JD.com แพลตฟอร์มซื้อขายของออนไลน์ เตรียมถอนธุรกิจออกจากประเทศไทยและอินโดนีเซีย หลังจากที่พยายามบุกตลาดฝั่งนี้มานานหลายปีแต่ไม่ได้ยอดตามเป้า พร้อมจะหันกลับไปประเทศโฟกัสกับตลาดที่ประเทศจีนบ้านเกิดแทน จากการวิเคราะห์คาดว่าเป็นผลพวงมาจากเศรษฐกิจซบเซา ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังเรื่องค่าใช้จ่ายกันมากขึ้น และการไม่ปรับตัวธุรกิจให้เหมาะสมกับประเทศเป้าหมายครับ
รายงานนี้ก็มาจากสื่อของจีน สำนักข่าว Xiaguangshe ที่อ้างว่ามีแหล่งข้อมูลสองรายให้รายละเอียดมา ระบุว่า JD.com ได้ลงทุนไปในตลาดอินโดนีเซียและไทยไปร่วม 1 หมื่นล้านหยวน หรือราว 5 หมื่นล้านบาทในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา
โดย JD Central ของประเทศไทยนั้นได้พยายามถอนตัวออกจากการทำธุรกิจร่วมกับเครือเซ็นทรัล ที่ได้จับมือเป็นพันธมิตรกันไปเมื่อปี 2017 ส่วน JD.ID ของอินโดนีเซียก็พยายามหานักลงทุนมาเข้าซื้อกิจการแทนธุรกิจร่วมระหว่าง JD กับ Provident Capital Partners
ซึ่งที่ผ่านมา JD.com ต้องเจอมรสุมธุรกิจหลายลูก ทั้งมีการออกแคมเปญช่วง Covid-19 ที่ไม่มากเพียงพอ, การไม่ปรับธุรกิจให้เข้ากับตลาดของไทยและอินโดนีเซีย เนื่องจากการตัดสินใจทางธุรกิจนั้นมักมาจากผู้บริหารในจีน
ทำไม JD จะเลิกทำธุรกิจในไทย
ส่วน JD Central ที่ไทยเรานั้นก็ได้มีการดำเนินงานที่ขาดทุนมาตั้งแต่เปิดตัว จากรายงานของไทยพบว่าขาดทุนไปแล้วราว 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นเหตุให้เซ็นทรัลเรียกผู้บริหารที่รับผิดชอบกลับไปแล้วหลายคน จากการดำเนินงานที่ไม่สำเร็จผล
และแน่นอนว่าตลาด e-commerce ในไทยนั้นก็มีความดุเดือด โดยร้าน Central หลักเองนั้นสามารถดึงลูกค้าได้มากกว่าเว็บ JD Central ด้วยซ้ำ นอกจากนี้ยังต้องแข่งกับสองเจ้าตลาดอย่าง Shopee และ Lazada ที่มียอดผู้ใช้งานสูงนำหน้าไปไกล
ส่วน JD.ID ที่อินโดนีเซียก็ไม่สามารถแข่งขันราคากับทาง Shopee, Lazada, Tokopedia, Bilibili และ, Bukalapak ของโซนนั้นได้เลยครับ
ทั้งนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่า JD ของไทยเราเมื่อถอนตัวออกจากธุรกิจร่วมจาก Central แล้ว จะหันไปจับมือร่วมกับพาร์ทเนอร์อื่น จะทำธุรกิจเองเดี่ยว ๆ หรือจะยังไงต่อไป ต้องรอประกาศจากทาง JD.com เองอีกทีครับ
ล่าสุดทาง JD Central ประกาศแล้วว่าจะหยุดให้บริการในไทย 3 มีนาคม 2566
ที่มา : scmp
ไม่อยากจะเชื่อว่าในยุคลุงตู่จะมีธุรกิจอะไรเจ๊งได้
จริงไม่น่าเชื่อ สาขาอินโด ก็เจ๊งเพราะลุงตู่ด้วย
บางทีคลั่งการเมืองมากๆ ก็ทำให้คนเพ้อเจ้อได้ 555
ขนาดในบทความก็ทีเขียนไว้คร่าวๆ ก็ไม่อ่าน
Fact ป่ะ ธุรกิจแบบนี้มันต้องเผาเงินจำนวนมากเพื่อหาลูกค้าหรือยุสเซอร์มาเติมเรื่อยๆ ซึ่งมันมาในรุปแบบส่วนลด โปรโมชั่นต่างๆ ยิ่งมีอัตราการเติบโตมาก ก็ยิ่งหาผู้ลงทุนและเงินลงทุนได้เรื่อยๆ
เมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะเป็นการเอาคืนหรือทำกำไรคืนทุน เมื่อเวลาที่ต้องการคืนทุนบริษัทก็ต้องลดภาระต่างๆ ก่อน ไม่มีโบนัส ปรับลดพนักงาน โรปโมชันดีเริ่มหาย คูปองดีๆ เริ่มไม่แจก เงื่อนไขเริ่มเยอะ
หากทำแล้วยังไม่ฟื้นทางเลือกคือ เลิกทำกิจการ
ธุรกิจ ecommerce มันเป็น Red Ocean ใครไม่แกร่ง ทุนไม่หนา อยู่ไม่ได้
ประเทศไทยเป็นประเทศที่คนซื้อของออนไลน์อันดับต้นๆ ของโลก
ตอนที่ JD มาทำตลาด ตอนนั้น ecommerce ในไทยกำลังบูม LAZADA กับ SHOPEE โตมากและเร็วมาก (โตไม่ได้หมายถึงกำไร) แข่งกันอัดโปรโมชั่น แจกคูปอง
ทางเซ็นทรัลที่เห็นว่าตัวเองก็มีธุรกิจค้าปลีกอยู่แล้ว เลยดึง JD เข้ามาผนึกกำลังเพื่อแข่งขันหวังว่าความได้เปรียบที่ตัวเองมีธุรกิจในเครือพอที่จะทำให้มาเบียดแย่งอีกสองเจ้าใหญ่ได้
และหากดูที่ต่างประเทศ ธุรกิจอย่าง AMAZON นี่ก็ปรับลดพนักงานจำนวนมากเช่นกัน
เค้าเข้าใจว่าโพสสไตล์นี้แล้วฉลาดไง แต่จริงๆแล้ว…
เค้าอาจจะหมายความแระมาณแซะตู่ น่าจะเอื้อจีนช่วยคนจีนประมาณนั้นป่าว
แต่ช่างเถอะจะมีช่วงsaleหนัก โล๊ะของที่ค้างโกดัง JD บ้างป่าว(ที่ทำสัญญากับคู่ค้าไว้)
เคยสั่งของจาก JD ปัญหาคือ
1. ส่งของช้ากว่าเจ้าอื่น
2. ราคาก็ไม่ได้ถูกกว่าเจ้าอื่น
3. ระบบก็ไม่ได้ดีเท่าเจ้าอื่น