมด 296,243 เรื่อง โดยแบ่งเป็นคดีออนไลน์ 270,360 เรื่อง และ คดีอาญาอื่น ๆ 9,009 เรื่อง รวมมูลค่าความเสียหายทั้งหมด 38,156,125,167 บาท ซึ่งแบ่งออกมาได้ 14 อันดับ ดังนี้
อันดับคดีออนไลน์ที่ได้รับแจ้งสูงสุด
- หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการไม่เป็นขบวนการ 100,694 คดี
- หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงานฯ 36,896 คดี
- หลอกให้กู้เงิน 33,517 คดี
- หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ 22,740 คดี
- ข่มขู่ทางโทรศัพท์ (Call center) 20,474 คดี
- หลอกเป็นบุคคลอื่นเพื่อยืมเงิน 9,664 คดี
- หลอกให้โอนเงินเพื่อรับรางวัลฯ 8,697 คดี
- หลอกลวงซื้อสินค้าหรือบริการเป็นขบวนการ 8,107 คดี
- หลอกให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบฯ 4,786 คดี
- หลอกให้ลงทุนตามพรบ.กู้ยืมเงิน 3,080 คดี
- กระทำต่อระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ 2,972 คดี
- หลอกให้รักแล้วโอนเงิน 2,167 คดี
- หลอกเกี่ยวกับทรัพย์สินดิจิทัล 1,229 คดี
- เข้ารหัสคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น 79 คดี
จากสถิติของช่วงอายุในการแจ้งความออนไลน์ พบว่า
- กลุ่มอายุ 31-40 ปี มี 29% ที่แจ้งความออนไลน์
- กลุ่มอายุ 18-25 ปี มี 22% ที่แจ้งความออนไลน์
- กลุ่มอายุ 26-30 ปี มี 20% ที่แจ้งความออนไลน์
- กลุ่มอายุ 41-50 ปี มี 18% ที่แจ้งความออนไลน์
- กลุ่มอายุ 51-60 ปี มี 7% ที่แจ้งความออนไลน์
- กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป มี 3% ที่แจ้งความออนไลน์
- กลุ่มต่ำกว่า 18 ปี มี 1% ที่แจ้งความออนไลน์
กลุ่มอายุที่แจ้งความออนไลน์มากที่สุดคือช่วง 31-40 ปีมี 29% และกลุ่มที่น้อยที่สุดคืออายุต่ำกว่า 18 ปีมี 1% ถึงแม้กลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่แจ้งความออนไลน์จะมีเพียง 3% แต่มูลค่าความเสียหายมีมากถึง 2,734,984 ,005 บาท จำนวนคดี 10,343 คดีเลยทีเดียว
จากการจัดอันดับ 5 คดีออนไลน์ที่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปแจ้งความมากที่สุดในปี 2565 พบว่า คดีประเภทการหลอกลวงจำหน่ายสินค้าออนไลน์และสินค้าผิดกฏหมายมีมากถึง 5,512 คดี มูลค่าความเสียหาย 1,372,222,420 รองลงมาเป็นการหลอกลงทุนรูปแบบต่าง ๆ 402 คดี มูลค่าเสียหาย 1,017,072,553 บาท
ขั้นตอนการหลวงลวงที่มิจฉาชีพใช้
- มิจฉาชีพส่ง SMS หรือ ข้อความผ่านไลน์มาหาเหยื่อ
- จากนั้นหลอก, ควบคุม หรือบังคับให้โอนเงิน
- เงินที่ถูกโอนออกจากธนาคาร จะถูกเปลี่ยนเป็นเงินตราตามตะเข็บชายแดน, ถูกนำไปซื้อสินทรัพย์ดิจิตัล ผ่านผู้ค้า P2P หรือโอนเงินเพื่อซื้อสินค้าตามชายแดน
แนวทางป้องกันโดนหลอกออนไลน์
- ห้ามกดลิงก์จาก SMS เพื่อติดตั้งแอปหรือรับเพิ่มเพื่อนในไลน์เด็ดขาด
- ตัดสายทิ้งทันที เมื่อรับสายที่ปลายสายเป็นเสียงอัตโนมัติหรือผู้ที่อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ที่จู่ ๆ ก็ให้โอนเงินเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ หรือผู้ที่โทรมาตีเนียนเป็นคนรู้จัก
- ห้ามโอนเงินทุกกรณี หากไม่สามารถระบุตัวตนปลายทางได้
- ตรวจสอบ URL ให้ถูกก่อนกรอกรหัสผู้ใช้งาน หากไม่ชัวร์ห้ามกรอกเด็ดขาด
- หลีกเลี่ยงการกรอกรหัสผ่านจาก Pop up หรือ Single Sign On
หากมีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นสถาบันการเงินโทรเข้ามาหรือส่งเป็นข้อความมาให้ทำธุรกรรมใด ๆ แนะนำให้ตั้งข้อสงสัยไว้เลยว่านี่เป็นมิจฉาชีพ และแนะนำให้โทรสอบถามหรือแจ้งเหตุกับทางสถาบันการเงินโดยตรงจะดีที่สุด โดยสามารถติดต่อได้ผ่านเบอร์ด้านล่างนี้เลยค่ะ
เบอร์โทรศัพท์ธนาคาร
- กสิกรไทย 02-888 8888 กด 001
- กรุงไทย 02-111 1111 กด 108
- กรุงศรีอยุธยา 1572 กด 5
- กรุงเทพ 1333 หรือ 02 645 5555 กด 3
- ไทยพาณิชย์ 02-777 7575
- ทหารไทยธนชาติ 1428 กด 03
- ออมสิน 1115 กด 6
- ซีไอเอมบี ไทย 02-626 7777 กด 00
- ไทยเครดิตเพื่อรายย่อย 02-697 5454
- ยูโอบี และ ซิตี้แบงก์ 02-344 9555
- แลนด์แอนด์เฮาส์ 02-359 0000 กด 8
- อาคารสงเคราะห์ 02-645 9000 กด 33
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 02-555 0555 กด*3
- เกียรตินาคินภัทร 02-165 5555 กด 6
หรือถ้าเป็นคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีก็สามารถเข้าไปแจ้งความออนไลน์ได้ที่ Thaipoliceonline.com หรือโทร 1441 บช.สอท. หรือศูนย์ PCT โทร 081 866 3000 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงเลย
- มิจฉาชีพปลอมเป็น ธ.กสิกร ส่ง SMS แจ้งกำลังถูกคนอื่นเข้า Mobile Banking แล้วหลอกติดตั้งแอปดูดเงิน
- มิจฉาชีพอ้างเป็นกรมการขนส่งทางบก หลอกโหลดแอปยืนยันทะเบียนรถ
- มิจฉาชีพปลอมตัวเป็นผู้พิพากษาส่งหมายศาลผ่านแชทไลน์เพื่อหลอกเอาเงิน
ที่มา : ThaiPBS สถานีประชาชน
Comment