ดูเหมือนสถานการณ์ COVID-19 ล่าสุดจะไม่มีท่าทีว่าจะคลี่คลายลงเลยแม้แต่น้อยเพราะล่าสุดวันที่ 5 มกราคม 2564 ทาง ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.)ได้มีการประกาศยกระดับมาตรการควบคุมโรคใน 5 จังหวัดเสี่ยงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งเข้ากระชับพื้นที่อย่างเต็มที่ และแนะนำให้ทุกคนใช้แอปพลิเคชั่นหมอชนะ เพื่อหยุดการกระจายโรคอีกทั้ง เมื่อเที่ยงที่ผ่านมาได้มีการกำชับว่า ใครที่ติดเชื้อ COVID-19 แล้วไม่มีแอปพลิเคชั่นหมอชนะ ถือว่ามีความผิด

หมอทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประกาศเพิ่มมาตรการใน 5 จังหวัดเสี่ยงได้แก่ สมุทรสาคร ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด โดยกำหนดให้เป็นพื้นที่คุมเข้มสูงสุด แต่ไม่ใช่การล็อกดาวน์โดยสิ้นเชิง

โดยหลัก ๆ แล้ว 5 พื้นที่จะเพิ่มมาตรการสกัดกั้นการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 ทั้ง 5 จังหวัดให้มีความเข้มงวดมากขึ้นกว่า 23 จังหวัดที่เหลือโดยการตั้งจุดตรวจมากขึ้น และกำชับให้ทุกคนที่อยู่ในพื้นที่โหลดแอปพลิเคชั่นหมอชนะ และไทยชนะมาเอาไว้ใช้งานเพื่อคอยติดตามผู้ติดเชื้อ และพื้นที่เสี่ยง

นอกจากนี้ในประกาศ ศบค. ฉบับที่ 17 ของวันที่ 7 มกราคมได้มีการย้ำกำชับอีกรอบว่าก่อนหน้านี้เคยใช้ไทยชนะมาก่อน แต่ตอนนี้ควรใช้ หมอชนะ ควบคู่กันไปด้วยพร้อมทั้งให้ข้อมูลว่า หากพบผู้ป่วย COVID-19 ไม่มีแอปพลิเคชั่น จะถือว่าให้มีความผิด จำคุก 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท ตามประกาศฉบับที่ 17 (อ้างอิงจาก ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ข้อกำหนดออกตามความมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับ 17 ข้อที่ 4) 

พักนี้เน้นย้ำว่าจะต้องมีแอปพลิเคชั่นอยู่ในมือถือเพื่อการติดตามตัว ซึ่งเดิมทีเราใช้ “ไทยชนะ” อยู่ แต่ต่อไปคือการมี “หมอชนะ” จะต้องเกิดขึ้น โดยเมื่อเช้านี้ได้มีการพูดคุยกับชุดประชุมเล็กของ ศบค. บอกว่าต่อไปนี้ใครที่ติดเชื้อ COVID-19 แล้วพบว่าไม่มีการติดตั้งแอปหมอชนะ ก็จะถือว่าท่านได้ละเมิดกฎหมายในประกาศฉบับนี้ และแอปหมอชนะจะช่วยมาเป็นคำตอบให้เราสามารถติดตามตัวคนป่วยได้ง่ายยิ่งขึ้น

Play video

เริ่มพูดถึงโทษความผิด ช่วงนาทีที่ 2.09

เชื่อว่าทุกคนน่านจะคุ้นเคยกับฟีเจอร์ของไทยชนะกันมาก่อนแล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็นับว่าเป็นครั้งแรกที่ ศบค. ยอมแนะนำให้คนใช้งานแอปหมอชนะ ร่วมกันกับไทยชนะ ซึ่งถึงแม้ว่าไทยชนะจะคล้ายกับหมอชนะ ตรงที่จุดมุ่งหมายหลักของแอปคือการติดตามเส้นทาง และประวัติการเดินทางของผู้ใช้งาน แต่หมอชนะก็มาพร้อมกับฟีเจอร์ และการทำงานที่มีประสิทธิภาพกว่ากันมาก ๆ

หมอชนะต่างจาก ไทยชนะอย่างไร ?

การทำงานของไทยชนะนั้นก็ง่าย ๆ ก็คือทุกครั้งที่ผู้ใช้งานเข้าห้างร้านหรือสถานที่ที่มีคนชุกชุมเยอะ ๆ ก็จะใช้เป็นระบบเช็คอิน และเช็คเอาท์เพื่อคอยนับจำนวนคนที่เหมาะสมต่อสถานที่นั้น ๆ อีกทั้งยังคอยเก็บข้อมูล และติดตามทีหลังได้หากเจอผู้ป่วยที่มีประวัติเคยไปที่ไหนมาก่อน

อย่างไรก็ตามไทยชนะก็ยังมีความหละหลวมอยู่ที่ผู้ใช้งานทุกคนต้องให้ความร่วมมือในการเช็คอินหรือเช็คเอาท์ตลอดเวลา ซึ่งบางครั้งก็อาจมีคนที่ไม่ให้ความร่วมมือไม่สแกนเข้าออกสถานที่ทำให้ตัวแอปไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ควร

ในทางกลับกันหมอชนะใช้เทคโนโลยี GPS และ Bluetooth Low Energy (BLE) เพื่อเข้าสู่ข้อมูลส่วนตัวในการบันทึกตำแหน่งที่ผู้ใช้งานเคยเดินทางไป พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลกับมือถือเครื่องอื่นที่ติดตั้งแอปหมอชนะไว้ด้วยกัน ทำให้ตัวแอปเตือนเราตลอดเวลาที่มีการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่มีความเสี่ยง หรือเมื่อเข้าสู่พื้นที่เสี่ยงติดเชื้อ และแจ้งเตือนให้ไปหาโรงพยาบาลได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง

แบบนี้หมายความว่า ถ้ายิ่งมีคนใช้งานแอปหมอชนะมากขึ้นเรื่อย ๆ ตัวแอปก็จะมีฐานข้อมูลที่มากขึ้นทำให้การติดตามเชื้อมีประสิทธิภาพมากขึ้น แถมตัวแอปยังทำงานในพื้นหลังแบบอัตโนมัติไม่ต้องมาคอยเช็คอินเช็คเอาท์ให้ยุ่งยากอีกด้วย แถมตัวแอปหมอชนะยังมีแบบสอบถามรายวันเพื่อคอยประเมินความเสี่ยงติดเชื้อให้เราทำอีกด้วย สามารถอ่านรีวิวและรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแอปหมอชนะได้ในบล็อกด้านล่างเลยครับ

“หมอชนะ” แอปที่ควรลง หากต้องออกจากบ้านในช่วง COVID-19

สำหรับใครที่ยังไม่ได้โหลดแอปพลิเคชั่น หมอชนะ หรือไทยชนะก็สามารถไปดาวน์โหลดมาติดเครื่องเอาไว้ ทั้งใน Play Store และ App Store ได้ในลิ้งค์ข้างใต้นี้เลย และนอกจาก 2 แอปนี้ก็ยัง Line@AWAYCOVID19 ที่จะคอยอัปเดตข่าวสารรายงานยอดผู้ป่วยพร้อมกำหนดพื้นที่เสี่ยงแบบ real-time ให้ผู้ใช้งานสามารถวางแผนการเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างปลอดภัยอีกด้วย แต่ก็มีคำถามในเรื่องที่ว่าหากไม่มีสมาร์ตโฟน แล้วติดเชื้อ COVID-19 แบบนี้จะถือว่ามีความผิดหรือไม่นะ 

****อัปเดตล่าสุด อนุทินออกมาเผย นายกฯ สั่งแก้ไขคำสั่ง กรณีแอปหมอชนะแล้ว หลังประชาชนไม่พอใจเพราะไม่มีโทรศัพท์ คอนเฟิร์มให้ว่าไม่โหลด “หมอชนะ” ไม่มีความผิด

อนุทิน ชาญวีรกูล นายกกระทรวงสาธารนะสุข และรองนายกรัฐมลตรีได้ออกมาโพสต์ข้อความลงบน Facebook ส่วนตัวเพื่อชี้แจงถึงกรณีแอปหมอชนะ และโทษที่ไม่โหลดแอปจะผิดตามพรก. ฉุกเฉิน และได้ให้ข้อมูลว่าได้นำเรื่องยื่นให้นายกฯ พิจรนานโยบายใหม่หลังจากมีประชาชนหลายส่วนไม่พอใจเพราะไม่มีมือถือ ไม่สามารถโหลดแอปหมอชนะได้ พร้อมทั้งคอนเฟิร์มว่าไม่โหลดหมอชนะ ไม่มีความผิดแน่นอน แต่โพสต์ต้นทางหลังจากขึ้นได้ 10 นาทีกว่า ๆ ก็ได้ถูกลบออกไปแล้ว สร้างความสับสนให้กับคนอ่าน (รวมทั้งทีมงาน) เป็นอย่างมาก

อนุทิน” แจงไม่โหลด “หมอชนะ” ไม่มีความผิด เผย นายกฯสั่งแก้ไขคำสั่งแล้ว
โพสต์ต้นทางที่กล่าวชี้แจงเรื่องแอปหมอชนะ 

แต่หลังจากนั้นไม่นานก็ได้มีการอัปเดตมาอีกครั้งคราวนี้จาก Facebook ของ ศบค. ที่ออกมาแก้ข่าวว่าไม่โหลดแอปหมอชนะ ไม่ต้องโทษพร้อม #ไม่โหลดไม่ผิดทำให้เราก็พอวางใจไปได้ระดับหนึ่งแล้วว่าถ้าใครติดแล้วไม่มีหมอชนะก็จะไม่โดนจับกุม หรือปรับนั่นเอง อีกทั้งยังมีการให้รายละเอียดว่าถ้าไม่สะดวกใช้งานหมอชนะก็สามารถใช้วิธีการ “เขียน”เอาเองได้ ซึ่งดูแล้วน่าจะเป็นการขอความร่วมมือให้ตัวเองจด Timeline การเดินทางของตัวเองอย่างละเอียดนั่นเอง

อีกทั้งทางด้านของ หมอทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ก็ได้ออกมาแก้ข่าวใน Facebook ส่วนตัวของตนเองพร้อมบอกว่า เป็นความผิดพลาดทางการสื่อสาร และข้อความเต็ม ๆ คือ“หากติดเชื้อ แล้วปิดบังข้อมูลรวมถึงไม่พบแอปหมอชนะจะถือว่ามีความผิดตามกำหนด”

เพราะงั้นเราก็พอสรุปได้แล้วว่าทาง ศบค. ก็ขอความร่วมมือทุกคนให้ช่วยกันโหลดแอป “หมอชนะ” มาใช้แต่ถ้าไม่โหลดก็ไม่ได้โดนจับ แต่ก็ต้องมีการจด Timeline การเดินทางที่ครบถ้วนชัดเจนเอาไว้ด้วยเพื่อที่จะสามารถติดตามโรคได้ครับ

MorChana - หมอชนะ
MorChana - หมอชนะ
Developer: Unknown
Price: Free
Thaichana - ไทยชนะ
Thaichana - ไทยชนะ
Developer: Unknown
Price: Free
‎Thaichana
‎Thaichana
Developer: Krung Thai Bank
Price: Free