ในปัจจุบันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นในชีวิตของเรา พร้อมกับมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสหกรรม, วงการแพทย์ , สังคม , เศรษฐกิจ รวมไปถึงวงการศิลปะที่เรากำลังจะพูดกันอยู่ตอนนี้ค่ะ อย่างการประมวลผลการทำงานของ Midjourney ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในช่วงเวลานี้ เรียกว่าไม่มีใครไม่รู้จักอย่างแน่นอน เราจะมาถกประเด็นกันว่าการที่ AI ก้าวเข้ามามันมีจุดเปลี่ยนแค่ไหน แล้วส่งผลกระทบต่อมนุษย์อย่างไรบ้าง ?!

บทบาทของ AI ที่กำลังขยายตัว  

เราต้องยอมรับก่อนอย่างหนึ่งว่าตอนนี้เทคโนโลยีได้ก้าวเข้ามามีบทบาทที่สำคัญอย่างมาก ในหลากหลายด้านจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยว่าเราจะไม่หวังพึ่งเทคโนโลยี ต้องบอกว่าอนาคตกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ณ ตอนนี้เดินหน้าไปพร้อมนวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลาเลยค่ะ ทั้งการคิดเชิงวิพากษ์ โครงสร้างสังคม การแก้ปัญหา การจัดการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ และเหนือสิ่งอื่นใด การแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ ยิ่งตัว AI ก้าวข้ามขีดจำกัดที่มนุษยเกินจะควบคุมได้ย่อมเกิดการตั้งคำถามเป็นธรรมดา 

ทำไม Midjourney ถึงเกิดกระแสขึ้นมาในบ้านเรา ?

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา มีงานศิลปะที่สร้างขึ้นโดย AI ได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันวิจิตรศิลป์ ในหมวดหมู่ดิจิทัล Fine Arts เป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นในระดับรัฐโคโลราโดประเทศสหรัฐอเมริกาค่ะ

ผลงานที่สร้างโดย AI ของเจสัน อัลเลน (Jason Allen) ได้ใช้ Midjourney AI หรือปัญญาประดิษฐ์ในการสร้างภาพศิลทำให้เป็นหนึ่งในผลงานที่ AI สร้างขึ้นชิ้นแรกที่ชนะรางวัลพร้อมเงิน 300 ดอลลาร์ ผลงานของเจสันมีชื่อว่าเทียเทอร์ เด โอเปร่า สปาเทียล “Théâtre D’opéra Spatial” แปลว่าโรงละครโอเปร่าอวกาศ  ถ้าเรามามองดูรายละเอียดและองค์ประกอบภาพจะรู้สึกเลยว่ามันสวยงามมากจริง ๆ แต่เจสันไม่ได้วาดเองนั่นแหละค่ะ 

เรื่องนี้ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ก่อเป็นดราม่าอย่างหนักในต่างประเทศ ว่าทำไมถึงปล่อยให้งานนี้ได้รับรางวัล บ้างก็บอกว่าเป็นงานที่น่ารังเกียจไม่สมควรได้รับ เพราะว่าเป็นการโกงในขณะที่คนอื่นใช้โปรแกรมวาดภาพอย่าง Photoshop หรือซอฟแวต์แวร์สำหรับวาดภาพ จึงเกิดการตั้งคำถามเพิ่มเติมกับศิลปะในไทยและทั่วโลก อันนี้เราคงต้องมองลึกลงไปว่าที่เหล่าศิลปินไม่พอใจเพราะการจะวาดรูปออกมาแต่ละครั้งเราต้องคิดทั้ง concept ไอเดียลงแรงลงกายเพื่อให้วาดภาพที่สวยงามออกมาสักหนึ่งรูป ใช้ระยะเวลาและหัวใจเป็นหลัก  คนที่ออกมาพูดถึงประเด็นเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นความคิดเชิงลบต่อ Midjourney ไปเสียทั้งหมด เขาแค่ต้องการคำตอบว่าแล้วจุดยืนของศิลปินในอนาคตจะเป็นยังไงต่อไป ทั้งเรื่องการขายผลงาน มันจะดีกว่ามั้ยถ้าเราสนับสนุนศิลปะที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเอง นี่ก็เป็นประเด็นหลัก ๆ อย่างหนึ่งที่เรายกมา  

ทางเจสันได้ออกมาชี้แจงถึงกรณีตัวเขาเองได้ทำการแจ้งอย่างชัดเจนว่า ตัวผลงานส่งมาในชื่อ “Jason M. Allen via Midjourney”  ถูกสร้างขึ้นโดย AI ซึ่งเขาไม่ได้หลอกลวงใครเกี่ยวกับที่มาของผลงาน และย้ำคำตอบว่า   “I’m not going to apologize for it,” he said. “I won, and I didn’t break any rules.” แปลตรง ๆ คือผมจะไม่ขอโทษสำหรับเรื่องนี้ ผมชนะ และไม่ได้ทำผิดกฎอะไร  

ตัวเจสันเองเคยทดลองงานศิลปะที่สร้างโดย AI มาหลายปีแล้วค่ะ แต่เครื่องมือที่เปิดตัวมาไม่นานมากอย่าง DALL-E 2, Midjourney และ Stable Diffusion ทำให้คนหลายคนอยากลองเข้าไปใช้ดู มันสามารถประมวลผลงานที่ซับซ้อนออกมาได้ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบนามธรรม  abstract และ photorealistic ได้อย่างง่าย เรียกว่าทำให้งานของมือสมัครเล่นดูเป็นงานมืออาชีพขึ้นมาได้เพียงแค่ปลายนิ้ว ใส่คำสองสามคำลงในกล่องข้อความแค่นี้ตัว Ai จะสร้างภาพให้เราสำเร็จเหมือนการที่เจสันอยากรู้ที่มาของ Midjourney ค่ะ ว่ามันจะแตกต่างจากตัวอื่นยังไง เพราะเขาถูกเชิญให้เข้าร่วมเซิร์ฟเวอร์แชทของ Discord Midjourney อีกด้วย เขาใช้เวลาหมกมุ่นทดลองการสร้างภาพเป็นหลายร้อยภาพไปกับโปรแกรมนี้จนในสุดท้ายได้ภาพชุดนี้มาจึงอยากให้ทุกคนได้ทึ่งในความสวยงามของมัน แต่พอได้รางวัลขึ้นมาก็เป็นประเด็นมาจนถึงบ้านเราไปด้วย 

Midjourney คืออะไร

Midjourney เป็น AI ที่ถูกสร้างขึ้นโดย  “David Holz” เขาเป็นคนที่สนใจในเรื่องราวเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและอยากพามนุษย์ก้าวเข้าสู่วิถีชีวิตแบบ  Touchless จึงได้เริ่มต้นทำโปรเจ็คอย่าง Midjourney นั่นเอง เขาแค่อยากให้โปรแกรมมาเป็นเครื่องมือแห่งจินตนาการค่อยช่วยให้เราได้รับมุมมองสร้างสรรค์ใหม่ ๆ และสนุกไปกับมัน เพราะการเรียนรู้ของมนุษย์นั้นมีขีดจำกัดยากที่จะจินตนาการได้  แต่ในทางกลับกัน AI สามารถปรับปรุงขอบเขตและขยายชุดข้อมูลได้อย่างมหาศาล

https://www.midjourney.com/home

เขาได้ให้สัมภาษณ์กับ The Verge ได้อย่างน่าสนใจ  “เราจะขยายพลังแห่งจินตนาการเผ่าพันธ์ุมนุษย์ได้อย่างไร? คอมพิวเตอร์มีจินตนาการภาพมากกว่ามนุษย์ 99% ไม่ได้หมายความว่ามนุษย์ต้องหยุดจินตนาการ รถยนต์เร็วกว่ามนุษย์ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องหยุดเดิน ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่ดี และมีความเป็นมนุษย์อย่างหนึ่ง”  และการมีโปรแกรมมาช่วยเราอำนวยความสะดวกก็ไม่ได้หมายว่าพวกเราจะต้องหยุดเรียนรู้ใช่มั้ยล่ะ เป็นเหตผลที่เข้าใจได้ง่ายค่ะ 

หลักการทำงานของ Midjourney เป็นแบบไหน

Midjourney เรียกว่าเป็นโปรแกรม Bot ที่เรียนรู้งานศิลปะได้ด้วยตัวเองจากการใช้ Discord ให้เราเข้าร่วมเซิร์ฟเวอร์ Midjourney ซึ่งจะเป็นคอมมูนิตี้บนแพลตฟอร์มที่มีอยู่แล้วมันจะทำการใช้นวัตกรรม Machine Learning และ Neural Networks ในการเรียนรู้ข้อมูลที่ซับซ้อนในรูปแบบคำศัพท์และรูปภาพต่าง ๆ และเก็บไว้ในคลังเพื่อประมวลผลงานศิลปะออกมาหรือที่เราคุ้นกันดีว่า Ai Generative Art

ยกตัวอย่าง  เราอยากได้ภาพสวนดอกไม้ในช่วงฤดูร้อนที่มีกระต่ายอยู่ในภาพ เราแค่ป้อนคำสั่ง Prompt  + red flower + garden + summer + rabbit แค่นี้มันจะทำการ Generate ภาพให้เราจนครบ 100 เปอร์เซ็นต์โดยไปดึงภาพที่เคยมีมาอยู่แล้วบนฐานออนไลน์เป็น Source ฟรี แบบถูกกฎหมาย ภาพด้านล่างเป็นภาพที่เราได้ทำการลองเล่นกับ Midjourney ค่ะ

แต่เรื่องนี้ยังมีความคลุมเครืออยู่ค่ะในเรื่องลิขสิทธิ์เราจะมาคุยกันอีกที แต่ว่าภาพที่เอามาจากศิลปินแล้วไม่เกิดปัญหาคือศิลปินที่ได้ตายไปแล้วเป็น 100 ปีอย่าง วินเซนต์ แวน โก๊ะ (van Gogh) จนกลายเป็น Public Domain ไม่ติดลิขสิทธิ์ การทำงานของ Prompt เปรียบเสมือนหน้ากระดาษที่เราจะใส่คีเวิดลงไปและเราไม่จำเป็นต้องใส่ให้เป๊ะตามแกรมมาแค่ใส่คำให้เข้าใจง่ายที่สุด นี่ก็เป็นหลักการทำงานคร่าว ๆ ให้ทุกเข้าใจคอนเซ็ปของมันค่ะ 

สิ่งที่ทุกคนควรรู้  Midjourney ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เพราะก่อนหน้านี่เคยมีโปรแกรมอย่าง Stable Diffusion, Imagen, OpenAI หรือ DALL-E หนึ่งในแพลตฟอร์มที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างภาพโดย ใช้ AI เหมือนกันนั่นเองค่ะ และกรณีนี้ไม่ใช้ประเด็นที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เพราะเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2561 มีภาพที่ AI สร้างขึ้นโดย Edmond Belamy ถูกประมูลไปในราคา 432,500 ดอลลาร์

ทำให้ศิลปินรายหนึ่งออกมาเรียกร้องว่าภาพดังกล่าวนั้นมาจากภาพของเขาจนเกิดเรื่องราวใหญ่โต ถ้ามีคนนำผลงานดังกล่าวไปอัพโหลดให้โปรแกรมสร้างงานชิ้นใหม่ คนที่เป็นเจ้าของผลงานก่อนหน้า จะถือว่าเป็นเจ้าของ (ร่วม) ผลงานชิ้นล่าสุดหรือไม่? เป็นคำถามที่น่าสนใจและน่าคิดตามค่ะ เพราะอัลกอริทึมประกอบด้วยสองส่วน ด้านหนึ่งเป็นผู้สร้าง อีกด้านหนึ่งเป็นผู้แยกแยะการป้อนข้อมูลของเราลงไป ซึ่งงานของเอ็ดมันด์ ได้มีการวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบ ว่าทำไมมันถึงสร้างภาพนามธรรมจากศตวรรษที่ 14 ขึ้นมาได้อย่างไร? นักวิจารณ์พบว่าอัลกอริทึมสามารถเลียนแบบความคิดสร้างสรรค์ได้ จะเห็นว่าภาพนามธรรมที่ AI สร้างขึ้นมา ไม่เพียงแต่สร้างภาพ แต่รวมไปถึงการจำลองเส้นทางของประวัติศาสตร์ศิลปะ ให้เป็นรูปเป็นร่างไปสู่นามธรรมเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม มันเข้าใจว่าศิลปะมีวิถีแสดงออกที่แน่นอน เหมือนการนำรูปที่ไม่เป็นรูปเป็นร่างมารวมเข้าด้วยกันมันก็จะคิดว่านี่คืองานนามธรรม 

ศิลปะที่สร้างโดย AI เป็นศิลปะจริงมั้ย แล้วที่ว่าจะมาแทนที่ศิลปินในอนาคตได้หรือไม่ ?

AI สามารถสร้างงานศิลปะได้ก็จริงค่ะ แต่เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่ามันเป็นเครื่องมือที่มาอำนวยความสะดวกของเราในด้านต่าง ๆ ให้ทำงานภายใต้คำสั่งชุดข้อมูล ได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น เพราะในท้ายทีสุดแล้วเป็นแค่จินตนาการรูปภาพที่มีอยู่มารวมเข้าด้วยกันเพื่อแสดงหัวข้อ แนวคิด รูปแบบศิลปะ หรือการแสดงบางสิ่งบางอย่างให้เราได้เพลิดเพลินเท่านั้นจึงไม่ใช่ต้นฉบับที่แท้จริง Nina Kong-Suertes ผู้ให้คำปรึกษาด้านมรดกงานศิลปะ กล่าวกับทาง Shutterstock ว่า “ถึงแม้ในทางปฏิบัติ AI สามารถผลิตงานศิลปะได้ถึงเกณฑ์ศิลปะฉบับดั้งเดิมโดยไม่ผิดเพี้ยน แต่ก็ไม่สามารถคิดแทนที่จิตใจมนุษย์ที่เขียนโค้ดให้กับตัวมันเองได้” มันแค่ถูกโปรแกรมมาให้ทำตามคำสั่งเราค่ะ 

พูดง่าย ๆ เหมือนเครื่องมือที่ไร้จิตวิญญาณไม่สามารถถ่ายทอดอารณ์ความรู้สึกทางศิลปะได้เหมือนมนุษย์ แล้วการที่จะมาแทนที่ศิลปินยิ่งเป็นไปไม่ได้ใหญ่เลยค่ะ เราต้องมองในเรื่องของคุณค่าและด้านจริยธรรมก่อนในฐานะที่มนุษย์สามารถสร้างผลงานศิลปะที่ถ่ายทอดผ่านความรู้สึกทางสุนทรีภาพออกมาได้อย่างงดงาม  เหมือนที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี กล่าวว่าศิลปะไม่ว่าจะเป็นภาพวาด บทเพลง บทกวี ภาพถ่าย หรือแขนงใดก็ตาม ล้วนเป็นสิ่งที่รองรับและแสดงออกถึงความคิดของมนุษย์ นี่คือหัวใจสำคัญหลัก ๆ ของงานศิลปะถ้าเรามองถึงคุณค่างานนั้นเท่ากับที่เราให้ยังไงศิลปินจะไม่มีทางตายหรือถูกลดทอนคุณค่าแน่นอนค่ะ 

ปัญหาด้านลิขสิทธิ์

อย่างไรก็ตามปัญญาประดิษฐ์ไม่มีความคิดริเริ่มในการสร้างภาพขึ้นมาได้เองทำได้เพียงรวบรวมข้อมูล นี่ก็ยังเป็นปัญหาในด้านลิขสิทธิ์ อย่างข่าวล่าสุดมีคนแอบนำงาน DALL-E และ Midjourney ไปขายบนเว็บ  Shutterstock และ Getty Images ค่ะซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้ศิลปินแหละเหล่าครีเอเตอร์ ในวงการศิลปะเป็นจำนวนมากเพราะมันนำผลงานคนอื่นมาดัดแปลงทำซ้ำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากศิลปิน น่าเสียดายนะคะที่มันยังไม่มีความสามารถพอที่จะแยกแยะงานศิลปะของศิลปินดั้งเดิมได้ถึงแม้ว่าตัว Ai จะสร้างภาพได้อย่างไม่ผิดกฎหมาย แต่เราปฎิเสธไม่ได้ค่ะว่ามันมีความคลุมเครือในเรื่องนี้จนส่งผลกระทบทางกฎหมายเป็นการขโมยงานศิลปะและแสวงหาผลกำไร  ทาง Shutterstock ไม่ได้ปล่อยผ่านเรื่องนี้ไปค่ะ จะรีบทำการลบออกทันที  

เราหวังว่าในอนาคต ศิลปะที่สร้างโดย AI จะไม่ลอกเลียนแบบงานศิลปะคนอื่น แต่นำมาเป็นเครื่องมือต่อยอดไอเดียได้ และไม่ควรนำมาหาผลประโยชน์ สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับที่ตัวบุคคลด้วยถ้าเรานำไปสร้างสรรค์เป็นแรงบันดาลใจใหม่ ๆ และสนุกไปกับมันก็เป็นผลดี แต่ถ้านำไปหาผลประโยชน์หรือสร้างภาพที่มีเนื้อหารุนแรง เราจะมองได้อีกด้านเหมือนกัน เพราะความจริงแล้วมันเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่สร้างมาเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของเรา แต่การมองเห็นคุณค่าและจริยธรรมขึ้นอยู่ที่คนค่ะ เราก็ต้องมารอดูต่อไปในอนาคตว่า AI จะก้าวล้ำไปถึงจุดไหน ไม่แน่อนาคตมันอาจสร้างภาพขึ้นมาได้เองโดยที่ไม่ไปคัดลอกงานใครก็ได้ค่ะ ถึงตอนนั้นเราค่อยมาพูดกันอีกทีว่าศิลปะที่แท้จริงมันอยู่จุดไหน    

 

ที่มา : source (1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8)