หลังจากที่ทาง Google ได้ตกเป็นเป้าคดีกฎหมายต่อต้านการผูกขาด (AntiTrust) ในสหรัฐฯ จากกระทรวงยุติธรรมหลังจากที่ Google ได้ทำการซื้อกิจการ Fitbit ไปเมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้ทั้งรัฐบาลทางฝั่ง US และ EU เกิดความไม่ไว้วางใจขึ้นจากการที่ Google จะได้ข้อมูลเชิงสุขภาพของผู้ใช้งาน Fitbit ไป อีกทั้งล่าสุดได้มีการเจรจาอาจบังคับให้ Google ขายเบราว์เซอร์ Chrome และบริการโฆษณาบางส่วนทิ้งอีกด้วย
Google Chrome ถือว่าเป็นเบราว์เซอร์ที่ครองตลาดผู้ใช้งานมากถึง 65% ของคนทั่วโลก คิดง่าย ๆ คือทุกสิบคน จะมีคนอย่างน้อย 6 คนที่ใช้ Google Chrome เป็นเบราว์เซอร์หลัก (รวมทั้งผมด้วย🤣) อีกทั้งตัว Google ยังมีบริการโฆษณาออนไลน์อย่าง Google Ads สมทบอยู่ด้วยทำให้อำนาจความผูกขาดของ Google เริ่มสร้างความน่าเป็นห่วงให้กับรัฐบาล
ในขั้นตอนการพิจารณาคดีในตอนนี้ ทางกระทรวงยุติธรรม (Department of Justice) กำลังหารือกับหลาย ๆ องค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะคุยกันว่าควรบังคับให้ Google ขายกิจการอะไรทิ้ง เพื่อที่จะลดกำลังความผูกขาดของ Google ลงได้บ้าง อย่างไรก็ตามการที่ Google กับ Chrome ต้องแยกออกจากกันก็อาจจะไม่ได้เป็นเรื่องหนักหนาสำหรับ Google เท่าไหร่ เนื่องจาก Chrome เป็นเบราว์เซอร์ที่มีพื้นฐานมาจาก Open-source อย่าง Chromium ซึ่งมีบริษัทหลายเจ้าร่วมหุ้นอยู่ด้วยนั่นเอง
แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ มันอาจจะกระทบกับผู้ใช้งานเบราว์เซอร์ Chrome มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการผูกบัญชีของเบราว์เซอร์ดังกล่าวเข้ากับบริการต่าง ๆ, เหล่า Add-ons ที่อยู่ใน Eco-system และอื่น ๆ
ถึงแม้ว้าทางกระทรวงยุติธรรม จะไม่ได้มีการออกมาประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่จากแหล่งข่าวก็ได้มีการคอนเฟิร์มกันแล้วว่าวงในกำลังเจรจาเรื่องนี้กันอยู่ โดยมีจุดประสงค์หลัก ๆ เพื่อที่จะจำกัดอำนาจผูกขาดทางตลาดของ Google ในขณะที่กำลังดำเนินคดีความ Antitrust ไปด้วย ถ้าหากว่าทางกระทรวงยุติธรรมตัดสินใจว่าจะบังคับให้ Google ขาย Chrome จริง ๆ เราก็อาจจะได้เห็น เบราว์เซอร์ Chrome ในชื่อใหม่ก็เป็นได้ครับ 😆
งง งง กับกรณีนี้ นี่ไม่บอกว่า Google ผูกขาด Play Store หรือ Apple ผูกขาด App Store ไปเลยล่ะ Chrome มัน Open source นะ ตอน ตอน Microsoft ไม่ไม่ให้ห้ามทำ Internet Explorer ล่ะ อยากรู้ลึกๆ ว่ามันมีเบื้องหลังอะไรมากกว่านี้รึเปล่า
งงก็อานซ้ำๆ ไปครับจะได้เข้าใจ เพราะคำอธิบายมันชัดเจน หัดใช้ความคิดบ้าง เพิ่มรอยหยัก
กฏหมายป้องกันการผูกขาดไม่ได้เอาเรื่องทุกคนที่ผูกขาด แต่เอาเรื่องคนที่มีอำนาจมากๆจากการผูกขาดครับ
ก็คือใครที่ผูกขาดจนมีอำนาจเหนือตลาดมากๆ และมีแนวโน้มที่จะใช้อำนาจนั้นสร้างข้อได้เปรียบ จะโดนข้อหานี้กันหมดครับ
ที่ผ่านมา.. ถึงจะคนละข้อหา แต่ Google Microsoft Amazon ต่างโดนเรื่องนี้มาแล้วทั้งนั้น ส่วน Apple ด้วยความที่ไม่ได้ครองส่วนแบ่งในตลาดรวมสูงสุดก็เลยยังรอดอยู่
แน่นอน.. ข้อหานี้มันอาจฟังดูไม่แฟร์กับบริษัทใหญ่ แต่ที่รัฐต้องแทรกแซงเพื่อรักษาการแข่งขันกับบริษัทเล็ก ซึ่งมันจะส่งผลดีกับตลาดและผู้ใช้โดยรวมครับ
ตั้งราคาสูงๆจนไม่มีใครซื้อได้ป่ะ 😆😆😆
chrome บน desktop เป็นแบบสมัครใจโหลดมาใช้เอง คนใช้เยอะผิดอะไรว่ะ
บน Android ถึงจะมี bundle มาให้เลยแต่…มันเป็น android เปล่าว่ะ ถ้าคิดว่าแบบนี้ไม่แฟร์
งั้น iOS ที่ bundle safari มาไม่โดนบ้างล่ะ เพราะคนใช้น้อยกว่า chrome งั้้นหรอเลยมองผ่านไป
แล้วงี้ iOS เองมาแต่กับเครื่อง apple ไม่บอกว่า apple ผูกขาด iOS เลยล่ะ
เล่นมองเหมารวมว่า app ได้ความนิยมสูง ต้องอยู่กับ บ.ใหญ่ๆ นับเป็นผูกขาดได้ไง ไม่คิดว่าของมันดีเลยขายดีบ้างหรอ
อารมแบบถ้าเซเว่นขึ้นหน้าซอยร้านโชห่วยก็อาจดับ ประเทศไทยควรทำแบบนี้บ้างปล่อยให้เจ้าสัวผูกขาดซะเยอะเลย