เรียกว่ามากันครบทั้ง 4 แบงค์ใหญ่ PLANET SCB, Krungthai Travel Card, TMB All Free, และ  Journey จาก KBANK ที่ต่างปล่อยบัตรเดบิตลงตลาดมาช่วงชิงเค้กการใช้จ่ายเงินในต่างประเทศกันอย่างดุเดือด แต่ละบัตรก็จะมีจุดดีจุดเด่นที่ต่างกันออกไป จนดูในรายละเอียดแล้วไม่มีความเหมือนกันเลยก็ว่าได้ มีความยิบย่อยค่อนข้างสูง วันนี้เราเลยจะเอามาเปรียบเทียบให้ทราบกันครับ (*Updated 7 Nov : เพิ่มบัตร YouTrip)

ที่มาบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยว

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรฯ บอกว่าคนไทยมีการเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศที่ราว 11 ล้านคนต่อปี ใช้จ่ายกันที่ราว 390,000 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้นักท่องเที่ยวจำนวนมากได้ใช้บริการแลกเงินจากร้านรับแลกเงินต่างๆ ซึ่งจะมีเรตที่ประหยัดกว่าธนาคารพาณิชย์กันมาโดยตลอด ทางธนาคารก็ทราบดีถึงช่องว่างเรื่องนี้ จนธนาคารกรุงไทยก็ได้ออกบัตร Travel Card มาเป็นรายแรก ตั้งแต่ เมษายน 2561 ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง จากการที่สามารถล็อคเรตค่าเงินตามวันที่แลกได้ เรตดีชนร้านแลกทั่วไป และไม่ต้องจ่ายค่าความเสี่ยง 2.5% อีกด้วย ซึ่งความสำเร็จนี้ก็ทำให้มีธนาคารพาณิชย์อื่นเริ่มตามมา โดยเจ้าแรกก็คือธนาคารทหารไทยเมื่อ พฤศจิกายน 2561 ที่ปรับคอนเซปต์จากกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสามารถรูดได้เลยโดยไม่ต้องแลกก่อน จนมาปีนี้เราก็ได้เห็น SCB ตามมาด้วย KBANK ที่ลงมาร่วมแจมในตลาดนี้

สรุปจุดเด่นของบัตรท่องเที่ยวที่ทุกใบมีคล้ายๆกัน

  • ใช้จ่ายได้ในต่างประเทศโดยไม่ต้องมีค่าความเสี่ยง 2.5%*
  • ได้เรตดีชนร้านรับแลกเงินยอดนิยม
  • ไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมากเวลาเดินทาง
  • อยากใช้เงินสดก็เบิกจากตู้ ATM ประเทศต่างๆได้เลย
  • เปิดปิดบัตรเฉพาะเวลาต้องการใช้งาน เพื่อความปลอดภัย
  • มีประกันการเดินทางให้ฟรี

*ปกติเวลาเรารูดบัตรเครดิตหรือเดบิตในต่างประเทศ เราจะโดนชาร์จเพิ่ม 2.5% เสมอ เช่น ซื้อสินค้า $100 ก็จะโดนเก็บ $102.5 สาเหตุจากค่าเงินที่มีความผันผวนตลอดเวลา ธนาคารเลยขอเรียกเก็บส่วนนี้ แต่บัตรท่องเที่ยวจะยกเว้นค่าความเสี่ยงนี้ออกไปให้นั่นเอง

Timeline การออกบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยว

ในที่นี้จะหาเอาทั้งบัตรเครดิตและเดบิตซึ่งไม่คิดค่าความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน 2.5% มารวมให้ทั้งหมดนะครับ

  • Krungthai Travel Card @ April 2018
  • TMB All Free @ Nov 2018
  • Citibank Global Wallet @ Dec 2018
  • TMB Absolute @ Jul 2019
  • PLANET SCB @ Aug 2019
  • KBANK Journey @ Oct 2019
  • YouTrip Powered by KBANK @Nov 2019

โดยตารางด้านล่างนี้ ทางผมจะขอดึงเอามาเปรียบเทียบเพียงแค่ 5 ใบที่เป็นบัตรท่องเที่ยวจากธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ของไทยกัน และเราสามารถแบ่งกลุ่มของบัตรออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

บัตรเติมเงิน : ต้องเติมเงินเข้าไปก่อนใช้งาน

  • Krungthai Travel Card
  • PLANET SCB
  • YouTrip powered by KBANK

บัตรเดบิต : ตัดเงินออกจากบัญชีเราโดยตรง

  • KBANK Journey
  • TMB All Free

ส่วนแต่ละบัตรมีรายละเอียดอย่างไร มีจุดเด่นที่ต่างกันอย่างไรบ้าง มาดูกันได้เลยครับ

PLANET SCBKrungthai Travel CardYouTrip powered by KBANKTMB All freeKbank Journey
การสมัคร
ค่าสมัคร200 บาท
ฟรี ถึง 31 ธ.ค.2562
200 บาท
ฟรี ถึง 31 ม.ค.2563
100 บาท
ฟรี ถึง 31 ต.ค.2563
500 บาท
ฟรี เมื่อสมัครผ่าน Call Center
700 บาท
ค่าธรรมเนียมรายปีไม่มีไม่มี200 บาท (ฟรีเมื่อสมัครก่อน 31 ต.ค. 63)350 บาท (ยกเว้นตามเงื่อนไข)550 บาท​ (ฟรีปีแรก)
อายุบัตร3 ปี (นับจากวันสมัคร)2 ปี (นับจากวันผลิตบัตร)3 ปี (นับจากวันสมัคร)5 ปี5 ปี
ลักษณะบัตร
รูปแบบบัตรเติมเงินบัตรเติมเงินบัตรเติมเงินDebit CardDebit Card
แลกเก็บหรือรูดได้เลยแลกเก็บไว้ในบัตรเท่านั้นแลกเก็บหรือรูดได้เลยรูดได้เลยไม่ต้องแลกรูดได้เลยไม่ต้องแลก
ล็อคเรตได้ล็อคเรตได้ล็อคเรตได้เรตแปรผันตามวันที่ใช้เรตแปรผันตามวันที่ใช้
บัตรVISAVISA / UNIONPAYMastercardVISAVISA
payWave (แตะจ่าย)☑️☑️☑️☑️☑️
ถอนเงินในไทยไม่ได้ไม่ได้ไม่ได้ได้ทุกตู้ทุกธนาคารได้แบบจำกัด
ปิดบัตรหลังใช้งานได้ ผ่านแอปได้ ผ่านแอปได้ ผ่านแอปได้ ผ่านแอปได้ ผ่านแอป
การใช้งานต่างประเทศ
สกุลเงินที่ใช้จ่ายได้ทุกสกุลเงินทั่วโลกเฉพาะ 14 สกุลเงินในบัตร ใช้จ่ายในไทยไม่ได้ทุกสกุลเงินทั่วโลกทุกสกุลเงินทั่วโลกทุกสกุลเงินทั่วโลก
ค่าความเสี่ยง 2.5%
รูดใช้จ่ายผ่าน EDC ต่างประเทศไม่มีชาร์จไม่มีชาร์จไม่มีชาร์จไม่มีชาร์จไม่มีชาร์จ
ซื้อสินค้าออนไลน์ไม่มีชาร์จไม่มีชาร์จไม่มีชาร์จไม่มีชาร์จมี สำหรับการซื้อสินค้าออนไลน์
เบิกเงินจากตู้ ATM ต่างประเทศไม่มีชาร์จไม่มีชาร์จไม่มีชาร์จไม่มีชาร์จมี สำหรับการเบิกเงินจากตู้ ATM
เบิกเงินจากตู้ ATM ต่างประเทศ100 บาท + fee ธ.ต่างประเทศชาร์จเป็นสกุลเงินต่างประเทศที่กด100 บาท + fee ธ.ต่างประเทศ75 บาท + fee ธ.ต่างประเทศ100 บาท + fee ธ.ต่างประเทศ
ยกเว้น 100 บาทถึง 31 ธ.ค. 62ยกเว้น 100 บาทถึง 31 ม.ค. 62
สกุลเงินที่แลกเก็บได้USD
EUR
GBP
JPY
AUD
CHF
SGD
HKD
CAD
NZD
CNY
KRW
TWD
USD
EUR
GBP
JPY
AUD
CHF
SGD
HKD
NZD
CAD
CNY*
SEK
NOK
DKK
RUB
*ต้องสมัครบัตรUnion แยกอีกใบ
USD
EUR
GBP
JPY
AUD
CHF
SGD
HKD
CAD
ไม่ต้องแลกใช้ได้เลยทั่วโลกไม่ต้องแลกใช้ได้เลยทั่วโลก
รูดโดยไม่แลกได้ไม่ได้ได้ได้ได้
เรตอ้างอิงเรทพิเศษของ SCBเรทพิเศษของ KTBเรทพิเศษของ YouTripเรท VISAเรทพิเศษของ KBank + เรท VISA
วิธีแลกเงินเติมเงินเข้าบัตร และแลกผ่าน SCB EASY 100-500,000 บาท/วันโอนเงินเข้าบัญชีและแลกผ่าน Krungthai NEXTเติมเงินและแลกในแอป YouTrip สูงสุด 500,000 บาท/วันไม่ต้องแลก ใช้ได้ตามยอดเงินในบัญชีไม่ต้องแลก ใช้ได้ตามยอดเงินในบัญชี
ถอนเงินในต่างประเทศ500,000 บาท ต่อวัน50,000 บาท ต่อวัน50,000 บาท ต่อเดือน200,000 บาท ต่อวันสูงสุด 200,000 บาท/บัตร/วัน
ยอดใช้จ่ายสูงสุดต่อวัน500,000 บาท500,000 บาท300,000 บาท (200K EDC + 100K Online)500,000 (ไม่มีชื่อ) / 2,000,000 (มีชื่อ) บาท200,000 บาท
จำนวนการแลกต่อวัน5 ครั้ง5 ครั้งไม่จำกัดN/AN/A
จำนวนเงินในบัตรสูงสุด500,000 บาทไม่เกิน 1 ล้านบาท (รวมทุกสกุลเงิน)500,000 บาทไม่จำกัดไม่จำกัด
ถอน/แลกเงินสกุลอื่นในไทยไม่ได้ถอนได้ 2 แห่ง (นานาเหนือ และ แอร์พอร์ตลิงค์)ไม่ได้ไม่ได้แลกได้จากบูธและสาขาธนาคาร
☑️ สาขานานาเหนือ/จุดให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ Airport Link สุวรรณภูมิ☑️ สำนักงานแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศและสาขาธนาคารกสิกรไทยทุกสาขา
เรตการแลกคืนตามที่แสดงในแอปตามที่แสดงในแอปตามที่แสดงในแอปN/AN/A
อื่นๆ
ออกบัตรใหม่200 บาท (ฟรี ถึง 31 ธ.ค.62)200 บาท (ฟรี ถึง 31 ม.ค.63)100 บาทฟรี550 บาท
โปรโมชั่นและสิทธิพิเศษ
ประกันเดินทางมีมีไม่มีมีมี
ประกันซื้อสินค้าไม่มีไม่มีไม่มีคุ้มครองช้อปออนไลน์ 5,000 บาท/ครั้งไม่มี
SIMไม่มีไม่มีไม่มีไม่มีSIM GO INTER (Asia – Australia – USA) 6 GB 10 วัน มูลค่า 399 บาท
Loungeฟรี Miracle Lounge 1 สิทธิ์ เมื่อลงทะเบียนและแลกเงินตามเงื่อนไขไม่มีไม่มีไม่มีMiracle Lounge 1 ครั้ง / ปี
สมัครภายในปี 62 รับ 3 ครั้ง / ปี
ส่วนลดจอง ร.ร. ผ่าน Agoda ลดสูงสุด 8%รับเงิน 200 บาท เมื่อจ่ายครั้งแรกผ่านบัตรส่วนลดเรียก Grab ไปสนามบิน 100 บาท
ส่วนลด Grab 50 บาท
ส่วนลด Grab Food 100 บาท
จอง ร.ร. ผ่าน Expedia ลด 8%
จอง ร.ร. ผ่าน Agoda ลด 5%
ซื้อ Lazada ครั้งแรกลด 20%
ซื้ือตั๋ว Major / SF ใบละ 100 บาท 2 ใบต่อเดือน
ลุ้นตั๋วไป-กลับญี่ปุ่น พร้อมที่พัก 5 คืน และ Pocket money อีก 10,000 บาทไม่มีไม่มีไม่มีไม่มี

วิเคราะห์จุดเด่น-ด้อยของแต่ละบัตร

PLANET SCB

จุดเด่น

  • ใช้ได้ทั่วโลก แม้สกุลเงินที่แลกไม่ได้
  • ใช้จ่ายในประเทศไทยได้
  • รองรับการแลกสกุลเงินหยวน, วอน, และไต้หวันดอลล่าห์
  • ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปีตลอดชีพ

จุดด้อย

  • ต้องโอนเงินเข้ากระเป๋าของบัตรก่อน (ซึ่งอาจมองเป็นข้อดีก็ได้)

จากบรรดาบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวทั้งหมด Planet SCB น่าจะเป็นใบที่ตอบโจทย์ได้ครบถ้วนความต้องการที่สุด โดยบัตรอื่นจะเน้นที่เรื่องการใช้งานในไทยควบคู่ไปด้วย แต่ Planet SCB จะค่อนข้างเน้นไปที่การใช้งานต่างประเทศแบบชัดเจน และที่สำคัญคือสมัครฟรี ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี หรือค่าธรรมเนียมอื่นๆหยุมหยิ๋ม และสามารถทำได้ทั้งแลกเงินเพื่อล็อคเรตที่ดีไว้ในบัตรก่อนได้ หรือจะรูดเลยไม่ต้องแลกก่อนก็ได้อีก สะดวกสุดๆตามต้องการ แถมยังมีประกันการเดินทางเอาไว้ให้เรียบร้อย

เรตความน่าใช้ ⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️

 

Krungthai Travel Card

จุดเด่น

  • ไม่มีค่าธรรมเนียม
  • แลกสกุลเงิน Norway, Sweden, Denmark และ Russia ได้

จุดด้อย

  • ไม่สามารถใช้จ่ายเงินสกุลที่ไม่รองรับได้เลย
  • ไม่สามารถรูดได้ทันที หากไม่แลกในสกุลเงินที่รองรับก่อน
  • ไม่มีโปรโมชั่นดึงดูด

เป็นบัตรที่ออกมาก่อนใครเพื่อน และทำให้หลายคนเรียกบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวทั้งหมดว่าเป็น Travel Card ได้เลย หลายอย่างเรียกว่าเป็นต้นแบบของ Planet SCB ก็ว่าได้ ล่าสุดก็มีการเพิ่มสกุลเงินที่รองรับเข้าไปอีก แต่ก็จะยังไม่มีรวมเงินหยวน, วอน, และไต้หวัน เข้าไปในบัตรอยู่ดี โดยเงินหยวนหากต้องการใช้งานต้องสมัครบัตรอีกใบเป็น Union เพิ่ม ไม่สามารถใช้งานเสร็จในใบเดียวได้ ทำให้วุ่นวายเล็กน้อย และด้วยความที่ออกมาก่อนใครเพื่อน ฐานลูกค้ามีมากในระดับนึงแล้ว ปัจจุบันจึงไม่ค่อยเห็นการทำโปรสักเท่าไหร่นัก

เรตความน่าใช้ ⭐️⭐️⭐️½

 

YouTrip powered by KBANK

จุดเด่น

  • ใช้ได้ทั่วโลก แม้สกุลเงินที่แลกไม่ได้
  • ใช้จ่ายในประเทศไทยได้
  • ไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆเลย

จุดด้อย

  • สกุลเงินที่ล็อคเรตได้น้อยกว่าบัตรอื่น
  • ต้องโอนเงินเข้ากระเป๋าของบัตรก่อน (ซึ่งอาจมองเป็นข้อดีก็ได้)

ชูจุดเด่นเรื่องปลอดค่าธรรมเนียมทุกสิ่ง ออกมาเป็นทางเลือกจากบัตร Journey ของธนาคารกสิกรเองที่มีค่าธรรมเนียมมากกว่าทุกใบ เรียกว่าเจาะตลาดคนละทางกันเลยก็ว่าได้ โดยการใช้งานจะแตกต่างจากบัตรใบอื่นเล็กน้อยที่ปกติผูกเข้ากับแอปธนาคารเลย แต่ของ YouTrip จะเป็นแอปแยกออกไป เพราะ YouTrip จะไม่ใช่ของ KBANK โดยตรง แต่มีการใช้หลังบ้านหลายส่วนจาก KBANK จึงเป็นที่มาว่า Powered by KBANK นั่นเอง ภาพรวมดีพอๆกับ Planet SCB แต่ด้อยกว่าในเรื่องจำนวนสกุลเงินที่สามารถแลกเก็บได้ ใช้เป็นบัตร Mastercard แทน VISA และสิทธิประโยชน์ต่างๆ จะน้อยกว่าเล็กน้อย

เรตความน่าใช้ ⭐️⭐️⭐️⭐️

 

TMB All Free

จุดเด่น

  • รูดได้ทั่วโลกโดยตรงไม่ต้องแลกก่อน
  • บัตรหายออกบัตรใหม่ฟรี
  • มีประกันซื้อของออนไลน์ โดนโกงมีชดใช้
  • สิทธิประโยชน์อื่นๆ
  • ใช้จ่าย ถอนเงิน ในประเทศไทย

จุดด้อย

  • ไม่สามารถล็อคเรตได้
  • มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี

เป็นรายแรกที่ทำบัตรเดบิตให้สามารถรูดใช้ง่ายสกุลเงินต่างประเทศได้โดยไม่ต้องแลกเงินเข้ากระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallet) ก่อน ได้เรื่องความสะดวกสบาย เพียงแค่มีเงินในบัญชีก็พร้อมใช้งานได้เลย ด้วยความที่มีการจ่ายค่าแรกเข้าและรายปี เสมือนเป็นบัตรเดบิตทั่วไป ทำให้ตัวบัตรมีโปรโมชั่นและทำได้มากกว่า Travel Card ของ SCB และ KTB ทั้งเบิกเงินสดได้จากตู้ ATM ทุกธนาคารทั่วไทย โดยไม่ต้องมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม และมีส่วนลด-สะสมแต้มสำหรับการใช้จ่ายในประเทศที่มากมาย ซึ่งถ้าไม่มีบัตรเครดิตอยู่แล้วก็ช่วยทำให้ใช้ชีวิตแบบไร้เงินสดได้สบายขึ้น แต่ก็น่าเสียดายที่ไม่สามารถแลกเงินเก็บเอาไว้ได้ ซึ่งจะจำเป็นมากในช่วงที่ค่าเงินผันผวน

เรตความน่าใช้ ⭐️⭐️⭐️⭐️

 

KBANK Journey

จุดเด่น

  • รูดได้ทั่วโลกโดยตรงไม่ต้องแลกก่อน
  • โปรโมชั่นและสิทธิประโยชน์เพียบ
  • สามารถใช้จ่าย-เบิกเงินสดในไทยได้
  • แลกเงินสดสกุลอื่น เรตเท่าแอป ได้จากช่องทางธนาคารกว่า 1,000 แห่ง

จุดด้อย

  • ค่าธรรมเนียมที่แพงกว่าคนอื่น
  • มีค่าความเสี่ยง 2.5% สำหรับการซื้อของออนไลน์และเบิกเงินสด

ทำเอาหลายคนงงที่ออกมาช้าสุดแต่มีการเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าบริการรายปีที่แพงกว่าชาวบ้าน แต่ก็แลกมากับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพียบ คิดซะว่าจ่ายเพื่อซื้อของแถมเหล่านี้ก็อาจจะยังคุ้มได้ และถ้าต้องการจะแลกเงินสดติดตัวก่อนบินก็ไม่ต้องวิ่งวุ่นหาร้านรับแลกแต่อย่างใด เพราะบูธรับแลกของกสิกรที่มีอยู่เยอะก็พร้อมจะให้รับแลกเรตเท่ากับในแอปได้เลยเพียงโชว์บัตรเท่านั้น อย่างไรก็ดีจุดด้อยเรื่องซื้อของ จองที่พัก ในเงินสกุลเงินอื่นยังคิดค่าความเสี่ยงตามปกติ เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาให้ดี อาจทำให้ต้องมีการถือบัตรมากกว่า 1 ใบเพื่อความคุ้มค่าสูงสุด

เรตความน่าใช้ ⭐️⭐️⭐️

 

ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลที่เรารวบรวมมาเอาไว้ให้นะครับ ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ต่อไปจากแต่ละธนาคาร ซึ่งถ้าใครมีข้อท้วงติงอย่างไรสามารถแจ้งมาเพื่ออัพเดทข้อมูลเพิ่มเติมได้ในคอมเม้นต์เลยนะครับ

 

รีวิวประสบการณ์ใช้งานบัตร

แชร์ประสบการณ์ใช้งานส่วนตัวจากบัตร Travel Card สักเล็กน้อย ส่วนตัวค่อนข้างประทับใจกับการใช้บัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวในต่างประเทศมากๆ ด้วยความสะดวก คุ้มค่า และปลอดภัย จ่ายบัตรก็ไม่ต้องกลัวจ่ายแพงกว่าเหมือนแต่ก่อน ปลอดภัยที่ไม่ต้องพกเงินสดเยอะๆ บัตรหายก็กดปิดได้ทันทีผ่านแอป คือแนะนำให้ใช้มากๆๆๆๆๆๆๆ แต่อย่างไรก็ดีแม้ว่าในหลายประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา จะรับบัตรเครดิต/เดบิต VISA อย่างแพร่หลาย แต่พึงระวังเอาไว้หน่อยว่ามีอีกหลายร้าน พ่อค้าแม่ขายบางเจ้าที่เค้าก็ไม่รับบัตรอยู่ก็มี และยังไม่รวมถึงปัญหาการใช้งานจริงที่บางครั้งอาจเกิดความขัดข้องในการเชื่อมต่อกับ Server ของธนาคารทำให้ไม่สามารถตัดเงินจากบัตรได้ จนทำให้การจับจ่ายใช้สอยในต่างประเทศเกิดความติดขัด แนะนำว่าเดินทางต่างประเทศก็เอาเงินสดติดตัวเอาไว้กันบ้าง โดยประเทศในแถบเอเชียก็อาจจะต้องพกเอาไว้เยอะหน่อย ส่วนในทวีปยุโรป อเมริกา หรือออสเตรเลีย ก็อาจจะน้อยลงมา ตาม Penetration ของการใช้งานบัตรเครดิตในแต่ละประเทศไปครับ

เรตอัตราแลกเปลี่ยนบัตร Travel Card ใบไหนดีที่สุด?

เรตอัตราแลกเปลี่ยนน่าจะเป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจกันมากที่สุด เมื่อต้องการจะใช้จ่ายกันสักทีนึง แต่จากการสำรวจ + สังเกตของทีมงาน พบว่าเรตจะเปลี่ยนแปลงในแต่ละวันไม่เท่ากัน ทำให้ไม่สามารถชี้ได้ชัดเจนว่าของบัตรใบไหนดีกว่า โดยเฉพาะบัตรที่เพิ่งออกมาใหม่จะเจอว่าเรตดีมาก แต่พอผ่านไปไม่กี่เดือน เรตกลับแพงกว่าของเจ้าอื่นไปหลายสิบสตางค์เลยก็มี ดังนั้นถ้าต้องการเรตที่ถูกที่สุด ขอแนะนำว่าก่อนจะใช้จ่ายก็เช็คดูอีกรอบเพื่อความชัวร์ เคยเจอมาแล้วว่ารูดจ่ายต่างกันหลักนาที เรตเปลี่ยนไปแล้วก็ยังมีเลย แต่อย่างไรก็ดีถ้าไม่ได้ซื้อของจำนวนมากๆ ก็ไม่ต้องซีเรียสไป เอาความสะดวกไว้ก่อนน่าจะดีกว่าครับ

ยกตัวอย่าง ความแตกต่างของอัตราแลกเปลี่ยนที่ต่างกัน

  • ถ้าเราต้องการซื้อของที่ราคา USD10
  • เรตราคาบัตร A @ 31.15 บาทต่อดอลล่าห์ คิดเป็นเงินไทย 311.50 สตางค์
  • เรตราคาบัตร B @ 31.18 บาทต่อดอลล่าห์ คิดเป็นเงินไทย 311.80 สตางค์

คิดเป็นเงินไทยต่างกันไม่ถึงบาทเลยด้วยซ้ำ ถ้าจะเอาคุ้มแต่ต้องแลกมาด้วยความวุ่นวายที่ต้องสลับบัตร คอยเช็คเรตตลอดเวลา ก็ลองคิดดูละกันครับว่ายอมเสียเวลาเที่ยว เวลาเดินช้อปต่อรึเปล่าครับ