หลังจากที่ทาง Google ได้ตกเป็นเป้าคดีกฎหมายต่อต้านการผูกขาด (AntiTrust) ในสหรัฐฯ จากกระทรวงยุติธรรมหลังจากที่ Google ได้ทำการซื้อกิจการ Fitbit ไปเมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้ทั้งรัฐบาลทางฝั่ง US และ EU เกิดความไม่ไว้วางใจขึ้นจากการที่ Google จะได้ข้อมูลเชิงสุขภาพของผู้ใช้งาน Fitbit ไป อีกทั้งล่าสุดได้มีการเจรจาอาจบังคับให้ Google ขายเบราว์เซอร์ Chrome และบริการโฆษณาบางส่วนทิ้งอีกด้วย

Google Chrome ถือว่าเป็นเบราว์เซอร์ที่ครองตลาดผู้ใช้งานมากถึง 65% ของคนทั่วโลก คิดง่าย ๆ คือทุกสิบคน จะมีคนอย่างน้อย 6 คนที่ใช้ Google Chrome เป็นเบราว์เซอร์หลัก (รวมทั้งผมด้วย🤣) อีกทั้งตัว Google ยังมีบริการโฆษณาออนไลน์อย่าง Google Ads สมทบอยู่ด้วยทำให้อำนาจความผูกขาดของ Google เริ่มสร้างความน่าเป็นห่วงให้กับรัฐบาล

ในขั้นตอนการพิจารณาคดีในตอนนี้ ทางกระทรวงยุติธรรม (Department of Justice) กำลังหารือกับหลาย ๆ องค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะคุยกันว่าควรบังคับให้ Google ขายกิจการอะไรทิ้ง เพื่อที่จะลดกำลังความผูกขาดของ Google ลงได้บ้าง อย่างไรก็ตามการที่ Google กับ Chrome ต้องแยกออกจากกันก็อาจจะไม่ได้เป็นเรื่องหนักหนาสำหรับ Google เท่าไหร่ เนื่องจาก Chrome เป็นเบราว์เซอร์ที่มีพื้นฐานมาจาก Open-source อย่าง Chromium ซึ่งมีบริษัทหลายเจ้าร่วมหุ้นอยู่ด้วยนั่นเอง

แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ มันอาจจะกระทบกับผู้ใช้งานเบราว์เซอร์ Chrome มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการผูกบัญชีของเบราว์เซอร์ดังกล่าวเข้ากับบริการต่าง ๆ, เหล่า Add-ons ที่อยู่ใน Eco-system และอื่น ๆ

ถึงแม้ว้าทางกระทรวงยุติธรรม จะไม่ได้มีการออกมาประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่จากแหล่งข่าวก็ได้มีการคอนเฟิร์มกันแล้วว่าวงในกำลังเจรจาเรื่องนี้กันอยู่ โดยมีจุดประสงค์หลัก ๆ เพื่อที่จะจำกัดอำนาจผูกขาดทางตลาดของ Google ในขณะที่กำลังดำเนินคดีความ Antitrust ไปด้วย ถ้าหากว่าทางกระทรวงยุติธรรมตัดสินใจว่าจะบังคับให้ Google ขาย Chrome จริง ๆ เราก็อาจจะได้เห็น เบราว์เซอร์ Chrome ในชื่อใหม่ก็เป็นได้ครับ 😆

 

Source: AndroidPolice