ข่าวเตือนภัยใหม่กริ๊บจาก digitaltrends ระบุว่าตอนนี้ AI สามารถขโมยรหัสผ่านของเราได้แล้วผ่านการฟังเสียงกดแป้นพิมพ์ เป็นไปได้ว่าจะเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวทั้งหมด และยังมีความแม่นยำเกือบ 100% เลยนะ ถือว่าสูงมาก เรียกว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราไม่ควรมองข้ามเสียด้วยซ้ำ ถ้าทุกคนอยากรู้รายละเอียดตามมาอ่านกันได้เลยค่ะ

Pho to : Digital Trends

นักวิจัยจาก Cornell University ได้ค้นพบการขโมยข้อมูลแบบใหม่จากเครื่องมือ AI นั่นคือการกดแป้นพิมพ์ จากการทดลองและวิจัยการใช้ Ai ซึ่งสามารถขโมยรหัสผ่านของเราได้ด้วยความแม่นยำถึง 95% แค่แอบฟังสิ่งที่เราพิมพ์ลงไปบนแป้นพิมพ์เท่านั้น

จากการฝึกฝึกโมเดล AI เกี่ยวกับเสียงการกดแป้นพิมพ์และปรับใช้บนโทรศัพท์ที่อยู่ใกล้ไมโครโฟนในตัว ทำให้เราทราบว่าการกดแป้นพิมพ์บนเครื่อง Macbook Pro สามารถถอดรหัสด้วยความแม่นยำสูงถึง 95% โดยไม่ต้องใช้เครื่องมืออื่น ๆ อย่างโมเดลภาษาขนาดใหญ่มาช่วยแต่อย่างใด

แถมทีมนักวิจัยยังได้ทดสอบความแม่นยำระหว่างการโทรผ่านแอปพลิเคชั่น  Zoom ซึ่งบันทึกการกดแป้นพิมพ์ด้วยไมโครโฟนของแล็ปท็อปในระหว่างการประชุม ในการทดสอบนี้ AI มีความแม่นยำถึง 93% ในการสร้างการกดแป้นพิมพ์ซ้ำ ใน Skype โมเดลมีความแม่นยำ 91.7% เรียกได้ว่า AI สามารถแกะรหัสผ่านได้แม่นยำจนน่ากลัวไม่น้อย

ถ้าใครเริ่มเกิดอาการกลัวจนอยากทิ้งแป้นพิมพ์ลงถังขยะ ก็ให้ใจเย็นลงก่อน เพราะมีข้อสังเกตเล็กน้อย โดยโมเดล AI ได้รับการฝึกเกี่ยวกับรูปคลื่น ความเข้มของเสียง และเวลาของการกดแป้นพิมพ์แต่ละครั้งเพื่อระบุ ตัวอย่างเช่น เราอาจกดแป้นหนึ่งแป้นช้ากว่าแป้นอื่นเสี้ยววินาทีเนื่องจากสไตล์การพิมพ์ของเรา ซึ่งโมเดล AI จะนำมาเก็บข้อมูลด้วย สิ่งที่จะสื่อคือการโจมตีนี้จะอยู่ในรูปของมัลแวร์ที่ติดตั้งบนโทรศัพท์ของเรา หรืออุปกรณ์อื่นที่อยู่ใกล้เคียงพร้อมไมโครโฟน 

คำแนะนำ

  • หลีกเลี่ยงการพิมพ์รหัสผ่านที่จำเป็นของเราโดยใช้แป้นพิมพ์
  • สแกนใบหน้าเข้ารหัสแทน
  • สแกนลายนิ้วมือ (Touch ID) เข้ารหัสแทน

ถึงอย่างไรก็ตามนี่เป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม เพราะที่ผ่านมาใครหลายคนอาจได้เห็นการขโมยข้อมูลจาก ChatGPT กันไปบ้างแล้ว ถือว่าป้องกันไว้ก่อนค่ะ เราไม่รู้ว่าแอปหรือเว็บไซต์ที่เราเข้าไปจะมีความปลอดภัยแค่ไหน เพราะฉะนั้นให้ตรวจสอบทุกครั้งก่อนคลิกเข้าลิงค์อะไรไปจะได้ลดความเสี่ยงลงได้ นี่ยังเป็นการทดลองจากนักวิจัยเท่านั้น แต่ถ้าอนาคตตกไปในมือของอาชญากรทางไซเบอร์ก็คงน่ากลัวเอามาก ๆ 😣

 

ที่มา : digitaltrends